1 / 50

ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ( Lightning Protection System)

ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ( Lightning Protection System).

karim
Télécharger la présentation

ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ( Lightning Protection System)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Lightning Protection System) • เนื่องจากฟ้าผ่าเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับฟ้าผ่าเพื่อหาทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องทำความเข้าใจในกระบวนการเกิดฟ้าผ่า แรงดันเกิน ที่เกิดขึ้นในระบบ อุปกรณ์ล่อฟ้า วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงสายดิน เพื่อให้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมลดความรุนแรงลงและอยู่ในวงจำกัด 1. การเกิดฟ้าผ่า2. ความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าแบบต่างๆ3. อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบล่อฟ้าสำหรับเสาอากาศ4. วิธีการติดตั้งหลักล่อฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่างๆ5. Remote Earth6. AC Line Surge Protector • ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เข้าใจในกระบวนการออกแบบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าต่อไป

  2. การเกิดฟ้าผ่า "ฟ้าผ่า" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยเริ่มจากการก่อตัวของเมฆฟ้าผ่า (Cumulonimbus Cloud) ที่มีทั้งประจุบวกและลบอยู่ในก้อนเมฆ เมื่อการสะสมประจุมากขึ้นก็ทำให้ศักดาไฟฟ้าระหว่าง ก้อนเมฆกับพื้นดิน การพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุด ที่ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าปริมาณ มหาศาลระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินที่เรียกว่าฟ้าผ่า กระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้คือ

  3. การเกิดฟ้าผ่า 1. เริ่มก่อตัวของประจุไฟฟ้าทั้งประจุบวก (P) และ ประจุลบ (N) ภายใน ก้อนเมฆฟ้าผ่า

  4. 2. การถ่ายเทประจุบวก และ ลบภายในก้อนเมฆ ชั้นต่างๆ โดยชั้นที่ไม่เกิดความ แปรปรวน จะแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกและชั้นที่อยู่ต่ำเกิดความแปรปรวนจะแสดง ศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ และเคลื่อนตัวต่ำลงตามแรงดึงดูดของโลก

  5. 3. ที่ฐานก้อนเมฆแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นลบเคลื่อน ตัวต่ำลงสู่พื้นดินที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกมากกว่า

  6. 4. เมื่อก้อนเมฆเคลื่อนตัวลงต่ำทำให้ความต่างศักย์ระหว่างก้อนเมฆ กับพื้นดินเพิ่มสูงขึ้น

  7. 5. เกิด step leader ขึ้น มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ เคลื่อนที่ลงสู่พื้นดินที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก

  8. 6. เกิด upward streamers ขึ้น มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกเคลื่อนที่ เข้าหา step leader ที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ

  9. 7. step leader เคลื่อนที่ชนกับ upward streamers เกิด lightning channel current ขึ้นและกระแสจะเริ่มไหล

  10. 8. ประจุบวกที่พื้นดินซึ่งมีจำนวนมากเคลื่อนที่ขึ้นสู่ก้อนเมฆที่มีประจุ บวกน้อยกว่าเรียกกระบวนการนี้ว่า return stroke ซึ่งจะมี กระแสไหล

  11. 9. ศักย์ไฟฟ้าบริเวณฐานก้อนเมฆพยายามถ่าย ประจุ เพื่อกลับสู่สภาวะสมดุลเรียกกระบวนการ นี้ว่า J & K phenomena

  12. 10. ศักย์ไฟฟ้าลบที่อยู่สูงกว่า ส่งถ่ายประจุลบมายัง ฐานก้อนเมฆ ซึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้า เป็นบวกมากกว่า เกิดเป็นลำแสงเรียกว่า Dart leader ถ้าการส่งถ่ายยังเหลือศักย์ไฟฟ้าลบอยู่บริเวณฐานก้อน เมฆมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับพื้นดินจะทำให้เกิด ฟ้าผ่าซ้ำได้

  13. จากรูปจะพบว่าขั้นตอนที่ 8 จะมี กระแสฟ้าผ่าไหลสูงสุดซึ่งเหมาะสมที่จะวัดค่ากระแส และนำมากำหนดค่าความต้านทาน ระหว่างแท่งกราวด์กับ remote earth เพื่อใช้ในการออกแบบระบบกราวด์ของระบบล่อฟ้าต่อไป

  14. ความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าแบบต่างๆความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าแบบต่างๆ • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้ามีมากมายแต่ละรูปแบบก็มีชื่อเรียกเฉพาะที่ต่างกันออกไป ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้1. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชั่วพริบตา (Transients)2. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ (Short duration)3. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาค่อนข้างนาน (Long duration)4. แรงดันกระเพื่อม (Voltage fluctuations)5. ความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า (Waveform distortion)6. แรงดันไม่สมดุล (Voltage unbalance)7. ความถี่ไฟฟ้าไม่คงที่ (Power frequency variation)

  15. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชั่วพริบตา (Transients) เป็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณทางไฟฟ้าเช่นแรงดัน, กระแส,ความถี่เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็วมาก แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ1. Impulsive Transient เป็นการเปลี่ยนแปลงของกระแส และ/หรือแรงดันใน ทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้น เช่น ฟ้าผ่าทำให้เกิดกระแสจำนวนมาก แล้ว หายไป เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เสิร์จ (surge)2. Oscillatory Transient  เป็นการเปลี่ยนแปลงของกระแส และ / หรือ แรงดัน ทั้ง2ทิศทาง เช่นการสับคาปาซิเตอร์เข้าในวงจรทำให้เกิดกระแส oscillatory transient ปริมาณมากในชั่วพริบตาแล้วหายไป

  16. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ (Short Duration) • โดยทั่วไปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า (rms) ที่เกิดขึ้นใน • ช่วงเวลาสั้นๆ มี 3 ลักษณะคือ • Interruptionเป็นภาวะแรงดันมีค่าน้อยกว่า 1 pu. เช่น เกิดลัดวงจรไฟฟ้าจนแรงดันในระบบลดลงมากกว่า 90% เป็นเวลาไม่เกิน 1 นาที หลังจากที่ทำการ clear fault แล้วแรงดันไฟฟ้าก็จะกลับคืนเป็นปกติ เรียกอย่างไม่เป็นทางการคือไฟกระพริบ

  17. 2. Sags(Dips)เป็นภาวะแรงดันมีค่าระหว่าง 0.1 - 0.9 pu. เ ช่นมีการเริ่มเดินมอเตอร์ขนาดใหญ่ทำให้แรงดันลดลง 10-90% เป็นเวลาไม่เกิน 1 นาทีแรงดันก็จะกลับมาเป็นปกติ หรือ เกิดการลัดวงจรในสายส่งอื่น ที่มาจากสถานีไฟฟ้าย่อยเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้แรงดันในสายส่งที่ไม่ลัดวงจรลดลงด้วย เรียกอย่างไม่เป็นทางการคือ ไฟกระพริบ 3. Swells เป็นภาวะที่แรงดันหรือกระแสโหลดมีค่าระหว่าง 1.1 - 1.8 pu.เช่นการหยุดเดินมอเตอร์ขนาดใหญ่ หรือการต่อคาปาซิเตอร์ขนาดใหญ่เข้าระบบไฟฟ้า ทำให้แรงดันมีค่าสูงขึ้น 10 - 80% เป็นเวลาไม่เกิน 1 นาที

  18. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาค่อนข้างนาน ( Long Duration) โดยทั่วไปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า (rms) ที่นานกว่า 1 นาที มี 3 ลักษณะคือ 1. Sustained interruption  หมายถึงเกิดไฟฟ้าดับนานเกินกว่า 1 นาที คำศัพท์ที่ไม่เป็นทางการคือ Outage , Black out 2. Undervoltage  หมายถึงเกิดแรงดันตกมากกว่า 10% (0.8 - 0.9 pu.) นานเกินกว่า 1 นาที เช่นการตั้งแท็บของหม้อแปลงไม่ถูกต้อง การเดินเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือการตัดคาปาซิเตอร์ขนาดใหญ่ออกจากระบบไฟฟ้า คำศัพท์ที่ไม่เป็นทางการคือ ไฟตก , Brown out3. Overvoltage  หมายถึงเกิดแรงดันเกินมากกว่า 10% (1.1 - 1.2 pu.) นานเกินกว่า 1 นาที ศัพท์ที่ไม่เป็นทางการคือ ไฟเกิน

  19. แรงดันกระเพื่อม (Voltage fluctuation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า (rms) ที่ไม่เกิน +/- 10% (0.9 - 1.1 pu.) ทั้งแบบเป็นระบบและแบบไม่ต่อเนื่อง บางครั้งเรียกว่า flicker คือไฟกระเพื่อมเช่นการทำงานของเตาหลอมไฟฟ้า (Arc furnace)

  20. ความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า (Waveform distortion) หมายถึงการที่รูปคลื่นทางไฟฟ้า มีความผิดเพี้ยนไป จากรูปคลื่นไซน์สมบูรณ์แบบในสภาวะอยู่ตัว (steady state) มี 5 แบบคือ 1. DC offset หมายถึงระบบไฟฟ้ากระแสสลับ( AC) มีกระแสหรือแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ปะปนมาด้วย โดยอาจเกิดจากการใช้วงจรเรียงกระแสแบบครึ่งลูกคลื่น (Half-wave Rectifier)

  21. 2. Harmonics หมายถึงกระแสหรือแรงดันไฟฟ้าที่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าที่เป็นจำนวนเต็ม ของความถี่มูลฐาน 50 Hz. อาจเป็น 2 เท่า (100Hz.) หรือมากกว่านั้น โดยอาจเกิดจากโหลดที่ไม่เป็นเชิงเส้นเช่น หลอด gas discharge , บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยฮาร์มอนิกจะปนมากับไฟ 50 Hz. ปกติ ซึ่งจะทำให้รูปคลื่นไฟฟ้าผิดเพี้ยนไปจากเดิม

  22. 3. Interharmonic หมายถึงกระแสหรือแรงดันไฟฟ้าที่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ของความถี่มูลฐาน 50 Hz. เช่น 2.5 เท่า หรือ 125 Hz. เป็นต้น โดยอาจเกิดจากเตาหลอมไฟฟ้า (Arc furnace) 4. Notching หมายถึง ความผิดปกติทางแรงดันไฟฟ้าแบบเป็นคาบ ที่เกิดจากคอมมิวเตชั่นของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง เช่น ไทริสเตอร์ไดรว์ โดยทั่วไปมีความถี่สูงมากและตรวจวัดได้ยาก

  23. 5. Noise หมายถึงสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าความถี่สูงในรูปของกระแสและแรงดันจากอุปกรณ์ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์กำลัง หรือเตาหลอมไฟฟ้าที่สามารถรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ได้

  24. แรงดันไม่สมดุล (Voltage unbalance) • โดยทั่วไปมักเกิดจากการใช้โหลดในแต่ละเฟสต่างกันมากเกินไปหรือเกิดจากการที่คาปาซิเตอร์มีฟิวส์ขาดไปบางเฟส

  25. ความถี่ไฟฟ้าไม่คงที่ (Power frequency variation) หมายถึงการที่ความถี่ไฟฟ้าในระบบไม่เท่ากับ 50Hz.อันอาจเกิดจากการลัดวงจรอย่างรุนแรงในระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการตัดโหลดปริมาณมากจากระบบไฟฟ้า จนทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตอบสนองไม่ทัน จนความถี่เปลี่ยนแปลงไป

  26. วัสดุ-อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบล่อฟ้าสำหรับเสาอากาศวัสดุ-อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบล่อฟ้าสำหรับเสาอากาศ • ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของเสาอากาศอาศัยหลักการของระบบล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ และผลจากสภาพของ remote earth ของดิน ในสถานที่ต่างๆ เพื่อมากำหนดรายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์ ดังนี้

  27. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 1. อุปกรณ์ Air Terminal

  28. 2. สายตัวนำลงดิน (Down Lead หรือ Down Conductor)

  29. บริเวณด้านล่างเสาอากาศ ให้เดินสายเชื่อมโยงเป็น ground ring รอบเสาอากาศ 1. สำหรับเสาอากาศแบบ Self Support

  30. 2. สำหรับเสาอากาศแบบ Guy Mast

  31. สาย down lead ที่เดินลงมาให้ต่อกับแท่งกราวด์ของระบบล่อฟ้าดังรูป อุปกรณ์ตรวจจับจำนวนครั้งและขนาดของการเกิดฟ้าผ่า (Lightning counter)

  32. 3. กราวด์ฟ้าผ่า (Lightning ground)

  33. ระบบสายดิน (Grounding System) 1. กราวด์ระบบ (System Ground)

  34. ตัวอย่างการเชื่อมโยงระบบกราวด์เข้าด้วยกันแสดงดังรูป

  35. Master Ground Bar (MGB)

  36. การวัดค่าความต้านทานดินการวัดค่าความต้านทานดิน ในขณะดำเนินการและหลังจากดำเนินการเจาะฝังแท่งกราวด์แล้วเสร็จ จะทำการวัดค่าความต้านทานดินด้วยเครื่องมือ earth tester ที่สามารถวัดค่าได้ละเอียดถึง 0.01 โอห์ม โดยมีขั้นตอนดังนี้     1. ขณะทำการเจาะฝังแท่งกราวด์ จะทำการวัดความต้านทานดินและจดบันทึกไว้ทุกระยะ 3 เมตร จนถึงความลึกที่ระบุไว้ใน ข้อกำหนดของงาน2. หลังจากฝังแท่งกราวด์แล้วเสร็จ จะทำการวัดและจดบันทึกไว้โดยความต้านทานดินที่วัดได้จะทำเป็น Grounding Profile และให้ไว้กับทางหน่วยงาน หมายเหตุ 1. การเชื่อมต่อแท่งกราวด์เพื่อให้ได้ความยาวที่ต้องการ จะเป็นการต่อโดย coupling สำเร็จรูป จากนั้นเชื่อมปิดรอยต่อ ด้วยไฟฟ้าและทาทับด้วยสีกันสนิม2. แท่งกราวด์ของฟ้าผ่าและกราวด์ของระบบ ต้องอยู่ห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแยกออกจากกันทางไฟฟ้าโดยเด็ดขาด

  37. วิธีการติดตั้งหลักล่อฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่างๆวิธีการติดตั้งหลักล่อฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่างๆ 1. เสาล่อฟ้า (air terminal) จำนวนและการติดตั้งเสาล่อฟ้า สามารถแบ่งออกได้ 3 กรณีคือ ก. การติดตั้งกับหลังคาลาดเอียง ข. กรณีของหลังคาแบนราบหรือหลังคาที่มีความลาดเอียงน้อย ค. หลังคาที่มีหลายชั้น 2. สายนำลงดิน (down conductor)

  38. 3. รากสายดิน (earth electrode)

  39. 4. การเชื่อมต่อสายตัวนำกับเสาล่อฟ้า ก. ระบบเชื่อมต้องสามารถ รับกระแสฟ้าผ่าได้เพียงพอ ข. ต้องแข็งแรงไม่แตกหัก หรือ ยึดตัวเนื่องจากแรงต่าง ๆ ค. ทนทานต่อการกัดกร่อน เป็นเวลา นาน

  40. Remote Earth • สภาพ ground plane ของโลกที่มีอยู่ในดินการทำงานของระบบวงจรไฟฟ้าทั่วไปจะอาศัยการเทียบแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่ง (ซึ่งทำหน้าที่อ้างอิงแรงดัน ) เสมอหรือ การเกิดฟ้าผ่าก็เป็นปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าซึ่งสามารถเทียบ แรงดัน ไฟฟ้าได้กับแรงดันไฟฟ้าอ้างอิงดิน จะเห็นว่าทุกๆ วงจรไฟฟ้าต้องใช้กฏเกณฑ์นี้ • กรณีลายวงจรพิมพ์ (วงจรลายปริ๊นซ์) • แล้วเกิดอะไรขึ้น หากไม่มีการ same potential ? • กรณีระบบไฟฟ้า

  41. สภาพของ Remote Earth แสดง remote earth เนื้อดินที่ให้ค่าความนำไฟฟ้าสูงสุด ต่อเชื่อมถึงกันปกคลุมทั่วไปอยู่ใต้ผิวดิน ที่ความลึกระดับหนึ่ง remote earth ทำหน้าที่เป็นจุดต่อร่วมวงจรไฟฟ้า

  42. อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางสายไฟฟ้า(AC Line Surge Protector) • การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าโดยการติดตั้งระบบเสาล่อฟ้าและสายดิน จะสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากความต้านทานดินที่เกิดขึ้นตอนปักแท่งกราวด์ลงในดินอาจระบายศักย์ไฟฟ้าปริมาณมหาศาลไม่ทัน ทำให้มีแรงดันส่วนหนึ่งไหลย้อนเข้าไปในระบบและทำความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จึงต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก เพิ่มเข้าไปในระบบ ซึ่งนอกจากสามารถป้องกันไฟกระโชกจากฟ้าผ่าได้มากขึ้นแล้วยังป้องกันไฟกระโชกอื่นๆ ได้เช่น ไฟกระโชกจากการปลดสับ capacitor bank เป็นต้น

  43. 1. คุณสมบัติทั่วไปของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก 1.1 สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจาก1.1.1 แรงดันไฟฟ้ากระโชก1.1.2 แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ1.1.3 แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากฟ้าผ่าหรือฟ้าแลบ 1.1.4 แรงดันไฟฟ้าสูงฉับพลันที่เกิดจากการ ปิด-เปิด อุปกรณ์ไฟฟ้า กำลังขนาดใหญ่ 1.1.5 แรงดันไฟฟ้าสูงฉับพลันที่เกิดจากการตัด-ต่อ หรือการลัดวงจร ในระบบสายส่งไฟฟ้าเป็นต้น

  44. 1.2 ป้องกันไฟกระโชกได้ 2 ลักษณะคือ 1.2.1 ไฟกระโชกแบบช่วงสั้นหรือ Transient (บางครั้งเรียกว่า surge) เช่น รูปคลื่นมาตรฐาน 8/20 usec. เป็นต้น 1.2.2 ไฟกระโชกแบบช่วงยาวหรือ swell (เป็น surge เช่นกัน) ที่เกิดตามธรรมชาติและในระบบไฟฟ้า 50 Hz. เช่นการปลดสับ capacitor bank เป็นต้น

  45. 1.3 มีความสามารถในการควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำส่วนที่เกินขึ้นไปให้มีค่าคงที่ โดยดูดกลืนพลังงานเหนี่ยวนำ ที่เข้ามาทางระบบไฟฟ้าเข้าไว้ภายในตัวมันเองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งส่งถ่ายพลังงานเหนี่ยวนำ ไปลงที่ระบบดิน จนทำให้เกิด ความปลอดภัย 1.4 ใช้ MOV (Metal Oxide Varistor) เป็นตัวรับไฟกระโชก ซึ่งปกติจะมีความต้านทานสูงมาก แต่ความต้านทานของมัน จะลดลงเมื่อได้รับแรงดันมากขึ้น ทำให้สามารถระบายแรงดันส่วนเกินลงดินได้ ลักษณะของ MOV แสดงดังรูป

  46. 1.5 สามารถนำมาติดตั้งป้องกันโหลดได้ทันที โดยไม่ต้องคำนึงถึง จำนวนกระแสไฟฟ้าของโหลด โดยการต่อขนานเข้ากับระบบ ซึ่งไม่มีผลกระทบใดๆ กับโหลดต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ รวมถึงโหลดที่จะขยายเพิ่มในอนาคต1.6 ถ้าอุปกรณ์นี้ชำรุด โหลดต่างๆ ยังสามารถทำงานต่อไปได้ตามปกติ เพียงแต่ขณะนั้น ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ากระโชกป้องกันอยู่เท่านั้น

  47. 2. การติดตั้ง2.1 การต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า 1 เฟส220 V, 50 Hz. 2.2 การต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 380/220 V, 50 Hz.

  48. วิทยากร 1. นาย สินชัย อนันตปรีชา 01-9292693 2. นาย ชัยมงคล คำสุม 01-8735541 ขอขอบคุณข้อมูลจาก สภาวิศวกร NECTEC องค์การโทรศัพท์ บริษัท ชมสาครวิศวกรรม จำกัด 130/82 ซ.เรวดี 30 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000 Tel : 02-5881557 , 02-9517419-0 Fax 02-9517330

More Related