1 / 24

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์. เรื่อง ภาษาชั้นสูงมาก ( Very high - Level Language). ภาษาคอมพิวเตอร์. ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้. ลักษณะของภาษาคอมพิวเตอร์.

hera
Télécharger la présentation

ภาษาคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาษาชั้นสูงมาก (Very high - Level Language)

  2. ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้

  3. ลักษณะของภาษาคอมพิวเตอร์ลักษณะของภาษาคอมพิวเตอร์ 1. คำสั่งรับข้อมูลและแสดงผล คำสั่งประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใช้ในภาษา กับทั้งยังต้องแจกแจงละเอียดต่อไปด้วยว่า รับผ่านอุปกรณ์ใด และแสดงผลทางอุปกรณ์ใด 2. คำสั่งคำนวณ โปรแกรมหรือคำสั่งที่เขียนจะหนีไม่พ้นคำสั่งที่สั่งให้ประมวลผลประเภท บวก ลบ คูณ หาร 3. คำสั่งที่มีการเลือกทิศทาง หมายถึง สั่งให้มีการเปรียบเทียบ เช่น ถ้ามากกว่าให้ทำอย่างหนึ่ง ถ้าเท่ากันให้ทำอย่างหนึ่ง หรือน้อยกว่าให้ทำอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนั้นอาจมีคำสั่งประเภทให้ทำงานเป็นวงซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกว่าจะมีการเปรียบเทียบค่า ซึ่งถ้าเป็นเท่านั้นเท่านี้ หรือมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ให้หยุดได้ 4. คำสั่งให้นำโปรแกรมหรือข้อมูลออกมาจาก และ/หรือส่งเข้าไปเก็บในสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกมาใช้ใหม่ได้

  4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very high - Level Language) สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าภาษาในรุ่นที่4 (4GLs:Fourth Generation Languages)ภาษานี้เป็นภาษาที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าภาษารุ่นที่3มีลักษณะของภาษาในรุ่นที่เป็นธรรมชาติคล้ายๆกับภาษาพูดของมนุษย์จะช่วย ในเรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอเพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูล รวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งจะมีการจัดการ ที่ง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่3 ตัวอย่างของภาษาในรุ่นที่ 4 ได้แก่ Informix-4GL, Focus, Sybase, InGres เป็นต้น

  5. ลักษณะของ 4GLs เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้เพียงแต่บอกว่าต้องการอะไร แต่ไม่ต้องบอกถึงรายละเอียดว่าต้องทำอย่างไร คอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการให้เองหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างแบบฟอร์มการรับข้อมูลจากผู้ใช้ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่ทำการออกแบบหน้าตาของแบบฟอร์มนั้นบนโปรแกรมอิดิเตอร์ (Editor) ใดๆ และเก็บเป็นไฟล์ไว้เมื่อจะเรียกใช้งานแบบฟอร์มนั้นเพียงแต่ใช้คำสั่งเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยทันทีซึ่งต่างจากภาษารุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแบบ Proceduralผู้เขียนโปรแกรม จะต้องเขียนรายละเอียดของโปรแกรมทั้งหมดว่า ที่บรรทัดนี้คอลัมน์นี้จะให้แสดงข้อความหรือข้อมูลอะไรออกมา

  6. ลักษณะของ 4GLs ซึ่งถ้าต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาของแบบฟอร์ม ก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่ง หรือในการสร้างรายงานด้วย 4GLs ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายเพียงแต่ระบุลงไปว่าต้องการรายงานอะไร มีข้อมูลใดที่จะนำมาแสดงบ้าง โดยไม่ต้องบอกถึงวิธีการสร้างหรือการดึงข้อมูลแต่อย่างใด 4GLsจะจัดการให้เองหมดส่วนใหญ่จะพบว่า 4GLs มักจะอยู่ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลจะสามารถจัดการฐานข้อมูลได้โดยผ่านทาง 4GLs นี้

  7. ส่วนประกอบของภาษา 4GLs(Fourth Generation Languages) โดยทั่วไปแล้ว 4GLs จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังต่อไปนี้ • เครื่องช่วยสร้างรายงาน (Report Generators) หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่า เครื่องมือช่วยเขียนรายงาน (Report Writer) เป็นโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ (end - users) ให้สามารถสร้างรายงานอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขและข้อมูลที่จะออกมาพิมพ์ในรายงานรวมไปถึงรูปแบบ (format) ของการพิมพ์ไว้ โปรแกรมช่วยสร้างรายงานนี้จะทำการพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่เรากำหนดไว้ให้

  8. ส่วนประกอบของภาษา 4GLs • ภาษาช่วยค้นหาข้อมูล (Query Languages) เป็นภาษาที่ช่วยในการค้นหาหรือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ภาษานี้จะง่ายต่อการใช้งานมาก เนื่องจากจะอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก ตัวอย่างของภาษาช่วยค้นหาข้อมูลนี้ได้แก่ ภาษา SQL (Structured Query Language)ภาษา QBE (Query - By - Example) และ Intellect เป็นต้น • เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรม (Application Generators) 4GLs จะมีรูปแบบการเขียนโปรแกรมเฉพาะตัว และสามารถเรียกใช้เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมนี้ทำการแปลง 4GLs ให้กลายเป็นโปรกรมในภาษารุ่นที่ 3 ได้ เช่น ภาษาโคบอล หรือ ภาษาซี เป็นต้น ซึ่งอาจนำภาษาโคบอล หรือซีที่แปลงได้ไปพัฒนาต่อเพื่อใช้กับงานที่มีความซับซ้อนมากๆ ต่อไป

  9. ประโยชน์ของ 4GLs • เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ คำสั่งแต่ละคำสั่งสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถใช้เวลาในการศึกษาสั้นกว่าภาษารุ่นที่ 3 • ประหยัดเวลาในการเขียนโปรแกรมได้มาก เนื่องจาก 1 คำสั่งของ 4GL ถ้าต้อง เขียนด้วยภาษารุ่นที่ 3 อาจต้องเขียนถึง 100 กว่าคำสั่งในการทำงานแบบเดียวกัน • สนับสนุนระบบจัดการฐานข้อมูล ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว • สามารถสร้างแบบฟอร์มเพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล และออกรายงานได้ อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก • มีเครื่องมือการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมมาพอสมควร • สามารถทำงานได้ในลักษณะ Interactive คือมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที

  10. ตัวอย่างการเขียน 4GLs มีนักเขียนโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินค้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้ดังนี้

  11. รายงานแสดงจำนวนรายการสินค้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือนรายงานแสดงจำนวนรายการสินค้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน

  12. ตัวอย่างโปรแกรม 4GLs โปรแกรม Visual Basic (VB)เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่กำลังเป็นที่ นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โปรแกรม Visual Basic เป็นโปรแกรมที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการเขียนโปรแกรมใหม่ โดยมีชุดคำสั่งมาสนับสนุนการทำงาน มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า คอนโทรล(Controls) ไว้สำหรับช่วยในการออกแบบโปรแกรม โดยเน้นการออกแบบหน้าจอแบบกราฟฟิก หรือที่เรียกว่า Graphic User Interface (GUI)

  13. ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม ภาษาชั้นสูงมาก (Very high - Level Language) การสร้างเครื่องคิดเลข ด้วยโปรแกรม Visual Basic.Net

  14. ขั้นตอนการสร้าง • ปุ่ม C ที่Nameเปลี่ยนชื่อเป็น btnCLR • ปุ่ม 7 "---------------" btn_Num_7 • ปุ่ม 8 "---------------" btn_Num_8 • ปุ่ม 9 "---------------" btn_Num_9 • ปุ่ม 4 "---------------" btn_Num_4 • ปุ่ม 5 "---------------" btn_Num_5 • ปุ่ม 6 "---------------" btn_Num_6 • ปุ่ม 1 "---------------" btn_Num_1 • ปุ่ม 2 "---------------" btn_Num_2 • ปุ่ม 3 "---------------" btn_Num_3 • ปุ่ม 0 "---------------" btn_Num_0 • ปุ่ม . "dotหรือจุด------" btnNumPeriod • ปุ่ม + "บวก-----------" btn_Operator_Add • ปุ่ม - "ลบ------------" btn_Operator_Subt • ปุ่ม x "คูณ------------" btn_Operator_Multi • ปุ่ม / "หาร------------" btn_Operator_div • ปุ่ม = "เท่ากับ---------" btnCalculate

  15. โค้ดในการทำงาน Public Class Form1 Inherits System.Windows.Forms.Form Private Var1 As Double Private var2 As Double Private Temp As Double Private Memory As Double Private period As Boolean Private [Operator] As String Private Status As Boolean

  16. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม 7 แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btn_Num_7_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btn_Num_7.Click If Status = False Then TextBox1.Text = TextBox1.Text + CStr(7) Else TextBox1.Text = 7 Status = False End If End Sub ปุ่มตัวเลขจะใช้วิธีการเขียนโค้ดเหมือนกัน โดยการดับเบิ้ลคลิกที่ปุ่มตัวเลข แล้วแก้ไขเฉพาะตัวเลขที่แสดงค่าของปุ่ม หรือ บริเวณ CStr(7) และ TextBox1.Text = 7

  17. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม . (dot หรือ จุด) แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btnNumPeriod_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btnNumPeriod.Click If Status = False Then If period = False Then If TextBox1.Text.Length > 0 Then TextBox1.Text = TextBox1.Text + "." Else TextBox1.Text = "0." End If period = True End If End If

  18. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม + แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btn_Operator_Add_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btn_Operator_Add.Click If TextBox1.Text.Length <> 0 Then If [Operator] = "" Then Var1 = CDbl(TextBox1.Text) TextBox1.Text = "" Else Calculate() End If [Operator] = "Add" period = False End If End Sub

  19. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม - แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btn_Operator_Subt_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btn_Operator_Subt.Click If TextBox1.Text.Length <> 0 Then If [Operator] = "" Then Var1 = CDbl(TextBox1.Text) TextBox1.Text = "" Else Calculate() End If [Operator] = "Sub" period = False End If End Sub

  20. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม x แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btn_Operator_Multi_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btn_Operator_Multi.Click If TextBox1.Text.Length <> 0 Then If [Operator] = "" Then Var1 = CDbl(TextBox1.Text) TextBox1.Text = "" Else Calculate() End If [Operator] = "Mult" period = False End If End Sub

  21. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม / แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btn_Operator_div_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btn_Operator_div.Click If TextBox1.Text.Length <> 0 Then If [Operator] = "" Then Var1 = CDbl(TextBox1.Text) TextBox1.Text = "" Else Calculate() End If [Operator] = "Div" period = False End If End Sub

  22. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม C แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btnCLR_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btnCLR.Click TextBox1.Text = "" Var1 = 0 var2 = 0 [Operator] = "" period = False End Sub

  23. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ปุ่ม = แล้วเขียนโค๊ดลงไปดังนี้ Private Sub btnCalculate_Click(ByVal sender As System.Object, _ ByVal e As System.EventArgs) Handles btnCalculate.Click If TextBox1.Text.Length <> 0 AndAlso Var1 <> 0 Then Calculate() [Operator] = "" period = False End If End Sub

  24. โค๊ดสมการแปลผล • Public Sub Calculate() • var2 = CDbl(TextBox1.Text) • If [Operator] = "Add" Then • Var1 = Var1 + var2 • ElseIf [Operator] = "Sub" Then • Var1 = Var1 - var2 • ElseIf [Operator] = "Mult" Then • Var1 = Var1 * var2 • ElseIf [Operator] = "Div" Then • Var1 = Var1 / var2 • ElseIf [Operator] = "Sqrt" Then • Exit Sub • ElseIf [Operator] = "Pow" Then • Var1 = System.Math.Pow(Var1, var2) • ElseIf [Operator] = "Inve" Then • Exit Sub • End If • TextBox1.Text = CStr(Var1) • Status = True • End Sub

More Related