1 / 27

ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547

ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547. คณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี โครงการยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21, สกว. ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 มีนาคม 2554. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงภาคใต้ 2554-2547 : เป้าหมาย.

Télécharger la présentation

ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547 คณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี โครงการยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21, สกว. ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 มีนาคม 2554

  2. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงภาคใต้ 2554-2547: เป้าหมาย • มุ่งทบทวนกรอบคิดสำคัญเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี • พิเคราะห์ วิธีคิดเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของ “อำนาจรัฐ” • ปัญหาการสถาปนาอำนาจรัฐให้เข้มแข็งในแง่มุมของสันติวิธีภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรง

  3. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงภาคใต้ 2554-2547:thesis • การสถาปนาอำนาจรัฐและเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐในมุมมองของสันติวิธีเป็นการพยายามสร้างดุลยภาพระหว่างความมั่นคงของรัฐบนฐานความเข้มแข็งของสังคม • โดยถือว่าอำนาจรัฐวางอยู่บนสัมพันธภาพที่มั่นคงระหว่างรัฐกับประชาชนบนฐานของความมั่นใจในกันและกัน

  4. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงภาคใต้ 2554-2547:3 ขั้นตอนการเสนอ • สถานการณ์ในปัจจุบัน • แนวโน้มสถานการณ์ที่สำคัญและข้อสังเกตเกี่ยวกับ โอกาสของสันติวิธี • ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สันติวิธี

  5. สถานการณ์ความรุนแรง มกราคม 2547-กุมภาพันธ์ 2554 • มีเหตุการณ์ความไม่สงบรวม 10,660 ครั้ง ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตาย จำนวน 12,126 ราย • ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 4,621 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 7,505 ราย • ร้อยละ 59.03 (2,728 ราย) ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่อีกร้อยละ 38.20 (1,765 ราย) เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ • ผู้ได้รับบาดเจ็บ ร้อยละ 60.12 (4,512 ราย) เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และอีกร้อยละ 32.88 (2,468 ราย) เป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

  6. คำถาม? • วิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของภาครัฐใน 7 ปีที่ผ่านมาทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นหรือไม่?

  7. เปรียบเทียบจำนวนพื้นที่สีแดงหรือ “หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข” จากฐานข้อมูล 2 ช่วงเวลา (เดือนกรกฎาคม 2552 และเดือนตุลาคม 2553) และการเปรียบเทียบที่ตั้งของหมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุขและพื้นที่ที่มีเหตุรุนแรงและไม่มีความรุนแรง

  8. เปรียบเทียบจำนวนพื้นที่สีแดงหรือ “หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข” จากฐานข้อมูล 2 ช่วงเวลา (เดือนกรกฎาคม 2552 และเดือนตุลาคม 2553) และการเปรียบเทียบที่ตั้งของหมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุขและพื้นที่ที่มีเหตุรุนแรงและไม่มีเหตุรุนแรง

  9. หมู่บ้าน”สีแดง”ที่ไม่มีเหตุรุนแรงหมู่บ้าน”สีแดง”ที่ไม่มีเหตุรุนแรง • กรกฎาคม 2552 มีหมู่บ้านที่ไม่เคยเกิดเหตุ 30 หมู่บ้าน หรือราวร้อยละ 13.64 ของจำนวนหมู่บ้านในบัญชีทั้งหมด • ตุลาคม 2553 พบหมู่บ้านในลักษณะเดียวกัน 38 หมู่บ้าน หรือราวร้อยละ 17.51 ของจำนวนหมู่บ้านในบัญชีทั้งหมด

  10. คำถามทางยุทธศาสตร์? • ความเข้มแข็งของรัฐ=การขยายพื้นที่สีแดง?/การลดพื้นที่สีแดง? • การขยายพื้นที่สีแดง=การมีสถานะพิเศษที่ต้องได้รับการจัดการเป็นพิเศษเช่นด้วยกฎหมายพิเศษ กองกำลังพิเศษ อาศัยอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างเพิ่มขึ้นด้วยทรัพยากรพิเศษ? • การลดพื้นที่สีแดง=การมีสถานะปรกติที่มีการจัดการตามปรกติด้วยทรัพยากรปรกติ และกฎหมายปรกติ • ความเข้มแข็งของรัฐ=?

  11. แนวโน้มสถานการณ์ที่สำคัญและโอกาสของสันติวิธีแนวโน้มสถานการณ์ที่สำคัญและโอกาสของสันติวิธี • การขยายตัวของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธถูกกฎหมาย • การเสริมสร้างบทบาทของฝ่ายพลเรือน • การพูดคุยเพื่อสันติภาพ • การแสวงหาทางเลือกทางการเมืองการปกครอง

  12. การขยายตัวของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธถูกกฎหมายการขยายตัวของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธถูกกฎหมาย • จำนวนทหารพรานในเดือนตุลาคม 2551 มีอยู่ราว 9,000 คน • อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีจำนวน 3,299 คน • ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทยและมีประจำอยู่ในทุกหมู่บ้าน รวมทั้งหมดมีจำนวนราว 60,000 คน • ราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) มีจำนวน 24,763 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีสมาชิกเป็นชาวพุทธ • กลุ่มรวมไทย-กลุ่มชาวพุทธติดอาวุธตนเอง 8,000 คน

  13. การขยายตัวของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธถูกกฎหมาย 1: บทเรียนจากต่างประเทศ • บั่นทอนและทำลายกระบวนการสร้างสันติภาพ • การบังคับบัญชาสั่งการกองกำลังพลเรือนเช่นนี้ทำได้ยาก • ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มเลวร้ายขึ้น • เมื่อความขัดแย้งที่ถึงตาย (deadly conflict)ยุติลงการปลดอาวุธในมือของพลเรือนเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก

  14. การขยายตัวของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธถูกกฎหมาย 2: อุปสรรคต่อความเข้มแข็งของรัฐไทย • การหมุนเวียนของอาวุธปืนอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างชุมชนต่างศาสนาวัฒนธรรมยิ่งขึ้น • การแบ่งขั้วเชิงชาติพันธุ์เข้มข้นยิ่งขึ้น • โอกาสใช้อาวุธในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยตนเองเพิ่มขึ้น

  15. การเสริมสร้างบทบาทของฝ่ายพลเรือน 1:สัญญาณบวกจาก ศอบต.ใหม่ • มาตรา 4: นโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมาจากความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน • มาตราที่ 19: ให้มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอำนาจให้คำปรึกษา เสนอแนะ ร่วมมือและประสานงานกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตลอดจนตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของ ศอ.บต. นอกจากนี้ ยังมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริง ข้อมูลข่าวสาร และข้อคิดเห็นจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการทำงาน รวมถึงพิจารณาเรื่องร้องเรียนของประชาชนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม

  16. การเสริมสร้างบทบาทของฝ่ายพลเรือน 2: ข้อพิจารณาความเข้มแข็งของรัฐไทย • บทบาทของประชาชนในพื้นที่ การใช้อำนาจรัฐ กับความเข้มแข็งและอ่อนแอของอำนาจรัฐ • การสถาปนาสภาที่ปรึกษาฯศอบต.คือการสร้างพื้นที่ทางการเมืองที่ปลอดภัยสำหรับเสียงที่แตกต่างอย่างแท้จริง • การคัดเลือกสมาชิกสภาฯ การมีส่วนร่วมของประชาชน และปัญหาความชอบธรรมในการปกครองของรัฐ

  17. การพูดคุยเพื่อสันติภาพ 1 • การพูดคุยเพื่อสันติภาพ ไม่ใช่เพียงการเจรจาต่อรอง • การพูดคุยเพื่อสันติภาพ กับปัญหาความชอบธรรมของฝ่ายที่ร่วมพูดคุย

  18. การพูดคุยเพื่อสันติภาพ 2 • การพูดคุยเพื่อสันติภาพอย่างเป็นทางการ? • การพูดคุยเพื่อสันติภาพโดยมี”คนกลาง” • การพูดคุยเพื่อสันติภาพกับการสร้างบรรยากาศสันติภาพ • ยุทธศาสตร์การพูดคุยเพื่อสันติภาพ: เอกภาพของทิศทาง-ความหลากหลายของช่องทาง • การพูดคุยเพื่อสันติภาพในฐานะบททดสอบความเข้มแข็งของรัฐ: มีแต่รัฐที่เข้มแข็งมั่นคงเท่านั้นจึงจะพร้อมนั่งลงพูดคุยกับผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองการปกครองด้วยความมั่นใจในตนเอง

  19. การแสวงหาทางเลือกทางการเมืองการปกครองการแสวงหาทางเลือกทางการเมืองการปกครอง • ข้อสรุป1: ประเด็นเรื่องเขตปกครองพิเศษสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคมไทยดูจะได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะมากขึ้นแล้ว • ข้อสรุป2: มีการศึกษาถึงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เหมาะสมสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการรวบรวมประสบการณ์จากต่างประเทศ • ข้อสรุป3:ไม่มีการศึกษาเรื่องความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์-ศาสนาชิ้นใดเห็นว่าการใช้มาตรการรุนแรงทางทหารจะนำไปสู่ข้อยุติของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างยั่งยืน

  20. ข้อเสนอทางเลือกทางการเมืองการปกครองข้อเสนอทางเลือกทางการเมืองการปกครอง • แนวทางการพัฒนากระบวนการประชาธิปไตย • การปรับและ/หรือจัดตั้งโครงสร้างสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชน • แนวคิดเรื่องเขตปกครองพิเศษในฐานะทางออกสำหรับ “ความขัดแย้งรุนแรงทางชาติพันธุ์” อย่างสันติและยั่งยืน

  21. ข้อเสนอทางเลือกทางการเมืองการปกครอง: ปัญหาและข้อถกเถียง • การให้ความหมาย “เขตปกครองพิเศษ” ในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้งและบริบทของสังคมไทย • ตำแหน่งแห่งที่ของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง • เสถียรภาพของโครงสร้างทางการเมืองการปกครองแบบใหม่กับความสามารถในการจัดการตนเอง • ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองกับการยุติความรุนแรง

  22. ทำไมต้องคิดเรื่องยุทธศาสตร์สันติวิธี(เวลานี้)?ทำไมต้องคิดเรื่องยุทธศาสตร์สันติวิธี(เวลานี้)?

  23. อ่านตารางเปรียบเทียบจำนวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบ จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตาย และค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายต่อเหตุการณ์เฉพาะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ นับตั้งแต่ปี 2547-2554 • สองเดือนแรกของปี 2554 มีผู้บาดเจ็บล้มตายเฉลี่ยสูงกว่าสองเดือนแรกของทุกปีตั้งแต่ปี 2547 • เมื่อเทียบจำนวนคนเจ็บคนตายในช่วงสองเดือนแรกของปี 2554 มากกว่าจำนวนคนเจ็บคนตายในช่วงสองเดือนแรกตั้งแต่ปี 2551 • เมื่อเทียบจำนวนคนเจ็บคนตายในช่วงสองเดือนแรกของปี 2554 มากกว่าจำนวนคนเจ็บคนตายในช่วงสองเดือนแรกของปี 2547 ถึงสองเท่า

  24. เงื่อนไขที่เอื้อต่อความสำเร็จของสัญญาณเชิงบวกกับการแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้ง (conflict transformation) • หัวใจของความสำเร็จของยุทธศาสตร์สันติวิธีอยู่ที่ความเข้าใจใหม่ต่อมโนทัศน์เรื่อง”อำนาจ”และ”ความเข้มแข็งของรัฐ” • ภาวะผู้นำ(leadership)และความกล้าในการตัดสินใจทางการเมือง • หน่วยงานกลางที่เป็นอิสระในการติดตามความก้าวหน้าทางยุทธศาสตร์ชาติ • ระดับความเข้มแข็งของภาคสังคมกับศักยภาพในการถักทอสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่แตกต่างในบริบทความรุนแรง

  25. ยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงภาคใต้ 2554-? • การสถาปนาอำนาจรัฐและเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐในมุมมองของสันติวิธีเป็นการพยายามสร้างดุลยภาพระหว่างความมั่นคงของรัฐบนฐานความเข้มแข็งของสังคม • ข้อเสนอให้พยายามจำกัดอาวุธปืนในมือพลเรือน, พยายามเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมกันตั้งต้นออกแบบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยของพวกเขา, ความพยายามในการสรรหาช่องทางการพูดคุยเพื่อยุติความรุนแรง, ตลอดจนการเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงหรือแม้แต่ร่วมผลักดันให้สถาปนาสถาบันทางการเมืองขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่, ล้วนสะท้อนสถานะของรัฐที่เข้มแข็ง • เพราะแนวทางเหล่านี้ล้วนเอื้อต่อสัมพันธภาพที่มั่นคงระหว่างรัฐกับประชาชนบนฐานของความมั่นใจในกันและกัน

More Related