1 / 94

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการที่ปรึกษาการเตรียมความพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก

herve
Télécharger la présentation

โรคมือ เท้า ปาก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคมือ เท้า ปาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการที่ปรึกษาการเตรียมความพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ บรรยาย ณ โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖

  2. Hand, Foot & Mouth Disease (HFMD) • โรคมือ เท้า ปาก (?เปื่อย) หรือ • โรคหัตถา บาทา (ฟาด) โอษฐ์

  3. โรคมือ เท้า ปาก (เปื่อย)คือโรคอะไร โรคมือ เท้า ปาก เปื่อยมีชื่อเรียกว่า Hand, foot and mouth disease (HFMD) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กและเด็กโต ลักษณะของโรคคือ มีไข้นำมาก่อน มีตุ่มเจ็บในปาก มีผื่นตามตัวเป็นตุ่มพอง อาการเริ่มแรกจะมีไข้ต่ำๆ ไม่สบาย ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว และมีอาการเจ็บคอ หลังมีไข้ หนึ่งถึง สองวัน ในปากจะมีแผลและเจ็บ

  4. ต้นเหตุของโรค HFMD? CA16 & EV71 โรคมือ เท้า ปากเปื่อย มีต้นเหตุจากการติดเชื้อ เอ็นเตโรไวรัส ที่พบบ่อยคือcoxsackievirus A16 (CA16) ในบางรายเกิดจากการติดเชื้อ enterovirus 71(EV71) หรือเอ็นเตโรไวรัสชนิดอื่นๆอีกก็ได้ สมาชิกของเอ็นเตโรไวรัสได้แก่ ไวรัสโปลิโอ Coxsackieviruses A & B, echoviruses และอื่นๆ

  5. รูปภาพของenteroviruses http://www.vaccineorb.com/_common/updateable/img/news/ main/safety-and-immunogenicity-of-05111503.jpg

  6. ความทนทานของเชื้อไวรัสความทนทานของเชื้อไวรัส ไวรัสทนทานเมื่ออากาศเย็น ความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมแปดเปื้อนเชื้อ ที่ 4 ซอยู่ได้นานหลายวัน

  7. การทำลายเชื้อไวรัส เผา นึ่งไอน้ำ ต้มเดือด นาน 10 นาที ใช้สารเคมี เช่น น้ำยากัดผ้าขาว (sodium hypochlorite), providone iode แอลกอฮอล์ 70%, chrohexidine มีความสามารถต่ำในการทำลายเชื้อ

  8. http://s3.hubimg.com/u/3032810_f520.jpg http://www.folkshealth.com/wp-content/uploads/handwashing.jpg

  9. โรคมือ เท้า ปากเปื่อยมีความรุนแรงเพียงใด • โดยทั่วไปอาการอ่อนถ้าต้นเหตุคือcoxsackievirus A16 • ทั้งๆที่ไม่ได้รับการรักษาส่วนมากจะฟื้นและหายจากโรค • ภายในเวลา 7 ถึง 10วัน • มักไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง • รายที่รุนแรง มักติดเชื้อ EV71 มีอาการของ • เยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง หรือปวดหลัง • จำเป็นจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล สอง สามวัน

  10. เหตุที่รุนแรงของโรคHFMDคือเอ็นเตโรไวรัส 71 (EV71) อาจพบว่ามีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส และสมองอักเสบ หรือมีอาการอัมพาตคล้ายโรคโปลิโอ EV71 และอาจรุนแรงถึงตายได้ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีการระบาดของโรคนี้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ พ.ศ. ๒๕๔๑ มีการระบาดในไต้หวันมีผู้ถึงแก่กรรมมากมาย พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงสาธารณสุขไทยกำหนดให้ HFMD เป็นโรคที่ต้องรายงานเป็นครั้งแรก

  11. โรคอุบัติใหม่ในมาเลเซีย ๒๕๔๐

  12. ๑๔ เมษายน ๒๕๔๐ • มรณกรรมหมู่ของกุมารมาเลย์ • เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๐ มีรายงานผู้ป่วยเด็กชายอายุ ๑๙ เดือน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สิบู (Sibu) ในแคว้น ซาราวัค โดยมีประวัติว่ามีไข้สูงมา ๓ วัน และมีแผลในช่องปาก จากการตรวจร่างกายพบว่าระบบไหลเวียนส่วนปลายทางไม่ดี และมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วมาก และดำเนินต่อไปเป็น หัวใจล้มเหลวในเวลาต่อมา ผู้ป่วยเด็กรายนี้มีโอกาสอยู่ที่ โรงพยาบาลสิบูเพียงหนึ่งวันก็ถึงแก่กรรม๑

  13. เหตุการณ์ต่อมา • หลังจากนั้นมีเด็กในซาราวัคถึงแก่กรรมด้วยภาวะหัวใจ ล้มเหลวในระยะเวลาใกล้เคียงกันถึง ๒๖ คน และยังมีอีก ๒ ราย ที่สงสัยว่าจะถึงแก่กรรมด้วยโรคเดียวกัน เนื่องจากถึงแก่กรรม ก่อนรับไว้ในโรงพยาบาล รวมเป็น ๒๙ คน, ๑๘ คน หรือร้อยละ ๖๒ ของเด็กจำนวนนี้เป็นเพศชาย อายุตั้งแต่ ๗ เดือน ถึง ๖ ปี หรืออายุเฉลี่ยเท่ากับ ๑.๖ ปี, ๒๓ คน หรือร้อยละ ๗๙ เป็นเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ขวบ

  14. ผู้ป่วยเด็กที่มาโรงพยาบาล ๒๗ คน • จะมาด้วย อาการช็อก หรือรับไว้ในโรงพยาบาลไม่นานก็ช็อก รวมทั้งมี อาการผิวหนังซีด, ปลายมือปลายเท้าเย็นชืด, ชีพจรเต้นเบา • เด็กที่ ป่วยจำนวนหลายคนจะมีอาการแสดงของปอดบวมน้ำ รายใด ที่ได้รับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำก็ยิ่งจะทำให้มีอาการบวม น้ำเพิ่มขึ้น • ผู้ป่วยเกือบทุกรายจะมีหัวใจเต้นเร็วในลักษณะSinus trachycardia เมื่อตรวจ EKG แต่ไม่มีรายใดที่ มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ(arrythmia) การฉีดเลือดของหัวใจห้องล่าง ซ้ายน้อยลง • หลังจากที่เริ่มป่วยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะถึงแก่กรรมภายใน ๗ วัน และ • ส่วนมากจะตายในโรงพยาบาลหลังรับไว้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง • ตรวจศพเด็ก ๓ ราย ยังไม่ทราบผลการตรวจ (โปรดทราบว่า ชาวมุสลิมมักจะไม่ยินยอมให้มีการตรวจศพ) • ผู้ป่วยที่รับไว้รักษารายสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน

  15. อาการที่ตรวจพบในเด็กที่ป่วยอาการที่ตรวจพบในเด็กที่ป่วย • มีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นผื่นชนิดผื่นแดงและนูนจากผิวหนัง (maculopapule) หรือผื่นชนิดตุ่มน้ำ (vesicle) หรือ • มีแผลในช่องปาก ซึ่งเป็น ลักษณะจำเพาะของโรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease เรียกย่อๆ ว่าHFMD)

  16. มีอาการของระบบประสาทกลางร่วมด้วยมีอาการของระบบประสาทกลางร่วมด้วย • เด็กหลายคนที่ป่วยจะมีอาการของระบบประสาทกลางร่วมด้วย กล่าวคือ ๓ ใน ๒๐ ราย หรือร้อยละ ๑๕ จะมีอาการ อัมพาตปัจจุบันแบบอ่อนปวกเปียก (acute flaccid paralysis) และ • ๙ ใน ๒๐ รายนี้จะให้ประวัติของการชักด้วย • ผลการตรวจ CSF • จะพบ lymphocytosisในปริมาณที่สูง เข้าได้กับเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส

  17. ระยะฟักตัวในรายที่สัมผัสผู้ป่วยระยะฟักตัวในรายที่สัมผัสผู้ป่วย • มีหลายรายที่ รายงานว่าเด็กที่ตายได้สัมผัสกับผู้ป่วยด้วยโรคนี้มาก่อน เป็น เวลาประมาณ ๒ ถึง ๕ วัน ก่อนที่จะล้มป่วยลง แสดงว่าระยะฟักตัวของโรคนี้สั้นกว่าหนึ่งสัปดาห์

  18. การสำรวจทางวิทยาการระบาดการสำรวจทางวิทยาการระบาด • สำรวจสอบถามจาก private clinic แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในซาราวัค ก็ปรากฏว่าแพทย์ได้ตรวจพบผู้ป่วย โรคมือ เท้า ปากในซาราวัคเป็นจำนวนมากมาตั้งแต่ เดือนเมษายน จนถึงวันที่ ๖ มิถุนายน มีตัวเลขรายงานอุบัติการณ์พบโรค ดังกล่าวในซาราวัคถึง ๒,๑๑๓ ราย ซึ่งเกิดขึ้นกับเด็กอายุน้อย (ซาราวัคมีประชากร ๑.๙ ล้านคน)

  19. การสำรวจในวงกว้าง • เมื่อสำรวจกว้างออกไปพบว่าระหว่างเดือนมิถุนายนที่ ผ่านมา มีเด็กป่วยเป็นโรคนี้ จำนวน ๒,๑๔๐ คน ที่รับไว้รักษา ในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของรัฐบนผืนแผ่นดิน ใหญ่ของมาเลเซีย (ประชากร ๒๑ ล้านคน) ยังไม่มีรายงานการ มรณะของเด็กที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล

  20. การศึกษาทดสอบชันสูตรทางห้องปฏิบัติการการศึกษาทดสอบชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ • จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ สามารถแยกเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งได้จากผู้ป่วย ๒ ราย เชื้อไวรัสดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า เอ็นเทอโรไวรัส ๗๑ (Enterovirus 71) ขณะนี้กำลังทำการชันสูตร เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยรายอื่น ๆ อีกต่อไป

  21. ผู้ป่วยรายสุดท้ายจากซาราวัคผู้ป่วยรายสุดท้ายจากซาราวัค • รายงานผู้ป่วยจากซาราวัครายสุดท้ายเมื่อ ๒๑ มิถุนายน และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน • จริง ๆ แล้วถ้าติดตามถึงวันที่ ๘ กรกฎาคม จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นใน ซาราวัคอีกหนึ่งรายเป็นเด็กอายุ ๒ ขวบ ตายเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายนด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส

  22. สาเหตุคือสมาชิกของกลุ่ม Enteroviruses • Hand, Foot and Mouth Disease หรือ syndrome นี้มีรายงานเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และสาเหตุของ โรคในขณะนั้น คือ Coxsackievirus A 16 ซึ่งต่อมาพบว่า เกิดจาก Coxsackievirus A10, A5 และ A9 ด้วย • Coxsackievirus A 16, Coxsackievirus A10, A5 และ A9 ก็เป็นสมาชิกของ Enterovirus ด้วยเหมือนกัน

  23. จากกุมารมาเลย์ คราวนี้เป็นกุมารจีน • หลังการระบาดมาเลเซียแล้ว มีการ ระบาดที่รุนแรงบันลือโลกมากกว่า ก็คือการระบาดของโรค “มือ เท้า ปาก” ในไต้หวัน โดยรายงานไว้ใน MMWR พ.ศ. ๒๕๔๑ และ The New England Journal of Medicine ปีพ.ศ. ๒๕๔๒

  24. MMWR : มรณกรรมของเด็กระหว่างการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก– ไต้หวัน เมษายน-กรกฎาคม ๒๕๔๑ • ระหว่างเดือนเมษายน – กรกฎาคม ๒๕๔๑ กระทรวง สาธารณสุขไต้หวันได้รับรายงานผู้ป่วยเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ประมาณ ๙๐,๐๐๐ ราย จากการเฝ้าระวังของกลุ่มแพทย์ที่จัดตั้ง ให้เฝ้าระวังเป็นSentinel site มีผู้ป่วยเด็กที่ ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาลประมาณ ๓๒๐ คน ด้วยโรคมือ เท้า ปาก ที่มีอาการสงสัยว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, สมองอักเสบหรือเป็นอัมพาตชนิดอ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน และ มีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตไป ๕๕ ราย

  25. ๒๕๔๑ ผู้ป่วยรายที่หนึ่งที่ไต้หวัน • ผู้ป่วยเด็กหญิง อายุ ๗ ปี ชาวกรุงไทเป ป่วยเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๑ โดยมีอาการไข้ และปวดศีรษะ • ๖ มิถุนายน ๒๕๔๑ มีอาการอาเจียน และบ่นว่ามีเสียงหึ่ง ๆ ในหู แต่ยังมีสติ สัมปชัญญะดี ได้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ด้วยแพทย์สงสัยว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัดไข้ได้ ๑๐๒๐ ฟ (๓๙.๒๐ซ) คอแข็ง ทอนซิลบวม และมีผื่นเป็นตุ่มพองหนึ่งตุ่ม ที่ฝ่าเท้า

  26. Lab. investigation • ปริมาณเม็ดเลือดขาว ๑๔,๓๐๐ เซลล์/มม๓ (ค่าปกติ เกณฑ์๓,๙๐๐/ มม๓ -๑๐,๖๐๐ มม๓ ) ระดับฮีโมโกลบิน ๑๒.๓ กรัม/ดล (ค่าปกติ ๑๖ กรัม/ดล) ปริมาณเกร็ดเลือด ๓๔๔,๐๐๐/มล๓ (ค่าปกติ เกณฑ์๑๕๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ มม๓ ) • การตรวจสมองด้วยซีที สแกน ไม่พบว่าสมองบวม • CSF พบเม็ดเลือดขาวมีปริมาณ ๑๕๓/มม๓ (ปกติ ๐-๕ มม๓ นับแยกประเภท ร้อยละ ๗๐ เป็นนิวโทรฟิล) • โปรตีน ๔๓ มก/ดล (ปกติ ๘-๓๒ มก/ดล) กลูโคส ๗๖ มก/ดล (ปกติ ๕๐-๘๐ มก/ดล)

  27. ๑๐ ชั่วโมงหลังรับไว้ใน โรงพยาบาล • ผู้ป่วยไอมีเสมหะปนเลือด รอบปากเขียวแสดงว่า มี cyanosis หายใจหอบ ฟังปอดมีเสียงรองไคหยาบ ๆ • Film chest มีอิฟิลเตรท ทึบ ที่ปอดทั้งสองข้าง • แพทย์ได้ ใส่ท่อต่อเข้าเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยมีแรงดันเลือดต่ำลง หัวใจ เต้นช้า • ผู้ป่วยสิ้นใจเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ภายหลังที่พยายามปฏิบัติ การกู้ชีพหลายครั้ง

  28. รายงานผลการตรวจศพ • มีการอักเสบของสมองแบบเฉียบพลัน (acute encephalomyelitis) • Interstitial Pneumonitis ปอดอักเสบอินเตอร์ สติเชียลเล็กน้อย และตกเลือดในปอด • การตรวจทางจุลพยาธิวิทยา ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) • เซลล์สมอง มีอาการอักเสบในบางบริเวณและมีเซลล์เน่าตายด้วย และให้ผลบวกต่อไวรัสเอ็นเทอโร ๗๑ (enterovirus 71 -EV71) ย้อมสีด้วยวิธี อิมมูโนฮิสโตเคมิคัล ใช้โมโนโคลนัลแอนติบอดี แอนติ-อีวี ๗๑

  29. ผู้ป่วยรายที่ ๒ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ • ผู้ป่วยทารกหญิงอายุ ๗ เดือน ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ดีมาก่อน อยู่ในกลางกรุงไทเป • ป่วยเป็นไข้ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ มีอาการอาเจียน หายใจขัดและชัก • แพทย์โรงพยาบาล ในท้องถิ่น ตรวจพบว่า หัวใจเต้นเร็ว (อัตราการเต้นของหัวใจมาก กว่า ๒๐๐ ตุบต่อนาที) และเขียว หายใจต้องการออกซิเจนมาก ฟังปอดได้เสียง coarse rhonchi

  30. วัดไข้ได้ ๑๐๒.๒๐ ฟ (๓๙๐ ซ) • ภาพรังสีทรวงอกมีอินฟิลเทรท รอบขั้วปอด ทั้งสองข้าง • CBC เม็ดเลือดขาว ๕,๑๐๐/มม๓ (ร้อยละ ๘๔ เป็นนิวโทรฟิล ร้อยละ ๑๕ เป็น ลิมโฟไซท์) • ฮีโมโกลบิน ๙.๓ กรัม/มล เกร็ดเลือด ๘๔,๐๐๐/มล๓ • โปรธรอมบิน ไทม์ เท่ากับ ๒๙.๕ วินาที (คอนโทรล ๑๐.๘ วินาที) และ แอ็คทิเวทเท็ด พาร์เชียล ธรอมบิน ไทม์ เท่ากับ ๔๕.๕ วินาที (ปกติ ๒๐-๓๔ วินาที)

  31. CSF มีเม็ดเลือดขาว ๒๐๕ เซลล์/มล๓ (ร้อยละ ๙๔ เป็นลิมโฟไซท์) โปรตีน ๔๓ มก/ดล ปริมาณกลูโคส ๙๐ มก/ดล ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและ ปฏิบัติการกู้ชีพด้วย dobutamine และ dopamine ประมาณ ๕ ชั่วโมงหลังรับไว้ในโรงพยาบาล หัวใจเต้นช้าลง แรงดันเลือด ลดต่ำลง ผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม

  32. สรุปผู้ป่วยเด็กทั้ง ๕๕ คน • เป็นเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี แข็งแรง ดีมาก่อนทุกคนมีอาการเฉียบพลันโดยมี ไข้ หรือมีผื่นผิวหนัง หรือมีแผลในปาก (ตารางที่ ๑) ประมาณ ๒-๗ วัน (เฉลี่ย ๓ วัน) หลังเริ่มป่วย ผู้ป่วยจะถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วย ระบบหัวใจ-หายใจล้มเหลว ผู้ป่วย ๔๑ ราย เสียชีวิตภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมงหลังรับไว้ในโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีการดูแลช่วย เหลือบริบาลทั้งด้านระบบหายใจและระบบการไหลเวียนเลือด

  33. ๕๕ รายนี้ ๔๓ รายหรือร้อยละ ๗๘ เป็นเด็กอายุต่ำ กว่า ๓ ขวบ (อายุเฉลี่ย ๑๗ เดือน พิกัด ๓-๑๕๑ เดือน) • ๓๒ ราย หรือร้อยละ ๕๙ เป็นชาย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ภาคกลางของไต้หวัน (๒๗ ราย หรือ ร้อยละ ๕๘) อยู่ทางภาคเหนือ ๒๑ รายหรือร้อยละ ๓๘ • เหตุที่ไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการหายใจติดขัด (๑๗ ราย หรือร้อยละ ๓๑) มีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ๑๔ ราย หรือร้อยละ ๒๕ ผู้ป่วยเด็ก ๑๓ ราย หรือร้อยละ ๒๔ หมดสติขณะ แรกรับ ร้อยละ ๘๐ หรือ ๒๔ รายเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในห้องฉุกเฉิน หรือขณะรับไว้ในไอซียูโดยตรง • ทุกรายต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อแก้ไขภาวะหายใจขัด รายสุดท้ายที่ตายได้รับไว้ใน โรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม

  34. ตารางที่ ๑. จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงที่คัดเลือกแล้ว ถึงแก่กรรมในระหว่างการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในไต้หวัน เมษายน-กรกฎาคม ๒๕๔๑ ลักษณะโรค จำนวนร้อยละ อาการ • ไข้๕๓๙๖ • จาม๓๕๖๔ • กินอาหารน้อย๒๗๔๙ • หอบ๒๓๔๒ • ง่วงนอนบ่อย๑๗๓๑ • ไอ๑๔๒๖ • หลุกหลิก๑๑๒๐ • อ่อนเพลีย๑๔๒๖ • ท้องเดิน๗๑๓ • น้ำมูกไหล๖๑๑

  35. อาการแสดง • อาการแสดง % • มีผื่นที่มือ เท้า๓๒๕๘ • มีแผลในปาก ๒๘๕๑ • มีแผลเปื่อยเฮอร์ปแองใจนา๘ ๑๕ • ระบบหายใจ • เสียงราล ๒๖ ๔๘ • เสียงหวีดในปอด ๒๑ ๓๙ • หายใจกล้ามเนื้อทรวงอกบุ๋ม๑๗ ๓๒

  36. หัวใจ % • เขียวทั่วไป๒๘๕๒ • เขียวส่วนปลาย๒๒๔๑ ระบบประสาท • ซึม๒๔๔๔ • หมดสติ๑๓๒๔ • ตื่นเต้น๙๑๗ • คอแข็ง๗๑๓ • ชัก๗๑๓ • เป็นอัมพาตเฉพาะที่หรืออ่อนแรง๑๒ • * จำนวนรวม = ๕๕

  37. ผลสรุปรายงานการทดสอบชันสูตรผลสรุปรายงานการทดสอบชันสูตร • ตรวจพบไวรัสอีวี ๗๑ ในเนื้อเยื่อในระบบประสาทกลาง จากผู้ป่วย ๑ ราย (ผู้ป่วยรายที่หนึ่ง) • ในรายงานเบื้องต้นพบอีวี ๗๑ ใน ตัวอย่างตรวจ ๑๔ ตัวอย่างที่ได้จากผู้ป่วย ๕๕ ราย • นอกเหนือ จากนั้น หนึ่งตัวอย่างที่ให้ผลบวกว่าเป็นไวรัสอีวี ๗๑ โดยวิธี polymerase chain reaction – PCR

  38. การระบาดในอาเซีย ๒๕๕๓/๒๕๕๔ ประเทศ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ • จีน ๗๑๑,๓๗๘ ๑,๒๗๑,๕๓๘ • ฮ่องกง ๑๖๓ ๒๘๗ • มาเก๊า ๑๔๗ ๑,๑๓๖ • ญี่ปุ่น ๑๒๙,๓๑๘ ๑๘,๙๔๘ • สิงคโปร์ ๙,๑๓๙ ๒๐,๙๙๙ • เวียดนาม ระบาดแต่ไม่มีข้อมูล ๖๓,๗๘๐ • เกาหลี ๑๔.๔ ๒๘.๑ • ประเทศเกาหลีรายงานจำนวนผู้ป่วยมือ เท้า ปาก/๑๐๐๐ผู้ป่วยนอกที่sentinel sites เท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลรวมทั่วประเทศทั้งหมด

  39. คำนิยาม “โรค มือ เท้า ปาก” • แปลมาจากภาษาอังกฤษ ที่เรียกว่า“Hand, Foot and Mouth Disease”เรียกชื่อย่อๆ สั้นๆ ว่า HFMD ตามที่เสนอไว้ในเอกสารวิชาการขององค์การ อนามัยโลก “A Guide to Clinical Management and Public Health Response for Hand, Foot and Mouth Disease (HFMD)” พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้คำนิยามเอาไว้ว่า

  40. คำนิยามโรคขององค์การ อนามัยโลก • “โรค มือ เท้า ปาก เป็นโรคที่มีลักษณะทางเวชกรรมคือ มีไข้ มีตุ่มพองชนิดpapulovesicular rash โดยเฉพาะปรากฏ บ่อยที่ฝ่ามือฝ่าเท้า อาจมีหรือไม่มีตุ่ม หรือมีแผลเปื่อยในปาก ผื่นผิวหนัง อาจจะเป็นชนิดผื่นนูนจากผิวหนัง อาจเป็นตุ่มพองใส และไม่เป็นตุ่มพอง(maculopapular rash) และโดยเฉพาะในเด็ก เล็กและทารกผื่นอาจ ปรากฏเฉพาะที่สะโพกเข่าข้อศอก”

  41. WHO Case Definition • HFMD:Febrile illness with papulovesicular rash on palms and soles with or without vesicles/ulcer in the mouth. Rash may occasional be maculopapular without vesicular lesion and may also involve buttock, knee or elbow, particularly in small children and infants.

  42. วิทยาการระบาดในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๕๒ • สถานที่/พ.ศ. อีวี๗๑ ป่วย/ตายโรค/กลุ่มอาการที่เกิด • แคลิฟอร์เนีย ๒๕๑๒๒๐/๑สมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, coxsackie-like illness • นิวยอร์ค ๒๕๑๒๑๑/๐aseptic meningitis, HFMD (๑ ราย) • สวีเดน ๒๕๑๖๑๙๕/๐aseptic meningitis, HFMD (อาการรุนแรง) • ญี่ปุ่น ๒๕๑๖, ๒๕๒๐-๒๑๑,๐๓๑/ไม่ระบุHFMD, สมองอักเสบ • บัลกาเรีย ๒๕๑๘๗๐๕/๔๔aseptic meningitis, อัมพาต • นิวยอร์ค ๒๕๒๐๑๒/๐HFMD, โรคระบบประสาท, โรคระบบหายใจ, กระเพาะอาหารอักเสบ • ฮังการี ๒๕๒๑๓๒๓/๔๗สมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อัมพาต คล้ายโปลิโอ • ออสเตรเลีย ๒๕๒๙๑๑๔/๐HFMD, สมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, Encephalomyeliis • ฟิลาเดลเฟีย ๒๕๓๐๕/๐อัมพาตอ่อนเปียก • สหรัฐ ๒๕๒๐-๒๕๓๔๑๙๓อัมพาต, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, สมองอักเสบ, ผื่น, กีแลง แบเร

  43. การระบาดของโรคติดเชื้อเอ็นเตโรไวรัส ๗๑ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๒๖ พ.ศ. สถานที่ จำนวนผป. ลักษณะ ๒๕๑๒-๒๕๒๖ แคลิฟอร์เนีย/ ๒๐Aseptic meningitis, Encephalitis ๒๕๑๕ นิวยอร์ค/สรอ. ๑๑Aseptic menin, Encephalitis, HFMD ๒๕๑๕ออสเตรเลีย๑๙Aseptic meningitis, Rash, Polyneuritis, Acute respiratory infection ๒๕๑๖ สวีเดน ๑๙๕Aseptic meningitis, HFMD

  44. ซาราวัค ๒๕๒๐๒,๖๒๘/๓๒HFMD, aseptic meningitis, อัมพาตอ่อนเปียก, ระบบไหลเวียนล้มเหลว • ญี่ปุ่น ๑๒/๐HFMD, herpangina, Meningoencephalitis, สมอง อักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ • ไต้หวัน ๒๕๓๑๑๒๙,๑๐๖/๗๘สมองอักเสบ, aseptic meningitis, ปอดบวมน้ำ/ตก เลือด, อัมพาต อ่อนเปียก • เคนยา ๒๕๓๒๘/๐ผื่นผิวหนังอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ • ญี่ปุ่น ๒๕๓๓๖๐/๑HFMD, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เดินเปะปะ, อัมพาตอ่อน เปียก, ก้านสมองอักเสบ

  45. ๒๕๑๖ญี่ปุ่น >๓,๒๐๐Hand, foot and mouth disease, Aseptic meningitis • ๒๕๑๘บุลกาเรีย๗๐๕Aseptic meningitis, Encephalitis, acute myocarditis, Polio-like paralysis • ๒๕๒๑ฮังการี๑๕๕๐* Aseptic meningitis, Encephalitis, Polio-like paralysis • ๒๕๒๘ฮ่องกง ? Monoplegia • ๒๕๒๙ออสเตรเลีย ? CNS involvement • ๒๕๓๐สรอ. ๔๕Polio-like paralysis, Meningitis, Encephalitis • ๒๕๓๒จีน ? Hand, foot and mouth disease

  46. สถานที่/พ.ศ. อีวี๗๑ ป่วย/ตายโรค/กลุ่มอาการที่เกิด • ซาราวัค ๒๕๔๓๑๑/๒HFMD, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อัมพาตอ่อนเปียก, ก้านสมองอักเสบ • สิงคโปร์ ๒๕๔๓๓,๗๙๐/๕ HFMD, โรคของระบบประสาท • เกาหลี ๒๕๕๓ไม่ระบุ/๐เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, HFMD, herpangina, อัมพาตอ่อนเปียก • ซาราวัค ๒๕๕๒๑๐๗/๑ HFMD, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อัมพาตอ่อน เปียก, ก้านสมองอักเสบ • ญี่ปุ่น ฟูกูชิมา ๒๕๒๖-๒๕๔๖ไม่มีข้อมูล • เดนเวอร์ ๒๕๔๖๘/๑เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อัมพาตอ่อนเปียก, ไข้, ระบบไหลเวียนทำงานผิดปกติ • เวียดนามใต้ ๒๕๔๘๑๗๓/๓อัมพาตอ่อนเปียก, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ก้านสมองอักเสบ • เดนเวอร์ ๒๕๔๘๘/๐เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อัมพาตอ่อนปวกเปียก, ไข้, สมองอักเสบ • ซาราวัค ๒๕๔๙๒๙๑/๖อัมพาตอ่อนเปียก, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ก้านสมองอักเสบ • บรูไน ๒๕๔๙๙๖๘๑/๓ HFMD, โรคระบบประสาท • อันฮุย๒๕๕๑๔๘๘๙๓๕/๑๒๘ HFMD, ปอดบวมน้ำจากระบบ, ประสาทอักเสบ • ชานตง ๒๕๕๒๑๑๔๙/๓ HFMD, ก้านสมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  47. การติดต่อ การแพร่เชื้อไวรัส แหล่งที่มีเชื้อไวรัส • การติดต่อ การแพร่เชื้อไวรัสโดยการกินเชื้อไวรัสเข้า ไปโดยตรง ที่เรียกกันว่าโดยทางการสัมผัสที่เรียกว่า อุจจาระ-ปาก (fecal-oral route) หรือโดยการสัมผัสกับผื่นที่ผิวหนัง หรือ สิ่งคัดหลั่งจากปากผู้ป่วย หลังจากเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง และเยื่อชุ่ม (ที่ปาก จมูก) เป็นการแพร่โรคจาก มนุษย์-สู่-มนุษย์ โดยตรง หรือ โดยผ่านทางการสัมผัสสิ่งของ ของเด็กเล่น เสื้อผ้าพื้นผิวบริเวณบ้านที่มีผู้ป่วยเคยอยู่ของใช้ อุปกรณ์การกินอาหาร น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ สิ่งแวดล้อมเชื้อทนทานได้นานหลายวัน ในสภาพแวดล้อมที่เย็นและชื้น

  48. หลังจากรับเชื้อแล้ว เชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่กระแส โลหิตทำให้เกิดภาวะ “ไวรีเมีย- viremia” ไวรัสแพร่ไปตาม กระแสโลหิต ไปสู่อวัยวะอื่นๆ จึงพบเชื้อได้จากคอ ผิวหนัง ลำไส้ อุจจาระ ไวรัสจะไปก่อให้มีการแตกสลายของเซลล์ที่เรียกว่า“อะพ๊อพโตสิส – apoptosis” ผื่นที่ผิวหนังจึง กลายเป็นตุ่มพอง เล็กๆ และตุ่มแตกเป็นแผลในที่สุด ที่ตุ่มเล็ก ๆ ที่ผิวหนังหรือ ที่แผลก็มีเชื้อไวรัสอยู่ด้วย

  49. ระยะฟักตัว • มีประวัติ ประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ไปสัมผัสกับแหล่ง แพร่โรคมา มีการติดเชื้อจึงจะเริ่มมีอาการของโรค ผลของการ ติดเชื้อ อาจไม่ปรากฏอาการของโรคก็ได้ ขึ้นอยู่สภาพของผู้ที่ ได้รับเชื้อ เช่น อายุ ภาวะที่มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว เพราะเคย ผ่านการติดเชื้อมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่มีอาการของโรค หรือไม่มีอาการของโรคมาแล้วก็ตาม ระยะฟักตัวอาจสั้นได้เพียง ๓ วันก็มี

  50. ไข้ • ไข้ มักจะเป็นอาการแรกที่ปรากฏ เด็กอาจจะตัวรุมๆ หากใช้ปรอทวัดไข้ วัดทางปาก อุณหภูมิ ถ้าสูงกว่า ๓๗.๕๐ ซ ถ้าวัดทางทวารหนัก อุณหภูมิ ๓๘๐ ซ จึงจะถือว่ามีไข้ ไข้มักจะต่ำๆ ถึงปานกลาง ๓๗.๕-๓๘/๓๙๐ ซ แต่ไม่ถึง ๔๐๐ ซ) ไม่สูงเหมือน โรคไข้หวัดใหญ่ แล้วตามติดมาด้วยอาการเจ็บคอ อาจมีอาการ อื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหารหรือรู้สึกไม่ใคร่สบาย (ทารกหรือ เด็กเล็กๆจะบอกไม่ได้ อาจแสดงอาการผิดปกติ เช่น ปฏิเสธนม หรืออาหาร ร้องกวน งอแง)

More Related