1 / 15

เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง

เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง. นำเสนอใน โครงการอบรมการทำคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้แก่นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมบ้านสบาย กทม. ๒๒ - ๒๔ มี.ค. ๒๕๕๖. เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง. ๑ . เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ.

Télécharger la présentation

เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง นำเสนอใน โครงการอบรมการทำคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้แก่นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมบ้านสบาย กทม. ๒๒-๒๔มี.ค. ๒๕๕๖

  2. เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง

  3. ๑. เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ

  4. ๑. เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ

  5. ๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา

  6. ๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา

  7. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๑การใช้อำนาจบริหารบุคลากรย่อมเป็นคำสั่งทางปกครองที่กระทบคู่กรณี การพิจารณาเพื่อมีคำสั่งดังกล่าว จึงต้องให้โอกาสคู่กรณีได้มีโอกาสรับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐พ.ร.บ.วิปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๓๙การมีคำสั่งทางปกครองโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๘๑/๒๕๕๐)

  8. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๒เมื่อการถมคลองเพื่อสร้างคลองส่งน้ำเป็นการเปลี่ยนสภาพที่ดินจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย การที่กรมประมงไม่ดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ จึงสมควรให้กรมประมงดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวก่อน หากไม่ได้รับอนุมัติจึงค่อยรื้อถอน (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๔/๒๕๕๐) ข้อสังเกต : กระบวนการบางอย่างสามารถแก้ไขได้

  9. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๓เมื่อหน่วยงานของรัฐไม่ได้ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่มาตรา ๖๗ วรรคสองกำหนดไว้การให้ความเห็นชอบ อนุมัติและอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมตามบัญชีท้ายฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะเป็นคำสั่งทางปกครองที่บิดเบือนกฎหมายหรือฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงเนื่องจากเกิดจากการใช้ดุลยพินิจปฏิบัติราชการที่ (ก) กระทำขึ้นในสถานการณ์ที่ยังไม่มีการตราประกาศกำหนดประเภทโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงฯ (ข) ได้อาศัยความเห็นของคณะกฤษฎีกาและ (ค) ในขณะที่ออกคำสั่งไม่ปรากฏว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยการดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง (คำพิพากษาศาลปกครองคดีแดงที่ ๑๓๕๒/๒๕๕๓)

  10. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๔ กรณีที่กรมสรรพสามิตกำหนดอ้างกฎหมาย พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓ กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ฟ้องคดีขายแป้งข้าวหมักได้เฉพาะในสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติที่อ้างนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเนื่องจากไปจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาว่าข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องขายแป้งข้าวหมักในสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกอำนาจหน้าที่ ใช้บังคับไม่ได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๖/๒๕๔๗)

  11. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา • ตัวอย่างที่ ๑จากข้อเท็จจริง ย่อมเห็นได้ว่าบริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมที่ให้มีการทำเหมือง และการทำเหมืองในบริเวณดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดย่อมส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ที่เป็นภูเขาไปอย่างถาวร ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย เมื่อคำนึงถึงประโยชน์และผลเสียจากการทำเหมืองแล้ว การที่ คชก. มีมติไม่เห็นชอบ EIA จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๓/๒๕๔๙)

  12. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๒หลักความเสมอภาค คือ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกันและจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญที่แตกต่างกันให้แตกต่างกันไป เมื่อผู้ครอบครองที่ดินทั้ง ๕๔รายที่ถูกเวนคืนมีสาระสำคัญเหมือนกัน การกำหนดค่าเสียหายทดแทนพิเศษสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าทดแทนโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่งที่ร่วมเรียกร้องกับสมัชชาคนจนกับกลุ่มที่สองที่ไม่ได้ร่วมเรียกร้องโดยให้ค่าทดแทนแก่สองกลุ่มไม่เท่ากัน จึงขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓/๒๕๕๑)

  13. ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๓ เมื่อผลศึกษาวิจัยพบว่าการทำประมงด้วยอวนรุนก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน กรมประมงจึงได้เสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ออกประกาศฉบับนี้ โดยมีแผนที่กำหนดเขตพื้นที่ห้ามใช้เครื่องมืออวนรุนประกอบเรือยนต์ทำการประมงแนบท้ายประกาศให้ชัดเจน จึงเห็นว่าประกาศฉบับพิพาทเป็นมาตรการที่สามารถบรรลุผลในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและอาชีพประมงพื้นบ้านได้ เมื่อชั่งน้ำหนักผลกระทบและความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับกับผลประโยชน์ของสาธารณะที่ต้องสูญเสียไปแล้ว ความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับเบาบางกว่าความเสียหายของประโยชน์สาธารณะ ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๕๑/๒๕๔๘)

  14. ตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๔ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำแข็งหลอด โดยตั้งอยู่ในบริเวณอาคารตึกแถว ๓ ชั้น ติดกับบ้านของผู้ฟ้องคดีและของบุคคลอื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ย่อมเห็นได้ว่าการประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำน้ำแข็งดังกล่าวใช้เครื่องจักรเกิน ๕๐ แรงม้า โดยสภาพย่อมก่อให้เกิดเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นได้ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงขัดต่อข้อ ๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) เป็นการออกใบอนุญาตโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๐๖/๒๕๕๐)

  15. ตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๕ จากข้อเท็จจริงต่าง ๆ เชื่อว่าเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ซึ่งพบว่ามีเอกสารรายงานที่ส่วนราชการและเอกชนจัดทำขึ้นจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นว่ามีมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง จึงรับฟังว่าเขตเทศบาลมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้ (คำพิพากษาศาลปกครองระยองคดีแดงที่ ๓๒/๒๕๕๒)

More Related