1 / 72

ระบบการสื่อสารข้อมูล ( Data Communication System )

3. ระบบการสื่อสารข้อมูล ( Data Communication System ). การเชื่อมโยงและสื่อกลาง ( Link and Channel ). หัวข้อ ( Topic ). รูปแบบการเชื่อมโยง การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด การเชื่อมโยงแบบหลายจุด การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง ชนิดของสื่อกลาง สายสัญญาณทองแดง สายใยแก้วนำแสง สื่อสัญญาณไร้สาย.

gustav
Télécharger la présentation

ระบบการสื่อสารข้อมูล ( Data Communication System )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 3 ระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication System) การเชื่อมโยงและสื่อกลาง (Link and Channel)

  2. หัวข้อ (Topic) • รูปแบบการเชื่อมโยง • การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด • การเชื่อมโยงแบบหลายจุด • การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง • ชนิดของสื่อกลาง • สายสัญญาณทองแดง • สายใยแก้วนำแสง • สื่อสัญญาณไร้สาย

  3. รูปแบบการเชื่อมโยง • การเชื่อมโยง (Link) เป็นการกำหนดเส้นทางในการสื่อสาร มีรูปแบบทั้งหมด 3 แบบ คือ • การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point to Point) • การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multi Point) • การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง ( Switching Network)

  4. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) • เชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point to Point) เป็นเชื่อมโยงเพียง 2 เครื่องผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวโดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)ได้หลายรูปแบบ • เหมาะกับงานที่รับส่งข้อมูลมากๆ และต่อเนื่องตลอดเวลา เช่น ตู้ ATM • เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหา (point to point) คือ การใช้อุปกรณ์สวิตช์ (Switching Network)

  5. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point to Point)

  6. การเชื่อมต่อแบบ Bus • ลักษณะการทำงาน • อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS) • เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ • ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว

  7. การเชื่อมต่อแบบ Bus • ลักษณะการทำงาน (ต่อ) • ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

  8. การเชื่อมต่อแบบ Bus

  9. การเชื่อมต่อแบบ Bus • ข้อดี • ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา • สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย • ข้อเสีย • ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้ • การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

  10. การเชื่อมต่อแบบ Ring • เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม • ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน • ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง

  11. การเชื่อมต่อแบบ Ring • ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ทำหน้าที่ • เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด • รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ • ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน • ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

  12. การเชื่อมต่อแบบ Ring

  13. การเชื่อมต่อแบบ Ring • ข้อดี • การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่ • การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

  14. การเชื่อมต่อแบบ Ring • ข้อเสีย • ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร • เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

  15. การเชื่อมต่อแบบ Star • เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก • มีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย

  16. การเชื่อมต่อแบบ Star • อนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว • เป็นการเชื่อมต่ออีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

  17. การเชื่อมต่อแบบ Star

  18. การเชื่อมต่อแบบ Star • ข้อดี • การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย • หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ • ง่ายในการให้บริการเพราะการเชื่อมต่อแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม

  19. การเชื่อมต่อแบบ Star • ข้อเสีย • ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้ • ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าการเชื่อมต่อแบบบัส และ แบบวงแหวน

  20. การเชื่อมต่อแบบ Hierarchical • เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร

  21. ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างเครือข่าย (Topology)

  22. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) • การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multi Point) เป็นการใช้สายเพียงสายเดียว แต่เชื่อมโยงกับ Terminal ได้หลายๆ จุดพร้อมๆ กัน • เหมาะกับงานที่รับส่งข้อมูลไม่ต่อเนื่องและไม่มากนัก เพื่อแชร์การใช้สายสื่อสารร่วมกัน

  23. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multi Point)

  24. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) • การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง ( Switching Network) เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดได้มากที่สุด • ตัวอย่างเครือข่ายสวิตชิ่ง ได้แก่ เครือข่ายองค์การโทรศัพท์ เทเลกซ์ เครือข่ายแพ็กเกตสวิตช (Packet Switching Network) • อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สลับสายได้แก่ ชุมสายโทรศัพท์ ตู้สลับสายโทรศัพท์ อัตโนมัติ (PABX) และเซนเทรค (Centrex)

  25. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) • ในการทำงานของการเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ชิ่งนั้น ประกอบด้วย • การเชื่อมโยงการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะเริ่มส่ง - รับข้อมูล เช่น ต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ก่อนจะเริ่มพูดกับปลายทางได้ โดยมีเครือข่าย สวิตซ์ซิ่งเชื่อมโยงคอยสลับสายให้ • การเชื่อมโยงการสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อจุด คือ คุยกันแค่ 2 คนเท่านั้น • เมื่อจบการส่งข้อมูลแล้ว จะต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่าง 2 จุดนั้น เพื่อให้สายการสื่อสารว่าง เพื่อให้สายอื่นเชื่อมต่อได้

  26. รูปแบบการเชื่อมโยง (ต่อ) การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง ( Switching Network)

  27. ชนิดของสื่อกลาง • สื่อกลางจำพวกกำหนดเส้นทางได้ เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง • สื่อกลางจำพวกกำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ และคลื่นดาวเทียม • การเลือกใช้สื่อกลางชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่น ราคา ค่าบริการ อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล สถานที่หรือภูมิประเทศ การบริการ และการควบคุมจัดการ รวมทั้งเทคโนโลยีด้วย

  28. ชนิดของสื่อกลาง (ต่อ)

  29. ชนิดของสื่อกลาง (ต่อ)

  30. ชนิดของสื่อกลาง (ต่อ)

  31. ชนิดของสื่อกลาง (ต่อ) • สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) • สื่อสัญญาณไร้สาย (Wireless)

  32. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • ราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น หุ้มฉนวน จับคู่พันเกลียว • สายคู่ตีเกลียว 1 คู่ จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel) • ส่งสัญญาณข้อมูลแบบอะนาล็อกและแบบดิจิตอล • ลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ไม่ป้องกันการสูญเสียพลังงาน

  33. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • ต้องมี "เครื่องขยาย"(Amplifier) สัญญาณข้อมูลแบบอะนาล็อกในระยะทางไกลๆ หรือทุก 5-6 ก.ม • หากใช้ส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี "เครื่องทบทวน"(Repeater) สัญญาณ ทุกๆ ระยะ 2-3 ก.ม.

  34. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • สายคู่ตีเกลียวที่นิยมใช้ในเครือข่าย LAN มี 2 ชนิดคือ • สายคู่ตีเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนโลหะ หรือ สาย UTP(Unshielded Twisted Pair) • สายคู่ตีเกลียวชนิดหุ้มฉนวนโลหะ หรือ สาย STP(ShieledTwisted Pair) UTP STP

  35. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • เครือข่าย LAN แบบ Ethernet สาย UTP ยังแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มมาตรฐาน (Category) สำหรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่ต่างกันคือ • สาย Category 1 และ 2 ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 4Mbps • สาย Category 3 ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 16Mbps • สาย Category 4 ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 20Mbps • สาย Category 5 ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 100Mbps

  36. สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair Cable) • สาย UTP Cat5 เป็นสายที่นิยมใช้ในเครือข่าย LAN (รูปดาว) มาก ที่สุด ประกอบด้วยสายสัญญาณ 8 เส้น ใช้คู่กับหัวสาย RJ-45

  37. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • "สายโคแอก" ที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายคู่ตีเกลียว • เหมือนสายทีวี ม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 และ 50 โอห์ม • ขนาดมีตั้งแต่ 0.4-1.0 นิ้ว • จัดกลุ่มสายโดยการกำหนดตัวเลข RG เช่น สาย RG 58, RG62

  38. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • ชั้นตัวเหนี่ยวนำ (Shield) ทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี เปลือกฉนวนคงทน ฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ • ป้องกัน "การสะท้อนกลับ"(Echo) ของเสียงได้ และลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกัน

  39. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) Jacket Braid Shield Insulation Conductor สายโคแอกเซียลแบบหุ้มชิลด์ชั้นเดียว สายโคแอกเซียลแบบหุ้มชิลด์ 2 ชั้น

  40. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • ส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ • เบสแบนด์ ส่งสัญญาณดิจิตอลได้ไกลถึง 2 กม. โดยไม่ต้องใช้เครื่องทบทวน • บรอดแบนด์ ส่งสัญญาณอะนาล็อกได้ไกลกว่า 6 เท่า

  41. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • ถ้ามัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ FDM สายโคแอกจะมีช่องทาง (เสียง) ได้ถึง 10,000 ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง 50Mbps หรือ 1,000Mbps • ใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุกๆ 1.6 ก.ม. • อดีตใช้กับเครือข่าย LAN โดยในเครือข่าย Ethernet ระยะแรก ปัจจุบันใช้ UTP • ในปัจจุบันเป็นสายสัญญาณจากเสาอากาศโทรทัศน์

  42. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • สาย Coaxial ที่ใช้งานในเครือข่าย LAN แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ • สาย Thick Ethernet หรือสาย Coaxial อย่างหนา • มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. • สามารถส่งสัญญาณได้ระยะทางไกล 500 เมตร • อดีตนิยมใช้สำหรับเป็นสายสัญญาณหลัก (Backbone) ของระบบเครือข่ายปัจจุบันใช้ Fiber optic

  43. สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) • สาย Coaxial ที่ใช้งานในเครือข่าย LAN แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ • สาย Thin Ethernet หรือสาย Coaxial อย่างบาง • มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซ.ม. • มีระยะทางสูงสุดไม่เกิน 185 เมตร

  44. มาตรฐานสายสัญญาณ • สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EIA (Electronics Industries Association) และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ TIA (Telecommunication Industries Association) ได้ร่วมกันกำหนด มาตรฐาน EIA/TIA 568 • เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสาย UTP แบ่งประเภทของสายออกเป็นหลายประเภทโดยแต่ละประเภทเรียกว่า Category N โดย N คือ หมายเลขที่บอกประเภท

  45. มาตรฐานสายสัญญาณ • ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติ (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-Fคุณสมบัติทั่วไปของสายแต่ละประเภทเป็นดังนี้

  46. มาตรฐานสายสัญญาณ LAN 1Gbps 1000 Mbps EIA/TIA 568 กำหนดความยาวของสายสัญญาณ UTP ในการติดตั้งไม่เกิน 100 เมตร

  47. หัวเชื่อมต่อ • สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป • ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ • หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ • หัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเลียว 4 คู่ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น RJ-45 RJ-11

  48. หัวเชื่อมต่อ RJ-45 Female/ Jack RJ-45 Male

  49. (ต่อ Computer กับ Switch) (ต่อ Computer กับ Computer หรือ switch กับ switch)

More Related