1 / 42

สมรรถนะและการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

สมรรถนะและการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. ศิริลักษณ์ ประศาสตร์อินทาระ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ฝ่ายอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. ปี ง บ ป ร ะ ม า ณ 2 5 5 1.

Télécharger la présentation

สมรรถนะและการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมรรถนะและการประเมินสมรรถนะสมรรถนะและการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ศิริลักษณ์ ประศาสตร์อินทาระ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ฝ่ายอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  2. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปี ง บ ป ร ะ ม า ณ 2 5 5 1 จัดทำรายการสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งสมรรถนะหลักและสมรรถนะตามสายงาน (เฉพาะตำแหน่งสายงานหลัก คือ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานและครูฝึกฝีมือแรงงาน) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะหลักที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) • บริการที่ดี (Service Mind - SERV) • การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise - EXP) • การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity - ING) • การทำงานเป็นทีม (Teamwork - TW) สมรรถนะหลักที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนดเพิ่มเติม • การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking - CT) • การใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น (Caring Others - CAO)

  3. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปี ง บ ป ร ะ ม า ณ 2 5 5 2 ประชุมหารือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะเพื่อใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 3 ครั้ง • ครั้งที่ 1 : วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2552 • ครั้งที่ 2 : วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 • ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552

  4. ผู้เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมเห็นควรให้ดำเนินการดังนี้ การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 1 : วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2552 ตัวแทนจากสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน เจ้าหน้าที่จากกองการเจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ. • นำพจนานุกรมรายการสมรรถนะที่สำนักงาน ก.พ.ปรับปรุงใหม่มาปรับให้สอดคล้องกับรายการสมรรถนะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ได้จัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2551 • จัดประชุมข้าราชการระดับที่เป็นผู้ประเมินเพื่อร่วมกันพิจารณารายละเอียดของพฤติกรรมบ่งชี้รายการสมรรถนะหลัก จากพจนานุกรมรายการสมรรถนะของสำนักงาน ก.พ. และนำมาปรับใช้เป็นพฤติกรรมบ่งชี้รายการสมรรถนะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำหรับการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนในปีงบประมาณ 2553

  5. ผู้เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติดังนี้ การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 2 : วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 รองอธิบดี ผู้ตรวจราชการกรม ผอ.สำนัก ผอ.กอง เลขานุการกรม ผอ.กลุ่มงาน ข้าราชการชำนาญการพิเศษในส่วนกลาง ผอ.สพภ. 1-3 ผอ.ศพจ.ในกำกับดูแลของสถาบันฯภาค 1-3 และเจ้าหน้าที่จากกองการเจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ. • ใช้สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะและตัวบ่งชี้พฤติกรรมในพจนานุกรมสมรรถนะ ตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด มาใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการและประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในปีงบประมาณ 2553 • สมรรถนะหลักอื่นที่กรมได้กำหนดเพิ่มเติมขึ้นในปีงบประมาณ 2551 ให้นำมาใช้ประกอบการพัฒนาบุคลากรและใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการและเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในปีต่อไป

  6. ที่ประชุมมีมติดังนี้ การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 2 : วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 3. เห็นชอบให้ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างระดับตำแหน่งกับระดับของสมรรถนะหลัก สำหรับตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานและครูฝึกฝีมือแรงงาน ดังต่อไปนี้

  7. ผู้เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติดังนี้ การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 คณะทำงานดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารผลการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามคำสั่งกรมที่ 256/2552 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะ 4 ประเด็น คือ • จำนวนสมรรถนะที่ใช้ในการประเมินเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงาน • วิธีการประเมิน • มาตรวัดในการประเมิน • ระดับสมรรถนะที่คาดหวังกับระดับตำแหน่ง

  8. มติที่ประชุมประเด็นที่ 1 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 จำนวนสมรรถนะที่ใช้ในการประเมินเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงาน ใช้สมรรถนะหลักของสำนักงาน ก.พ.จำนวน 5 สมรรถนะ เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติราชการตามมติที่ประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 คือ • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) • บริการที่ดี (Service Mind - SERV) • การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise - EXP) • การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity - ING) • การทำงานเป็นทีม (Teamwork - TW)

  9. มติที่ประชุมประเด็นที่ 2 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 วิธีการประเมินสมรรถนะที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ • ผู้ประเมินคนเดียวโดยผู้บังคับบัญชา • ประเมินโดยผู้รับการประเมินทำการประเมินตนเองก่อนและสรุปผลร่วมกับผู้ประเมิน • ประเมินหลายคน เช่น การประเมิน 360 องศา, การประเมินโดยคณะกรรมการ วิธีการประเมินสมรรถนะที่กรมพัฒนามือแรงงานเลือกใช้ “ให้ประเมินสมรรถนะในรูปแบบของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องทุกระดับของแต่ละหน่วยงาน”

  10. มติที่ประชุมประเด็นที่ 3 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ 1. มาตรวัดแบบ Bar Scale 2. มาตรวัดแบบHybrid Scale 3. มาตรวัดแบบ Rating Scale

  11. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ มาตรวัดแบบ Bar Scale เป็นวิธีการนำพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมสมรรถนะเป็น Scale ในการเทียบประเมิน ดังนั้นผู้รับการประเมินจะต้องแสดงพฤติกรรมครบทั้งหมดตามระดับสมรรถนะที่คาดหวังของตนจึงจะผลนำมาคิดเป็นคะแนนสมรรถนะ S C A L E

  12. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ การคิดคะแนนแบบ Bar Scale • พิจารณาว่าระดับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้ประเมินได้กำหนดไว้ระดับใด • พิจารณาว่าผู้รับการประเมินทำได้ตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ สม่ำเสมอตามระดับที่คาดหวังหรือไม่ • พิจารณาเทียบกับตารางเทียบคะแนนว่าระดับพฤติกรรมที่ทำได้ สูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่าเพียงใด แล้วให้คะแนนดังตาราง

  13. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ ตัวอย่างการคิดคะแนนแบบ Bar Scale • นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะที่คาดหวังที่ระดับ 2 • นาย ก. มีพฤติกรรมที่แสดงออกได้ครบถ้วน สมบูรณ์ตามระดับ 1 แต่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกพฤติกรรมในระดับ 2 ดังนั้น เมื่อเทียบกับตารางเทียบคะแนนจึงสรุปได้ว่า นาย ก. มีระดับพฤติกรรมที่ทำได้ต่ำกว่าระดับสมรรถนะที่คาดหวัง 1 ระดับ นาย ก. จึงได้ค่าคะแนนสมรรถนะเท่ากับ 3 คะแนน

  14. มติที่ประชุมประเด็นที่ 3 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ มาตรวัดแบบ Hybrid Scale เป็นวิธีการนำผลคะแนนจากตารางเทียบคะแนนในแบบ Bar Scale มาใช้เป็นมาตรวัดเบื้องต้น เมื่อได้คะแนนในระดับที่แสดงพฤติกรรมได้ขั้นต่ำแล้ว แต่ยังคงมีพฤติกรรมที่แสดงออกในระดับที่สูงขึ้นบ้าง แต่ยังคงไม่ครบถ้วนให้วิเคราะห์พฤติกรรมที่แสดงออกนั้นมาเป็นค่าคะแนนตามตาราง Hybrid Scale จากนั้นนำมาบวกกับค่าคะแนนขึ้นต่ำเพื่อให้ได้ค่าคะแนนสมรรถนะที่แท้จริง

  15. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 การประเมินสมรรถนะแบบ Hybrid Scale มีวิธีการคิดคะแนนการประเมิน ดังนี้ • พิจารณาสมรรถนะของผู้รับการประเมินว่าทำได้ตามที่ระบุในนิยามสมรรถนะที่ระดับใด ตัวอย่าง นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะที่คาดหวังที่ระดับ 2

  16. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 การประเมินสมรรถนะแบบ Hybrid Scale มีวิธีการคิดคะแนนการประเมิน ดังนี้ • 2. พิจารณาว่า นาย ก. สามารถแสดงพฤติกรรมในสมรรถนะระดับ 2 ใน 2 ประเด็น คือ • ความครบถ้วนสมบูรณ์ • ความสม่ำเสมอ • นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะที่คาดหวังที่ระดับ 2 • นาย ก. ผ่านสมรรถนะระดับ 1 และแสดงพฤติกรรมตามระดับที่ 2 บ้าง แต่สมบูรณ์เพียง 50% และมีความสม่ำเสมอบ้างในระดับปานกลาง ตัวอย่าง ดังนั้น เมื่อเทียบกับตารางเทียบคะแนน Bar Scale จึงสรุปได้ว่า นาย ก. มีระดับพฤติกรรมที่ทำได้ต่ำกว่าระดับสมรรถนะที่คาดหวัง 1 ระดับ นาย ก. จึงได้ค่าคะแนนสมรรถนะเท่ากับ 3 คะแนน

  17. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 การประเมินสมรรถนะแบบ Hybrid Scale มีวิธีการคิดคะแนนการประเมิน ดังนี้ 3. เนื่องจาก นาย ก.ยังคงมีพฤติกรรมที่แสดงในระดับที่ 2 บ้าง แต่ยังไม่สม่ำเสมอและไม่ ครบถ้วนสมบูรณ์จึงนำมาเทียบกับตาราง Hybrid Scale ตัวอย่าง • นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะที่คาดหวังที่ระดับ 2 • นาย ก. ผ่านสมรรถนะระดับ 1 และแสดงพฤติกรรมตามระดับที่ 2 บ้าง แต่สมบูรณ์เพียง 50% และมีความสม่ำเสมอบ้างในระดับปานกลาง D = +0.50 ดังนั้น ค่าคะแนนที่ นาย ก.ได้เพิ่มจึงหมายถึง D

  18. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 การประเมินสมรรถนะแบบ Hybrid Scale มีวิธีการคิดคะแนนการประเมิน ดังนี้ 3. นำค่าคะแนนขั้นต่ำที่ได้จากตาราง Bar Scale มาบวกกับตาราง Hybrid Scale ที่นาย ก.สามารถทำได้  เดิมจากตาราง Bar Scale นาย ก. มีระดับพฤติกรรมที่ทำได้ต่ำกว่าระดับสมรรถนะที่คาดหวัง 1 ระดับ นาย ก. จึงได้ค่าคะแนนสมรรถนะเท่ากับ 3 คะแนน ตัวอย่าง  แต่นาย ก. ได้แสดงพฤติกรรมตามระดับที่ 2 บ้าง แม้ว่าสมบูรณ์เพียง 50% และมีความสม่ำเสมอบ้างในระดับปานกลาง นาย ก.จึงได้คะแนนบวกเพิ่ม 0.5 คะแนน ดังนั้น นาย ก. จึงได้ค่าคะแนนสมรรถนะ คือ 3 + 0.5= 3.50

  19. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ Rating Scale เป็นวิธีการนำพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมสมรรถนะที่อยู่ในระดับที่มุ่งหวังเป็นฐานในการอ้างอิง เพื่อเทียบกับ Scale ที่ใช้ในการประเมิน ตามที่แสดงดังนี้ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation-ACH) เกณฑ์อ้างอิงระดับชำนาญการ

  20. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ มาตรวัดแบบ Rating Scale

  21. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ขั้นตอนการประเมินมาตรวัดแบบ Rating Scale • กำหนดเกณฑ์อ้างอิงตามระดับตำแหน่งกับระดับสมรรถนะที่คาดหวัง เช่น นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีเกณฑ์อ้างอิงระดับสมรรถนะที่ระดับ 2

  22. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ขั้นตอนการประเมินมาตรวัดแบบ Rating Scale 2. นับจำนวนพฤติกรรมตามพจนานุกรมแล้วประเมินว่า การจะได้ระดับ 2 ต้องมีพฤติกรรมที่แสดงออกครบทั้งหมดจำนวนกี่รายการ เช่น เกณฑ์อ้างอิงระดับสมรรถนะที่ระดับ 2 ต้องมีพฤติกรรมที่แสดงออกจำนวน 9 รายการ 1 2 3 4 5 6 7 8 9

  23. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ขั้นตอนการประเมินมาตรวัดแบบ Rating Scale 3. เทียบจำนวนพฤติกรรมที่แสดงออกครบทั้งหมด 9 รายการ เท่ากับ 100% เช่น นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะคาดหวังที่ระดับ 2 มีจำนวนพฤติกรรมที่แสดงออกจำนวน 6 รายการ คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ดังนี้ (6/9) x 100 = 66.66 %

  24. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ขั้นตอนการประเมินมาตรวัดแบบ Rating Scale 4. เทียบค่าเปอร์เซนต์ที่คำนวณได้กับมาตรวัดตามค่าคะแนนดังตาราง 0% 0.001-49.999% 50-74.999% 75-99.999% 100% เช่น นาย ก. ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ มีระดับสมรรถนะคาดหวังที่ระดับ 2 มีจำนวนพฤติกรรมที่แสดงออกจำนวน 6 รายการ จากทั้งหมด 9 รายการ คิดเป็น 66.66% ดังนั้น นาย ก. มีค่าคะแนนสมรรถนะ เท่ากับ 3 คะแนน 66.66 %

  25. มติที่ประชุมประเด็นที่ 3 การจัดทำสมรรถนะ ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ส่วนราชการเลือกใช้ 1. มาตรวัดแบบ Bar Scale ไม่ละเอียดเท่าที่ควร ทำให้ผู้รับการประเมินอาจจะได้คะแนนสมรรถนะน้อยกว่าความเป็นจริง 3. มาตรวัดแบบ Hybrid Scale มีความละเอียดมาก แต่ยุ่งยากซับซ้อนในการประเมิน 2. มาตรวัดแบบRating Scale คิดค่าคะแนนได้ง่ายและผลคะแนนสะท้อนความเป็นจริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด

  26. มติที่ประชุมประเด็นที่ 3 การจัดทำสมรรถนะ ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 มาตรวัดในการประเมินที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเลือกใช้ “ใช้มาตรวัดในการประเมินแบบ Rating Scale ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ซึ่งกำหนดระดับพฤติกรรมที่คาดหวังเป็นฐานอ้างอิงและประเมินพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมสมรรถนะของสำนักงาน ก.พ.”

  27. มติที่ประชุมประเด็นที่ 4 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ระดับสมรรถนะที่คาดหวังกับระดับตำแหน่ง “ให้ใช้ระดับสมรรถนะที่คาดหวังจากความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกับระดับของสมรรถนะหลักสำหรับตำแหน่งนักวิชาการฝึกอาชีพและตำแหน่งครูฝึกฝีมือแรงงาน ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 ซึ่งตรงกับระดับที่คาดหวังตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนดมาปรับเป็นเกณฑ์ระดับสมรรถนะที่คาดหวังสำหรับการนำไปใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการกับทุกระดับตำแหน่งในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน”

  28. มติที่ประชุมประเด็นที่ 4 การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 การประชุม ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2552 ระดับตำแหน่งกับระดับสมรรถนะที่คาดหวัง

  29. การจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานการจัดทำสมรรถนะในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2552 หนังสือกองการเจ้าหน้าที่รง 0415/2580 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2552

  30. สรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะสรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ 1 จำนวนสมรรถนะที่ใช้ในการประเมินเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงาน เฉพาะสมรรถนะหลัก จำนวน 5 สมรรถนะ คือ • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) • บริการที่ดี (Service Mind - SERV) • การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise - EXP) • การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity - ING) • การทำงานเป็นทีม (Teamwork - TW)

  31. สรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะสรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ 2 วิธีการประเมินสมรรถนะที่กรมพัฒนามือแรงงานเลือกใช้ “ให้ประเมินสมรรถนะในรูปแบบของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องทุกระดับของแต่ละหน่วยงาน” ตัวอย่าง • หัวหน้าหน่วยงานให้หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานของแต่ละหน่วยงานร่วมกันให้คะแนนผลการประเมินสมรรถนะ • การจัดตั้งคณะกรรมการของแต่ละหน่วยงาน และคณะกรรมการประชุมร่วมกันเพื่อให้คะแนนผลการประเมินสมรรถนะ

  32. สรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะสรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ 3 มาตรวัดในการประเมินที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเลือกใช้ “ใช้มาตรวัดในการประเมินแบบ Rating Scale ในการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ซึ่งกำหนดระดับพฤติกรรมที่คาดหวังเป็นฐานอ้างอิงและประเมินพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมสมรรถนะของสำนักงาน ก.พ.”

  33. สรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะสรุปหลักเกณฑ์การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ 4 ระดับสมรรถนะที่คาดหวังกับระดับตำแหน่ง

  34. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม

  35. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม • ต้นรอบการประเมิน • กรอกระดับสมรรถนะที่คาดหวังตามที่กรมกำหนด • ให้ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินตกลงร่วมกันถึงน้ำหนักของแต่ละสมรรถนะลงในช่องข. 1 2 ประเมินสมรรถนะโดยคณะกรรมการของแต่ละหน่วยงานตามวิธี Rating Scale 3 บันทึกผลการประเมินลงในช่อง ก. คำนวณคะแนนผลรวมสมรรถนะ = (กxข) x 20 เนื่องจากคะแนนสมรรถนะมีคะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน 4 • บันทึกย่อเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ ได้แก่ • ผลต่างของระดับที่คาดหวังกับค่าคะแนนที่ได้ • เหตุผลในการให้คะแนน • แนวทางการในพัฒนาสมรรถนะ 5 นำคะแนนที่ได้จากการคำนวณตามข้อ 4 ไปกรอกลงในแบบฟอร์มส่วนที่ 2 การสรุปผลการประเมิน องค์ประกอบที่ 2 พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (สมรรถนะ) 6

  36. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม 1

  37. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม 3

  38. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม 4

  39. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม 5

  40. 6 การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม ส่วนที่ 2 : การสรุปผลการประเมิน

  41. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ การกำหนดสมรรถนะลงในแบบฟอร์ม นอกเหนือจากการบันทึกลงในเอกสารแนบแล้ว ในส่วนของการพัฒนาสมรรถนะสามารถกรอกลงเอกสารในส่วนที่ 3 ของแบบสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลต่อไปได้

  42. การนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการนำสมรรถนะไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ความต่อเนื่องในการนำผลการประเมินสมรรถนะไปใช้งาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2552-2556 กำหนดแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ • วางระบบและดำเนินการพัฒนาข้าราชการให้มีสมรรถนะตามความจำเป็น รวมทั้งมีการประเมินติดตามผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการ • จัดทำแผนพัฒนารายบุคคลให้เชื่อมโยงกับการบริหารผลการปฏิบัติราชการ แผนทางก้าวหน้าในอาชีพ และแผนการสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร • ประเมินติดตามผลการพัฒนารายบุคคลเพื่อประโยชน์ในการสรรหา พัฒนาและแต่งตั้ง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลพ.ศ.2553– 2555

More Related