1 / 54

การเตรียมดินสำหรับปลูกพืช โดย อ.จำเริญ ยืนยงสวัสดิ์

การเตรียมดินสำหรับปลูกพืช โดย อ.จำเริญ ยืนยงสวัสดิ์. วัตถุประสงค์ 1.ให้เข้าใจหลักวิธีของการเตรียมดินปลูกพืชและสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบดินมาใช้จัดการดินปลูกพืชชนิดต่างๆได้อย่างถูกต้อง 2.ลำดับขั้นตอนการจัดการเตรียมแปลงปลูก สำหรับพืชเศรษฐกิจสำคัญได้

howie
Télécharger la présentation

การเตรียมดินสำหรับปลูกพืช โดย อ.จำเริญ ยืนยงสวัสดิ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมดินสำหรับปลูกพืชโดย อ.จำเริญ ยืนยงสวัสดิ์ • วัตถุประสงค์ • 1.ให้เข้าใจหลักวิธีของการเตรียมดินปลูกพืชและสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบดินมาใช้จัดการดินปลูกพืชชนิดต่างๆได้อย่างถูกต้อง • 2.ลำดับขั้นตอนการจัดการเตรียมแปลงปลูก สำหรับพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ • 3.อธิบายเงื่อนไขปัจจัยในการจัดการวางระบบการปลูกพืชในเชิงอนุรักษ์เพื่อการปลูกพืชอย่างยั่งยืนได้ • 4.บอกชนิดอุปกรณ์ เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเตรียมแปลงปลูกพืชได้

  2. วัตถุประสงค์ของการเตรียมดินวัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน • เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทางชีวะ และทางเคมีของดินให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของส่วนขยายพันธุ์พืช(เมล็ด, หัว,ต้นกิ่งพันธุ์) ปฏิบัติการทางดินเพื่อการเตรียมที่ดินให้เหมาะต่อการปลูกพืชต้องใช้เครื่องมือ หรือเครื่องทุ่นแรงต่างๆเข้าช่วย ทั้งนี้แล้วแต่ยุคสมัยของพัฒนาการ หรือกิจการที่ปลูกว่าจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ประเภทใด ในอดีตใช้จอบ เสียม คราดซึ่งใช้แรงคนหรือสัตว์ต่าง เป็นต้นกำลัง ปัจจุบันใช้เครื่องจักรเป็นต้นกำลัง เรียกปฏิบัติการทางดินเพื่อการปลูกพืชนี้ว่า การเขตกรรม (Cultivation) หรือ การไถพรวน (Tillage)

  3. ดินป่วย ดินไม่มีชีวิต ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผู้อยู่เป็นใคร ชอบอะไร

  4. ธาตุอาหาร เปลี่ยนรูปเป็น สารอินทรีย์ในพืช แร่ธาตุ เปลี่ยนรูปเป็น สารอินทรีย์ในสัตว์ ฮิวมัส ดิน แร่ธาตุในฮิวมัส ไม่เป็นประโยชน์ กับพืช แร่ธาตุจากพืช,สัตว์ ที่ตายสะสมในดิน เน่าสลาย ภาพแสดงวงจรแร่ธาตุอาหาร ที่แปรเปลี่ยนไปในธรรมชาติ แร่ธาตุถูกปล่อย ในรูปอนุมูลที่เป็น ประโยชน์กับพืช อนมูลที่เป็นแร่ธาตุ ถูกดูดไว้โดยดิน สสารไม่หายไปไหนเพียงแต่เปลี่ยนรูปไปเท่านั้น การกระทำต่อดินโดยใช้แรงใดๆ ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใน 3 องค์ประกอบ เน่าสลาย

  5. การเสื่อมของดิน กระบวนการ (ตัวปฏิกริยา และปฏิกริยาสัมพันธ์) ลักษณะของปัจจัย (เงื่อนไขและตัวเร่ง) กิจกรรม ทางการเกษตร การเจริญของเมือง กิจกรรมทาง อุตสาหกรรม กายภาพ ชีวะภาพ เคมี ปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมของดิน (Soil Degradation) Lal et al.,1989 จะปลูกพืชให้อยู่ได้อย่าง ยั่งยืนต้องรู้เหตุแห่งความเสื่อม

  6. กระบวนการทางกายภาพทำให้เกิดการเสื่อมกระบวนการทางกายภาพทำให้เกิดการเสื่อม • ดินเมื่อใช้ไปนานๆ ขาดการบำรุง จะเกิดความเสื่อมทางกายภาพ • 1.สภาพการเสื่อมทางโครงสร้างเช่น • 1.1 การแน่นของดิน(Compaction) • 1.2 การแข็งตัวและแตกระแหงของผิวหน้าดิน(Crusting) • 1.3 การเร่งการกัดกร่อนโดยมนุษย์หรือสัตว์(Accelerated erosion) • 1.4 การเกาะของ ดินเป็นแผ่นแข็งของดินชั้นล่างเมื่อแห้ง(Hard - setting) • 2. สภาพน้ำกับอากาศในดินขาดสมดุลย์ • 2.1 สภาพฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง(Wetness) • 2.2 สภาพแล้งขาดน้ำในดิน(Drough) • 3. สภาพอุณหภูมิที่วิกฎติสำหรับพืช • 3.1 ดินชั้นล่าง(subsoil) เป็นน้ำแข็งตลอดปี(Permafrost) • 3.2 อุหภูมิสูงหรือต่ำเกินระดับเหมาะสม(Supraoptimal)

  7. 1. การชะล้างแร่ธาตุอาหารโดยธรรมชาติ (Leaching) น้ำ, ลม, ดินเคลื่อนที่ • 2. การทำให้ธาตุอาหารหมดไปจากดิน (Fertility depletion) การเก็บเกี่ยว • ผลผลิต • 3 .ดินแน่นเนื่องจากมี sodium มาก (Sodification) • (Na+ เมื่อจับกับ clay micelle จำนวนมากจะทำให้อนุภาคดินเหนียวฟุ้งกระจาย • เมื่อเปียก แต่จะเกาะกันแน่นทึบ เมื่อดินแห้งจะแข็ง ยากต่อการไถพรวน) • 4. การเกิดดินลูกรัง(Laterization) เป็นกระบวนการสะสม เหล็กในดิน ดินชนิดนี้จะ • มีลักษณะเป็นดินปนกรวด หรือมีเศษหินปะปน มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะ • สมต่อการทำการเกษตร ดินมีความสามารถอุ้มน้ำต่ำดิน ชั้นล่างมักแน่นทึบ การซึม • ซาบน้ำเร็วถึงปานกลาง ความลึกของดินเห็นเป็นข้อจำกัดในการชอนไชหาอาหารของ • รากพืช • 5. Toxification ของ Al+3, Mn+3 และ Heavy metal กระบวนการทางเคมีทำให้เกิดการเสื่อมของดิน

  8. CO2 + H2O H2CO3 H+ + HCO3- H+ + H+ + CO32- ปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนประจุบวกในดิน ดินโดยทั่วไป จะมีcation พวก H+,Ca++,Mg++ K+, Na+ เกาะยึดที่ผิวclayเป็น สัดส่วนมากน้อย ลดหลั่นกัน เมื่อรากพืชหายใจและคายก๊าซCO2แล้วเกิดอะไรขึ้น ? แล้วประจุธาตุสำคัญอื่นๆเช่น NO3,SO42-,PO43- อยู่หรือปรากฏอย่างไรในดิน(soil solution)

  9. ความเป็นประโยชน์ของแร่ธาตุกับความเป็นกรดด่างของดินความเป็นประโยชน์ของแร่ธาตุกับความเป็นกรดด่างของดิน และการเจริญเติบโตของพืช • 1. การแลกเปลี่ยนประจุบวก • 2 .การผลักกันของประจุลบและการ • ชะล้างออกไปจากสารละลายดิน • (เช่น NO-3,SO42-) • 3.Fe Mn Al เพิ่มขึ้นเมื่อ pH ลดลง • Al เป็นพิษกับพืชได้ ถ้ามีมากใน • สารละลายดิน • 4.Ca , Mg จะละลายได้มากขึ้นเมื่อ • pH เพิ่มขึ้น ไนโตรเจน แคลเซี่ยม Relative availability เหล็ก pH

  10. กระบวนการทางชีวะที่เป็นเหตุของความเสื่อมของดินกระบวนการทางชีวะที่เป็นเหตุของความเสื่อมของดิน • 1.ชีวะมวลที่เป็นคาร์บอนลดลง • 2.การลดลงของอินทรีย์วัตถุ • 3.การลดลงของพืชและสัตว์ขนาดเล็กในดิน • 4.เปลี่ยนแปลงสภาพโดยรวมในดินในทางเสื่อมที่สิ่งมีชีวิต • ไม่สามารถทนอยู่ได้ กระบวนการทางกายภาพ เคมีและชีวะ สัมพันธุ์ต่อเนื่องกันเป็นระบบรวม

  11. ลักษณะกิจกรรมด้านการเกษตรทำให้เกิดการเสื่อม(Agricultural activities) • 1.การตัดไม้ทำลายป่าไปใช้ประโยชน์(deforestation) • 2.การไถพรวนไม่เหมาะสม • 3.ใช้ดินมากเกินไป(intensive) และ • การปลูกพืชชนิดเดียว(monoculture) • 4..ใช้สารเคมีไม่เหมาะสมและมากเกินไป • 5.อัตราการเอาออกของมวลมากกว่าการคืนกลับของชีวมวล

  12. สาเหตุด้านอุตสาหกรรม 1.ของเสียจากโรงงาน 2. ฝนกรด(acid rain) สาเหตุความเจริญของเมือง(Urbanization) 1. ของเสียจากเมือง(city waste) 2. ที่ทำการเกษตรลดลง ลักษณะกิจจกรรมด้านอุตสาหกรรมและความเจริญของเมืองทำให้เกิดการเสื่อม

  13. การปลูกพืชเริ่มด้วยการเตรียมดินการปลูกพืชเริ่มด้วยการเตรียมดิน ชนิดพืชกับขั้นตอนการเตรียมดิน • ชนิดพืช • พืชสวน • ไม้ผล(มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่) • ผัก(กินใบ กินผล กินดอก กินทั้งต้น แบ่งตามอายุ • ไม้ดอก(เมล็ดเล็กมาก เมล็ดเล็ก เมล็ดใหญ่ ) • พืชไร่ (ล้มลุก,พืชยืนต้น) • พืชในที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังเช่น ข้าว • พืชในที่ดอน เช่น ข้าวโพด อ้อย • ระบบการปลูกในที่ลุ่ม • ระบบการปลูกในที่ดอน • การวางผังระบายน้ำ • แบบหลังเต่า • แบบไร้รูปแบบ • แบบก้างปลา • แบบผสม

  14. การเตรียมดินปลูกสำหรับปลูกพืชสวนบางชนิดการเตรียมดินปลูกสำหรับปลูกพืชสวนบางชนิด ข้อพิจารณา: สมบัติที่ดีของเครื่องปลูก(media) • 1.Stability of organic matter • 2.Carbon:Nitrogen Ratio • 3.Bulk density • 4.Moisture Retention and Aeration • 5.Cation Exchange Capacity • 6.pH • 7.Fertilizer Content • อื่นๆ: • หาง่าย ราคาถูก • ไม่มีโรค แมลง และวัชพืช

  15. สมบัติสำคัญของดินผสมสำหรับไม้กระถางบางชนิดสมบัติสำคัญของดินผสมสำหรับไม้กระถางบางชนิด 1.Supersoil, 2.Perma-Gro All-Purpose, 3.Bandini Potting Soil, 4.Good Earth Potting Soil, 5.Vita-Hume Outdoor, 6.Power-O-Pear, 7.Gromulcg Planting Mix, 8.Hyponex Professional Mix 9.Uniguow African Violet Mix, 10.Hyponex Professional Mix, 11.Jiffy Mix, 12.Jungle Hrowth House Plant 13.Roger,s Potting Soil Mix, 14.Black Magic House, 15.K-Mart Potting Soil

  16. ลักษณะการเจริญของต้นมะเขือเทศในดินผสมสูตรต่างๆลักษณะการเจริญของต้นมะเขือเทศในดินผสมสูตรต่างๆ

  17. อินทรีย์วัตถุกับการเตรียมดินอินทรีย์วัตถุกับการเตรียมดิน ความสำคัญ บทบาทของอินทรีย์วัตถุ การจัดการ และ แหล่งของอินทรีย์วัตถุ

  18. ลักษณะของอินทรีย์วัตถุในดินของประเทศไทยลักษณะของอินทรีย์วัตถุในดินของประเทศไทย • ประเทศไทยมีปัญหาดินเสื่อมโทรม~224.9ล้านไร่(หรือ 70.13 %ของพื้นที่ทั่วประเทศและพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 2 %ไม่น้อยกว่า 191 ล้านไร่(~60%ของพื้นที่ประเทศ) • ปัจจัยที่มีผลต่ออินทรีย์วัตถุ • สภาพภูมิอากาศร้อน ชื้น มีผลทำให้ OM สลายตัวเร็ว(< เขตอบอุ่น 8เท่า) • การทำการเกษตรติดต่อกันนานโดยไม่ใส่เพิ่มเติมให้หรืออัตราการใส่น้อยกว่าอัตราการสลายตัว • พื้นที่ลาดเอียงเกิดกษัยการ(erosion)มาก • การใช้ที่ดินไม่ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์ดิน • หน้าดินตื้นและพื้นที่ดินนั้นเกิดจากต้นกำเนิดดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

  19. บทบาทของอินทรีย์วัตถุในดินบทบาทของอินทรีย์วัตถุในดิน • เป็นตัวควบคุม กำหนดคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และชีวภาพของดิน • การปลดปล่อยแร่ธาตุอาหาร(Cation exchang capacity) • ลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด(Buffer capacityของAl, Mn) • การช่วยให้ดินเกาะตัวกันเป็นโครงสร้าง • ช่วยการดูดยึดน้ำในดิน การระบายอากาศ • การลดอัตราการชะล้างพังทลาย • การส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารมากขึ้น(Mineralization) กรดบางตัวที่ปล่อยออกมามีประโยชน์กับพืช ลดปริมาณไส้เดือยฝอย ลดปริมาณเชื้อโรคพืช เพิ่มไมโครไรซาบริเวณรากพืช

  20. ที่มาของอินทรีย์วัตถุที่มาของอินทรีย์วัตถุ แต่ละชนิดของอินทรีย์วัตถุมีแร่ธาตุอาหารแตกต่างกัน

  21. ปริมาณแร่ธาตุอาหารบางชนิดจากวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายปริมาณแร่ธาตุอาหารบางชนิดจากวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่าย

  22. ปริมาณธาตุอาหารบางชนิดจากวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายตัวยากปริมาณธาตุอาหารบางชนิดจากวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายตัวยาก

  23. ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก • เชื้อรา แบททีเรีย และแอคติโนมัยซีส • เชื้อราจะเจริญได้ดีบริเวณผิวนอกของกองปุ๋ย ซึ่งมีอุหภูมิไม่เกิน 50องศาเซลเซียส หากอุหภูมิมากกว่า 60 องศาจะไม่พบการเจริญของเชื้อรา • แบททีเรียเจริญได้เมื่อมีความชื้นสูง ที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 50-75 เปอร์เซ็นต์ pH ค่อนข้างเป็นกลาง ถ้าต่ำไปจะหยุดเจริญและอุณหภูมิสูงมักเจริญอยู่ภายในกอง

  24. อัตราส่วนสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N RATIO) • เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกความยากหรือง่ายต่อการย่อยสลายและใช้เป็นตัวกำหนดระดับการเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ • ค่าสูง อัตราการย่อยสลายจะเกิดช้า • อัตราเหมาะสม ประมาณ 10 ต่อ 1 • วัสดุที่มีอัตราส่วน C/N = 25 ต่อ 1 จะเหมาะสมต่อการทำปุ๋ยหมัก หากไม่ได้ควรเติม ไนโตรเจนเสริมให้ไป • หาก C/N ต่ำเกินไป จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย ในรูป แอมโมเนีย ( ammonia volatilization) • อัตราส่วนที่แนะนำควรอยู่ในช่วง C/N ในช่วง 20-40:1 • แบ่งชนิดวัสดุตามค่า C/N ที่พบทั่วไปเป็น 2พวกคือ • พวกย่อยสลายง่าย C/N ต่ำกว่า 100:1 • พวกย่อยสลายยากมี C/N มากกว่า 100:1

  25. หลักในการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหลักในการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว • 1. สีของวัสดุพืช น้ำตาล ดำ • 2. ลักษณะของวัสดุเศษพืช อ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดออกจากกันง่าย ไม่แข็งกระด้างเหมือนวัสดุเริ่มแรก • 3. กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะไม่มีกลิ่นเหม็น หากมีแสดงว่าไม่สมบูรณ์ • 4. ความร้อนในกองปุ๋ยจะ 2-3 วันโดย T สูง 50- 60 0 ซ.แล้วจะลดลงใกล้กับ Tภายนอก • 5. ลักษณะพืชที่เจริญบนกองปุ๋ยหมัก หากมีพืชขึ้นที่ผิวได้แสดงว่าใช้ได้แล้ว • 6. การวิเคราะห์ทางเคมี พิจารณาความสมบูรณ์โดยเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางเคมีดูอัตราส่วน C/N

  26. คุณภาพและมาตรฐานที่ดีของปุ๋ยหมักคุณภาพและมาตรฐานที่ดีของปุ๋ยหมัก • ตามมาตรฐานของกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดคุณภาพและมาตรฐานไว้ดังนี้ • 1. อัตราส่วนสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N ratio)ไม่มากกว่า 20:1 • 2. เกรดปุ๋ยไม่ควรต่ำกว่า 0.5-0.5-1.0(เปอร์เซ็นต์ ของ N P2O5 K2O ตามลำดับ • 3. ความชื้นของปุ๋ยหมักไม่ควรมากกว่า 35- 40 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) • 4. ปริมาณอินทรีย์วัตถุประมาณ 25- 50 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) • 5. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.0-7.5 • 6. ไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่นๆ

  27. การเตรียมดินกับค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุ(C.E.C.)ของวัสดุปรับปรุงดินการเตรียมดินกับค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุ(C.E.C.)ของวัสดุปรับปรุงดิน Clay

  28. ความหนาแน่นและความ พรุนรวมของดิน(Density & Porosity of Soil) • ความหนาแน่น = มวล / ปริมาตร • 1 .ความหนาแน่นรวม(Bulk Density) หมายถึงสัดส่วนระหว่างมวลของดินขณะที่ดินแห้งสนิทกับปริมาตรทั้งหมด(ปริมาตรของส่วนประกอบทุกๆส่วนรวมกัน) • 2. ความหนาแน่นของอนุภาค(Particle Density) หมายถึงสัดส่วนระหว่างมวลของดินขณะที่ดินแห้งสนิทกับปริมาตรของอนุภาคของดิน • ** ปริมาตรทั้งหมด =ปริมาตรของสิ่งที่เป็นของแข็ง+ ปริมาตรของสิ่งที่ไม่ใช่ของแข็ง

  29. ความพรุนรวมทั้งหมด(Total Porossity) ความพรุนรวมทั้งหมด =

  30. = ปริมาตรของสิ่งที่ไม่ใช่ของแข็ง ปริมาตรของสิ่งที่เป็นของแข็งในดิน ความพรุนกับสัดส่วนของช่อง(void ratio)ของดิน สัดส่วนของช่อง ความพรุนทั้งหมดและสัดส่วนของช่องของดิน ผันแปรโดยตรงกับปริมาณ อินทรีย์วัตถุในดิน ส่วนความหนาแน่นรวมของดินกับปริมาณอินทรีย์วัตถุใน ดินจึงเป็นไปในทางกลับกัน การใช้ดินทำการเพาะปลูกส่งเสริมการสูญเสียอินทรีย์วัตถุไปจากดิน ทำให้ความพรุนทั้งหมด และสัดส่วนของช่องของดินน้อยลง ตลอดทั้งทำให้ความหนาแน่นรวมของดินมากขึ้น ดินยิ่งลึกความหนาแน่นรวมจะมากขึ้นและความพรุนทั้งหมดกับ สัดส่วนของช่องจะน้อยลง

  31. หน้าที่ของช่องที่ปรากฏในดินหน้าที่ของช่องที่ปรากฏในดิน • 1. เป็นที่เก็บน้ำ แก๊ซชนิดต่างๆ ไอออนและสารเคมีต่างๆที่อยู่ในสารละลายดิน • 2. เป็นทางผ่านของน้ำและแก๊ซชนิดต่างๆเมื่อน้ำและแก๊ซเคลื่อนที่ภายในดิน • (*** น้ำ แก๊ซ และธาตุอาหารที่อยู่ในสภาวะละลาย) • water -retaining pore หรือ capillary pore = ? • drainage pore หรือ aeration pore = ?

  32. แบบการเตรียมดินผสมชนิดต่างๆ(Soil Mixtures) • 3.เครื่องปลูกสำเร็จในต่างประเทศ • Jiffy Mix • Choice mix • Ball Growing mix • 4.ดินขุยไผ่, ดินลำดวน,ดินเกษตร • ของนายเด่น ดอกประดู่ อื่นๆ • 1. Soil - Based Media • John Innes Compost(1950) • Seed Compost • Potting Compost • K.U. Soil Mixes • สำหรับไม้ดอกทั่วไป • ไม้หัว และไม้ดอกที่ต้องการความชื้นสูง และสูตรอื่นๆ • 2.Soiless Media • U.C. Mixes : sand + peat moss • Peat - lite, Cornell mixes(สูตร A, B และสูตรสำหรับ ไม้ใบ(Foliage plants) และพวกรากอากาศ(Epiphytic mix)

  33. วิธีการไถพรวน (Tillage Method)เพื่อเตรียมแปลงปลูกพืช • เนื้อดิน • โครงสร้างดิน • กษัยการ • ความลึกราก • ความลาดชันของพื้นที่ • อินทรีย์วัตถุ • แร่ดินเหนียว • เหล็กและอลูมินัม • ออกไซด์ • ผิวหน้าดิน+ • วัสดุคลุม • ทรงพุ่ม • ช่วงอายุ • ระบบราก • การจัดการน้ำ • ชนิดพืชกับการ • อนุรักษ์ดิน • การปลูกพืช • หมุนเวียน • การอ่อนแอต่อ • โรค-แมลง คุณสมบัติดิน ลักษณะพืชปลูก • ขนาดฟาร์ม • โครงสร้างพื้นฐาน • ตลาด • แรงงาน • เทคโนโลยี • ทรัพยากร • ธรรมเนียมประเพณี ปัจจัยทาง เศรษฐกิจ-สังคม • การกัดกร่อน • อุณหภูมิ • น้ำฟ้า ฟ้าอากาศ

  34. ความหนาแน่นดินรวม(Critical bulk density)วิกฤติในการผลิตพืชบางชนิด(Lal ,1986b)

  35. ขั้นตอนในการเตรียมดินขั้นตอนในการเตรียมดิน • ข้อพิจารณา • ลักษณะของพื้นที่ • ชนิดพืชที่จะปลูก • พืชปลูกมาก่อน • ปริมาณและชนิดวัชพืช • ชนิดของดิน ความชื้นของดิน • สภาพฟ้าอากาศ • เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงที่มี • อื่นๆ

  36. ลักษณะของพื้นที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชในเขตร้อนชื้น(Humid Tropics)

  37. ชนิดพืชกับขั้นตอนการเตรียมดินชนิดพืชกับขั้นตอนการเตรียมดิน • ชนิดพืช • พืชสวน • ไม้ผล(มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่) • ผัก(กินใบ กินผล กินดอก กินทั้งต้น แบ่งตามอายุ • ไม้ดอก(เมล็ดเล็กมาก เมล็ดเล็ก เมล็ดใหญ่ ) • ระบบการปลูกในที่ลุ่ม • ระบบการปลูกในที่ดอน • พืชไร่ (ล้มลุก,พืชยืนต้น) • พืชในที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังเช่น ข้าว • พืชในที่ดอน เช่น ข้าวโพด อ้อย • ระบบการปลูกในที่ลุ่ม • ระบบการปลูกในที่ดอน • การวางผังระบายน้ำ • แบบหลังเต่า • แบบไร้รูปแบบ • แบบก้างปลา • แบบผสม ดูวิธีการปลูกพืชในหนังสือหน้า 103 ประกอบ

  38. การปลูกพืชเพื่ออนุรักษ์ดินการปลูกพืชเพื่ออนุรักษ์ดิน • 1.ระบบการปลูกพืชเดี่ยว(monocrop) • 1.1 การทำทุ่งหญ้า • 1.2 การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน • การใช้ระบบการปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิด(double/multiple crop) • 2.1 การปลูกพืชหมุนเวียน(Crop rotation) • 2.2 การปลูกพืชแซม(Intercroping) 2 ประเภท • การปลูกพืชผสม(mixed intetcropping) ไม่มีระเบียบ • การปลูกพืชแซมเป็นแถว(row interctopping) มีระเบียบ • 2.3 การปลูกพืชสลับป็นแถบ(strip intercropping) • 2.4 การปลกพืชเหลื่อมฤดู(Relay intercroping) • 2.5 การปลูกพืชระหว่างแถวไม้ยืนต้น (Alley cropping)

  39. ความสำคัญของการจัดการผิวหน้าดิน(Soil surface management) • ทำให้การซึมน้ำเพิ่มขึ้น • ทำให้รากเจริญหากินได้ลึกขึ้น • ปรับปรุงการจัดการน้ำโดยรวม กลยุทธ์ในการทำให้น้ำซึมได้มากขึ้น

  40. กลยุทธ์ในการทำให้น้ำซึมได้มากขึ้น(Strategies to enhance water infiltration) การเพิ่มการซึมน้ำ ส่งเสริม ความสามารถ ในการซึมน้ำ เพิ่มเวลาในการซึม • Rough seedbed • Ridgd tillage • Tied ridges • Terracing ลดการแตกระแหง (Reduce crusting) เพิ่มจำนวนขนาดช่อง Mulch farming Strip cropping Vertical mulching Deep ploughing Cover crops Conservation tillage Cropping sydtems

  41. ขั้นตอนและเครื่องมือในการเตรียมดินขั้นตอนและเครื่องมือในการเตรียมดิน • การไถครั้งแรก(Primary tillage) • เรียกกันทั่วไปว่า ไถบุกเบิกและไถดะชนิดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ไถหัวหมู(Moldboard plough) ไถจาน หรือไถกระทะ(Disk plough)และอุปกรณ์ประเภท Tinesเช่น ไถดินดาน(Subsoiler) ไถสิ่ว(Chisel Plough)เป็นต้น • การไถครั้งที่สอง(Secondary tillage) • เรียกกันทั่วไปว่า ไถแปร ไถพรวน ชนิดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ได้แก่จานพรวน(disk harrow), ไถพรวนจาน(disk tiller), พรวนจอบหมุน(rotary cultivator) และไถพรวนเหล็กแหลม (tooth harrow )

  42. ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องมือในการเตรียมดินลักษณะและวิธีการใช้เครื่องมือในการเตรียมดิน • เครื่องมือในการเตรียมดินครั้งที่ 1 • ไถหัวหมู • ข้อดีคือพลิกดินคลุกเคล้าได้ดี และไถดินได้ลึกมากถึง 60-100 เซนติเมตร • ข้อเสีย เหมาะกับดินที่ไม่มีก้อนหิน รากไม้ หรือเศษไม้อยู่ในดินเพราะหากเจอรากไม้ ตอไม้เข้า ส่วนข้อต่อ จุดเชื่อมของหัวไถจะหักได้ง่ายเมื่อเจอแนวประทะ • ไถจาน • สามารถติดจานได้มากถึง 7 จาน ขึ้นอยู่กับความลึกของการไถ จานน้อยจะไถดินได้ลึกมากกว่า จานมาก สำหรับการไถครั้งที่ 1 มักต้องการไถพลิกดินให้ลึก จึงติดจานไถไว้ไม่เกิน 3-4 จาน • ไถดินได้ตื้นกว่าไถหัวหมูแต่มีข้อดีคือไถดินแข็ง เหนียวมากได้ดี แปลงเปิดใหม่ที่มีรากไม้ ตอไม้มากใช้ไถหัวหมูไม่ได้ ไถจานจะช่วยพลิก ตัดราก ตอไม้ได้ดี

  43. เครื่องมือในการเตรียมดินครั้งที่ 2 • เป็นการย่อยดินที่ถูกพลิกในการไถครั้งแรกให้แตกออกจากกัน • ทำให้ดินร่วนละเอียดเพียงพอเหมาะสมกับขนาดเมล็ด • สับเศษพืชหรือหญ้า • กำจัดวัชพืช • ทำให้แปลงปลูกเรียบ สม่ำเสมอมีผลต่อการระบายน้ำผิวหน้าดิน

  44. แนวคิดวิธีไถพรวน(Concept of tillage) • ไถพรวนมาตรฐาน(Conventional tillage (CT)หรือ Plough - till) • ไถดะ+ไถแปร+คราด หรือ พรวนให้ละเอียดอีกครั้ง • ไถพรวนเชิงอนุรักษ์(Conservation tillage) เป็นวิธีการไถเพื่อลดความสูญเสียของดินและน้ำอันเนื่องมาจากการไถตามแบบวิธีมาตรฐาน • ไม่ไถพรวน(No tillage) • ไถน้อยครั้งที่สุด(Minimum tillage) • ไถไม่กลบเศษพืช(Mulch tillage หรือ Stubble tillage) ข้อควรปฎิบัติ: 1. อย่าไถพรวนเกินความจำเป็น 2. ไถพรวนเมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะ 3. ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชตามที่จำเป็น 4. ไถพรวนด้วยความลึกที่แตกต่างกัน

More Related