1 / 23

บทที่ 1 : นวัตกรรมเบื้องต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ

บทที่ 1 : นวัตกรรมเบื้องต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ. อาจารย์ธ นากร อุย พานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ สวน สุนัน ทา. วัตถุประสงค์การเรียนรู้.

Télécharger la présentation

บทที่ 1 : นวัตกรรมเบื้องต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1: นวัตกรรมเบื้องต้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ อาจารย์ธนากร อุยพานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม • นักศึกษาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการประดิษฐ์และนวัตกรรมได้ • นักศึกษาสามารถอธิบายความแตกต่างของนวัตกรรมแต่ละประเภทได้

  3. นวัตกรรม คืออะไร นวัตกรรม มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาติน “Nova” หมายถึง ความใหม่ ดังนั้น การให้คำนิยามของนวัตกรรมจึงขึ้นอยู่กับระดับของความใหม่ ( Degree of Novelty ) ดังนี้ • นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่บุคคลโดยทั่วไปยอมรับกันว่ามีความใหม่ • นวัตกรรม คือ ความใหม่ที่นำไปประยุกต์ใช้กับการผลิต , การจัดจำหน่าย และ การบริโภค ( ผลิตภัณฑ์ , บริการ ) • นวัตกรรม คือ การแตกความคิดที่สมบูรณ์แบบ • นวัตกรรม คือ การสร้างกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่และขายได้เป็นรายแรก Smith ( 2010 : p5)

  4. นวัตกรรม หรือ ไม่ - สวัสดิ์ นฤวรวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด…บอกว่าขอเปิด...เปิดศักราชปีม้า...ด้วยการชูความเป็นเจ้าตลาดนวัตกรรมคืนเบี้ยประกัน...รุกไตรมาสแรกด้วยแบบประกัน “ไม่มีโรค มีคืน” คุ้มครองโรคร้ายแรงสามกลุ่มหลัก มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง สูงสุดถึง 1,000,000 บาท

  5. ระดับของความใหม่

  6. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้

  7. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบการทำซ้ำ

  8. การจำแนกประเภทของนวัตกรรมการจำแนกประเภทของนวัตกรรม • การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ (The Area of Impact)

  9. การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือวิธีการใช้ก็ดี รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพแลประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (รักษ์ วรกิจโภคาทร, 2547) ตัวแปรหลักที่สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์มี 2 ตัวแปร คือ โอกาสทางด้านเทคโนโลยี และ ความต้องการของตลาด

  10. การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) การประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ๆ ที่ส่งผลให้กระบวนการผลิต และการทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ เป็นต้น (รักษ์ วรกิจโภคาทร, 2547)

  11. การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • นวัตกรรมในลักษณะเฉียบพลัน ( Radical Innovation) เป็นนวัตกรรมที่มีระดับความใหม่ ในลักษณะที่มีความแตกต่างไปจากกรรมวิธี และแนวคิดเดิมไปอย่างสิ้นเชิงหรือเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน เช่น กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงมาจากกล้อง ถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม โทรศัพท์ที่เกิดขึ้นแทนการส่งข้อความด้วยจดหมายหรือบันทึกข้อความ เป็นต้น

  12. การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • นวัตกรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation) มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป มีการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทีละเล็กละน้อย จากเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม Christensen (1997) ได้ให้ความหมายว่าเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากความเชี่ยวชาญขององค์การหรือธุรกิจ ในเรื่องของเทคโนโลยีภายใต้โครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเดิม เช่น เครื่องซักผ้าที่มีการเปลี่ยนระบบการหมุน และประสิทธิภาพในการซักให้มีคุณภาพมากขึ้นหรือเครื่องปรับอากาศที่มีการปรับปรุงระบบการฟอกอากาศและการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

  13. การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ(The Area of Impact) • นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เป็นนวัตกรรมที่มีพื้นฐานหรือขอบเขตของการพัฒนามาจากเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีมีบทบาทและความสำคัญต่อหลายๆอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี ช่วยทำให้การพัฒนานวัตกรรมสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค และสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นนวัตกรรมที่มีแรงผลักดันที่สำคัญของความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชากร

  14. การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ (The Area of Impact) • นวัตกรรมทางการบริหาร (Administrative Innovation) การคิดค้นและเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการ ตลอดจนกระบวนการจัดการองค์การใหม่ ที่ส่งผลให้ระบบการทำงาน การผลิตการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการให้บริการขององค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การบริหารองค์การในลักษณะโครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ การใช้แนวคิด Balanced Score Card ในการวางแผนและประเมินผลงานขององค์การ แ น ว คิด ข อ ง ก า ร พัฒ น า น วัต ก ร ร ม แ บ บ เ ปิด ( O p e n Innovation) ก็จัดได้ว่าเป็นลักษณะของนวัตกรรมทางการบริหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานขององค์การหรือธุรกิจให้มีประสิทธิภาพหรือประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

  15. ความสำคัญของนวัตกรรมต่อวงการห้องสมุดความสำคัญของนวัตกรรมต่อวงการห้องสมุด นวัตกรรม ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โอกาสทางการตลาด และความสำเร็จให้แก่ธุรกิจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการใช้เรื่องของการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการสร้างความแตกต่างทางธุรกิจ จนเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันว่า การเป็นผู้ประกอบการ และการมีนวัตกรรมเป็น สิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Drucker, 1994 ; Kanungo, 1999 และ Zhao, 2001)

  16. ตัวอย่าง • Google ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมด้านการค้นหาข้อมูล • Amazon ที่สามารถครองตลาดการจำหน่ายหนังสือด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต • Starbuck ผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟ ที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนานวัตกรรมการดื่มกาแฟที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรม • Microsoft ผู้ประกอบการด้านธุรกิจซอฟต์แวร์ ที่ครองตลาดโลกด้วยการมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนวัตกรรมกระบวนการที่สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และการสร้างอิทธิพลเหนือช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบเดิมๆ เป็นต้น

More Related