1 / 72

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2 มาตรา 197-222

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2 มาตรา 197-222. การพิจารณาโดยขาดนัด. การขาดนัดมี 2 กรณี ขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.197-ม.199ฉ ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. ม.200-ม.207. ขาดนัดยื่นคำให้การ. ม.197 หลักเกณฑ์ จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว

jesus
Télécharger la présentation

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2 มาตรา 197-222

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค2มาตรา197-222

  2. การพิจารณาโดยขาดนัด การขาดนัดมี 2 กรณี • ขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.197-ม.199ฉ • ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. ม.200-ม.207

  3. ขาดนัดยื่นคำให้การ ม.197 หลักเกณฑ์ • จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว • จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่ กำหนด

  4. คำว่า “จำเลย” ได้แก่ • จำเลยที่ถูกโจทก์ยื่นฟ้องคดี ตาม ป.วิ.พ. ม.177 วรรคหนึ่ง • โจทก์ที่ถูกฟ้องแย้ง ตาม ป.วิ.พ. ม.178 วรรคหนึ่ง • ผู้ร้องสอดที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. ม.57(3) • โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์

  5. คดีแพ่งที่ไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การคดีแพ่งที่ไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การ • คดีไม่มีข้อพิพาท • คดีสามัญที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม คำฟ้องและศาลอนุญาต • คดีที่จำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือฎีกา

  6. หลักเกณฑ์ข้อ 1 ได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ • ต้องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยแล้วโดยชอบ - การส่งหมายเรียก ตาม ป.วิ.พ. ม.173 วรรคหนึ่ง - วิธีการส่งหมาย ตาม ป.วิ.พ. ม.74-ม.79 มี 2 วิธี 1. ส่งโดยวิธีธรรมดา 2. ส่งโดยวิธีอื่น เช่นปิดหมาย หรือ ปิดประกาศทาง หนังสือพิมพ์

  7. หลักเกณฑ์ข้อ 2 จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด • คำให้การมีความหมายตาม ป.วิ.พ. ม.1(4) • จำเลยยื่นคำให้การไม่ชัดแจ้งถือว่ายื่นคำให้การแล้ว เพียงแต่เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ม.177 วรรคสอง • จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดเวลา ศาลต้องสั่งไม่รับคำให้การ และถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

  8. “ระยะเวลาที่กำหนด” มี 2 กรณี • ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ - จำเลยยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.177 วรรคหนึ่ง - โจทก์ที่ถูกฟ้องแย้งยื่นคำให้การแก้ ฟ้องแย้ง ตาม ป.วิ.พ. ม.178 วรรคหนึ่ง

  9. “ระยะเวลาที่กำหนด”มี 2 กรณี (ต่อ) • ระยะเวลาตามคำสั่งศาล - ผู้ร้องสอดที่ถูกหมายเรียกเข้ามาเป็น จำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ. ม.57(3) - โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ - กรณีจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลา ยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ.ม.23 ศาลอนุญาต

  10. “ระยะเวลาที่กำหนด”มี 2 กรณี (ต่อ) - กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนวินิจฉัย ชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีและศาลอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. ม.199 วรรคหนึ่ง

  11. “ระยะเวลาที่กำหนด” มี 2 วิธี (ต่อ) - กรณีจำเลยขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. ม.199ตรี เมื่อศาลพิจารณา คำขอแล้วเชื่อว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือมีเหตุสมควรและเห็นว่าเหตุผลที่อ้างในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ ศาลจะสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนด ที่ศาลเห็นสมควร

  12. จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว โจทก์มีหน้าที่ 2 ประการ 1. ยื่นคำขอต่อศาล ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง 2. นำพยานมาสืบตาม ม.198 ทวิ วรรคสองและ วรรคสาม

  13. บุคคลที่อยู่ในฐานะโจทก์ที่ต้องยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง - โจทก์ที่ยื่นฟ้องคดี - จำเลยฟ้องแย้ง - ผู้ร้องขัดทรัพย์ - โจทก์ที่ขอหมายเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ. ม.57(3)

  14. การพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การการพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ • โจทก์ต้องยื่นคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง • ต้องยื่นคำขอภายใน 15วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง

  15. ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง การพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ (ต่อ)

  16. ข้อสังเกต • การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจ ไม่ใช่ บทบังคับศาลให้ต้องสั่งจำหน่ายคดี • การยื่นคำขอภายใน 15 วันตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องยื่นคำขอ แม้ศาลจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างอื่น ก็ไม่ทำให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ที่ต้องยื่นคำขอ

  17. “กระบวนการพิจารณาอย่างอื่น”“กระบวนการพิจารณาอย่างอื่น” - กรณีจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลมีคำสั่ง นัดไต่สวน - ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ล่วงหน้า - กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและโจทก์ยื่นคำขอ ตามป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง ไว้แล้ว ต่อมาจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอ ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่งอีก

  18. คดีที่มีโจทก์หลายคนฟ้องจำเลยคนเดียว คดีที่มีโจทก์คนเดียวฟ้องจำเลยหลายคน

  19. ผลของคำสั่งศาลที่จำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง • โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีได้ทันที ตาม ป.วิ.พ. ม.227 และ ม.228 • ศาลคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนให้ ตาม ป.วิ.พ. ม.151 วรรคสาม

  20. โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดี ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. ม.193/17 วรรคหนึ่ง ผลของคำสั่งศาลที่จำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง (ต่อ)

  21. การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดย ขาดนัดยื่นคำให้การ ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสาม ม.198 ทวิ • ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การได้ต้องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วโดยชอบ • ถ้าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลหรือขัดต่อกฎหมาย

  22. ถ้าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายถ้าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย - คดีทั่วไปที่ศาลเห็นสมควรให้สืบพยาน - กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องสืบพยานก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ. ม.198 ทวิ วรรคสอง ตอนท้าย และ ม.198 ทวิ วรรคสาม (1) และ (2) การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ)

  23. การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ)การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ) 1. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล 2. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว 3. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ 4. กรณีที่โจทก์มีคำของบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน 5. กรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน

  24. ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ • ก่อนศาลพิพากษาคดี - ขออนุญาตยื่นคำให้การ ตาม ม.199 - ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างเหตุสุดวิสัยตาม ม.23

  25. ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ(ต่อ)ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ(ต่อ) • หลังศาลพิพากษาคดี - ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม ม.199 ตรี - ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ม.27

  26. กรณีจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่มีเหตุอันสมควรกรณีจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่มีเหตุอันสมควร กรณีไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือมีเหตุอันสมควร • ม.199 วรรคหนึ่ง หลักเกณฑ์ - จำเลยต้องมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี - ต้องแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี - ต้องอ้างเหตุว่าการขาดนัดยื่นคำให้การมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควร - ต้องไม่ใช่จำเลย ตาม ม. 199 วรรคสาม

  27. จำเลยที่ไม่อาจขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199 วรรคสาม • จำเลยที่เคยขาดนัดยื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งและขออนุญาต ตาม ม. 199 วรรคหนึ่ง ศาลอนุญาต จำเลยกลับขาดนัด ยื่นคำให้การเป็นครั้งที่สอง • จำเลยที่ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การตาม ม.199 วรรคสอง - จำเลยที่มาศาลแต่ไม่แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี

  28. -จำเลยที่มาศาลแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ศาลเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การและแพ้คดีแล้ว ขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ม.199 ตรี ศาลอนุญาต จำเลยกลับขาดนัดยื่นคำให้การอีก จำเลยที่ไม่อาจขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา199 วรรคสาม(ต่อ)

  29. คำสั่งศาลที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ พ. ม.226

  30. ผลของคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การผลของคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ • จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลในทันทีไม่ได้เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา • จำเลยไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร

  31. 3) จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้เฉพาะพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบ - การถามค้าน เป็นสิทธิของจำเลยไม่ใช่หน้าที่ของศาล ฎ.6165/38 จำเลยมีสิทธิฟังการพิจารณาคดีและใช้สิทธิเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในคดีนั้น ตาม ป.วิ พ. ม.103 เช่น ขอเลื่อนคดี

  32. การขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 199 ตรี เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่ • จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้แพ้คดี • ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว • คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย

  33. กำหนดเวลายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ มาตรา199 จัตวา วรรคหนึ่ง ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น

  34. กำหนดเวลาและวิธียื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่กำหนดเวลาและวิธียื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ข้อสังเกต • คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง ถือเป็นคำฟ้องตาม ม.1(3) ฎ.7603/48 • หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลจะยกคำร้องโดยถือว่าไม่มีพยานมาสืบ จะไม่จำหน่ายคดีเพราะไม่ใช่กรณีขาดนัดพิจารณา

  35. ข้อสังเกต(ต่อ) เมื่อศาลยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เพราะเห็นว่าคำร้องไม่ได้บรรยายให้ครบถ้วนตาม ม.199 จัตวา วรรคสอง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้อีกไม่ถือว่าเป็นการร้องซ้ำหรือฟ้องซ้ำแต่ต้องยื่นในกำหนดตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง

  36. ข้อสังเกต (ต่อ) • คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น • คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวจำเลย ทายาทของจำเลยที่มรณะมีสิทธิร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ฎ.1890/36

  37. ข้อสังเกต (ต่อ) ถ้าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหรือคำบังคับไม่ชอบ กระบวนพิจารณาของศาลนับแต่วันนั้นตลอดจนคำพิพากษาและการบังคับคดีถือว่าไม่ชอบมาโดยตลอด จำเลยอาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ม.27 หรือจะใช้สิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การโดยชอบด้วยกฎหมาย

  38. ข้อสังเกต (ต่อ) • หากส่งคำบังคับให้จำเลยโดยไม่ชอบ กำหนดเวลา 15 วันยังไม่เริ่มนับ ฎ.2433/23 • ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่จะมีการส่งคำบังคับตามตำพิพากษาให้แก่จำเลยก็ได้ ฎ. 2462/19

  39. ข้อสังเกต (ต่อ) ถ้าไม่มีการออกบังคับหรือยังไม่มีการส่งคำบังคับให้จำเลย กำหนดเวลา15วันยังไม่เริ่มนับ ฏ.5698/41 พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ฎ.6382/39

  40. กรณีถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้กรณีถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ กรณีไม่ถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้

  41. ข้อสังเกต (ต่อ) • กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น หมายถึงแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ก็ตาม ก็จะยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนไม่ได้ ฎ.1240/31 ฎ.2402/32 ฎ.1746/36

  42. ข้อสังเกต (ต่อ) คดีที่มีจำเลยหลายคน ระยะเวลา 6 เดือน หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีโดยวิธีอื่นเท่านั้น ไม่ผูกพันจำเลยอื่นที่ไม่ถูกยึดทรัพย์ด้วย ฎ.2152/36

  43. มาตรา199 จัตวา วรรคสอง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งถึง 1.เหตุที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ 2.ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล 3.เหตุแห่งการล่าช้า

  44. การพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาล • ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ (ม.199 เบญจ วรรคหนึ่ง) • ศาลต้องไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ (ม.199 เบญจ วรรคสอง) • ผลของคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ (ม.199 เบญจ วรรคสาม)

  45. คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด (ม.199 เบญจ วรรคสี่) ความรับผิดกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร (ม.199 เบญจ วรรคห้า) การพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาล (ต่อ)

  46. การขาดนัดพิจารณา ม.200 วรรคหนึ่ง 1.คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล 2.ไม่มาศาลในวันสืบพยาน 3. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี

  47. ม.200 วรรคสอง ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่ไม่ใช่วันสืบพยานให้ถือว่า 1.คู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น 2.คู่ความฝ่ายนั้นทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว

  48. ม.201 คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ

  49. ม.202 โจทก์ขาดนัดพิจารณา -ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ หรือ -จำเลยแจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว

  50. ผลของคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ม.201 และ ม.202 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ โจทก์ฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความ โจทก์ขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ โจทก์อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ม.27 ได้ ศาลต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนให้โจทก์ตาม ม.151 วรรคสาม

More Related