1 / 25

องค์กรและกระบวนการบริหารเศรษฐกิจไทย

องค์กรและกระบวนการบริหารเศรษฐกิจไทย. โดย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2548 ณ สถาบันพระปกเกล้า. กระทรวงพาณิชย์กับกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. การเจรจาการค้าเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ

Télécharger la présentation

องค์กรและกระบวนการบริหารเศรษฐกิจไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. องค์กรและกระบวนการบริหารเศรษฐกิจไทยองค์กรและกระบวนการบริหารเศรษฐกิจไทย โดย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2548 ณ สถาบันพระปกเกล้า

  2. กระทรวงพาณิชย์กับกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์กับกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ • การเจรจาการค้าเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ • การจัดทำเขตการค้าเสรี(FTA)เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกทางการค้าระหว่างประเทศ • การจัดทำเขตการค้าเสรี(FTA)มีเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ

  3. FTA คืออะไร • เขตการค้าเสรี (Free Trade Area-FTA)ประกอบด้วย • สองประเทศขึ้นไป • ตกลงจะขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน • พยายามจะลดอุปสรรคทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีให้เหลือน้อยที่สุด • ครอบคลุมทั้งสินค้า บริการและการลงทุน

  4. ทำไมประเทศต่างๆ จึงสนใจทำ FTA กันมากขึ้น • การเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO ชะงัก • “มังกรตื่นจากหลับไหล” • จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศต่างๆ เกิดความหวั่นเกรงต่อศักยภาพด้านการแข่งขันของจีน • ขยายอำนาจทางเศรษฐกิจในอนาคต • ความได้เปรียบจาก • ตลาดบริโภคขนาดใหญ่ • แรงงานราคาถูก รองรับการผลิต • มีศักยภาพในการส่งออกสูง

  5. ทำไมประเทศต่างๆ จึงสนใจทำ FTA กันมากขึ้น • การให้สิทธิประโยชน์ระหว่างคู่ภาคีส่งผลกระทบต่อประเทศนอกกลุ่ม เกิดแรงกระตุ้นทั้งระบบ • ใช้ FTA เป็นวิธีในการ • หาเพื่อน - สร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจและการเมือง • หาตลาด - ขยายการค้าและการลงทุนกับภูมิภาคอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล • ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กแต่มีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีเต็มที่อยู่แล้ว เช่น สิงคโปร์ และชิลี ได้ใช้ยุทธวิธีนี้อย่างแข็งขัน

  6. แนวโน้มการทำเขตการค้าเสรีแนวโน้มการทำเขตการค้าเสรี โลกมีแนวโน้มทำเขตการค้าเสรีมากขึ้น 70% เป็น Bilateral FTAs Source : WTO

  7. เป้าหมายด้านเศรษฐกิจของไทย Trade and Investment Hub in Asia Top 20 World Exporter Top 5 Investment Destination in Asia สร้างฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งโดย Dual track policies

  8. ทำไมไทยต้องทำ FTA • อยู่นิ่ง เท่ากับ ถดถอย • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ต่างทำFTA • การค้าระหว่างประเทศ มีผลมากต่อระบบเศรษฐกิจไทย • คิดเป็นร้อยละ 56.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2546) • สถานการณ์แข่งขันการค้าโลกรุนแรงและรวดเร็วมากขึ้น • ไทยเสียสิทธิทางภาษีที่เคยได้ เช่น GSP ในขณะที่แอฟริกา และอเมริกาใต้ยังได้อยู่ ไทยเสียเปรียบ และเสียส่วนแบ่งตลาด • “รุก” ในส่วนที่ทำได้ ดีกว่ารอรับอย่างเดียว

  9. การเลือกคู่เจรจา • การเลือกประเทศ  เป็นตลาดดั้งเดิม/คู่ค้าหลักของไทย  ประเทศที่เป็น Gateway  เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ  มีกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศที่มั่นคง  กลุ่มประเทศ ที่มีการรวมตัวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประหยัดเวลา ทรัพยากร และได้ผลจากการเจรจา

  10. การเตรียมพร้อมในการเจรจา การเตรียมพร้อมในการเจรจา • ก่อนการเจรจา  ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ในภาพรวม ในการจัดทำ FTAไทยจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์  เตรียมพร้อมในบริหารการเจรจา อย่างเป็นระบบ

  11. การเตรียมพร้อมในการเจรจาการเตรียมพร้อมในการเจรจา ประเด็นที่มีการเจรจา FTA และหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ - การเปิดตลาด : กระทรวงพาณิชย์ - แหล่งกำเนิดสินค้า : กระทรวงการคลัง - การลดเลิกอุปสรรคทางการค้า :- มาตรการสุขอนามัย : กระทรวงเกษตรฯ :- มาตรฐานสินค้า : กระทรวงอุตสาหกรรม - การค้าบริการ : กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - การลงทุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) - ทรัพย์สินทางปัญญา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา -E- Commerce : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT)

  12. การเตรียมพร้อมในการเจรจาการเตรียมพร้อมในการเจรจา • ระหว่างการเจรจา  ได้มีการจ้างสถาบันศึกษาต่างๆศึกษาผลดี/ผลเสียเป็นรายสินค้า พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ และมาตรการรองรับผลที่จะเกิดขึ้น  ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐและเอกชน  เปิดรับฟังข้อคิดเห็น/เผยแพร่ข้อมูลจากภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป และชี้แจงข้อมูลและความคืบหน้า FTA เช่นรัฐสภา กรรมาธิการฯมีwebsite: www.dtn.moc.go.th หรือ thaifta.com และ CallCenter โทร. 025077444 และ 025077555  จัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว (Special Task Forces : STF)  การเตรียมพร้อมปรับมาตรการของไทยเพื่อให้เหมาะสม

  13. กระบวนการเจรจา FTA คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (รมว.คลัง : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) คณะอนุกรรมการ ประเมินผลและ กำหนดแนวทาง การเจรจา เอฟ ที เอ ที่ปรึกษา รมว.คลัง สมพล เกียรติไพบูลย์ คณะเจรจา การุณ กิตติสถาพร Australia&NZ อภิรดี ตันตราภรณ์ Bahrain สมพล เกียรติไพบูลย์ China ปานปรีย์ พหิทธานุกร India & BIMSTEC พิศาล มาณวพัฒน์ Japan กันตธีร์ ศุภมงคล Peru นิตย์ พิบูลสงคราม US เกริกไกร จีระแพทย์ EFTA

  14. ไทยได้อะไรจาก FTA • ยกระดับความสามารถการแข่งขันทางการผลิตของไทย • วัตถุดิบถูกลง • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • ภาษีต่ำกว่าคู่แข่งขัน • ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาสินค้า • นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น • การลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ไทย/มองเห็นตลาดที่กว้างขึ้น • สร้างพันธมิตรที่จะเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจ • เพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก

  15. ไทยได้มีการจัดทำ FTA กับประเทศใดบ้าง คืบหน้าอย่างไร • คู่เจรจาของไทย 6 ประเทศ + 2 กลุ่มเศรษฐกิจ โดยอยู่ระหว่างการเจรจา • สหรัฐฯ • ญี่ปุ่น • จีน • บาห์เรน • อินเดีย • เปรู • BIMST-EC (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และ ภูฎาน) • EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์) • เจรจาเสร็จแล้ว 2 ประเทศ : ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

  16. เป้าหมายการเจรจา • ผลิตภัณฑ์เกษตร • แฟชั่น • ยานยนต์และชิ้นส่วน • อิเล็กทรอนิกส์และอุปโภคบริโภค • เฟอร์นิเจอร์ • สินค้า Electronic Commerce • NTBs • SPS • AD / CVD • RO • TBT • Environment • Others • ท่องเที่ยวและภัตตาคาร • สุขภาพ • ความงาม • บริการธุรกิจ • ขนส่ง / Logistics • ก่อสร้างและออกแบบ • การศึกษา • บริการ • อุตสาหกรรมเกษตร • อุตสาหกรรมแฟชั่น • อุตสาหกรรมยานยนต์ • ICT • บริการ • การลงทุน

  17. ใครเป็นผู้ที่จะได้รับประโยชน์ใครเป็นผู้ที่จะได้รับประโยชน์ • ผู้ผลิต • นำเข้าวัตถุดิบราคาถูก • ต้นทุนการผลิตลดลง • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • ผู้ส่งออก • การขยายตลาดและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกสินค้าและบริการ • ผู้บริโภค • ซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง • เลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น

  18. สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ • อัญมณีและเครื่องประดับ ได้รับประโยชน์ภายใต้กรอบ อินเดีย ออสเตรเลีย และจีน ในฐานะเป็นแหล่งวัตถุดิบ โดยมี สหรัฐฯ ญี่ปุ่น EFTA และออสเตรเลีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญ

  19. สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ • สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้รับประโยชน์ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และจีน โดยมี จีนเป็นแหล่งวัตถุดิบ

  20. สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ • รองเท้าและเครื่องหนัง ได้รับประโยชน์ภายใต้กรอบ ออสเตรเลีย จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยมี ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ เป็นแหล่งวัตถุดิบ

  21. สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ • ยานยนต์และชิ้นส่วน ได้รับประโยชน์ภายใต้กรอบ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และอินเดีย ในขณะที่ จีน เป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออกที่สำคัญรวมทั้งเป็นคู่แข่งของไทย

  22. สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์สินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ • ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องปรับอากาศ จะได้รับประโยชน์ภายใต้กรอบอินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ในขณะที่ จีนเป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออกที่สำคัญรวมทั้งเป็นคู่แข่งของไทย

  23. ผลกระทบ • ใครเป็นผู้ที่จะเสียประโยชน์ • ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ที่ต้องการการปกป้องจากรัฐบาล • ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ • ให้เวลาปรับตัว เช่น เรื่องหางนมกับออสเตรเลีย ใช้เวลา 20 ปี ในการลดภาษีเป็น 0 • ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ

  24. ความคาดหวัง : ภาครัฐมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ FTA • เร่งดำเนินมาตรการด้านการเงินและการคลัง • ปรับปรุงระบบและลดขั้นตอนการให้บริการของภาครัฐ • มีระบบควบคุม • มีระบบเตือนภัย • เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ • ปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้มแข็ง • สร้างกลไกประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน

  25. ภาคเอกชนต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ FTAอย่างไรบ้าง • พัฒนาบุคลากร • พัฒนาและขยายตลาดเชิงรุก • พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนไทยกับภาคเอกชนของประเทศที่ร่วมทำเขตการค้าเสรี

More Related