1 / 70

การระงับข้อขัดแย้ง ระหว่างรัฐ

การระงับข้อขัดแย้ง ระหว่างรัฐ. นาวาเอก วชิรพร วงศ์นครสว่าง นปก. ประจำ สพ.ทร. ช่วยราชการ ยศ.ทร. ประวัติการทำงานพิเศษ. ผู้แปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ บริษัท UTV ผู้แปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง ๓ อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

jagger
Télécharger la présentation

การระงับข้อขัดแย้ง ระหว่างรัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ นาวาเอก วชิรพร วงศ์นครสว่าง นปก. ประจำ สพ.ทร. ช่วยราชการ ยศ.ทร.

  2. ประวัติการทำงานพิเศษ ผู้แปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ บริษัท UTV ผู้แปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง ๓ อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยบูรพา อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นักวิจัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยหุ่นยนต์ใต้น้ำ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์พิเศษ วิชาสังคมศึกษา ภาคภาษาอังกฤษ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย วิศวกรที่ปรึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมไฟฟ้า

  3. ประวัติการทำงานพิเศษ กรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารกิจการทางทะเล (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารกิจการทางทะเล (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์กับกิจการทางทะเล)

  4. ความมุ่งหมาย • เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุและระดับของความขัดแย้งระหว่างรัฐ • เพื่อให้เข้าใจถึงตัวแสดงในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความสามารถในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐได้ • เพื่อให้เข้าใจในวิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และตามที่ได้ถือปฏิบัติโดยองค์การสหประชาติ • เพื่อให้ทราบถึงมาตรการที่เหมาะสมในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐหากไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐคู่พิพาท • เพื่อให้เกิดแนวความคิดในการกำหนดและดำเนินยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลโดยไม่สร้างความขัดแย้งกับรัฐอื่น • เพื่อให้เกิดแนวความคิดในการระงับข้อขัดแย้งกับรัฐอื่นได้อย่างสันติ

  5. ขอบเขตการบรรยาย • • สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างรัฐ • ระดับของความขัดแย้งระหว่างรัฐ • ตัวแสดงที่มีความสามารถระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ • วิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ • วิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐที่ถือปฏิบัติโดยองค์การสหประชาชาติ • มาตรการที่เหมาะสมในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐคู่พิพาท

  6. คำถาม ความขัดแย้งคืออะไร? ความขัดแย้งระหว่างรัฐคืออะไร? อะไรคือองค์ประกอบของความขัดแย้ง?

  7. ความขัดแย้งระหว่างรัฐความขัดแย้งระหว่างรัฐ • คือความไม่ลงรอยระหว่างรัฐ การต่อต้านระหว่างรัฐที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างรัฐ • ความขัดแย้งระหว่างรัฐไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยลำพัง แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือสลับกันกับความร่วมมือระหว่างรัฐ • ดังนั้นความขัดแย้งระหว่างรัฐจึงสามารถแก้ไขได้ด้วยการต่อรอง (Bargaining) จนทำให้รัฐคู่พิพาทสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้

  8. องค์ประกอบของความขัดแย้งองค์ประกอบของความขัดแย้ง สถานการณ์ ทัศนคติ พฤติกรรม

  9. สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างรัฐสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างรัฐ • ธรรมชาติของมนุษย์ • ข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์ • ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ • โครงสร้างภายในของรัฐ • ระบบระหว่างประเทศ

  10. ธรรมชาติของมนุษย์ • พฤติกรรมของรัฐเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ในรัฐ ผ่านผู้ปกครองรัฐ • มนุษย์เป็นผู้มีความเห็นแก่ตัวโดยกำเนิด กิเลสตัณหาของมนุษย์ทำให้มนุษย์สร้างความขัดแย้งโดยไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ • คาร์ล ฟอน เคลาเซวิตส์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ On War เล่มที่ ๑ บทที่ ๑ หน้า ๘๙ แปลโดย Michael Howard และ Peter Paret ดังนี้ • “…its dominant tendencies always make war a paradoxical trinity – composed of primordial violence, hatred, and enmity, which are to be regarded as a blind natural force…”

  11. ข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์ข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์ • มนุษย์มีขีดความสามารถจำกัดในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในการทำความเข้าใจและเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนในการรับรู้ความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากความคิดเห็นเดิมของตน • ข้อจำกัดในประการหลังทำให้มนุษย์ตีความในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความคิดเห็นเดิมที่ตนเองเคยชิน • ซึ่งทำให้มนุษย์ปฏิเสธหรือต่อต้านปรากฏการณ์ที่ตีความโดยอาศัยความคิดเห็นที่ตนเองไม่คุ้นเคย และก่อให้เกิดความขัดแย้งในที่สุด

  12. ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ • ในทางสถิติพบว่ารัฐที่ยากจนและมีมาตรฐานการครองชีพต่ำมักเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งหรือสงครามมากกว่ารัฐที่ร่ำรวย ยกเว้นในกรณีรัฐที่ร่ำรวยรุกรานรัฐที่ยากจนเพื่อผลประโยชน์ของตน • รัฐที่ยากจนมักมีปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองภายใน ทำให้ผู้นำรัฐเบี่ยงเบนประเด็นด้วยการสร้างความขัดแย้งกับรัฐอื่น • รัฐที่ร่ำรวยมักเอาเปรียบรัฐที่ยากจนทำให้รัฐที่ยากจนต่อต้าน และนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกันในที่สุด

  13. โครงสร้างภายในของรัฐ • นักปรัชญา เช่น อิมมานูเอล คานท์ เชื่อว่า รัฐที่ประชาชนเคารพกฎหมายย่อมเป็นรัฐที่ดีในสังคมโลก ซึ่งหมายความว่ารัฐนั้นต้องมีระบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ดี โดยเขาได้เน้นความสำคัญของ สาธารณรัฐ (Republic)ที่ยึดในหลักสิทธิของประชาชน ดังนั้นรัฐที่มีโครงสร้างภายในทางกฎหมายที่ดี จะไม่ทำร้ายรัฐอื่นด้วยการใช้ความรุนแรง Immanuel Kant นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาชาวปรัสเซีย (ค.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๘๐๔ )

  14. โครงสร้างภายในของรัฐ (ต่อ) • นักประชาธิปไตย เช่น วูดโรว์ วิลสัน เชื่อว่า รัฐที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือเป็นประชาธิปไตยทางการเมือง (Political Democracy) มีโอกาสสร้างความขัดแย้งกับรัฐอื่นได้น้อยกว่ารัฐที่มีระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เพราะระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีการถ่วงดุลและตรวจสอบการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลได้ดีกว่าการปกครองแบบเผด็จการ เนื่องจากรัฐบาลมักตัดสินใจโดยขาดการถ่วงดุลและตรวจสอบจากประชาชนส่วนใหญ่ Woodrow Wilson ประธานาธิบดีคนที่ ๒๘ ของสหรัฐฯ (ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๑๙๒๔)

  15. โครงสร้างภายในของรัฐ (ต่อ) • นักสังคมนิยม เช่น วลาดิเมียร์ เลนิน เชื่อว่ารัฐที่ปล่อยให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในรัฐระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐ จากการเอาเปรียบของรัฐที่ถูกครอบงำโดยระบอบทุนนิยม (Capitalism) ดังนั้นการกำจัดสังคมทุนนิยมจะสามารถกำจัดการกดขี่ข่มเหงของมนุษย์ด้วยกันภายในรัฐ และจะสามารถกำจัดความขัดแย้งระหว่างรัฐได้ในท้ายที่สุด Vladimir Lenin ประธานสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. ๑๘๗๐ - ๑๙๒๔ )

  16. ระบบระหว่างประเทศ • สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ในระบบระหว่างประเทศทำให้แต่ละรัฐต้องช่วยเหลือตนเอง (Self - Help) เพื่อความมั่นคงของรัฐและนำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด • ระบบดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power; BoP) และความไม่สมดุลของระบบดุลแห่งอำนาจ นำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด • – ระบบขั้วอำนาจเดียว อาจก่อให้เกิดรัฐที่ลุกขึ้นมาท้าทาย • – ระบบขั้วอำนาจสองขั้ว อาจก่อให้เกิดดุลแห่งความหวาดกลัว (Balance of Terror) • – ระบบหลายขั้วอำนาจ อาจทำให้รัฐมหาอำนาจบางรัฐเพิกเฉยจนเสียสมดุล

  17. ระดับของความขัดแย้งระหว่างรัฐระดับของความขัดแย้งระหว่างรัฐ • การแข่งขัน • ความหวาดระแวง/ความตึงเครียด • ความขัดแย้งระดับต่ำ • ความขัดแย้งระดับสูง • สงคราม

  18. การแข่งขัน • คือการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐในเชิงเปรียบเทียบกับรัฐอื่น และมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของรัฐมากกว่ารัฐอื่น • หากรัฐที่ดำเนินนโยบายแข่งขันไม่ได้ตระหนักว่ามีคู่แข่งขัน ก็จะไม่ดำเนินการกีดกันหรือขัดขวางรัฐอื่น และไม่ก่อให้เกิดความตึงเครียด • แต่ถ้ารัฐที่ดำเนินนโยบายแข่งขันพยายามที่จะรุดหน้ารัฐอื่นด้วยการทำลายล้าง ขัดขวาง รัฐอื่น เพื่อชัยชนะของตนเอง หรือเพื่อกำจัดรัฐอื่นออกไปนอกวิถีทางแล้ว การแข่งขันก็จะนำไปสู่ความตึงเครียด

  19. ความตึงเครียด • คือความรู้สึกหวาดระแวงรัฐอื่นที่เพิ่มระดับสูงขึ้น จนเกิดความรู้สึกและทัศนคติของความเป็นศัตรู ได้แก่ ความกลัวที่จะถูกรัฐอื่นคุกคาม ความคิดที่ไม่ตรงกันในเรื่องผลประโยชน์ และความปรารถนาที่จะเอาชนะรัฐอื่น • อย่างไรก็ตามความตึงเครียดก็จำกัดอยู่ที่ความรู้สึกและทัศนคติของรัฐเท่านั้น โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆที่จะเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อรัฐอื่น

  20. ความขัดแย้งระดับต่ำและระดับสูงความขัดแย้งระดับต่ำและระดับสูง • ความขัดแย้งระดับต่ำ คือ การขยายตัวของความตึงเครียดด้วยการใช้กำลังทหารอย่างจำกัด และด้วยความระมัดระวังไม่ให้สถานการณ์ลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อบีบบังคับให้อีกรัฐหนึ่งยอมปฏิบัติตามคำเรียกร้องหรือวัตถุประสงค์ทางการเมืองของรัฐตนเอง • ความขัดแย้งระดับสูง คือ การขยายตัวของความขัดแย้งระดับต่ำที่มีการใช้กำลังทหารอย่างเต็มรูปแบบเข้าทำการสู้รบกันให้แตกหัก เพื่อบีบบังคับให้รัฐที่พ่ายแพ้ยอมปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่รัฐตนเองต้องการ ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์จำกัดหรือไม่จำกัดก็ได้

  21. สงคราม การบริหารความขัดแย้ง ความขัดแย้งระดับสูง การบริหารวิฤตการณ์ วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระดับต่ำ ความตึงเครียด สันติภาพที่ไร้เสถียรภาพ การป้องกันความขัดแย้ง ความหวาดระแวง สันติภาพที่มีเสถียรภาพ การทูต/การเมืองยามสงบ การแข่งขัน สันติภาพที่ยั่งยืน ระดับของความขัดแย้ง การดำเนินการ

  22. สันติภาพที่ยั่งยืน (Durable Peace) • เป็นปรากฏการณ์ที่มีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน (Reciprocity) และมีความร่วมมือกัน (Cooperation) อยู่ในระดับสูง โดยไม่มีรัฐใดถือหลักแห่งการป้องกันตนเอง (Self-Defense) อีกต่อไป แต่เป็นการป้องกันร่วมกัน (Collective Defense) ในรูปแบบพันธมิตรต่อภัยคุกคามภายนอก โดยสันติภาพตั้งอยู่พื้นฐานของ การมีค่านิยม เป้าหมาย และสถาบัน ร่วมกัน การพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ และความรู้สึกว่าเป็นชุมชนระหว่างประเทศที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้มีวิธีการระงับข้อขัดแย้งโดยสันติ ซึ่งมักไม่มีโอกาสเกิดความขัดแย้งระหว่างกันเลย ได้แก่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่าง สหรัฐฯกับแคนาดา หรือระหว่างรัฐผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรป

  23. สันติภาพที่มีเสถียรภาพ (Stable Peace) • เป็นปรากฏการณ์ที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐและมีความร่วมมือระหว่างกันอยู่ในระดับจำกัด โดยแต่ละรัฐมีค่านิยมและเป้าหมายที่แตกต่างกัน และไม่มีความร่วมมือทางทหารระหว่างกันหรือมีในระดับต่ำแต่ไม่มีพันธะสัญญาระหว่างกัน ตามปกติแล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสามารถระงับได้โดยวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งโอกาสที่จะเกิดสงครามหรือเผชิญหน้าทางทหารระหว่างกันมีน้อย ได้แก่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียตในยุคผ่อนคลายความตึงเครียด (Detente) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกเดิมกับรัฐสมาชิกใหม่ในภูมิภาคอินโดจีนของอาเซียน

  24. สันติภาพที่ไร้เสถียรภาพ (Unstable Peace) • เป็นปรากฏการณ์ที่มีความตึงเครียด (Tension) และความหวาดระแวง (Suspicion) ระหว่างรัฐอยู่ในระดับสูง แต่มีความรุนแรงระหว่างกันเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือไม่เกิดเลย โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเข้าเผชิญหน้ากัน อย่างไรก็ตามรัฐคู่พิพาทจะมองซึ่งกันและกันในฐานะที่เป็นศัตรู และจะพยายามดำรงขีดความสามารถทางทหารเพื่อป้องปราม (Deterrence) ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพื่อพยายามลดความก้าวร้าวของกันและกันลง แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่จะนำไปสู่วิกฤตการณ์และสงครามระหว่างกันต่อไป ได้แก่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน

  25. วิกฤตการณ์ (Crisis) • เป็นปรากฏการณ์ที่มีการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างรัฐ โดยมีการเคลื่อนย้ายกำลังทางทหารเข้าประชิดพรมแดนและพร้อมใช้อาวุธ หรืออาจมีการใช้อาวุธต่อกันประปราย ซึ่งโอกาสที่จะเกิดสงครามระหว่างกันมีสูง ได้แก่ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาใน ค.ศ. ๑๙๖๒ สงคราม (War) • เป็นปรากฏการณ์ของการสู้รบระหว่างรัฐด้วยกำลังทหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นการสู้รบด้วยวัตถุประสงค์จำกัดหรือไม่จำกัดจนขยายตัวลุกลามเป็นสงครามขนาดใหญ่ก็ได้ ได้แก่ สงครามเกาหลี สงครามโลก

  26. แนวคิดเกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้งแนวคิดเกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้ง ●แนวคิดที่สำคัญ ๕ ประการ ●ผลลัพธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งเสียกับผลลัพธ์ที่ได้หรือเสียทั้งสองฝ่าย ●จุดยืน ผลประโยชน์ และความต้องการ ●การแทรกแซงโดยบุคคลที่สาม ●ตัวแสดงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ

  27. แนวคิดที่สำคัญ ๕ ประการ ยอมให้คนอื่น แก้ปัญหา คิดถึงผู้อื่น ประนีประนอม ถอนตัว จำกัดความขัดแย้ง คิดถึงตนเอง

  28. ผลลัพธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งเสียกับผลลัพธ์ที่ได้หรือเสียทั้งสองฝ่ายผลลัพธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งเสียกับผลลัพธ์ที่ได้หรือเสียทั้งสองฝ่าย ชนะ-แพ้ ชนะ-ชนะ ตำแหน่งที่พอจะประนีประนอมกันได้ ความพอใจของ ก แพ้-แพ้ แพ้-ชนะ ความพอใจของ ข

  29. จุดยืน ผลประโยชน์ และความต้องการ รัฐ ก รัฐ ข จุดยืน มีประโยชน์และค่านิยมร่วมกัน ผลประโยชน์ มีความต้องการและความกลัวร่วมกัน ความต้องการ - ผลประโยชน์มักตกลงกันได้ง่ายกว่าจุดยืน

  30. การแทรกแซงโดยบุคคลที่สามการแทรกแซงโดยบุคคลที่สาม - เมื่อบุคคลที่สามเข้าแทรกแซง พวกเขาอาจกลายเป็นแกนนำที่มีส่วนเกี่ยวข้องหากความเกี่ยวข้องมีระดับสูงขึ้น Core parties Actively influential parties Marginal parties Uninvolved parties Embedded parties - ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและอยู่ภายในความขัดแย้งมักแสดงบทบาทหลักในการหาทางระงับข้อขัดแย้ง

  31. ตัวแสดงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตัวแสดงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ ยุทธศาสตร์ของช่องทางที่ ๑ : การเจรจาต่อรอง การรักษาสันติภาพ การใช้อนุญาโตตุลาการ การสนับสนุนให้เกิดสันติภาพ การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยใช้อำนาจบังคับ Track I: UN, international and regional organizations, international financial institutions ชนชั้นสูง การเจรจาต่อรองระดับสูง ผู้นำชนชั้นสูง การระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ผู้นำชนชั้นกลาง Track II: International NGOs, churches, academics, private business คณะกรรมการสันติภาพระดับท้องถิ่น ผู้นำระดับรากหญ้า Society ยุทธศาสตร์ของช่องทางที่ ๒ : การมีธรรมาภิบาล การไกล่เกลี่ย การทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างบริสุทธิ์ การแก้ไขปัญหา ยุทธศาสตร์ของช่องทางที่ ๓ : การแบ่งเขตสันติภาพภายในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง การสร้างความผูกพันในสังคม การมีพื้นฐานร่วมกัน

  32. คำถาม จะยุติข้อขัดแย้งระหว่างรัฐได้อย่างไร? มียุทธวิธีในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐอย่างไร?

  33. The sequence of conflict management techniques Existence of goal incompatibility Recognition of goal incompatibility Conflict behavior Stages of conflict Incipient conflict latent conflict manifest conflict Conflict management process Settlement or resolution Avoidance Prevention

  34. ยุทธวิธีในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐยุทธวิธีในการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ ●การเปลี่ยนแปลงบริบท ●การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ●การเปลี่ยนแปลงตัวแสดง ●การเปลี่ยนแปลงประเด็น

  35. ตัวแสดงที่มีความสามารถระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตัวแสดงที่มีความสามารถระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ • รัฐมหาอำนาจ • องค์การระหว่างประเทศ • รัฐคู่พิพาท

  36. วิธีการระงับข้อขัดแย้งวิธีการระงับข้อขัดแย้ง โดยทั่วไปแล้วการระงับข้อขัดแย้งมีวิธีการที่สำคัญ ๓ วิธีคือ • การใช้กำลังอำนาจ(Power Contests) มีผู้แพ้ - ผู้ชนะ • การใช้สิทธิตามกฎหมาย(Rights Contests) มีผู้แพ้ - ผู้ชนะ • การไกล่เกลี่ยผลประโยชน์(Interest Reconciliation) มีแต่ผู้ชนะ

  37. วิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศวิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ • การดำเนินการทางการทูต • การจัดการเจรจา • การไกล่เกลี่ย • การพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ • การตัดสินของศาล

  38. การดำเนินการทางการทูตการดำเนินการทางการทูต • เป็นวิธีการที่เก่าแก่ที่สุด ภายใต้บรรทัดฐานระหว่างประเทศ • ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของรัฐคู่พิพาท ยอมรับการติดต่อระหว่างกัน ไม่ตั้งเงื่อนไขก่อนเข้าเจรจา และไม่มุ่งผลประโยชน์มากเกินไปโดยไม่ยอมเสียผลประโยชน์ของตนแม้แต่น้อย

  39. การจัดการเจรจา • เป็นวิธีการซึ่งรัฐที่สามเข้าช่วยเหลือในการสร้างบรรยากาศเจรจาให้แก่รัฐคู่พิพาท โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจา • การช่วยเหลือจะออกมาในรูปของการอำนวยความสะดวกในการเจรจา เช่น จัดสถานที่ เชิญให้เข้าประชุม เป็นต้น

  40. การไกล่เกลี่ย • คล้ายกับการจัดการเจรจา แต่รัฐที่สามเข้าไปมีบทบาทในการเจรจาด้วย • โดยรัฐที่สามพยายามหาวิธีการยุติความขัดแย้งให้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง หรือกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของรัฐคู่พิพาท และยังคงรักษาศักดิ์ศรีของรัฐคู่พิพาทด้วย • ผู้ที่มาช่วยไกล่เกลี่ยมักอยู่ในรูปของคณะกรรมการ หรือผู้เชี่ยวชาญ

  41. การไกล่เกลี่ย ๑๓ กันยายน ๒๕๓๖

  42. การพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการการพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ • เป็นวิธีการแต่งตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาตัดสินความขัดแย้ง โดยเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐคู่พิพาท • บุคคลกลุ่มนี้เรียกว่า คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ทำหน้าที่นำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้พิจารณาประกอบข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อยุติ • รัฐคู่พิพาทยอมรับคำตัดสินของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ และมีผลผูกพันที่จะปฏิบัติตาม คณะอนุญาโตตุลาการอาชญากรรมระหว่างประเทศแห่งรวันดา

  43. การตัดสินของศาล • เป็นวิธีการที่รัฐคู่พิพาทเสนอข้อพิพาทต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือศาลโลก • ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นองค์กรหลักองค์กรหนึ่งของ UN • รัฐคู่พิพาทยอมรับคำตัดสินของศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ และมีผลผูกพันที่จะปฏิบัติตาม Peace Palace ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ สถานที่ซึ่งใช้เป็นบัลลังก์ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

  44. อำนาจศาลและการรับอำนาจศาลอำนาจศาลและการรับอำนาจศาล • อำนาจศาล คือ อำนาจการตัดสินกรณีพิพาทระหว่างรัฐ และรัฐเท่านั้นจึงจะเป็นคู่กรณีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ • การรับอำนาจศาลมี ๒ วิธีคือ • – การรับอำนาจศาลโดยการบังคับ หมายถึง การเปิดโอกาสให้รัฐใดๆนำคดีขึ้นสู่ศาลโดยไม่ต้องให้รัฐคู่พิพาทให้ความยินยอม ซึ่งรัฐอาจประกาศเจตนารมณ์รับอำนาจศาลตลอดไป หรือกำหนดระยะเวลาไว้ เช่น ประเทศไทยเคยประกาศรับอำนาจศาลไว้ ๑๐ ปี ตั้งแต่ ๓ พ.ค. ๑๙๕๐ ถึง ๓ พ.ค. ๑๙๖๐ ทำให้กัมพูชาสามารถส่งคดีเขาพระวิหารขึ้นศาลใน ๖ ต.ค. ๑๙๕๙ ได้ ทั้งที่ประเทศไทยไม่ยินยอม • –การรับอำนาจศาลเฉพาะคดี หมายถึงการประกาศเจตนารมณ์รับอำนาจศาลไว้ต่อเลขาธิการ UN ตั้งแต่แรก หากไม่ประกาศไว้จะถูกบังคับให้ขึ้นศาลไม่ได้เด็ดขาด

  45. วิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐที่ถือปฏิบัติโดยองค์การสหประชาชาติวิธีการระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐที่ถือปฏิบัติโดยองค์การสหประชาชาติ • การร้องขอ • การให้ความช่วยเหลือในการเจรจาทางการทูต • การไกล่เกลี่ย • การสอบสวนข้อเท็จจริง • การลงมติ

  46. การร้องขอ • เกิดขึ้นเมื่อมีผู้เสนอข้อพิพาทให้ UN พิจารณา • คณะมนตรีความมั่นคงจะร้องขอไปยังผู้นำของรัฐคู่พิพาทให้ระงับการกระทำใดๆที่ขยายความขัดแย้ง และให้รายงานสถานการณ์ในระหว่างการดำเนินการระงับข้อขัดแย้ง • ความสำเร็จขึ้นอยู่กับ การยอมรับของรัฐคู่พิพาท ระดับความก้าวร้าวของรัฐคู่พิพาท และผลประโยชน์ของรัฐคู่พิพาท • ในกรณีที่ความขัดแย้งลุกลามจนสู้รบกัน คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจออกคำสั่งหยุดยิงเช่น ความขัดแย้งระหว่างกรีซ - ตุรกี ค.ศ. ๑๙๔๖

  47. การให้ความช่วยเหลือในการเจรจาทางการทูตการให้ความช่วยเหลือในการเจรจาทางการทูต • การเปิดโอกาสให้รัฐคู่พิพาทเสนอปัญหาใน UN ทั้งทางวาจาและเอกสาร • การเปิดโอกาสให้รัฐคู่พิพาทถกเถียงกันใน UN • การเปิดโอกาสให้รัฐคู่พิพาทพบปะเจรจากันอย่างไม่เป็นทางการโดยเลขาธิการสหประชาชาติอันเป็นการรักษาหน้าของรัฐคู่พิพาท

  48. การไกล่เกลี่ย • คณะมนตรีความมั่นคงจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ย หรือแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย • คณะกรรมการไกล่เกลี่ยมักประกอบด้วย กรรมการ ๓ คน โดย ๒ คนถูกเลือกจากรัฐคู่พิพาทรัฐละ ๑ คน และอีก ๑ คนถูกเลือกจากรัฐเป็นกลางซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐคู่พิพาท เช่น ความขัดแย้งระหว่างอินเดีย- ปากีสถานเกี่ยวกับแคว้นแคชเมียร์ ค.ศ. ๑๙๔๗

More Related