1 / 30

งานวิจัยทางคลินิก

งานวิจัยทางคลินิก. ศึกษาถึงอัตราการตายของผู้ป่วยกับการประเมิน Glasgow Coma Scale ซึ่งถูกประเมินโดย นิสิตแพทย์ และ พยาบาล. คณะผู้จัดทำ. กฤษฎา สงวนพงษ์ ,นสพ. อนุชิต หิรัญกิตติ , นสพ. อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล ,นสพ. หลักการและเหตุผล

jack-holden
Télécharger la présentation

งานวิจัยทางคลินิก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานวิจัยทางคลินิก ศึกษาถึงอัตราการตายของผู้ป่วยกับการประเมิน Glasgow Coma Scale ซึ่งถูกประเมินโดย นิสิตแพทย์ และ พยาบาล

  2. คณะผู้จัดทำ กฤษฎา สงวนพงษ์ ,นสพ. อนุชิต หิรัญกิตติ , นสพ. อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล ,นสพ.

  3. หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยทางระบบประสาทมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และก่อนที่จะทำการรักษาผู้ป่วยก็จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินความรุนแรงของความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ซึ่ง Glasgow coma scale (GCS) เป็นระบบการให้คะแนนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบอกระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมอง การประเมิน GCS นั้นสามารถประเมินความรุนแรงของอาการป่วยของผู้ป่วยได้ในขั้นต้น ซึ่งส่งผลถึงการกำหนดแนวทางการรักษาของแพทย์ การประเมิน GCS ที่แตกต่างกันอาจ

  4. หลักการและเหตุผล ส่งผลถึงการเลือกแนวทางการรักษา และ mortality rate ของผู้ป่วย ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าการประเมิน GCS โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยศัลย-กรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการประเมิน GCS ที่ต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้ mortality rate ต่างกันด้วย

  5. คำถามหลัก • mortality rate ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทที่ได้รับการประเมิน GCS ที่แตกต่างกันจะมี mortality rate ต่างกันหรือไม่

  6. คำถามรอง • อัตราการตายมีความแตกต่างกันระหว่างการประเมิน GCS โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท ในช่วงใดของ GCS score มากที่สุด • GCS component ใดที่มีผลต่ออัตราการตายของผู้ป่วยมากที่สุด

  7. Objectives 1. เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการประเมิน Glasgow coma scale กับ mortality rate 2. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ mortality rate กับการประเมิน Glasgow coma scale ที่แตกต่างกันระหว่างนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท

  8. Expected outcome • เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ในการประเมินสภาวะผู้ป่วยทางระบบประสาท • ทำให้ทราบถึงผลที่เกิดจากการประเมิน GCS ที่ต่างกัน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตราฐานในการประเมินผู้ป่วยต่อไป

  9. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย Glasgow coma scale : เป็นการประเมินสติของคนไข้โดยมีการประเมินดังตาราง

  10. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

  11. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

  12. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย Total score = E + V + M Total score 8 or less => coma , severe head injury Total score 9 -12 => moderate head injury Total score 13-15 => mild or no head injury (reference : eMedicine Journal, May 9 2002, Volume 3, Number 5)

  13. ทบทวนวรรณกรรม • 5 Dec 2002 ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเกี่ยวกับภาวะ coma กล่าวว่า การใช้ Glasgow coma score ในการประเมินคนไข้ หาก ค่าการประเมินอยู่ที่ 3-4 จะมีผู้ป่วยตายหรืออยู่ในภาวะ vegetative stateถึง87% และมีเพียง 7% ที่จะมีภาวะ moderate disabilityหรือ good recovery • หากค่าการประเมินอยู่ที่ 5-7 จะมีผู้ป่วยตายหรืออยู่ในภาวะ vegetative stateถึง53% ในขณะที่ 34% จะมีภาวะ moderate ability หรือ good recovery

  14. ทบทวนวรรณกรรม • หากค่าการประเมินอยู่ที่ 8-10 จะมีผู้ป่วยตายหรืออยู่ในภาวะ vegetative stateถึง27% ในขณะที่ 68% จะมีภาวะ moderate ability หรือ good recovery • หากค่าการประเมินอยู่ที่ 11-15 จะมีผู้ป่วยตายหรืออยู่ในภาวะ vegetative stateถึง7% ในขณะที่ 87% จะมีภาวะ moderate ability หรือ good recovery

  15. ทบทวนวรรณกรรม ในปี 2002 นสพ.นพดล, นสพ.อรวรรณ และ นสพ.เจษฎา ได้ทำการศึกษาว่า การประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทด้วย Glasgow coma scale(GCS) โดยถูกประเมินจากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีความแตกต่างกันหรือไม่ ทำโดยวิธี retrospective descriptive study โดยใช้กลุ่มประชาการที่มาเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท ที่ถูกประเมิน GCS โดยนิสิตแพทย์และพยาบาล และบันทึกไว้อย่างชัดเจนในเวชระเบียน โดยใช้ประชากร 326 คน

  16. ทบทวนวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า การประเมิน GCS ในช่วงเวลาห่างกันไม่เกิน 1 ชั่วโมงระหว่าง นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

  17. Study design Target population : Inclusion criteria: ผู้ป่วยต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นเพราะการประเมิน Glasgow Coma Scale ในผู้ป่วยทางระบบประสาทนั้น ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี จะไม่สามารถประเมินคะแนนได้ตรงตามแบบประเมิน เนื่องจากการประเมินต้องประกอบด้วยการใช้คำสั่งให้ปฏิบัติตาม ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาการประเมิน จากการสื่อสารระหว่างผู้ประเมิน และผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมิน Glasgow Coma Scale จากทั้งนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วยเมื่อแรกรับ โดยมีการบันทึกเวลาไว้อย่างชัดเจนและห่างกันไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในเวชระเบียน

  18. Study design • วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (Comparative group) โดยใช้การ ศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective studies) จาก ข้อมูลประวัติคนไข้ในเวชระเบียนจากศูนย์เวชระเบียนผู้ป่วย ของ โรงพยาบาลพุทธชินราช

  19. Sample size • population proportion Za= Z-statistics for confidence interval P = Prevalence

  20. Sample size จากการแทนค่าและคำนวนทำให้ได้ค่า n/group = 54 คน และจากการศึกษาความถี่ของ Score จากงานวิจัยของกลุ่มที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ GCS พบว่าจะต้องใช้จำนวนประชากรทั้งหมด 370 คน

  21. Result

  22. ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ถูกประเมินในช่วงคะแนนต่างๆโดยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 และพยาบาลประจำหอผู้ป่วย

  23. ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน Glasgow coma score กับอัตราการตายของผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท โดยมีนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6เป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีค่าคะแนนต่างกัน

  24. ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน Glasgow coma score กับอัตราการตายของผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท โดยมีพยาบาลประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีค่าคะแนนต่างกัน

  25. ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ Multiple regression & correlation ของการประเมิน GCS components กับอัตราการตาย โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6

  26. ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ Multiple regression & correlation ของการประเมิน GCS components กับอัตราการตาย โดยพยาบาลประจำหอผู้ป่วย

  27. ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ Multiple regression & correlation ของการประเมิน Total GCS กับอัตราการตาย

  28. วิจารณ์การศึกษา • เนื่องจากข้อมูลในการนำมาทำวิจัยชิ้นนี้มีแต่เพียงอัตราการตายไม่ได้ศึกษาว่าผู้ป่วยตายด้วยเหตุใด ซึ่งอาจจะทำให้มี Bias ในงานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้น • จากผลการวิจัยที่ออกมาว่าการประเมินGCS ที่แตกต่างกันของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 กับพยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีผลต่ออัตราการตายนั้นอาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น นักศึกษาแพทย์ประเมิน score ที่มีค่ามากเกินไป หรือ การรักษาพยาบาลมีความผิดพลาดเกิดขึ้น • ความน่าเชื่อถือของการประเมินGCS ของพยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีความสัมพันกับอัตราการตายมากกว่านักศึกษาแพทย์ ดังนั้นจึงน่าจะมีการปรับปรุงมาตราฐานของการประเมินGCS เพื่อที่ลดความแตกต่างและนำไปสู่ความถูกต้องมากที่สุด

  29. ข้อเสนอแนะ • การทำงานวิจัยชิ้นนี้มีข้อจำกัดในด้านของเวลา ทำให้ต้องทำการศึกษาแบบ retrospective ซึ่งมีความยากลำบากในการเลือกข้อมูล มีหลายข้อมูลที่ไม่มีการบันทึกเวลาในการประเมิน ทำให้ต้องทิ้งข้อมูลเหล่านั้นไป ซึ่งจะเป็นการดีหากจะศึกษาแบบ prospective และได้ข้อมูลมากกว่าการศึกษาในครั้งนี้ และกำหนดคุณสมบัติต่างๆของข้อมูลที่จะเลือกมาเป็นประชากรที่จะศึกษา อย่างสมบูรณ์ตามที่ผู้วิจัยต้องการ • การศึกษาความถูกต้องของการประเมินGCS นั้นอาจจะต้องอาศัยค่า TRISS มาเป็นตัวเปรียบเทียบ

  30. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการทำให้งานวิจัยชิ้นนี้เสร็จลุล่วงไปด้วยดี - อ.นพ.ศุภสิทธ์ พรรณนารุโณทัย ที่คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่างๆในการทำวิจัยชิ้นนี้ตลอดจนเสร็จเรียบร้อย - อ.นพ.วิสิทธ์ ที่ได้ให้แนวคิดหลักในการทำวิจัยชิ้นนี้ - เจ้าหน้าที่แผนกเวชระเบียนที่ช่วยค้นหาเวชระเบียนให้ผู้จัดทำ - พยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทที่คอยอำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล - พระเจ้าที่ได้ให้โอกาสเราทำงานวิจัยชิ้นนี้

More Related