1 / 50

ระบบการเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

ระบบการเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน. เพื่อให้สามารถระบุและอธิบายหน้าที่ของเงินได้ เพื่อให้ทราบนิยามของอุปทานของเงิน อธิบายถึงอัตราส่วนการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ได้ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ตัวทวีคูณเงินฝาก

Télécharger la présentation

ระบบการเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบการเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน • เพื่อให้สามารถระบุและอธิบายหน้าที่ของเงินได้ • เพื่อให้ทราบนิยามของอุปทานของเงิน • อธิบายถึงอัตราส่วนการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ได้ • อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ตัวทวีคูณเงินฝาก • เพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมปริมาณเงิน และการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อดำเนินนโยบายการเงินได้

  2. วัตถุประสงค์ (ต่อ) 6. เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการถือเงิน และปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับปริมาณเงินที่ควรจะเป็นในระบบเศรษฐกิจ 7. เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีต่อดอกเบี้ย ผลผลิต และการจ้างงาน 8. เพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายถึงความแตกต่างของผลกระทบของนโยบายการเงินที่เกิดจากการคาดการณ์ของประชาชนได้

  3. ความหมายของเงิน เงิน คือ สิ่งที่เราใช้ในการชำระค่าสินค้า บริการ หลักทรัพย์ และหนี้ หน้าที่ของเงิน • สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน • การเก็บมูลค่า • หน่วยในการนับ

  4. ความหมายของเงินและสภาพคล่องความหมายของเงินและสภาพคล่อง สภาพคล่อง หมายถึง ความง่ายของสินทรัพย์ที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

  5. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ • ปริมาณเงิน M1 เป็นปริมาณเงินในความหมายอย่างแคบ หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน ประกอบด้วย ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ และเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคาร • ปริมาณเงิน M2 หรือปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในมือของประชาชน ได้แก่ ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ในมือของประชาชน และเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคารแล้ว ยังรวมถึงเงินฝากออมทรัพย์อีกด้วย

  6. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ (ต่อ) 3. ปริมาณเงิน M2a คือปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชน ความหมายอย่างกว้างขึ้น โดยรวมปริมาณเงิน M2 และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เงินที่บริษัทเงินทุนรับฝากจากประชาชน 4. ปริมาณเงิน M3 คือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด คือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชนในรูปของเงินสด เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน ซึ่งรวมถึงเงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน

  7. บัตรเครดิตกับเงิน มีความแตกต่างกันตรงที่ เงิน คือ หลักทรัพย์ที่ทำให้ผู้ถือมีอำนาจการซื้อ แต่ บัตรเครดิต คือ หนี้สินที่ผู้กู้ต้องใช้คืน บัตรเครดิต ไม่ถูกรวมในปริมาณเงิน เพราะบัตรเครดิตเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการอนุมัติเงินกู้ ซึ่งลูกค้าต้องจ่ายคืนทีหลัง ถึงแม้บัตรเครดิตไม่ใช่เงิน แต่ก็ส่งผลกระทบต่อความต้องการถือเงิน คือ การจับจ่ายใช้สอยสามารถทำได้สะดวกโดยจ่ายทีเดียวทุกสิ้นเดือน จึงทำให้ประชาชนถือเงินลดลงเมื่อใช้บัตรเครดิต

  8. ระบบธนาคาร ระบบธนาคารเป็นส่วนสำคัญในตลาดการเงิน ธนาคารหาผลกำไรโดยให้บริการ เช่น บริการกู้ยืม ฝากเงิน ฝากทรัพย์สินในเซฟ หน้าที่หลักของธนาคารคือ การเป็นศูนย์รวมของคนที่จะออมเงินไว้ใช้ในอนาคต และคนที่ต้องการยืมเงินไปลงทุน รายได้จากการให้กู้ยืมก็เป็นรายได้หลักของธนาคารเช่นกัน

  9. -การกระจายเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพของธนาคารมี-การกระจายเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพของธนาคารมี ความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้น ความมีประสิทธิภาพของระบบธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของการมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ

  10. - การรับประกันเงินฝาก - การสร้างเงินของระบบธนาคาร - ตัวทวีคูณของเงินฝาก Deposit Expansion multiplier = 1/r โดยที่ r = อัตราส่วนเงินสดสำรองตามกฎหมาย

  11. ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์สำรองเงินสดไว้ 20% ถ้านาย ก. นำเงินไปฝากธนาคาร 1,000 บาท ธนาคารจะต้องเก็บสำรองไว้ 200 บาท และนำไปให้กู้ยืมได้ 800 บาท Deposit Expansion Multiplier = 1 r r = สัดส่วนเงินสดสำรองตามกฎหมาย = 1/20% = 5 = 5* 1,000 = 5,000 บาท โดยที่ปริมาณเงินเริ่มต้นที่ 1,000 บาท และอีก 4,000 บาท เพิ่มขึ้นจากการให้กู้ของธนาคาร

  12. ธนาคารแห่งประเทศไทย • ประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 - สถาบันแรกที่ได้เริ่มทำหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศไทยคือ สำนักงานธนาคารชาติ ก่อตั้งเมื่อปี 2482 มีฐานะเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงการคลัง และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 โดยมีพระยาทรง สุรรัชฎ์ อธิบดีกรมบัญชีกลางในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการ และได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นธนาคารกลางเมื่อปี 2485 และเปิดดำเนินการเมื่อ 10 ธันวาคม 2485 โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่กำกับกิจการของธนาคารโดยทั่วไป

  13. บทบาทและหน้าที่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. การกำกับดูแลสถาบัน การเงิน • การรักษาเสถียรภาพ • ทางการเงิน 3. การเป็นนายธนาคารและ ที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจ ของรัฐบาล 5.การบริหารเงินสำรอง ระหว่างประเทศ 4. การเป็นนายธนาคาร ของสถาบันการเงิน 6. จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร

  14. เครื่องมือในการควบคุมปริมาณเงิน 1. การกำหนดสัดส่วนเงินสดสำรองตามกฎหมาย 2. การดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดเปิด 3. อัตราซื้อลด 4. อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร

  15. ความหมายและการวัดปริมาณเงิน ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ (money supply) อาจหมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายแคบ M1 หรือ ปริมาณเงินตามความหมาย M2 ก็ได้

  16. อุปสงค์และอุปทานของเงิน ความต้องการถือเงิน หมายถึง ความต้องการถือเงินเมื่อเปรียบเทียบกับการการถือสินทรัพย์ตัวอื่นๆ ความต้องการถือเงินจะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย เพราะในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูง การถือเงินจะมีต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจากค่าเสียโอกาสของการถือเงินจะเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยโดยตรง เช่น ถ้า r = 10% ต่อปี ถ้าเงิน 1,000 บาท ต้นทุนของเงินคือ 100 บาท แต่ถ้า r ต่ำ คือ 1% ต้นทุนของการถือเงินคือ 10 บาทต่อปี ดังนั้น ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงๆ ความต้องการถือเงินจะลดลง (กำหนดให้ iคือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน และให้ r คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในตลาดกู้ยืม)

  17. อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (i) อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (i) Supply for money Demand for money ปริมาณเงิน ปริมาณเงิน ก. ความต้องการถือเงิน ข. ปริมาณเงิน

  18. อุปสงค์ของเงิน หรือ ความต้องการถือเงิน (Demand for Money) John Maynard Keynes กล่าวว่า คนเราต้องการถือเงินเพื่อ 1. การจับจ่ายใช้สอย (transaction Demand) (ขึ้นอยู่กับรายได้) 2. เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน (PrecautionaryDemand) (ขึ้นอยู่กับรายได้) 3. เพื่อการเก็งกำไร (Speculative Demand) (จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย) (เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาของพันธบัตรจะลดลง, ราคาของทรัพย์สินจะผกผันกับอัตราดอกเบี้ย

  19. Keynes กล่าวว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาสินทรัพย์อื่น (พันธบัตรรัฐบาล Bond) จะลดลง (Pb จะต่ำ) คนจะหันไปซื้อ bond และถือ Bond ไว้เพื่อเก็งกำไร โดยคาดว่าราคา Bond จะสูงขึ้นในอนาคต เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง (r ) ราคา Bond จะสูงขึ้น (จากการที่ Pb แปรผกผันกับ r) จากการที่คนถือ Bond ไว้ จะส่งผลให้ความต้องการถือเงิน (Demand for money) ลดลง (r Pb ประชาชนจะไปถือ Bond เพื่อเก็งกำไรทำให้ความต้องการถือเงิน (Demand for money)

  20. การที่ r ต่ำ ราคาBond จะสูง ประชาชนจะขาย Bond และหันมาถือเงินแทน ทำให้ Demand for money (Md) เพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้า r (interest) สูง ความต้องการถือเงิน (Demand for money) จะต่ำ ถ้า r ต่ำ ความต้องการถือเงินจะสูง จึงทำให้เส้น Demand for money (Md) มีลักษณะทอดลงจากซ้ายมาขวา

  21. จากการที่ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยและเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ขึ้นอยู่กับรายได้ และความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไรขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น ความต้องการถือเงิน (Demand for money ) จึงขึ้นอยู่กับรายได้และอัตราดอกเบี้ย และDemand for money (Md) เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน ขณะที่ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจคงที่

  22. ปริมาณเงิน (Supply of money)ปริมาณเงินที่อยู่ในระบบ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย และการวางนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไม่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น ปริมาณเงินจึงไม่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย ดังรูปที่แสดงไปแล้ว ดังนั้น เส้นของปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบจึงเป็นเส้นตั้งฉากกับแกนนอน i Ms ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ตัดสินใจโดยธนาคารแห่งประเทศไทย MS

  23. ดุลยภาพระหว่างความต้องการถือเงินและปริมาณเงินในระบบดุลยภาพระหว่างความต้องการถือเงินและปริมาณเงินในระบบ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (i ) Ms อุปทานส่วนเกิน i2 อุปสงค์ส่วนเกิน E i0 i1 Md Md,Ms

  24. - ถ้าอัตราดอกเบี้ย i2ประชาชนต้องการถือเงินน้อยกว่าปริมาณเงินในระบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดให้ เนื่องจากประชาชนหันไปถือทรัพย์สินอื่นๆ เช่นพันธบัตรและหุ้นกู้ ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้ความต้องการพันธบัตรเพิ่มขึ้น และราคาพันธบัตรก็จะสูงขึ้นตาม ภาครัฐหรือเอกชนซึ่งออกพันธบัตรจึงสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับพันธบัตรให้ลดลงได้ อัตราดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ดุลยภาพที่ ie

  25. แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดุลยภาพ คือ i3 จุดนี้ ความต้องการ ถือเงินจะสูงกว่าระดับปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบ ประชาชนที่ต้องการถือเงินเพิ่มจะพยายามขายพันธบัตรออกไปเพื่อถือเป็นเงินสด ราคาของพันธบัตรจะลดลง หมายถึง การที่จะถึงดูดคนให้มาซื้อพันธบัตรได้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่จุดดุลยภาพ ie ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จุดดุลยภาพ เป็นจุดที่ระบบเศรษฐกิจจะปรับตัวเข้าหาอยู่ตลอดเวลา

  26. กลไกของนโยบายการเงิน การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะรับซื้อพันธบัตรเพื่อเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ i Ms1 Ms2 i1 i2 Md Md,Ms กราฟแสดงดุลยภาพของเงิน

  27. เมื่อธนาคารกลางรับซื้อพันธบัตร จะทำให้ปริมาณเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ราคาพันธบัตรจะสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินจะลดลง ปริมาณเงินจะถูกอัดฉีดเข้าไปในระบบมากขึ้น เมื่อธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองมากขึ้น ก็จะนำเงินมาหากำไร โดยการปล่อยกู้มากขึ้น เส้น Supply ของการให้กู้ยืมจะเคลื่อนจาก S1ไปเป็น S2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง S1 S2 r1 r2 D ปริมาณเงิน กราฟแสดงเงินที่กู้ยืมได้ Q1 Q2

  28. เมื่อธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้มากขึ้น จะทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น จาก AD1 เป็น AD2 ดังกราฟ AD = C +I + G + (X-M) ระดับราคา As P2 AD2 P1 AD1 รายได้ Y1 Y2 กราฟ แสดงสินค้าและบริการ (GDP ที่แท้จริง)

  29. สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น มีดังนี้ • ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้เกิดความต้องการลงทุนมากขึ้น (I) และการบริโภคมากขึ้น (C ) โดยเฉพาะการซื้อสินค้าเงินผ่อน เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า บ้าน รถยนต์ • ดอกเบี้ยต่ำทำให้เกิดเงินทุนไหลออก นักลงทุนต่างชาติจะเคลื่อนย้ายเงินทุนไปยังประเทศที่ให้ค่าตอบแทนดีกว่า ในขณะที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนออกไปก็จะต้องขายเงินบาทเพื่อแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่จะไปลงทุน ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินของเงินบาท ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวและทำให้การส่งออก ได้มากขึ้น เพราะสินค้าของเราดูเหมือนจะถูกลงในสายตาผู้นำเข้า และการนำเข้าลดลง (X –M) จึงเป็นการกระตุ้นอุปสงค์มวลรวม

  30. 3. การที่ดอกเบี้ยต่ำลงจะทำให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้น เช่น ราคาหุ้น ราคาบ้าน และอื่นๆ กระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการ ราคาสินทรัพย์ทำให้ครัวเรือนมีความมั่งคั่งมากขึ้น ซึ่งความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนี้เอง จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เพิ่มการบริโภค เมื่อมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ก็จะมีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น จึงเป็นการกระตุ้นอุปสงค์มวลรวมอีกต่อหนึ่ง

  31. การดำเนินนโยบายการเงินแบบไม่ได้คาดคิดการดำเนินนโยบายการเงินแบบไม่ได้คาดคิด ถ้าประชาชนไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ทำให้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นปรับตัวช้ากว่าราคาที่เพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น ธุรกิจก็จะขยายการผลิตสินค้าและบริการ ในระยะสั้น ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจาก Y1 เป็น Y2 (ดังกราฟข้างต้น) ในระยะสั้นจะเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น

  32. ดังนั้น การขยายตัวของนโยบายการเงิน สามารถทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยเข้าสู่ ระดับการผลิต ที่มีการจ้างงานเต็มที่ได้ LAS AS ระดับราคา P2 E2 E1 P1 AD2 AD1 Yf Y1 GDP ที่แท้จริง

  33. จากกราฟข้างต้น จากผลผลิตที่ Y1 เป็นระดับที่ต่ำกว่าการผลิตที่มีการจ้างงานเต็มที่Yf การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว จะทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นเป็น AD2 และผลผลิตก็เพิ่มขึ้นตาม ความต้องการสินค้าและบริการเท่ากับ Yf กลไกนี้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปกระตุ้น อุปสงค์มวลรวมโดยตรงเลย

  34. กราฟแสดงการใช้นโยบายการเงินขยายตัวในขณะที่ระบบ เศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่อยู่แล้ว LAS ระดับราคา AS2 AS1 E3 P3 P2 E2 AD2 P1 E1 AD1 Yf Y2 GDP ที่แท้จริง

  35. ถ้าหากระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มที่อยู่แล้ว การใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว จะทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น และราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน การเพิ่มขึ้นของ อุปสงค์มวลรวม ทำให้ปริมาณผลผลิตที่แท้จริงเพิ่มขึ้นชั่วคราวไปสู่ Y2 ซึ่งมากกว่าการผลิตที่มีการจ้างงานเต็มที่ Yf แต่ระบบเศรษฐกิจจะไม่อยู่ใน ภาวะนี้นานนัก เมื่อใดก็ตามที่ต้นทุนมีการปรับตัวตามระดับเงินเฟ้อ ก็จะทำให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลงจาก AS1 เป็น AS2 และในที่สุดเศรษฐกิจก็จะเข้าสู่ภาวะดุลยภาพที่จุด E2ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเป็น P3 และผลผลิตเข้าสู่ Yf ดังนั้น ถ้าระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มที่อยู่แล้ว การใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะมีเพียงระดับราคาเท่านั้นที่ปรับตัวสูงขึ้น

  36. การดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัวการดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัว ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน โดยการขายพันธบัตรให้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณเงินและเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ลง ทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเป็น S2และดอกเบี้ยที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเป็น r2

  37. อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้ประชาชนลดการลงทุนและลดการซื้อสินค้าคงทนที่มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานลง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น เกิดภาวะเงินทุนไหลเข้าอันเป็นต้นเหตุให้ค่าเงินบาทแข็งตัว จะทำให้การนำเข้าสินค้าและบริการมากขึ้น และส่งออกได้น้อยลง ปริมาณการส่งออกลดลงและอุปสงค์มวลรวมก็จะลดลงด้วย

  38. และอัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้ราคาบ้านและสินทรัพย์อื่นๆ ถูกลง จึงทำให้ธุรกิจ ก่อสร้างเริ่มชะงักเพราะการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์จะลดลง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อุปสงค์มวลรวมลดลงจากAD1 ไป AD2 และราคาลดลงไปที่ P2 และผลผลิตจะลดลงไปที่ Y2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ระดับราคา S2 S1 P1 r2 P2 r1 AD1 D AD2 Q2 Q1 Y2 Y1 GDP ที่แท้จริง ปริมาณเงินให้กู้ยืมได้ ก. เงินกู้ยืมได้ ข. ตลาดสินค้าและบริการ

  39. ความเหมาะสมในการใช้นโยบายการเงินหดตัวจึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ เช่น สมมติว่าระบบเศรษฐกิจเกิดความกดดันของภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน จุดดุลยภาพอยู่ที่จุด e1 ผลผลิตอยู่ที่ระดับ Y1 ซึ่งสูงกว่ากำลังการผลิตในระดับที่มีการจ้างงานเต็มที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ก็คือ เงินเฟ้อ ระดับราคา LAS2 SAS1 การใช้นโยบายการเงินหดตัวจึงน่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ระดับราคาสินค้าปรับตัวลงอยู่ที่ P2 และผลิตที่ Yf ณ จุดดุลยภาพที่ E2 e1 P1 AD1 E2 P2 AD2 Yf Y1 รายได้ประชาชาติที่แท้จริง

  40. ถ้าระบบเศรษฐกิจอยู่ในระดับการจ้างงานเต็มที่แล้ว การใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวจะเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจ และสถานการณ์จะยิ่งแย่ไปกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในระดับการจ้างงานที่ต่ำกว่าการจ้างงานเต็มที่ นโยบายการเงินแบบหดตัวจะทำให้ AD1 เคลื่อนไปเป็น AD2 ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ผลผลิตจะลดลงจาก Yf ไปสู่ Y2 และจะทำให้เกิดอัตราการว่างงานมากกว่าอัตราการว่างงานตามธรรมชาติ LRAS ระดับราคา SRAS E1 AD1 P1 e2 P2 AD2 Yf Y1 GDPที่แท้จริง นโยบายการเงินแบบหดตัวที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ

  41. การใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวจะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงเป็น S2 (ตามกราฟข้างต้น) ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้นเป็น r2 อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้ประชาชนลดการลงทุน และการซื้อสินค้าคงทนที่ต้องผ่อนเป็นระยะเวลายาวน้อยลง นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยที่สูง จะทำให้นักลงทุนจากต่างชาติ สนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น เกิดภาวะเงินทุนไหลเข้า อันเป็นเหตุให้ค่าเงินบาทแข็งตัว เพราะนักลงทุนต้องซื้อเงินบาทเพื่อเข้ามาลงทุนในไทย เงินบาทที่แข็งตัวจะทำให้จะทำให้การนำเข้าสินค้าและบริการมากขึ้นและส่งออกได้น้อยลง

  42. ปริมาณการส่งออกสุทธิลดลงและอุปสงค์มวลรวมก็ลดลงด้วย ดอกเบี้ยที่สูงทำให้ราคาบ้านและสินทรัพย์อื่นๆ ถูกลงจึงทำให้ธุรกิจก่อสร้างเริ่มชะงักเพราะการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์จะลดลง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้อุปสงค์มวลรวมลดลงจาก AD1 ไปเป็น AD2 และราคาลดลงไปที่ P2 และผลผลิตจะลดลงไปที่ Y2

  43. นโยบายการเงินในระยะยาว

  44. การประยุกต์ใช้นโยบบายการเงินการประยุกต์ใช้นโยบบายการเงิน

  45. ผลของนโยบายการเงินที่ถูกคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า

  46. อัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงิน • ความเร็วในการหมุนเงินและระยะเวลาปรับตัวของนโยบายการเงิน • การใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวบ่งชี้นโยบายการเงิน

  47. เส้น LM (Liquidity = Money Supply) r r LM r1 r0 Md(y2) Md(y1) Tr0 Tr1 Y0 Y Ms0 Y1 Md, Ms คือ อัตราดอกเบี้ยและรายได้ที่ทำให้ตลาดเงินอยู่ในดุลยภาพเมื่อปริมาณ เงินคงที่ เส้น LM แสดงให้เห็นถึงรายได้ประชาชาติ เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน โดยผ่าน Demand for money

  48. เมื่อรายได้ประชาชาติ Y Tr r เพื่อลด Md และเข้าสู่ดุลยภาพในตลาดเงิน ที่ Y1r1 ที่ Y0 อัตราดอกเบี้ยที่ทำให้ตลาดเงินอยู่ในดุลยภาพคือ r0 เมื่อ Y จาก Y0 Y1 Tr จาก Tr0 เป็น Tr1 เส้น Demand for money จะ shift ขนานกับเส้นเดิมไปทางขวามือ จาก Md(y0) เป็น (Md(y1) เกิด Excess Demand for money r จะ เพิ่มขึ้น จาก r0 เป็น r1 เพื่อลด Speculative Md ลงมา และดุลยภาพใหม่จะเกิดที่ r1Y1

  49. แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

More Related