1 / 28

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ. โรคเบาหวาน.

jovita
Télécharger la présentation

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ

  2. โรคเบาหวาน

  3. โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมที่ตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ให้มากเพียงพอที่จะใช้เปลี่ยนน้ำตาลที่ร่างรายได้รับจากอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีนให้เกิดเป็นพลังงาน จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ น้ำตาลส่วนเกินก็จะถูกขับออกมาในปัสสาวะพร้อมกับน้ำทำให้ปัสสาวะบ่อยจำนวนมาก ปัสสาวะมีรสหวาน เราจึงเรียกโรคนี้ว่า เบาหวาน สาเหตุ

  4. 1. กินจุ น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย คันตามผิวหนัง เป็นแผลรักษายาก หญิงที่แท้งบุตรง่าย ทารกตายในครรภ์ คลอดบุตรหัวโตน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม2. วิธีตรวจเลือด เมื่อตรวจเลือดแล้วน้ำตาลสูงกว่า 115 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลิเมตร (ผู้จะตรวจเลือดควรงดอาหารทุกอย่างหลังเที่ยงคืน) อาการ

  5. 1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต คือประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเราได้ใช้ค่าน้ำตาลแบบฮีโมโกลบินเอวันซีในการประเมินผู้ป่วยเบาหวาน ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี ที่เหมาะสมคือต่ำกว่าร้อยละ 7 2. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น (สมอง ใจ ไต ตา ชา แผล) 3. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คือให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพ 4. นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องควบคุมระดับความดันโลหิต โดยระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 130/90 มิลลิเมตรปรอท และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย โดยดูจากระดับไขมัน ความหนาแน่นต่ำต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การรักษา

  6. โรคgigantism

  7. ในวัยเด็กได้รับ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ที่ชื่อGrowth Hormone (GH) มากเกินไปซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย เมื่อร่างกายมีการผลิต Growth Hormone (GH) มากจนเกินไป ก็ทำให้ร่างกายใหญ่โต โดยผู้ป่วยในส่วนมาก จะมีความสูงเกิน 200 เซนติเมตร (2 เมตร) สาเหตุ

  8. โรค gigantismอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภาวะยักษ์ ที่เรียกว่าภาวะยักษ์ เพราะผู้ป่วยมีอาการ ตังสูงใหญ่กว่าคนปกติ แต่สัดส่วนของร่างกาย เท่าเดิมทุกอย่าง มักจะเกิดตั้งแต่เด็ก อาการ

  9. 1.รักษาด้วยยามีทั้งกินและฉีด ยากินคือ บรอมโมคริบตีน (Bromocriptine) ทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลง อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น ได้ผลประมาณร้อยละ 40 ส่วนยาฉีดต้องฉีดทุก 8 ชั่วโมง และต้องฉีดต่อเนื่องระยะยาว 2.รักษาโดยการผ่าตัดสมองผ่านทางช่องจมูกซึ่งมักจะทำหลังจากที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาก้อนเนื้อกดทับประสาทตา วิธีนี้สามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางคือ สถาบันประสาทวิทยา สังกัดกรมการการแพทย์ วิธีนี้ได้ผลดี โรคแทรกซ้อนต่ำ 3.รักษาโดยการฉายรังสีเพื่อให้ก้อนเนื้องอกยุบ ซึ่งกรณีของเด็กหญิงมาลีนั้น มีทางรักษาได้ จะให้สถาบันประสาทวิทยาประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดต่อไป เพื่อวางแผนรักษาร่วมกัน การรักษา

  10. เคสตัวอย่างในเมืองไทย เด็กหญิงมาลี ดวงดี อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปะเดา ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด เป็นโรคที่เรียกว่า ไจแกนติซึม (Gigantism) หรือเด็กร่างยักษ์ คือรูปร่างสูงใหญ่แต่สมส่วน โรคนี้พบได้น้อยมาก มีสาเหตุจากความผิดปกติของโกรท ฮอร์โมน (Growth hormone) เธอมีอาการ รูปร่างสูงใหญ่ อาจสูงได้ถึง 270 เซนติเมตร แต่หากเกิดตอนโตเต็มที่แล้ว คือหลังอายุ 18 ปี จะทำให้กระดูกใบหน้า กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า โตผิดปกติ ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม หน้าจั่ว จมูกใหญ่ กระดูกแก้มโหนก เรียกว่า อะโครเมกาลี่ (Acromegaly) เคสตัวอย่าง

  11. Toxic goiter / Hyperthyroidism / Graves’ disease โรคคอพอกเป็นพิษ

  12. ปกติต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง(สู่ระดับปกติ) ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั่น ยังไม่ทราบแน่นชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต้านตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) กล่าวคือมีการสร้างแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า โรคเกรฟส์ (Graves’disease) โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้องเป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ สาเหตุ

  13. ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเดิน หรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตครั้งคราว จากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ผู้หญิงบางรายอาจมีประจำเดือนน้อย หรือไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือน อาการ

  14. ลักษณะผู้ที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษลักษณะผู้ที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ

  15. การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือ • การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่นPTU , Methimazole • การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมธัยรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมธัยรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมธัยรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง • การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม • ยาอื่นbetablockerเช่น propanolol,atenolol,metoprololเพื่อลดอาการของโรค การรักษา

  16. โรคขาดไทรอยด์

  17. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone)ได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายทุกส่วน (รวมทั้งสมองและความคิด) ทำงานเชื่องช้า เนื่องจากขาดฮอร์โมนตัวนี้กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญเป็นพลังงานให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานได้จึงเกิดอาการไม่สบายต่างๆ ขึ้น อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง และบางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ (เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง) ส่วนที่ทราบสาเหตุแน่ชัด ก็ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ (จะโดยวิธีให้ยาต้านไทรอยด์ กินสารกัมมันตรังสี หรือผ่าตัดก็เป็นได้เหมือนๆ กัน) หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง บางรายอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง (เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) ที่บริเวณคอ หรืออาจเกิดจากการใช้ยา เช่น ลิเทียม อะมิโอดาโรน (amiodarone) เป็นต้น บางรายอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น โรคชีแฮน เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกสมอง เป็นต้น ในเด็กเล็ก อาจเกิดจากภาวะขาดไอโอดีนในมารดาระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือต่อมไทรอยด์เจริญไม่ได้เต็มที่ ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด สาเหตุ

  18. ในผู้ใหญ่อาการจะค่อยๆ เกิดขึ้นช้าๆ กินเวลาเป็นแรมเดือน หรือแรมปี ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เฉื่อยชา ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ลำไส้ก็มักจะเคลื่อนไหวช้า ทำให้มีอาการท้องผูกเป็นประจำบางรายอาจมีอาการคอโต (คอพอก) ร่วมด้วย เนื่องจากร่างกายทำงานเชื่องช้า มีการใช้พลังงานน้อย ผู้ป่วยจึงมักมีรูปร่างอ้วนขึ้น ทั้งๆ ที่กินไม่มาก และจะรู้สึกขี้หนาว (รู้สึกหนาวกว่าคนปกติ จึงชอบอากาศร้อนมากกว่าอากาศเย็น) อาจมีอาการเสียงแหบ หูตึง ปวดชาปลายมือ เนื่องจากเส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น ทั้งนี้เนื่องจากมีสารมิวโคโพลีแซ็กคาไรด์สะสมที่กล่องเสียง ประสาทหู และช่องที่เส้นประสาทมือผ่าน บางรายอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนออกมากหรือประจำเดือนไม่มา ถ้าเป็นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลงจนหมดสติ เรียกว่าMyxedma coma ซึ่งมักมีสาเหตุกระตุ้น เช่น ถูกความเย็นมากๆ ได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคติดเชื้อ ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มนาร์โคติก (narcotic) เป็นต้น อาการ

  19. ในทารกแรกเกิดจะมีอาการซึม หลับมาก ต้องคอยปลุกขึ้นให้นม มักมีอาการเสียงแหบ ท้องผูกบ่อย และอาจมีอาการดีซ่านอยู่นานกว่าปกติ เมื่ออายุมากขึ้น เด็กจะมีการเจริญเติบโตช้า ฟันขึ้นช้า ผิวหนังหยาบแห้ง ขี้หนาว กินไม่เก่ง เฉื่อยชา (ทำให้ดูคล้ายเลี้ยงง่าย ไม่กวน) ถ้าไม่ได้รับการรักษา เด็กจะมีรูปร่างเตี้ยแคระ พุงป่อง สมองทึบ ปัญญาอ่อน หูหนวก เป็นใบ้ เรียกว่าสภาพแคระโง่ (cretinism) หรือเด็กเครติน (cretin) ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่าโรคเอ๋อ* อาการ (ต่อ)

  20. โดยการให้เกลือไอโอดีนปรุงอาหาร ถ้าคอพอกโตมากอาจต้องใช้ยาหรือผ่าตัดออก หรือในรายคอพอกโตไปเบียดและกดหลอดลม หลอดอาหาร ทำให้กลืนลำบากหายใจไม่สะดวกก็ต้องรักษาโดยการผ่าตัด • การป้องกัน • วิธีการที่ใช้ในการป้องกันโรคคอพอกโดยการเพิ่มปริมาณไอโอดีนในอาหารให้เท่ากับระดับความต้องการของร่างกาย คือ 100 – 150 ไมโครกรัม ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่การป้องกันที่ได้ผลดี มีดังนี้ คือ • การเติมเกลือไอโอไดด์ ไอโอเดตลงในเกลือแกงที่เรียกว่าเกลือไอโอดีนหรือเกลืออนามัยซึ่งมีแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน • การรับประทานยาเม็ดที่มีโปแทสเซียมไอโอไดด์10 มิลลิกรัม เป็นระยะ ๆ สม่ำเสมอ • การรับประทานอาหารทะเล • การป้องกันที่สำคัญอีกทางหนึ่งก็คือให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้รับไอโอดีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการคลอดลูกที่เป็นครีตีนนิสซึม (Cretinism) หรือโรคเอ๋อ การรักษา

  21. Cushing’s syndrome โรคคุชชิง

  22. เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์นานๆ เช่น การใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยเอสแอลอี ปวดข้อรูมาตอยด์ โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น หรือเกิดจากการกินยาชุดหรือยาลูกกลอนที่เข้าสเตอรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ ส่วนน้อยอาจเกิดจากต่อมหมวกไต* สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป) หรือเนื้องอกของส่วนอื่น ๆ (เช่น มะเร็งปอด รังไข่ ตับ หรือ ไต) ที่สร้างฮอร์โมนออกมากกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมาก โรคคุชชิงที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ยาสเตอรอยด์ เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก และพบมากในผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน แต่ก็อาจพบในคนทุกเพศทุกวัยได้ โรคคุชชิงเป็นกลุ่มอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นโรคที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ สาเหตุ

  23. มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ เป็นแรมเดือน ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อ ๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง (อยู่ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง) แลดูเป็นหนอก ซึ่งทางภาษาแพทย์ เรียกว่า อาการหนอกควาย (buffalo’s hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่เขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณสะโพก ผิวหนังบางและมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่ายเวลาถูกกระทบกระแทก มีสิวขึ้นและมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า (ถ้าพบในผู้หญิงทำให้ดูว่าคล้ายมีหนวดขึ้น) ลำตัวและแขนขา กระดูกอาจผุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง (เพราะกระดูกสันหลังผุ) มีความดันโลหิตสูง หรือ มีอาการของเบาหวาน ผู้หญิงอาจมีเสียงแหบห้าว และมีขนมากแบบผู้ชาย ประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย ผู้ป่วยอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือกลายเป็นโรคจิต อาการ

  24. ลักษณะของผู้ที่เป็นโรคคุชชิงลักษณะของผู้ที่เป็นโรคคุชชิง

  25. ผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน พุงป่อง หน้าอูม มีก้อนไขมันขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง หน้ามีสิวหรือขนอ่อนขึ้น ท้องลาย อาจมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความดันโลหิตสูง เช่น หัวใจวาย อัมพาตครึ่งซีก โรคหัวใจขาดเลือด อาจมีการติดเชื้อง่ายซึ่งจะพบบ่อยที่บริเวณผิวหนัง (เป็นฝี พุพองง่าย) และทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นแผลหายยาก อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะ กระดูกหักง่าย หรือเป็นโรคจิต สิ่งที่ตรวจพบและอาการแทรกซ้อน

  26. แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ถ้าสาเหตุเกิดจากการใช้สารสเตียรอยด์มากเกิน แพทย์จะค่อยๆลดขนาดของสารสเตียรอยด์ลง โดยการให้ยาสเตียรอยด์ (เช่น เพร็ดนิโซโลน) แทนยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ที่ผู้ป่วยเคยกิน แล้วค่อยๆ ปรับลดลงทีละน้อย นัดมาตรวจดูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดเป็นระยะๆ จนแน่ใจว่าต่อมหมวกไตที่ฝ่อตัว (เนื่องจากสารสเตียรอยด์สังเคราะห์ที่กินขนาดมากเกินนั้น กดไม่ให้ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้เอง) มีการฟื้นตัวและสามารถสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้เป็นปกติ ก็จะหยุดยาสเตียรอยด์ในที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาปรับตัวนานเป็นปี ถ้าสาเหตุเกิดจากเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หลังผ่าตัดหากพบว่าร่างกายสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ไม่ได้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินยาสเตียรอยด์ทดแทนไปตลอดชีวิตการดูแลตนเอง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวขึ้นมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีประวัติกินยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ติดต่อกันมานาน หรือมีอาการที่น่าสงสัยอื่นๆ (เช่น แขนขาลีบ เหนื่อยง่าย สิวขึ้น ขนอ่อนขึ้นที่หน้า จ้ำเขียว) ก็ควรไปปรึกษา แพทย์โดยเร็ว ระหว่างรอไปพบแพทย์ ไม่ควรหยุดยาที่กิน อยู่ทันทีทันใด อาจทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นอันตรายได้ เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคคุชชิ่ง ควรได้รับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจัง โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการใช้สารสเตียรอยด์ ในรูปของยาชุด ยาหม้อ และยาลูกกลอน หากมีอาการของโรคปวดข้อ ปวดหลัง โรคหืด โรคภูมิแพ้ หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรใช้ยาเองอย่างผิดๆ การรักษา

  27. http://doctor.or.th/article/detail/11223 http://aaclinic.com.a17.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539250045 http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=78 http://www.chaiwbi.com/2552student/ms5/d525102/wbi/525109/unit03/unit3_1007.html http://aaclinic.com.a17.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539250039 ที่มา

  28. กลุ่มที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นายณัฐภัทร จินดาประเสริฐ เลขที่ 4ก (ตรวจงาน) นางสาวชาลิสา สวนศรี เลขที่ 9ก (หาข้อมูล) นางสาวสิริรัตน์ นามลาด เลขที่ 14ก (ทำpower point) สมาชิกในกลุ่ม

More Related