1 / 29

กล ยุทธ์การ พัฒนาสื่อการ เรียนรู้ด้วย Smart Integrated M-Learning ให้กับ พนักงานใน องค์กรธุรกิจ

กล ยุทธ์การ พัฒนาสื่อการ เรียนรู้ด้วย Smart Integrated M-Learning ให้กับ พนักงานใน องค์กรธุรกิจ. จัดทำและนำเสนอโดย นายวุฒิไชย วันทโกศ รี 5514760005 2. นายเวสารัช ชูพงศ์ 5514760008 3. นายทศพล อเนกวรรณา 5514760009

kamil
Télécharger la présentation

กล ยุทธ์การ พัฒนาสื่อการ เรียนรู้ด้วย Smart Integrated M-Learning ให้กับ พนักงานใน องค์กรธุรกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลยุทธ์การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วย Smart Integrated M-Learning ให้กับพนักงานในองค์กรธุรกิจ

  2. จัดทำและนำเสนอโดย • นายวุฒิไชย วันทโกศรี 5514760005 2. นายเวสารัช ชูพงศ์ 5514760008 3. นายทศพล อเนกวรรณา 5514760009 4. นางสาวกนกอร นุชเฟื่อง 5514760024

  3. ความสำคัญของการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรธุรกิจแห่งโลกดิจิทัลความสำคัญของการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรธุรกิจแห่งโลกดิจิทัล

  4. การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) • คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด • การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กร ต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากร มนุษย์

  5. ประเภทของความรู้ (Knowledge type) ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ • ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ 2. ความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

  6. ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) • เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร

  7. บทนำ และความสำคัญของปัญหา • E – Learning มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนยุค ICT เพราะอีเลิร์นนิ่งใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางจัดการเรียนการสอน ประยุกต์ทฤษฎีการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม มีเป้าหมายคือความสำเร็จทางการเรียน โดยใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบการเรียนการสอน ที่เรียกว่า LMS (Leaning Management System) CMS (Content Management System)

  8. โครงสร้างพื้นฐาน E- Learning

  9. บทนำ และความสำคัญของปัญหา • ข้อได้เปรียบรูปแบบการเรียนการสอนปกติหลายประการ ได้แก่ - เข้าถึงเนื้อหาบทเรียนได้โดยสะดวกตลอดเวลา (Anytime) ทุกสถานที่ (Any Place) - เลือกเรียนเนื้อหา ตามความต้องการ(Any Subject) ด้วยตนเอง (Any Pace) - เนื้อหามีความทันสมัย (Up-to-Date Content) และมีมาตรฐานเดียวกัน (Consistent) - มีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียน (Tailored Leaning) - เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative) โต้ตอบแลกเปลี่ยน (Interactive) กันในชุมชนการเรียนรู้ - ลดต้นทุนการจัดการศึกษาได้ในระยะยาว (Cost Effective) ได้

  10. 7 อุปสรรค (Barriers) ที่ต้องคำนึงในการพัฒนา e-Learning • อุปสรรคเกี่ยวกับตัวผู้เรียน (Personal Barriers) • รูปแบบการเรียนรู้แต่ละคน (Learning Style Barriers) • เทคนิควิธีการสอน (Instructional Barriers) • ปัญหาภายในองค์กร (Organizational Barriers) • อุปสรรคจากสถานะของผู้เรียน (Situational Barriers) • ความเหมาะสมของเนื้อหา (Content Suitability Barriers) • ด้านเทคโนโลยี (Technological Barriers)

  11. ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง M-Learning

  12. แนวคิดm-learning

  13. รู้จักองค์ประกอบและการทำงานของระบบ m learning มีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ • MLMS (Mobile Learning Management System) • m-content (Mobile Content) • MCMS (Mobile Content Management System) • m-testing (Mobile-testing) • m-learner (Mobile-Learning)

  14. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • MLMS (Mobile Learning Management System) คือระบบจัดการการ เรียนการสอนที่ใช้สำหรับ Mobile มีหน้าที่ในการจัดการการเรียนการสอน โดยแบ่ง ออกเป็นส่วนย่อยดังนี้ • 1.1 ส่วนของผู้สอน ใช้ในการนำเนื้อหาบทเรียนที่โปรแกรมเมอร์ ทำการพัฒนาแล้วขึ้นระบบให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียนและจัดการเรื่องตารางการนัดหมาย ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน การแจ้งเตือนผู้เรียนใน Class และการ Interactive กับผู้ เรียน • 1.2 ส่วนของผู้เรียน คือ ใช้สำหรับให้ผู้เรียนสามารถ Log in เพื่อเข้ามาศึกษาบทเรียนที่ผู้สอนได้ทจัดทำเอาไว้แล้ว ในส่วนของผู้เรียนอาจจะมีรายละเอียดในการติดต่อกับผู้สอนได

  15. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • MLMS (Mobile Learning Management System) • 1.3ส่วนของผู้ดูแลระบบ (Admin) ในส่วนผู้ดูแลระบบสามารถที่จะบริหารจัดการได้ทุกส่วน ทั้งในส่วนของผู้สอน และส่วนของผู้เรียน สามารถบริหารจัดการได้ทุก Function ของระบบ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ (ผู้สอน และผู้เรียน) เมื่อเกิดปัญหาในการใช้งานไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งแต่ MLMS ยังคงมีข้อจำกัดอยู่บ้างเมื่อเทียบกับ LMS ปกติเนื่องจาก LMS ปกติทำงานบน Server ขนาด ใหญ่มีขีดความสามารถสูงกว่า แต่ MLMS ทำงานบน Server ตามที่ได้ออกแบบเอง แตกต่างตรงที่ MLMS ให้บริการกับ m-learning ดังนั้นข้อจำกัดของรายละเอียด การทำงานยังคงมี ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับ LMS ปกติ ดังนั้ นต้องคำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่อง Bandwidth และการออกแบบในเรื่องของ Graphic user interface ไม่ควรที่จะมีขนาด file ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้ระบบทำงานช้าในเรื่องการโหลดข้อมูล

  16. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning 2. m-content (Mobile Content) คือเนื้อหาบทเรียนสำหรับใช้งานกับ Mobile ซึ่งต้องมีความแตกต่างจาก Content แน่นอน เนื่องจากข้อจำกัดของ Mobile ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา Mobile หน่วยความจำหรือแม้กระทั่งการประมวลผลของ Mobile ยังคงมีข้อจำกัดอยู่เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานปกติ สำหรับ m-content ในการออกแบบอาจจะต้องมีการคำนึงถึงขนาด file size ของ content และการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาใช้งานด้วย เนื่องจากการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาใช้ เช่น เสียง ภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว ควรมีการบีบอัดหรือเข้ารหัส file ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปแสดงผลของอุปกรณ์ Mobile ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ยกตัวอย่างเช่น ควรหลีกเลี่ยงการ ใช้งาน Video ขนาดใหญ่ๆ เพราะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลค่อนข้างสูง ควร เลือกใช้เป็นภาพนิ่งขนาดเล็กน่าจะเพียงพอแล้ว หรือการใช้ Sound บน Mobile ก็ ควรมีการบีบอัดหรือทำเป็น Streaming Media เพื่อช่วยในการโหลด file ให้เร็วขึ้น

  17. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • MCMS (Mobile Content Management System) มีหน้าที่ในการจัดการเนื้อหารวมทั้งเป็นเครื่องมือในการสร้างเนื้อหาบทเรียนสำหรับ m-learning โดยระบบจัดการเนื้อหาของ Mobile มีหน้าที่เหมือนกับ CMS ที่ใช้กับระบบ e-learning ปกติทั่วไปแต่ MCMS จะแตกต่างในส่วนของเมื่อทำการสร้างเนื้อหา โดยใช้สื่อมัลติมีเดียรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ, ข้อความ, เสียง, ภาพเคลื่อนไหว MCMS จะมีระบบการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงพอที่จะสามารถนำไปใช้งานระบบ m-learning ได้อย่างเหมาะสม

  18. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • MCMS (Mobile Content Management System) กระบวนการแปลงข้อมูลดิบและสร้างเป็น m content

  19. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • m-testing (Mobile-testing) เป็นส่วนของแบบทดสอบของบทเรียนเพื่อประเมินผลในการเรียน ซึ่งแบบทดสอบจะแบ่งเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และแบบทดสอบ หลังเรียน (Post-test) โดย แบบทดสอบก่อนเรียนจะทำการประเมินผลผู้เรียนก่อน ศึกษาบทเรียนซึ่งผลที่ได้จะเก็บเอาไว้เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน m-learning ส่วนแบบทดสอบหลังเรียนจะทำการทดสอบเมื่อผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียนจบแล้ว และดูเปรียบเทียบผลคะแนนของแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนและเป็นผลต่างเพื่อนำมาหาประสิทธิภาพของบทเรียนต่อไป

  20. รู้จักหน้าที่การทำงานแต่ละส่วนของระบบ m learning • m-learner (Mobile-Learning) คือผู้เรียนที่ได้ทำการศึกษาบทเรียนที่เป็น m-learning ที่ผู้วิจัยได้ทำการเสนอแนวคิดในการพัฒนาระบบ m-learning ขึ้นมา ซึ่งประกอบไปด้วย Framework ในการทำงานของบทเรียนสำหรับบทเรียน m-learning หรือ e-learning ทั้งสองส่วนล้วนมีความสำคัญมากเพราะเป็นองค์ประกอบหลักที่ ต้องมีในระบบนั่นหมายถึงถ้าหากไม่มีส่วนของผู้เรียนก็จะทำให้ระบบ m-learning ไม่สมบูรณ์นั่นเอง

  21. ประโยชน์ จุดเด่น ของ M-Learning ประโยชน์ จุดเด่น 1. การใช้ m-learning สามารถใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้สถานที่นั้น จะไม่มีสายสัญญาณให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการแก้ไข ปัญหาในการเรียนแบบ ใช้เรียนได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ 2. อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สายส่วนมาก มีขนาด น้ำหนักน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้ สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใดเวลาใดก็ได้ 3. จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มีจำนวนมากเนื่องจากพกพาง่ายและ สะดวก และมีใช้เป็นประจำอยู่แล้ว หากนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีไร้สาย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

  22. ข้อจำกัดของ M-Learning ข้อจำกัด 1. การแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดพื้นที่จำกัดโดยเฉพาะ ในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูลบทเรียนให้ผู้เรียนเห็นได้ อย่างชัดเจน และไม่น่าสนใจ 3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมี ความเร็วที่จำกัดและเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนแบบ m-learning เพราะ ไม่สามารถใช้สื่อประเภทมัลติมีเดียขนาดใหญ่ได้เช่นพวกภาพเคลื่อนไหว วีดิโอสื่อการสอนเป็นต้น 4. ผู้เรียนเสียเวลาในการเข้าไปเรียนเนื่องจากขาดความต่อเนื่องจากระบบ เช่น ต้องเริ่มศึกษาบทเรียนกันใหม่ เมื่อออกจากหน้าจอ M-learning และมาเข้าเรียนผ่าน E-Learning

  23. แนวคิดพัฒนาSmart IntegratedM-Learning ให้กับพนักงาน ในองค์กรธุรกิจแห่งโลกดิจิทัล

  24. แนวคิดพัฒนา Smart Integrated M– Learning - ยุคแห่งเครือข่าย Internet ไร้สายความเร็วสูง3G2100 & Wi-Fi - ยุคของ Smart Devices ได้แก่อุปกรณ์ Smartphone, Tablet, และ Phablet - กระแสนิยมการนำอุปกรณ์โทรศัพท์มาช่วยในการทำงาน เรียกว่า BYOD

  25. แนวคิดพัฒนา Smart Integrated M – Learning รูปแบบการทำงาน Smart Integrated M-Learning โดยการผนวกโครงสร้าง M-Learning กับE-Learning ร่วมกัน และเพิ่มการจัดการข้อมูล users ด้วยระบบ Sync Data Server

  26. ขอบเขต ขั้นตอนการดำเนินการ และตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนให้เป็นแบบ SEAMLESSทั้งบน M-Learning และ E-Learning โดยทั้ง 2 ระบบจะซิงค์ข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่ที่หน้า 2 บน M-Learning และออกจาก M-Learning ไป และเข้ามาเรียนต่อในระบ E-Learning ผู้เรียนสามารถอ่านต่อในหน้า 2 ได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่หน้าแรก • พัฒนา User Interface ให้น่าสนใจใช้งาน และผนวกการใช้งาน Facebook ควบคู่กัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ช่วยเพื่อความ สนุกสนานในการเข้าไปเรียน • พัฒนา m-content เนื้อหาบทเรียน โดยกำหนดขั้นต่ำ speed ของ Bandwidth ที่เหมาะสมกับการเข้าถึง m- content ได้อย่างไม่สะดุด • ส่งเสริมวัฒธรรมพัฒนาการเรียนรู้ขององค์กร

  27. ขอบเขต ขั้นตอนการดำเนินการ และตัวชี้วัด ขั้นตอนการดำเนินการ • เขียนผังการทำงาน Flow Chart • ออกแบบพัฒนาระบบ • พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ Smart phones ระบบปฏิบัติการ และ • ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมระบบ และปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาด • ประชาสัมพันธ์โครงการ “Smart Learning with Your Smart device” แก่พนักงาน • ติดตามการเข้าไปใช้งานของพนักงาน

  28. ขอบเขต ขั้นตอนการดำเนินการ และตัวชี้วัด ตัวชี้วัด • จำนวนผู้เข้าใช้งาน Smart Integrated M-Learning ในแต่ละเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับ E-Learning ของบทเรียนใหม่ๆที่มีเข้ามาทุกๆ เดือน • ข้อมูล Feedback ในการใช้งานและความพึงพอใจกับ user interface และ features ของSmart Integrated M-Learning เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น • ระดับความชำนาญและความถูกต้องในการให้ข้อมูลบริการของพนักงาน • จำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้าที่ลดลง • ระดับความพึงพอใจของลูกค้ากับการให้บริการข้อมูลของพนักงาน

  29. สรุปบทบาทของ Smart Integrated M – Learning เป็นช่องทางใหม่ในการศึกษาเรียนรู้ข้อมูลผลิตภัณท์แก่พนักงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้ข้อมูลบริการแก่ลูกค้า เท่าทันต่อโลกการแข่งขันทางธุรกิจ บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในยุค Globalization U(Ubiquitous)-Learning <-> Learning through Anywhere, Anytime, and Any device

More Related