1 / 110

เทคนิคการกำกับดูแล โรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์

เทคนิคการกำกับดูแล โรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์. เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์. กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์  การขออนุญาตตั้ง โรงงานสุราแช่ชนิด เบียร์  การใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ เพื่อการเสียภาษี  การผลิตและจำหน่ายสุรา แช่ชนิดเบียร์

Télécharger la présentation

เทคนิคการกำกับดูแล โรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์

  2. เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ • กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ การขออนุญาตตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ การใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ เพื่อการเสียภาษี การผลิตและจำหน่ายสุราแช่ชนิดเบียร์ การส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ออกไปนอกราชอาณาจักร การขอคืนค่าภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่เสื่อมสภาพ

  3. เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ การกำกับดูแลทางกายภาพ อาคารสิ่งปลูกสร้าง การใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ การกำกับดูแลทางบัญชี การรับจ่าย-วัตถุดิบ การต้ม-กรองเบียร์ การผลิตเบียร์

  4. เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์เทคนิคการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ การอนุญาตนำเบียร์ไปบรรจุภาชนะ รายงานการบรรจุเบียร์ การขนเบียร์ออกจากโรงงานสุรา การควบคุมการปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาฯ

  5. กระบวนการผลิตเบียร์

  6. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ 1. มอลท์ (MALT) 2. ดอกฮ๊อปส์ (HOPS) 3. น้ำ (WATER) 4. ยีสท์ (YEAST) 5. เมล็ดของพืชอื่นๆ

  7. ขั้นตอนที่ 1 การต้ม (BREWING) • หม้อต้มข้าวมอลท์(MASH VESSEL) • ต้มข้าวมอลท์ เพื่อให้เอ็นไซน์เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หม้อแยกกาก (LAUTER TUN)  เพื่อแยกกากมอลท์และปลายข้าว (Spent Grain) ออกได้น้ำเวอร์ท • หม้อต้มเวอร์ท(WORT KETTLE) • ต้มเวอร์ทโดยใช้อุณหภูมิ 100 oC ประมาณ 90 นาที • เพื่อฆ่าเชื้อ หยุดทำงานของเอ็นไซม์และต้มฮ็อพ • ให้ละลายเข้ากัน หม้อกรอง (WHIRLPOOL)  กวนเวอร์ท เพื่อให้เกิดแรงดึงดูดให้กากและตกตะกอน ของโปรตีนและกากฮ๊อพ ลงสู่ก้นถัง แล้วแยกออกจากกัน

  8. ขั้นตอนที่ 2 การหมัก (FERMENTATION) • เครื่องทำความเย็นเวอร์ท (Wort Cooler) • เวอร์ทที่ออกจากหม้อกรองแล้วจะผ่านเข้าเครื่องทำความเย็น • โดยใช้น้ำเย็น 0oC หรือ ไกลคอล (glycol) -4oC • เพื่อทำให้เวอร์ท เย็นลงจนได้ 11 – 13 oC WORT COOLER ถังหมัก (Fermentation Tank)  ทำการเติมออกซิเจนซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้วและยีสต์เข้าไป ในเวอร์ทแล้วส่งเข้าถังหมัก การหมักใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน ที่อุณหภูมิ 10 – 14 oC เมื่อยีสต์เปลี่ยนน้ำตาล ให้เป็นแอลกอฮอล์ และคาร์บอนไดออกไซด์หมดแล้ว เบียร์จะถูกทำให้เย็นลง เพื่อหยุดการทำงานของยีสต์ และจะทำให้ยีสต์ตกตะกอนสู่ก้นถัง น้ำเบียร์ที่ได้จะถูกส่งไป ถังบ่มต่อไป FERMENTATION _ TANK

  9. ขั้นตอนที่ 3 การบ่ม (MATURATION) MATURATION TANK • ถังบ่ม (Maturation Tank) • เบียร์จะบ่มที่อุณหภูมิ 2 – 4 oC ใช้เวลาประมาณ 8 - 10 วัน • เป็นการหยุดปฏิกิริยาทางเคมีและชีวเคมีต่างๆ ทำให้เบียร์ใสและกลมกล่อม • เบียร์ที่ผ่านการบ่มจะถูกทำให้เย็นประมาณ 1 ถึง -1 oC และจะทำการใส่ PVPP (โพลีไวนิล โพลีไพโรลิโดน) เพื่อรักษาคุณภาพเบียร์ไม่ให้เกิดตะกอน

  10. ขั้นตอนที่ 4 การกรองเบียร์ (FILTRATION) • เครื่องกรองเบียร์ (Beer Filter) • เบียร์ที่ได้จากการบ่มจะมีสารแขวนลอย • และยีสต์ปนอยู่ ดังนั้นเบียร์จะต้องผ่าน • การกรองและปรับคุณภาพ BEER FILTER

  11. ขั้นตอนที่ 5 การบรรจุ (PACKAGING) แบ่งได้ 3 สายการบรรจุ คือ สายการบรรจุเบียร์ขวด BOTTLE FILLER สายการบรรจุเบียร์กระป๋อง CAN FILLER สายการบรรจุเบียร์สด KEG FILLER

  12. สายการบรรจุเบียร์ขวด BOTTLE FILLER ถังเบียร์ใส เครื่องมือวัดจุดที่ 1 เครื่องตรวจขวดเปล่า เครื่องล้างขวด เครื่องบรรจุ เครื่องปิดฉลาก เครื่องฆ่าเชื้อ เครื่องเช็คระดับและเครื่องมือวัดจุดที่ 2 เครื่องมือวัดจุดปิดฉลาก เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องมือวัดจุดที่ 3

  13. สายการบรรจุเบียร์กระป๋องสายการบรรจุเบียร์กระป๋อง CAN FILLER ถังเบียร์ใส เครื่องมือวัดจุดที่ 1 เครื่องบรรจุ เครื่องล้างกระป๋องเปล่า เครื่องพิมพ์วันที่ เครื่องฆ่าเชื้อ เครื่องมือวัดจุดที่ 2 เครื่องมือวัดจุดพิมพ์วันที่ เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องมือวัดจุดที่ 3

  14. สายการบรรจุเบียร์สด ถังเบียร์ใส เครื่องมือวัดจุดที่ 1 ถังเปล่า เครื่องล้างภายนอก เครื่องล้างภายในและบรรจุ เครื่องมือวัดจุดที่ 2 เครื่องชั่งตรวจสอบน้ำหนัก ปิดฝาและแสตมป์ภาษี

  15. ถังเก็บมอลท์ ฮ็อพ หม้อต้มมอลท์ หม้อกรองเวอร์ท หม้อต้มเวอร์ท หม้อแยกกาก อากาศและยีสต์ เครื่องทำความเย็น เครื่องกรองเบียร์ เครื่องตรวจ ขวดเปล่า เครื่องปิดฝา เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องบรรจุ เครื่องปิดฉลาก ถังหมัก เครื่องล้างขวด ถังบ่ม กระบวนการผลิตเบียร์

  16. ความเป็นมา ประเทศไทยนั้น พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่อง ขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์ ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่าย ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์

  17. ความเป็นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัท บางกอกเบียร์ จำกัด ผลิตเบียร์ ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป และในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเบียร์ในประเทศไทย ได้แก่ • บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ ตราสิงห์ โรงงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขอนแก่น และมีโครงการปลูกข้าวบาร์เลย์ โรงงานแปรรูปมอลท์อยู่ทางภาคเหนือ • บริษัท ไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ ตราอมฤต เอ็นบี คลอสเตอร์ และรับผลิตเบียร์บัดไวเซอร์ จากสหรัฐอเมริกา ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดย ซาน มิเกล จากฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2547 • บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ ตราช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งโรงงานอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา • บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ ตราช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งโรงงานอยู่ที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา • บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร • บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ไฮเนเก้น เบียร์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มวางจำหน่าย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2538 ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี

  18. ข้อมูลผู้ได้รับอนุญาตให้ทำและขายส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 10 ล้านลิตรต่อปีขึ้นไป จำนวน 8 ราย

  19. สถิติผลการจัดเก็บภาษีเบียร์ปีงบประมาณ 2551 ถึงปีงบประมาณ 2556

  20. การควบคุมโรงงานเบียร์การควบคุมโรงงานเบียร์ ด้านสิ่งปลูกสร้าง - แบบแปลนแผนผังโรงงานต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต - การแก้ไขแบบแปลนแผนผังต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ - สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นไปตามระเบียบฯ กำหนด ด้านบริหารการจัดเก็บภาษี - ติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราเพื่อการเสียภาษี - ชำระภาษีก่อนอนุญาตให้นำเบียร์ไปบรรจุภาชนะ - จัดทำบัญชีประจำวันและบัญชีงบเดือน

  21. การควบคุมโรงงานเบียร์การควบคุมโรงงานเบียร์ ด้านการควบคุมของผู้ควบคุมโรงงาน - สิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต - การขออนุญาตนำเบียร์บรรจุภาชนะ - การขนเบียร์ออกจากโรงงาน - การจัดทำบัญชีประจำวัน และบัญชีงบเดือน - ตัวแทนกรมฯ ในการติดต่อประสานงานในด้านข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกรมฯ

  22. การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ • กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ •  ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง วิธีการบริหารงานสุรา • พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543 • แบ่งขนาดของโรงงานเบียร์เป็น 2 ลักษณะ • โรงงานเบียร์ขนาดใหญ่ • โรงงานเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต • (Brewpub)

  23. การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ คุณสมบัติ  โรงงานเบียร์ขนาดใหญ่ - เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายไทย - มีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด - ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีเงินค่าหุ้นหรือเงินลงทุนที่ชำระแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท - ปริมาณการผลิต ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี  โรงงานเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) - เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายไทย - มีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด - ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีเงินค่าหุ้นหรือเงินลงทุนที่ชำระแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท - ปริมาณการผลิต ไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1,000,000 ลิตรต่อปี

  24. การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์การตั้งโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ เงื่อนไขการขออนุญาต - เสนอโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานสุรา - ดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงาน และสำเนาให้กรมสรรพสามิตทราบ - ก่อสร้างโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์เสร็จ แจ้งเป็นหนังสือให้ กรมสรรพสามิตทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 15 วัน - ทำสัญญาว่าด้วยการอนุญาตให้ทำและขายส่งสุรา กับกรมสรรพสามิต

  25. การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราเพื่อการเสียภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ เงื่อนไข - เป็นผู้ได้รับอนุญาตที่มีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี - เป็นโรงงานสุราที่มีผู้ควบคุมโรงงาน - สายการบรรจุที่ติดตั้งเครื่องมือฯ จะนำไปใช้บรรจุสุราอย่างอื่นไม่ได้  การปฏิบัติ - ขออนุญาตใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุรา ต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต โดยผ่านสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานตั้งอยู่ - ก่อนเริ่มบรรจุไม่น้อยกว่า 180 วัน - ระบุชนิดสุรา ชื่อสุรา และขนาดภาชนะบรรจุที่จะขอเสียภาษี โดยวิธีการใช้เครื่องมือพร้อมแบบแปลนแผนผังโรงงานและ สายการบรรจุ ขนาดท่อทางเดิน คุณสมบัติของเครื่อง ฯลฯ

  26. การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ จุดติดตั้งเครื่องมือฯ - จุดติดตั้งที่ 1 สำหรับติดตั้งเครื่องมือแสดงปริมาณการจ่ายน้ำสุรา อยู่ระหว่างถังพักเพื่อนำไปบรรจุภาชนะกับเครื่องบรรจุภาชนะ - จุดติดตั้งที่ 2 สำหรับติดตั้งเครื่องมือแสดงปริมาณน้ำสุรา ที่ได้บรรจุภาชนะแล้ว จำนวน 2 เครื่อง อยู่ถัดจากเครื่องปิดฝาภาชนะ บรรจุในระยะที่ใกล้ที่สุด ที่สามารถติดตั้งได้ อยู่ภายในกล่องพลาสติก มีฝาครอบ พร้อมที่ใส่กุญแจ - จุดติดตั้งที่ 3 สำหรับติดตั้งเครื่องมือแสดงปริมาณน้ำสุรา ที่ได้บรรจุภาชนะแล้ว จำนวน 2 เครื่อง อยู่ถัดจาก เครื่องปิดฝากกล่องบรรจุภาชนะ อยู่ภายในกล่องพลาสติก พร้อมที่ใส่กุญแจ

  27. การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ

  28. การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ ข้อปฏิบัติสำหรับการติดตั้งเครื่องมือฯ - กรมสรรพสามิตมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนเริ่มติดตั้ง - ระหว่างติดตั้งต้องหยุดการบรรจุ - การติดตั้งต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน 120 วัน นับแต่วันเริ่มติดตั้ง - เมื่อติดตั้งเสร็จ กรมสรรพสามิตจะทำการสอบเทียบ ความถูกต้องก่อนอนุญาตให้ใช้เครื่องมือฯ - หลังติดตั้งเครื่องมือฯ กรมสรรพสามิตจะสอบเทียบ เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราใหม่ อย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง

  29. การขอใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราฯ  หน้าที่ของผู้ควบคุมโรงงานสุราหลังติดตั้งเครื่องมือฯ - จัดทำทะเบียนประวัติ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ - ติดตั้งป้ายแสดงข้อความ ให้เห็นชัดเจน “ เครื่องมือแสดงปริมาณการจ่ายน้ำสุรา กรมสรรพสามิต เครื่องที่... เริ่มใช้วันที่...เดือน.....พ.ศ. ...” และ “เครื่องมือแสดงปริมาณน้ำสุราที่ได้บรรจุภาชนะแล้ว กรมสรรพสามิต เครื่องที่... เริ่มใช้วันที่...เดือน.....พ.ศ. ...” - ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ก่อนอนุญาตให้ผู้ใด เข้าทำการตรวจสอบหรือกระทำการใดๆ ต่อเครื่องมือฯ และให้บุคคลนั้นบันทึกรายละเอียดและลงนามในสมุดประวัน

  30. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์  ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543  ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดปริมาณการสูญเสียปกติของน้ำสุราแช่ ชนิดเบียร์ ที่สูญเสียในระหว่างทำการบรรจุภาชนะ ลงวันที่ 22 มกราคม 2546  ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมการเสียภาษีสุราสำหรับสุราแช่ ชนิดเบียร์ที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ลงวันที่ 14 กันยายน 2526  ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานทำสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ทำ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ลงวันที่ 14 กันยายน 2526  ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราเพื่อการเสียภาษี สุราแช่ พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 22 มกราคม 2545

  31. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ เงื่อนไขการผลิตสุรา - ยื่นขออนุญาตพร้อมเสนอกรรมวิธีการทำสุราและวัตถุดิบที่ใช้ ในการทำสุราให้กรมสรรพสามิตพิจารณาอนุญาต - ส่งตัวอย่างน้ำสุรา ให้กรมสรรพสามิตทำการวิเคราะห์ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะนำออกจากโรงงานสุราได้ - สุราต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสุรา และตรงตามตัวอย่างที่กรมสรรพสามิตหรือเจ้าพนักงานสรรพสามิต ประจำโรงงานสุราเก็บรักษาไว้ - ส่งตัวอย่างฉลากและเครื่องหมายต่างๆ ที่จะใช้บรรจุสุรา ให้กรมสรรพสามิตพิจารณาและให้ความเห็นชอบ

  32. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ - มีสุราอย่างอื่นนอกจากสุราที่ได้รับอนุญาตให้ทำไว้ในโรงงานสุราได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตแล้วเท่านั้น - ยินยอมให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพสุราที่ทำขึ้นก่อนนำออกจาก โรงงานสุรา - แจ้งราคาขาย ณ โรงงานสุรา ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี - ทำบัญชีแสดงผลการทำสุราและการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อใช้ทำสุรา ตามแบบที่กรมสรรพสามิตกำหนด - ก่อนนำสุราออกจากโรงงานสุรา ต้องชำระเงินค่าภาษีสุรา - การจะนำเบียร์ไปบรรจุภาชนะเพื่อนำออกจำหน่าย ต้องใช้เครื่องมือ วัดปริมาณน้ำสุราเพื่อการเสียภาษีฯ

  33. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ การอนุญาตให้นำสุราแช่ชนิดเบียร์ไปบรรจุภาชนะ - แสดงหลักฐานการชำระภาษีล่วงหน้าและการสั่งจ่ายน้ำสุรา ต่อผู้ควบคุมโรงงาน - ผู้ควบคุมโรงงาน ตรวจสอบหลักฐานการขอบรรจุน้ำเบียร์ ก่อนอนุญาตให้ทำการบรรจุ - ผู้ควบคุมโรงงาน ต้องควบคุมมิให้มีการบรรจุสุราเกินกว่าที่ได้ ชำระภาษีไว้ หน้าที่ของผู้ควบคุมโรงงานระหว่างการบรรจุเบียร์ลงภาชนะ - ร่วมกันทำการบันทึกตัวเลขแสดงปริมาณน้ำสุรา ที่จ่ายมาบรรจุภาชนะ - ระหว่างบรรจุหากมีเหตุขัดข้อง เช่น เครื่องมือฯ เสีย ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำสุรา พร้อมบันทึกผลการปฏิบัติงาน

  34. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ - จัดทำบัญชีแสดงการจ่ายน้ำสุราและที่บรรจุภาชนะได้ และบัญชีแสดงการรับ-จ่าย น้ำสุราบรรจุภาชนะแล้ว แยกตามชื่อ ตรา และขนาดภาชนะบรรจุ - ร่วมกันตรวจสอบปริมาณน้ำสุราที่สูญเสียจริง แล้วทำการบันทึกไว้ในสมุดควบคุมปริมาณน้ำสุรา และเก็บไว้ประจำสำนักงานสรรพสามิตผู้ควบคุมโรงงาน - ตรวจสอบภาชนะบรรจุสุราที่กรมสรรพสามิตกำหนดให้ ผู้ได้รับอนุญาตที่ใช้เครื่องมือฯ จะต้องพิมพ์ข้อความ “ชำระภาษีแล้ว” ด้วยตัวอักษรสีแดง ที่ฉลากปิดภาชนะบรรจุ ขวดหรือฝากระป๋อง และการประทับตรา วัน เดือน ปี ที่บรรจุภาชนะ และที่ควรบริโภคก่อน หรือเครื่องหมาย ที่กรมสรรพสามิตเห็นชอบ

  35. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ การเครดิตน้ำสุราที่สูญเสียระหว่างการบรรจุ - ปริมาณการสูญเสียไม่เกินร้อยละ 1.5 ยื่นขอเครดิตผ่านผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเสนอต่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานสุรา ตั้งอยู่ เพื่อออกหนังสือสั่งจ่ายน้ำสุรา - ปริมาณการสูญเสียเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด หากประสงค์ขออนุมัติเครดิต ยื่นคำขอพร้อมเหตุผลและหลักฐานการตรวจสอบฯ ผ่านผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อเสนอกรมสรรพสามิตสั่งการต่อไป - ปริมาณการสูญเสียระหว่างจุดติดตั้งที่ 2 กับจุดติดตั้งที่ 3 หากประสงค์ขอเครดิต แจ้งหลักฐานและเอกสารแสดงปริมาณการสูญเสียผ่านผู้ควบคุมโรงงาน  ร่วมกันตรวจสอบและบันทึกปริมาณน้ำสุราสูญเสียตามที่ตรวจนับได้จริง (กรณีแตกรั่ว ให้ตรวจนับเฉพาะที่มีฝาปิดปากขวดหรือกระป๋อง)

  36. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ การตรวจสอบปริมาณน้ำสุรา ผู้ควบคุมโรงงานนำปริมาณที่ได้ จากเครื่องมือที่จุดติดตั้งที่ 2 ลบด้วยปริมาณที่ได้จากเครื่องมือ ที่จุดติดตั้งที่ 3 กรณีเครื่องมือที่จุดติดตั้งที่ 3 ชำรุด ให้นำปริมาณน้ำสุรา ที่ได้จากเครื่องมือที่จุดติดตั้งที่ 2 ลบด้วยปริมาณที่ได้จากการตรวจนับ กล่องบรรจุภาชนะ แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 3 คน ตรวจสอบหลักฐาน และตรวจนับ เงินภาษีหรือระยะเวลาที่ขอเครดิตต่อครั้ง แล้วบันทึกผลการตรวจสอบไว้ ดังนี้- ไม่เกิน 150,000 บาท สำหรับโรงงานที่มีการผลิตไม่เกิน 10 ล้านลิตรต่อเดือน หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง - เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับโรงงานที่มีการผลิตเกิน 10 ล้านลิตรต่อเดือน แต่ไม่เกิน 20 ล้านลิตรต่อเดือน หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ต่อครั้ง - เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับโรงงานที่มีการผลิตเกิน 20 ล้านลิตรต่อเดือน หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

  37. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ กรณีเครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราชำรุดเสียหาย เกิดขึ้น ณ จุดที่ 1 หรือจุดที่ 2 จนไม่สามารถคำนวณน้ำสุราได้ ดังนี้ - ตัวเลขแสดงค่าไม่เคลื่อนไหว - ตัวเลขแสดงค่า ณ จุดที่ 2 มากว่า จุดที่ 1 - ตัวเลขแสดงค่า ณ จุดที่ 3 มากกว่า จุดที่ 1 หรือจุดที่ 2 - ปริมาณที่จ่ายออกถังพักไม่สอดคล้องกับตัวเลขแสดงค่า ของเครื่องมือวัด

  38. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ กรณีการตรวจนับภาชนะบรรจุภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมโรงงาน - กรณีไม่เกิน 15 วัน ผู้ควบคุมดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต - กรณีมากกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ผู้ควบคุมโรงงานทำหนังสือรายงานโดยตรง แล้วสำเนาเรื่อง ให้กลุ่มพัฒนาและตรวจสอบทางเทคนิคต่อไป - กรณีมากกว่า 30 วัน ผู้ควบคุมโรงงานทำหนังสือรายงานโดยตรง ต่ออธิบดี พร้อมข้อเท็จจริงและเหตุผล

  39. การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ กรณีการตรวจพบเครื่องมือฯ ชำรุดเสียหาย ให้ผู้ควบคุมโรงงานดำเนินการดังนี้ - บันทึกความผิดปกติฯ ที่ตรวจพบ (ตามแบบที่กำหนด) แล้วส่งโทรสารไปยังกลุ่มพัฒนาและตรวจสอบทางเทคนิค - แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำสุราทราบ เพื่อนับภาชนะที่บรรจุได้จริง - แขวนป้ายแสดงข้อความ “เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราชำรุด”

  40. การคำนวณภาษีสุรา • พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๘ ตรี การเสียภาษีสุรานั้น ให้เสียในอัตราทั้งตามมูลค่าและตามปริมาณ • กฎกระทรวง กำหนดชนิดของสุราและอัตราภาษีสุรา พ.ศ. ๒๕๕๖

  41. การคำนวณภาษีสุรา • กฎกระทรวง กำหนดชนิดของสุราและอัตราภาษีสุรา พ.ศ. ๒๕๕๖

  42. การคำนวณภาษีสุรา

  43. การคำนวณภาษีสุรา = 5.0400 23.3166 = 17.4576 = 5.8590

  44. การคำนวณภาษีสุรา กรณีดีกรีเกินกำหนด = 5.0400 = 17.4576 = 5.8590 25.2066 = 1.8900

  45. การส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ออกไปนอกราชอาณาจักรการส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ออกไปนอกราชอาณาจักร กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ กฎกระทรวง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขอและการยกเว้นภาษีสุรา การเก็บและการขนสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2555 กฎกระทรวง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2555  ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการควบคุมและตรวจสอบ การยกเว้นภาษีสุราและการคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไป นอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2555

  46. การส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ออกไปนอกราชอาณาจักร โดยวิธียกเว้นภาษี กรมสรรพสามิตหรือ ผู้ได้รับมอบหมาย สนง. สส.พื้นที่ปลายทาง ผู้ขอยกเว้นภาษี สนง. สส.พื้นที่ต้นทาง 1. ผู้ขอยกเว้นภาษีสุราต้องได้รับอนุญาตให้ส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักร จากพนักงานเจ้าหน้าที่ 2. ก่อนยื่นคำขอยกเว้นภาษีสุรา ให้ส่งตัวอย่างภาชนะบรรจุสุราและฉลาก หรือเครื่องหมายแสดงการยกเว้นภาษีสุราที่จะใช้บรรจุสุราและปิดภาชนะ บรรจุสุราให้สรรพสามิตพื้นที่ต้นทาง ดังนี้ - ตัวอย่างภาชนะบรรจุสุรา ชนิดหรือขนาดละ 1 ตัวอย่าง - ตัวอย่างฉลากหรือเครื่องหมายแสดงการยกเว้นภาษีสุรา ซึ่งทำเครื่องหมาย “FOR EXPORT ONLY” หรือ “FOR EXPORT” - กรณีที่มีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ให้ส่งตัวอย่างให้สรรพสามิตพื้นที่ต้นทางอนุมัติ พิจารณาอนุมัติให้ใช้ฉลาก แล้วแจ้งให้กรมสรรพสามิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รับทราบทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร เพื่อสรรพสามิตพื้นที่ต้นทาง พิจารณาเสนออธิบดี พิจารณาสั่งยกเว้นภาษีสุรา 3. ยื่นคำขอยกเว้นภาษีสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ต้นทาง ตามแบบ ส.2/84 ก 4. สุราที่ได้รับยกเว้นภาษีสุราต้องบรรจุในภาชนะบรรจุสุรา และปิดฉลาก หรือเครื่องหมายแสดงการยกเว้นที่ได้รับอนุมัติ ภายใต้การควบคุมของ ผู้ควบคุมโรงงาน และเก็บสุราที่ได้รับยกเว้นภาษีสุราไว้ ณ สถานที่เก็บ ที่กรมสรรพสามิตกำหนด - แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต ไปตรวจสุราที่ได้รับยกเว้นภาษีสุรา และที่ขนออก ณ โรงงานสุรา หรือสถานที่เก็บสุรา - แจ้งสรรพสามิตพื้นที่ปลายทางทราบ รับทราบและตรวจสอบ 5. เมื่อส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้ - ทำหนังสือแจ้งต่อสรรพสามิตพื้นที่ต้นทาง - แสดงคำสั่งยกเว้นฯ ที่ระบุการตรวจสอบตามขั้นตอน - แจ้งรายละเอียดชนิดและจำนวนสุรา วัน เดือน ปี ที่ส่งสุราออกไป และเลขที่ใบขนสินค้าของกรมศุลกากร - หากสุราสูญหายหรือขาดจำนวนไป ให้เสียภาษีสุราตามชนิดและ จำนวนสุราที่สูญหาย ยกเว้นแต่พิสูจน์ว่าสูญหายหรือขาดจำนวนไป ตามธรรมชาติ รับทราบและตรวจสอบ

  47. การส่งสุราแช่ชนิดเบียร์ออกไปนอกราชอาณาจักร โดยวิธีขอคืนค่าภาษี สนง.สส.พื้นที่ปลายทาง กรมสรรพสามิตหรือ ผู้ได้รับมอบหมาย สนง. สส.พื้นที่ต้นทาง ผู้ขอคืนค่าภาษี 1. ผู้ขอคืนค่าภาษีสุราต้องได้รับอนุญาตให้ส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักร จากพนักงานเจ้าหน้าที่ รับทราบทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาเห็นชอบ 2. ผู้ขอคืนค่าภาษีที่ประสงค์ใช้ฉลากปิดภาชนะที่จะส่งออกไป นอกราชอาณาจักรใหม่ ให้ส่งตัวอย่างฉลากปิดภาชนะบรรจุสุรา ให้สรรพสามิตพื้นที่ต้นทางพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนยื่นคำขอคืน ค่าภาษีสุรา โดยทำเครื่องหมาย “FOR EXPORT ONLY” หรือ “FOR EXPORT” 1. เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบความถูกต้อง 2. พิจารณาแต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิตไปตรวจ สุราที่จะขอคืนภาษีสุรา ณ สถานที่เก็บ และให้ดำเนินการดังนี้ - กรณีสุราที่เสียภาษีโดยวิธีการปิดแสตมป์ ให้ทำ เครื่องหมาย “คืนค่าภาษีสุรา”เป็นภาษาไทย ที่มองเห็นชัดเจน โดยใช้ตัวอักษรสีแดงเส้นทึบ ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ประทับลงบนชายของดวงแสตมป์สุรา - ตรวจสอบความถูกต้องของฉลาก - แจ้งให้ผู้ควบคุมโรงงานสุราออกใบอนุญาต- ขนสุรา (แบบ ส. 1/43) 3. แจ้งให้สรรพสามิตพื้นที่ปลายทางทราบ รับทราบ 3. ยื่นคำขอคืนค่าภาษีสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ต้นทาง ตามแบบ ส. 2/84 ข - แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต ไปตรวจสุราที่จะขอคืนค่าภาษี ซึ่งขนมาถึงด่านศุลกากรหรือ สำนักงานศุลกากรและส่งออก ไปนอกราชอาณาจักรว่าถูกต้อง ตามรายการที่ระบุในแบบ ส. 2/84 ข และใบอนุญาตขน- สุรา (แบบ ส. 1/43) หรือไม่ แล้วให้บันทึกในแบบ ส. 2/84 ข 4. ผู้ขอคืนค่าภาษีสุราต้องนำใบอนุญาตขนสุรา (แบบ ส. 1/43) กำกับไปกับสุราที่ขน และแจ้งสรรพสามิตพื้นที่ปลายทางเมื่อขนสุราไปถึง 5. เมื่อส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้ - แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ต้นทางทราบเกี่ยวกับรายละเอียด ชนิดและจำนวนสุรา วัน เดือน ปี ที่ส่งสุราออกไป และเลขที่ ใบขนสินค้าของกรมศุลกากร ตามแบบ ส. 2/84 ค - พร้อมแสดงคำขอคืนค่าภาษีสุรา แบบ ส. 2/84 ข และใบอนุญาตขนสุรา (แบบ ส. 1/43) ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตปลายทางได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว - เจ้าพนักงานสรรถสามิตตรวจสอบความถูกต้อง • พิจารณาเสนออธิบดี พิจารณา สั่งคืนค่าภาษีสุรา

  48. การขอคืนค่าภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่เสื่อมสภาพการขอคืนค่าภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่เสื่อมสภาพ กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ กฎกระทรวง กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขอคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุรา ที่แปรสภาพไปเองจนไม่สมควรจะใช้ดื่มต่อไป พ.ศ. 2547ลงวันที่ 21 มกราคม 2547 ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุราที่แปรสภาพไปเองจนไม่สมควรจะใช้ดื่มต่อไป พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 หนังสือกรมสรรพสามิต เรื่อง แนวปฏิบัติในการขอคืนค่าภาษีสุราที่เสื่อมสภาพ ภายในโรงงาน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551

  49. การขอคืนค่าภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่เสื่อมสภาพการขอคืนค่าภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่เสื่อมสภาพ สนง. สส.พื้นที่ สนง. สส.ภาค กรมสรรพสามิต ผู้ขอคืนค่าภาษี 1. ผู้ขอคืนค่าภาษีสุราต้องเป็นเจ้าของสุรา และเป็นสุรา ซึ่งแปรสภาพไปเองจนไม่สมควรจะใช้ดื่มต่อไป ดังนี้ - สี หรือกลิ่น หรือรส หรือแรงแอลกอฮอล์ของสุรา มีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิม - ขุ่น หรือมีตะกอน - มีคุณลักษณะทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร และ สารปนเปื้อนไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกำหนด 1. เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ ความถูกต้อง • 2. ตรวจสอบการเสียภาษีสุรากับรายการ • และจำนวนสุรา • 3. ตรวจสอบจำนวนสุราที่ขอคืนค่าภาษีสุรา • ต้องไม่เกินครั้งละสี่แสนลิตร • 4. แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิตไปตรวจสอบ • และตรวจนับจำนวนสุรา จำนวน 3 คน • 5. ออกใบอนุญาตขนสุราแก่เจ้าของสุรา พร้อม • หนังสือแจ้งและแนบบันทึกการตรวจสอบ • และตรวจนับจำนวน เพื่อประกอบ • การพิจารณา • 6. จัดทำทะเบียนคุมการขอคืนค่าภาษีสุรา • 2. ยื่นคำขอคืนค่าภาษีสุราต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานสุรา • ที่จะขนกลับคืนตั้งอยู่ โดยขอคืนได้ครั้งละไม่เกิน • สี่แสนลิตร และการขอคืนคราวต่อไป จะกระทำได้ • เมื่อได้รับค่าภาษีสุราที่ได้ขอไว้ก่อนครบถ้วนแล้ว • พร้อมหลักฐานการชำระภาษีสุราและเอกสาร 1. การสั่งคืนค่าภาษีสุราโดยผู้อำนวยการ สำนักงานสรรพสามิตภาค 2. แต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 3 คน 3. คณะกรรมการฯ ควบคุมการแกะลอกแสตมป์ สุราและทำลายแสตมป์สุราโดยวิธีการเผาไฟ หรือทำลายเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสุรา หรือกรณีใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราให้เปิด และทำลายฝาภาชนะบรรจุจนไม่สามารถ นำมาใช้ได้อีก และควบคุมการเทน้ำสุรา จากภาชนะบรรจุสุราจนหมดจำนวน ที่จะสั่งคืนค่าภาษีสุรา 4. คณะกรรมการฯ จัดทำบันทึกการควบคุม เสนอต่อผู้มีอำนาจสั่งคืนค่าภาษีสุรา 1. การสั่งคืนค่าภาษีสุราโดยสรรพสามิตพื้นที่ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 3 คน 3. คณะกรรมการฯ ควบคุมการแกะลอกแสตมป์ สุราและทำลายแสตมป์สุราโดยวิธีการเผาไฟ หรือทำลายเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสุรา หรือกรณีใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราให้เปิด และทำลายฝาภาชนะบรรจุจนไม่สามารถ นำมาใช้ได้อีก และควบคุมการเทน้ำสุรา จากภาชนะบรรจุสุราจนหมดจำนวน ที่จะสั่งคืนค่าภาษีสุรา 4. คณะกรรมการฯ จัดทำบันทึกการควบคุม เสนอต่อผู้มีอำนาจสั่งคืนค่าภาษีสุรา 3. เมื่อนำสุราเข้าเก็บในโรงงานแล้ว ให้เจ้าของสุรามีหน้าที่ พิสูจน์ให้ปรากฏว่า สุราดังกล่าวมีลักษณะที่ขอคืน ค่าภาษีสุรา ต่อคณะกรรมการ จำนวน 3 คน พิจารณา สั่งคืน ค่าภาษีสุรา

  50. การกำกับดูแลโรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์

More Related