1 / 2

สารระเหย

สารระเหย. การออกฤทธิ์. 2. พิษต่อระบบทางเดินหายใจ จะระคายเคือง ไอ คัดจมูกหายใจไม่สะดวก ปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลวจากการกดสมองส่วน Medulla ที่ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดการหายใจได้

Télécharger la présentation

สารระเหย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารระเหย การออกฤทธิ์ 2. พิษต่อระบบทางเดินหายใจ จะระคายเคือง ไอ คัดจมูกหายใจไม่สะดวก ปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลวจากการกดสมองส่วน Medulla ที่ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดการหายใจได้ 3. พิษต่อระบบโลหิต โดยการทำลายไขกระดูก ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดน้อยลง ถ้าไม่หยุดเสพ มีผลทำให้เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ 4. พิษต่อตับและไต ตับอักเสบและแข็งจากพิษตะกั่วในน้ำมันระเหย ไตอักเสบรุนแรง 5. พิษระบบทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร 6. พิษต่อกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบฝ่อจนเป็นอัมพาตได้ 7. พิษต่อพันธุ์กรรม ทำลายโครโมโซม ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรม โดยมีการกดกระบวนการสร้างตัวอสุจิจากการทดลองกับหนู คืออะไร ? สารระเหยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ระยะแรกจะมีความสุขตื่นเต้นร่าเริง 15 นาที – 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นการออกฤทธิ์กดประสาท ส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม หมดสติได้ ถ้าเสพในขนาดสูงทำให้หยุดการหายใจ ทำให้ตายได้ เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีพวก Hydrocarbons ได้มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติมีลักษณะเป็นไอ ละลายได้ดีในน้ำมัน ละลายน้ำได้ไม่ดี ระเหยได้ในอุณหภูมิห้อง มีกลิ่นหอม เมื่อสูดดมเข้าไปบ่อยจะทำให้เสพติด สาระสำคัญ คือโทลูอีน (TOLUENE) ซึ่งเป็นสารผสมหลักในสารระเหยเสพติดปัจจุบัน สารระเหย มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ใดบ้าง เป็นสารที่ผสมในผลิตภัณฑ์ในทางอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางครัวเรือน เช่น แล๊กเกอร์ ทินเนอร์มีสารโทลูอีนเป็นส่วนผสม เช่น น้ำยาล้างเล็บ (Acetone) น้ำมันก๊าด น้ำยาทำความสะอาด, กาว, ซีเมนต์สำหรับติดยางต่างๆ บางชนิดมีทั้งโทลูอีน และ Acetone เป็นส่วนผสม เช่น สีสเปรย์ผม, สีกระป๋องชนิดพ่น น้ำยาล้างกระจก เป็นต้น อาการขาดยา (Withdrowel Symptoms) ส่วนมากมักพบเมื่อหยุดเสพ ในผู้ที่เสพสารระเหยผสมกับการดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้ที่สูดดมสารระเหยเป็นประจำต่อเนื่องอย่างมากจะมีอาการทางจิต หงุดหงิด โมโหง่าย หาว ปวดท้อง คลื่นไส้ จาม คัดจมูก ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว นอนไม่หลับ การดูดซึมและกระจายตัว โทษพิษภัยต่อระบบต่างๆของร่างกาย สารระเหยออกฤทธิ์ดูดซึมได้เร็วมากจากการดมจากลมหายใจเข้าสู่กระแสโลหิต แพร่กระจายทั่วร่างกายไปสู่อวัยวะต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของ ไขมัน เช่นระบบประสาท สมอง ตับไต หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ สารระเหยจะถูกขับออกทางปอด โดยไม่เปลี่ยนแปลง จึงสามารถได้กลิ่นจากผู้เสพออกมาทางลมหายใจ และขับออกทางปัสสาวะ • พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง พิษโดยเฉียบพลัน ในระยะแรกมึนงง เคลิบเคลิ้ม มึนเมา เหนื่อย ง่วงซึม หมดสติอาจตายได้ ในคนที่เสพติดต่อเป็นเวลานานจะพบว่าเมื่อหยุดเสพจะมีอาการสั่นทั้งตัว เกิดจากสมองถูกทำลาย(สมองส่วน Cerebellum) เสื่อมสภาพ ความจำเสื่อม

  2. สถานที่บำบัดรักษา โทษของ... การป้องกันทั่วไปของพ่อแม่ผู้ปกครอง สารระเหย • หมั่นสอดส่อง สังเกต ดูแล บุตรหลาน เยาวชนในปกครอง มิให้หลงผิดในการทดลองเสพหรือเสพโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และให้ความรู้โทษพิษภัยของสารระเหย • ป้องกันและเก็บสารระเหย ที่มีโทษให้มิดชิดปลอดภัยพ้นมือเด็ก • เมื่อพบหรือสงสัยบุตรหลานเยาวชนในปกครองติดสารระเหยให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการบำบัดรักษา สถาบันธัญญารักษณ์ จังหวัดประทุมธานี โทร. 0-2531-0080-8 ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่ โทร. 0-5329-7976-7, 0-5329-9392-3, 0-5329-9301-3 ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด แม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-2607, 0-5361-3051-5 ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ขอนแก่น โทร. 0-4334-5391-2, 0-4324-6067 ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด สงขลา โทร. 0-7446-7453, 0-7446-7468 ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี โทร. 2-7333-0870-5, 0-7333-3291 ศูนย์ Hot line สายด่วนยาเสพติด 1165 ผู้ติดสารระเหย อวัยวะทุกส่วนถูกทำลาย โดยเฉพาะสมองจะถูกทำลาย และเกิดการพิการอย่างถาวรรักษาไม่ได้ การป้องกันของเยาวชนหญิงชาย ควรปฏิบัติดังนี้ • ป้องกันตนเอง ไม่ทดลอง ไม่หลงตามคำชักชวนของเพื่อนที่นำไปในทางที่ผิด • เมื่อมีปัญหาควรหาทางแก้ไขปัญหาให้ถูกทางและเป็นประโยชน์ ขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากผู้ปกครองหรือผู้ที่ไว้วางใจให้ความช่วยเหลือ ทุกปัญหามีคำตอบ การป้องกันในสถานประกอบการ ที่มีสารระเหยที่มีโทษ ควรปฏิบัติดังนี้ หรือติดต่อโรงพยาบาลประจำจังหวัด/สถานีอนามัยชุมชนทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้เสพ/ผู้ติด ยังสามารถ สอบถามและขอสมัครเข้าบำบัดรักษาได้ที่วัดต่างๆใกล้บ้าน ที่ศูนย์สงเคราะห์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เช่น วัดหนองสามพราน ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นต้น • จัดสถานที่ประกอบการให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก • จัดให้มีผ้าปิดปากมีเครื่องตรวจป้องกันไอระเหย หรือผลัดเปลี่ยนคนทำงานไม่ให้จำเจ • ให้ความรู้โทษพิษภัยสารระเหย และควรให้คนงานได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง เอกสารอ้างอิง สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ด้วยความปารถนาให้ท่านมีสุขภาพดี จากโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โทร.(055) 411064 งานยาเสพติด กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (055) 411064 ต่อ 2109,2110

More Related