1 / 151

ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร

ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร. โดย. ดร.ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ ดร.กล้าณรงค์ สุทธิรอด บรรยายพิเศษ ว่าที่ ดร.กฤษฎา อัครพัทธยากุล. รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับ การบริหารราชการ หรือ การบริหารรัฐกิจ. รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ

Télécharger la présentation

ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร โดย ดร.ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ ดร.กล้าณรงค์ สุทธิรอด บรรยายพิเศษ ว่าที่ ดร.กฤษฎา อัครพัทธยากุล

  2. รัฐประศาสนศาสตร์หมายถึง ศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการหรือ การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ Public Administration

  3. การบริหารราชการ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมในส่วน ของราชการต่างๆของรัฐให้บรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ด้วยศาสตร์หรือองค์ ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ มีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน 1. ต้องมีหน่วยงานหรือส่วนราชการ 2. ต้องมีระเบียบการบริหารงาน โดยยึดหลักการการจัดระเบียบบริหารราชการ 3 หลักการ 1. หลักการรวมอำนาจ 2.หลักการแบ่งอำนาจ 3. หลักการกระจายอำนาจ กล่าวโดยสรุปการบริหารราชการก็คือการนำนโยบาย (policy)มาปฏิบัติโดย บรรดาข้าราชการนั่นเอง

  4. ความแตกต่างระหว่างการบริหารธุรกิจกับการบริหารรัฐกิจความแตกต่างระหว่างการบริหารธุรกิจกับการบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ มุ่งความประหยัดลดค่าใช้จ่าย เป้าหมายเพื่อผลกำไร(คนส่วนน้อย) การบริหารรัฐกิจหรือการบริหารราชการ มุ่งคุณภาพงานและประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เป้าหมายเพื่อสาธารณะ(คนส่วนใหญ่)

  5. จุดมุ่งหมายของการบริหารจุดมุ่งหมายของการบริหาร ให้งานดำเนินลุล่วงตามเป้าหมาย หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ (ความสำเร็จ) ความสำคัญของการบริหาร การบริหาร เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และบรรลุถึงเป้าหมาย การบริหารจัดการที่ดีย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพคุณภาพงานของโครงการด้านต่าง ๆ ในการดำเนินงานและสามารถทำให้องค์กรอยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ แม้ มีอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อองค์การไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยภายในองค์การปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยทางคุณลักษณะ การบริหาร มีความสำคัญต่อองค์การพอสรุปได้ 5 ประการ คือ

  6. 1. ใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผู้บริหารขององค์การจะต้องตระหนักว่าโครงสร้างการจัดองค์การถูกกำหนดขึ้นมามิใช่เป็นเป้าหมายสุดท้าย แต่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่แต่ละองค์การตั้งไว้

  7. 2. การจัดองค์การแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งงาน การจัดโครงสร้างหรือการจัดองค์การจะแสดงให้เห็นถึงการแบ่งงานกันทำออกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ และยังชี้ให้เห็นถึงการกำหนดมาตรฐานของงานในองค์การในอันที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การ

  8. 3. แสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มของหน่วยงาน และขนาดขององค์การ การบริหารจะแสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มของหน่วยงานว่า มีการรวมกลุ่มตำแหน่งงานและจัดแบ่งหน่วยงานออกตามลักษณะอย่างไร เช่น แบ่งตามหน้าที่ แบ่งตามผลิตภัณฑ์ แบ่งตามพื้นที่ แบ่งตามลูกค้า ฯลฯ หรือใช้การแบ่งหน่วยงานหลาย ๆ ลักษณะผสมผสานกัน

  9. 4. แสดงให้เห็นระบบของการเชื่อมโยงในด้านการวางแผน และการควบคุม รวมถึงกลไกในการติดต่อสื่อสาร การจัดโครงสร้างองค์การจะแสดงให้เห็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างการวางแผน และการควบคุมขององค์การว่ามีลักษณะเป็นเช่นไรในแต่ละระดับ รวมถึง การชี้ให้เห็นถึงกลไกในการติดต่อสื่อสารภายในองค์การว่ามีลักษณะเป็นเช่นใดบ้าง

  10. 5. แสดงให้เห็นถึงระบบการตัดสินใจขององค์การ การจัดโครงสร้างองค์การสามารถชี้ให้เห็นได้ว่า องค์การนั้นมีระบบการตัดสินใจกำหนดไว้เป็นอย่างไร มีลักษณะที่เน้นการรวมอำนาจในการตัดสินใจ หรือเน้นกระจายอำนาจในการตัดสินใจ

  11. ความหมายของการบริหาร การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัตถุสิ่งของเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้นKoontz (1968) กระบวนการที่จะนำความเรียบร้อยเข้าไปแก้ไขความยุ่งเหยิง ที่เกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งTauskyCurt (1978) การใช้ศาสตร์ และศิลป์ นำเอาทรัพยากรการบริหาร มาประกอบตามกระบวน การบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ สมพงศ์ เกษมสิน (2526) การบริหารจัดการ หมายถึง ศิลป์ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น สถาบันดำรงราชานุภาพ (25404)

  12. การบริหารจัดการองค์การ หมายถึง การดำเนินงานโดยใช้ศาสตร์ และศิลป์เข้าไปแก้ไขความยุ่งเหยิง ที่เกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งหรือกระบวนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ (2552)

  13. ลักษณะเด่นของการบริหารที่เป็นสากล มีอยู่หลาย 9ประการ ดังนี้ (สมพงศ์ เกษมสิน) 1. การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์ 2. การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบ 3. การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน 4. การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ 5. การบริหารเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มบุคคล

  14. 6. การบริหารอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคคล กล่าวคือ ความร่วมใจ จะก่อให้เกิดความร่วมมือของกลุ่ม อันจะนำไปสู่พลังของกลุ่ม ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ 7. การบริหารมีลักษณะการร่วมมือกันดำเนินการอย่างมีเหตุผล 8. การบริหารมีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ 9. การบริหารไม่มีตัวตนแต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

  15. หลักการบริหารงานที่ดีนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงด้านต่าง ๆ หลายด้าน สมพงศ์ เกษมสิน (2526) 1. ด้านการประหยัด 2. ด้านความเป็นธรรม 3. ด้านความซื่อสัตย์และมีเกียรติ 4. ด้านประสิทธิผล 5. ด้านประสิทธิภาพ

  16. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้ ให้ความหมายใกล้เคียงกันมาก หากจะพิจารณาให้เจาะจงลงไปแล้วก็จะเห็นได้ว่าประสิทธิผลนั้น หมายถึงการพิจารณาผลของการทำงานที่สำเร็จลุล่วงดังประสงค์ หรือที่คาดหวังไว้เป็นหลัก และความสำเร็จของงานอย่างมีประสิทธิผลนี้ อาจเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ประหยัด หรือไม่มีประสิทธิภาพก็ได้ เพราะประสิทธิภาพเป็นเรื่องของการที่จะทำงานให้ได้ผลสูงสุด ส่วนประสิทธิผลเป็นเรื่องของการนำเอาผลงานที่สำคัญดังที่คาดหวังไว้มาพิจารณา ดังนั้น งานที่มีประสิทธิผลจึงไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพเสมอไป

  17. วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร 1. การศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค(Classical management approach) 2.การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral management approach) 3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach) ศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research) 4. กลุ่มทฤษฎีการบริการ ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ (Recent development in management theory)

  18. 1.ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค1.ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค • การบริหารโดยทฤษฎีกลุ่มนี้ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นองค์การโดยรวมและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น • การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์(Scientific management) • การจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic management) • การจัดการตามแบบหลักการบริหาร(Administrative management)

  19. 2.ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์2.ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ การบริหารเชิงพฤติกรรม จะมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการทำความเข้าใจมนุษย์ถ้าผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลและปรับองค์การให้สอดคล้องกับพวกเขาแล้วความสำเร็จขององค์การก็จะตามมาเอง เช่น • ทฤษฎีทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial psychology approach • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) • ทฤษฎี Xและทฤษฎี Y (Douglas McGregor)

  20. 3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณเป็นทัศนะการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการศาสตร์การจัดการหรือการวิจัยการปฏิบัติการ เป็นทัศนะการบริหารเชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติการ เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ • การจัดการปฏิบัติการ(Operations management) • ระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)

  21. 4.ทฤษฎีการบริการ • ทฤษฎีการบริการเป็นหลักการ การบริหารที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ เช่น • ทฤษฎีระบบ(System theory) • ทฤษฎี Z ของ Ouchi • ทฤษฎี TQM : Total Quality Management

  22. แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหารแนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร • ทฤษฎีการบริหารการจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic management) • ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Adhocracy) • ทฤษฎีการบริหารแบบ Balanced Scorecard • ทฤษฎีการบริหารแบบเปรียบเทียบ (Benchmarking) • ทฤษฎีการบริหารแบบความสามารถหลัก( Core Competence) • ทฤษฎีการบริหารแบบการกระจายอำนาจ (Decentralization) • ทฤษฎีการบริหารแบบการมอบอำนาจตัดสินใจ( Empowerment)

  23. แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ)แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ) • ทฤษฎีการบริหารตามวัตถุประสงค์(Management by objective) • ทฤษฎีการบริหารแบบความเป็นเลิศขององค์กร (Organizational Excellence) • ทฤษฎีการบริหารแบบผู้มีส่วนได้เสีย ( Stakeholders) • ทฤษฎีการบริหารแบบ ทฤษฎี X ทฤษฎี Yและทฤษฎี z • ทฤษฎีการบริหารแบบTQM(total quality management) • ทฤษฎีการบริหารแบบระบบ(System theory) • ทฤษฎีการบริหารแบบ 7s • ทฤษฎีการบริหารแบบ 4m • ทฤษฎีหลักการบริหาร 14 หลักการ

  24. แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ)แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ) • ทฤษฎีการบริหารแบบ แรงจูงใจ • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ • ทฤษฎีแรงจูงใจBarnard • ทฤษฎีการบริหารแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organizational) • ทฤษฎีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(results based management; RBM) • ทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม( Participative  Management) • ทฤษฎีการบริหารแบบPOSDCORB model • หลักการบริหารแบบP4. DRUCBOWBIGSIC Model

  25. ทฤษฎีการบริหารการจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic managementMax Weber (1864-1920) ทฤษฎีการจัดการระบบราชการลักษณะองค์การนั้นจะถูกบริหารบนพื้นฐานของเหตุผล และไม่เป็นส่วนตัวมีกรอบการวิเคราะห์ที่ว่า ยิ่งรัฐมีการพัฒนา และมีการขยายตัวของชุมชน เมือง การศึกษา เศรษฐกิจฯลฯ เพิ่มมากขึ้นเท่าใด “รัฐ” ก็ยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยระบบราชการ จัดการแก้ไขปัญหาในสังคมเพิ่มขึ้นการมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับระบบราชการชี้ให้เห็นว่าระบบราชการขยายตัวไปพร้อม ๆ กับการฝึกฝนอบรมจะยิ่งทำให้ระบบราชการมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ ที่รอบรู้ปัญหาทางเทคนิคมากกว่าผู้ปกครอง ที่เป็นผู้ควบคุมระบบราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

  26. ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบราชการของเวเบอร์ คือ • มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน • มีการระบุสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน • บุคคลจะถูกคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งบนพื้นฐานของ • คุณสมบัติทางเทคนิค • การบริหารกับการเป็นเจ้าขององค์การจะถูกแยกจากกัน • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บน • พื้นฐานของความไม่เป็นส่วนตัว • มีการกำหนดกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติการไว้อย่างเป็นทางการ

  27. ปรัชญาของการ Weber ในการบริหารงานภาครัฐ หลักการพื้นฐาน 1 . การแบ่งงานกันทำตามแนวราบ 2. การแบ่งงานกันทำตามแนวตั้ง 3. การทำงานกันเป็นลายลักษณ์อักษร 4. กฎระเบียบ 5 . การเลื่อนขั้นตำแหน่ง ตามหลักอาวุโส ความสามารถ 6. การแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน

  28. ผลลัพธ์ 1 . การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มความชำนาญงาน 2. ความถูกต้องในการทำงาน เกิดตัดสินใจที่สนองผลประโยชน์รวมขององค์การ 3. การทำงานขององค์การมีความต่อเนื่องอ้างอิงได้ ไม่ขึ้นกับตัวคน 4. บรรลุการประสานงานระหว่างองค์การ 5 . เกิดความแน่นอนในการทำงาน 6. ลดการสื่อสารที่ไม่จำเป็น 7. สร้างกรอบพฤติกรรมพื้นฐานของสมาชิกให้เป็นแบบแผนเดียวกัน 8. ให้องค์การมีพลวัต 9. สร้างขวัญกำลังใจให้สมาชิก 10. ทำให้สมาชิกมีความผูกพันกับองค์การ 11. บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

  29. รูปแบบการใช้อำนาจ Weber มี 3 รูปแบบ • 1. อำนาจเฉพาะตัว อำนาจหน้าที่ที่มีมาแต่กำเนิด • หรือ อำนาจหน้าที่จากความสามารถพิเศษ • 2. อำนาจแบบประเพณี • 3. อำนาจตามกฎหมาย

  30. องค์การแบบระบบราชการโครงสร้างพื้นฐานของ Max Weber ประกอบด้วย 7 ประการ 1. หลักลำดับขั้น              2. หลักความรับผิดชอบ             3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล              4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ              5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน              6. หลักระเบียบวินัย              7. ความเป็นวิชาชีพ

  31. หลักลำดับขั้น (hierarchy)  หลักการนี้ มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุม โดยเชื่อว่า การบริหารที่มีลำดับขั้น จะทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้นตอนมีความเหมาะสม

  32. หลักความรับผิดชอบ (responsibility) เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่ ตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย

  33. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)       Weber ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน ว่ามีความสำคัญต่อการที่จะทำให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่า จะทำงาน อย่างไร โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

  34. หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ

  35. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน(Specialization)หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน(Specialization) การจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การ ได้หลายรูปแบบคือ • การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ • การแบ่งงานตามหน้าที่ • การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ • การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน

  36. หลักระเบียบวินัย(discipline) ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ

  37. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization) ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาความเป็นวิชาชีพ  “รับราชการ”  นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย

  38. ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Warren G Bennis , 1968) (Alvin Toffler, 1970) การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ เป็นการบริหารที่มีโครงสร้างองค์กรที่ตรงกันข้ามกับการบริหารแบบระบบราชการโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ ไม่มีโครงสร้างที่กำหนดไว้ตายตัว มีการกระจายอำนาจ และสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่องค์กรแบบราชการจะให้ความสำคัญกับโครงสร้างมากกว่าบุคลากร แต่องค์กรแบบเฉพาะกิจกลับถูกออกแบบมาเพื่อดึงเอาความสามารถของบุคลากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

  39. ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Alvin Toffler, 1970) การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ เป็นการบริหารที่ต้องมีโครงสร้างองค์กรที่เป็นแนวนอนที่แบบราบมากขึ้น การบริหารองค์กร ลักษณะนี้ Toffler มองว่า เป็นองค์กร รูปแบบใหม่ที่มีอิสระและไม่หยุดนิ่ง

  40. ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Henry Mintzberg , 1979) โครงสร้างองค์กรพื้นฐาน 4 ประเภท แบ่งโครงสร้างองค์กรออกตามลักษณะการใช้งาน(โครงสร้างแบบง่ายและแบบซับซ้อน) ประเภทขององค์กร ตามแนวคิด Henry Mintzberg (2x2) 1.องค์กรแบบเครื่องจักรกล 2.องค์กรทางวิชาชีพ 3.องค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการ 4.องค์กรแบบเฉพาะกิจ

  41. ประเภทขององค์กร ตามแนวคิด Henry Mintzberg (2x2)

  42. องค์กรแบบเครื่องจักรกลองค์กรแบบเครื่องจักรกล มีโครงสร้างสำหรับการปฏิบัติงานเป็นประจำ ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน มีกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างอย่างเป็นทางการ มีกฎระเบียบและข้อบังคับมากมายในองค์กร ใช้รูปแบบการสื่อสารที่เป็นทางการ มีหน่วยงานปฏิบัติงานขนาดใหญ่ การตัดสินใจอยู่ที่ศูนย์กลาง มีกลุ่มผู้ชำนาญการเชิงเทคนิคเป็นจำนวนมาก

  43. องค์กรทางวิชาชีพ เป็นองค์ที่กลุ่มบุคคลมีอิทธิพลมากที่สุด ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการในการปฏิบัติงานในองค์กร บุคคลจะทำงานค่อนข้างเป็นอิสระจากกัน บุคคลจะปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

  44. องค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการองค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการ โดยบริหารมุ่งเน้นที่การสร้างความภักดีของพนักงานและในขณะเดียวกันก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายในการวางแผนมากนัก มีความยืดหยุ่นและไม่เป็นทางการ มีกลุ่มผู้ชำนาญการในจำนวนไม่มาก มีการรวมศูนย์อำนาจสูงโดยอำนาจควบคุมอาจอยู่ในมือของผู้ก่อตั้ง

  45. องค์กรแบบเฉพาะกิจ มีกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างไม่เป็นทางการ มีกฎระเบียบและข้อบังคับน้อยในองค์กร ใช้รูปแบบการสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ให้อำนาจในการตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจ และสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว เน้นการใช้ความสามารถของบุคลากร

  46. ทฤษฎีการบริหารแบบ Balanced Scorecard (BSC) (Robert S. Kaplan and David Norton) ลักษณะของการบริหารเป็นการนำกลยุทธ์ขององค์กรมาแยกเป็นเป้าหมายที่วัดได้ในเชิงปริมาณ แล้วจึงทำการประเมินว่าองค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่โดยเริ่มต้นจากการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรและแยกย่อยออกเป็นกลยุทธ์องค์กร และกำหนดตัวชี้วัด โดยโครงสร้างของตัวชี้วัดหรือกิจกรรมที่วัดผล จะต้องมีความสมดุล ตามชื่อแนวคิดนี้ โดยนักวิชาการทั้ง 2 สรุปมุมมองสำคัญในหลักการบริหารตามทฤษฎีไว้ทั้งหมด 4 ด้าน 1. มุมมองด้านการเงิน 2.มุมมองด้านลูกค้า3. มุมมองด้านกระบวนการ 4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต

  47. มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราเป็นอย่างไรในสายตาของผู้ถือหุ้น? (เราเป็นอย่างไรในสายตาของ...................) มุมมองด้านนี้ให้ความสำคัญต่อข้อมูลทางการเงิน(ตัวเลขสถิติ) เพราะผลการดำเนินงานด้านการเงินขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดขององค์กร การมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ต้นทุนต่อหน่วย กระแสเงินสด ส่วนแบ่งการตลาด อัตราการเติบโตของผลกำไร

  48. มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราเป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า? มุมมองด้านนี้ให้ความสำคัญตระหนักถึงความจำเป็นของการมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของลูกค้ามากขึ้น และยอมรับความจริงที่ว่า การหาลูกค้าใหม่มีต้นทุนสูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิม ดังนั้นคำว่า การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องท่องไว้จนขึ้นใจ มุมมองด้านนี้ องค์กรจะต้องวัดความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้าและบริการที่ได้รับจากองค์กร โดยตัวชี้วัดที่ใช้ในมุมมองนี้ ได้แก่ 1. ความพึงพอใจของลูกค้า 2.อัตราการรักษาลูกค้าเดิม (ความภักดี) 3. อัตราการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ4. ชื่อเสียงขององค์กร

  49. มุมมองด้านกระบวนการ มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราทำงานภายในองค์กรของเรามีประสิทธิผลเพียงใด ? มุมมองด้านนี้เป็นการมองสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กรโดยจะวัดผลของกระบวนการทำงานที่สำคัญๆ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจทั้งหมด ได้แก่.......

  50. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม ? มุมมองด้านนี้เป็นการนำคำตอบของคำถาม มาเป็นตัวชี้วัดและวัดผลการดำเนินงานที่เป็นไปได้ในอนาคต โดยเน้นที่ความจำเป็นในการลงทุนเพื่อ พัฒนาบุคลากรขององค์กร โดยการเรียนรู้ (learning) มีความหมายครอบคลุม การฝึกอบรม (training) การเรียนรู้ ในมุมมองด้านนี้ ยังรวมถึง ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง และผู้สอนเสริมด้านต่างๆ..ภายในองค์กรด้วย ดังนั้น จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมและจำนวนพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม อาจเป็นตัวชี้วัดในมุมมองด้านนี้ ความสำคัญของการฝึกอบรมที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง และผู้สอนเสริม มุมมองด้านนี้อาจเพิ่มตัวชี้วัด อีก เช่น สัดส่วนของเงินลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเมื่อเทียบกับยอดขายหรือเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เป็นต้น

More Related