1 / 27

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการ. โดย นางสาว ภวัน ตรี ศรีดาดิษฐ์ สาขาการสอนคณิตศาสตร์. จิตวิทยาพัฒนาการ. แหล่งศึกษาความรู้. สะท้อนผลการเรียนรู้. ความรู้ที่ได้. แหล่งศึกษาความรู้. หนังสือ 1. พื้นฐานกระบวนทัศน์ทางการศึกษา. 2. จิตวิทยาการศึกษา. ความรู้ที่ได้รับ. 1. จิตวิทยา 2. พัฒนาการ 4 ด้าน

knox-abbott
Télécharger la présentation

จิตวิทยาพัฒนาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จิตวิทยาพัฒนาการ โดย นางสาวภวันตรี ศรีดาดิษฐ์ สาขาการสอนคณิตศาสตร์

  2. จิตวิทยาพัฒนาการ แหล่งศึกษาความรู้ สะท้อนผลการเรียนรู้ ความรู้ที่ได้

  3. แหล่งศึกษาความรู้ หนังสือ 1. พื้นฐานกระบวนทัศน์ทางการศึกษา. 2. จิตวิทยาการศึกษา

  4. ความรู้ที่ได้รับ 1. จิตวิทยา 2. พัฒนาการ 4 ด้าน - ด้านร่างกาย - ด้านปัญญา - ด้านจิตสังคม - ด้านจริยธรรม 3. การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพัฒนาการ

  5. Content ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา (Psychology) พัฒนาการ (Development) ด้านร่างกาย (Physical Development ด้านปัญญา (Cognitive Development) ด้านจิตสังคม(Psychosocial Development) ด้านจริยธรรม (Moral Development)

  6. จิตวิทยา (Psychology) จิตวิทยา (Psychology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึง ลมหายใจของชีวิต (Breath of Life) หรือ จิต (Mind) และ Logos หมายถึง ความรู้ (Knowledge) หรือ การศึกษา (Study) Psychology จึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับจิต (the study of mind) (Benson 1998)

  7. พัฒนาการ (Development) พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลของบุคคล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆ มีแบบแผนอย่างต่อเนื่อง และปรากฏอยู่อย่างถาวร “ ครูจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการในทุกๆ ด้านที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียน ”

  8. พัฒนาการ (Development) พัฒนาการแบ่งออกเป็นด้าน ๆ ได้ ดังนี้ 1. ด้านร่างกาย (Physical Development 2. ด้านปัญญา (Cognitive Development) 3. ด้านจิตสังคม (Psychosocial Development) 4. ด้านจริยธรรม (Moral Development)

  9. พัฒนาการทางร่างกาย (PhysicalDevelopment) แบ่งเป็น 3 ช่วงวัย คือ 1) เด็กระดับปฐมวัย (3 – 6 ปี) 2) เด็กระดับประถมศึกษา (6 – 12 ปี) 3) เด็กระดับมัธยมศึกษา (12 – 17 ปี)

  10. พัฒนาการทางร่างกาย – ปฐมวัย ร่างกาย : เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก การเพิ่มของความสูงและน้ำหนัก สมอง : เด็กวัย 5 ปี จะมีน้ำหนักสมองเป็น 90% ของเมื่อเป็นผู้ใหญ่ สายตา : เด็กเล็กกว่า 5-6 ปี มีสายตายาว การอ่านและเคลื่อนไหวสายตาอาจเป็นไปได้ช้า

  11. พัฒนาการทางร่างกาย – ปฐมวัย การจัดการศึกษา : เน้นกล้ามเนื้อ เช่นเลนดินสอเทียน ระบายสี ฉีกกระดาษ ปั้นดินน้ำมันเด็กที่ถนัดซ้ายหากถูกบังคับให้เปลี่ยนอาจเกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ ไม่ควรให้เด็กจ้องตัวหนังสือใกล้ๆ เล็ก หรือเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก และพัฒนาแต่ละคนตามความเหมาะสมและความต้องการของเขา หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ

  12. พัฒนาการทางร่างกาย – ประถมศึกษา ร่างกาย : เด็กหญิงจะเริ่มโตทัน และอาจโตกว่าเด็กชาย มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อ และสรีระ สายตา : เด็กก่อน 8 ขวบ ยังมีพัฒนาการทางสายตาไม่สมบูรณ์นัก การจัดการศึกษา : ควรเน้นทักษะ เช่น การทรงตัว การวิ่ง กระโดด การขว้าง เป็นต้น การจัดให้เลนเกมควรให้เกิดความยุติธรรมทางสรีระ เด็กต้องการพักผ่อน และมีสมาธิไม่ยาวนัก จึงควรจัดกิจกรรมเป็นช่วงสั้น

  13. พัฒนาการทางร่างกาย – มัธยมศึกษา ร่างกาย : เจริญเติบโตเกือบสมบูรณ์ เด็กชายสวนใหญ่จะแข็งแรงความเด็กหญิง อวัยวะสืบพันธ์เจริญเติบโตเต็มที่ เด็กจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการศึกษา : ไม่ควรจัดกิจกรรมที่เน้นความแตกต่างของร่างกายมากเกินไป เน้นการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี สนับสนุนการพัฒนาบุคลิกภาพ

  14. พัฒนาการทางปัญญา (CognitiveDevelopment) เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการรู้ภาษา การจำ การใช้เหตุผล ความสามารถในการคิด ในช่วงปฐมวัย จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านภาษา เมื่อเข้าสูวัยเด็กจะมีการพัฒนาด้านการจำและทักษะ Metacognition เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะพัฒนาด้านสมมุติฐาน (salavin, 2009)

  15. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา 1. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของเพียเจต์ (Jean Piaget) “เด็กไม่ได้ “โง่” เพราะขาดข้อมูล เพียงแต่คิดและใช้หลักตรรกะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่” 2. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของบรูเนอร์(Jarome S. Bruner) “บุคคลเลือกรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และเลือกเรียนรู้ผ่านกระบวนการค้นพบ (Discovery Learning)”

  16. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Piaget พัฒนาการของเด็กเป็นไปตาม 1) ระดับวุฒิภาวะ (Maturation) 2) การสะสมการเรียนรู้ (Learning) 3) การผสมผสานระหว่างทฤษฎีวุฒิภาวะ (MaturationTheory) กับ ทฤษฎีการสะสมการเรียนรู้ (LearningTheory)

  17. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Piaget มีประเด็นสำคัญต่อไปนี้ 1. โครงสร้างความรู้ (Schema) 1.1 การปรับเข้าโครงสร้าง 1.2 การขยายโครงสร้าง

  18. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Piaget 2. ทฤษฎีขั้นพัฒนาการ (Stage Theory) เกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญา 4 ขั้น ขั้นที่ 1 (0-2 ปี) เรียนรู้ผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหว ขั้นที่ 2 (2-7 ปี) เลียนแบบพฤติกรรม ภาษา เล่นสมมุติ วาดรูปจากสิ่งที่คิด จินตนาการ มีการรับรู้แบบมุ่งสู่ศูนย์กลาง เพ่งความสนใจได้ทีละอย่าง ขั้นที่ 3 (7-11 ปี) สามารถคิดย้อนกลับได้ อนุรักษ์พื้นที่ จัดกลุ่มหรือแบ่งหมู่ จัดลำดับสิ่งของ ขั้นที่ 4 (11 ขึ้นไป) สามารถคิดเหตุผลแบบอนุมานเชิงสถิติ คิดจากข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้

  19. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Bruner มีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. หลักของโครงสร้าง (Structure) 2. การจูงใจ (Motivation) 3. ลำดับขั้น (Sequence) 4. การเสริมแรง (Reinforcement)

  20. พัฒนาการทางจิตสังคม(PsychosocialDevelopment)พัฒนาการทางจิตสังคม(PsychosocialDevelopment) อีริก อีริกสัน (Erik Erikson) เสนอแนวคิดการพัฒนาทางจิตสังคมตามแนวคิดของซิกมัน ฟรอยด์ ว่า พัฒนาการในแต่ละลำดับขั้นจะมีลักษณะเป็นปมขัดแย้งซึ่งเป็นวิกฤติทางจิตสังคม (Psychosocial Crisis)ที่บุคคลจะต้องเผชิญ ซึ่งหากสามารถผ่านปมจัดแย้งแต่ละปมอย่างน่าพอใจ ก็จะได้เผชิญหน้ากับบทท้าทายใหม่ ๆ แต่ถ้าไม่สามรถผ่านปมขัดแย้งได้อย่างสมบูรณ์ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤตินั้นต่อไป

  21. ขั้นพัฒนาการทางจิตสังคมขั้นพัฒนาการทางจิตสังคม 1. ความรู้สึกไว้วางใจ – ความไมไว้วางใจ (0-18 เดือน) 2. ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง – ความอายและเคลือบแคลงสงสัย (18 เดือน – 3 ปี) 3. ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด (3 - 6 ปี) 4. ความอุตสาหะ ภาคเพียร – ความรู้สึกด้อย (6 - 12 ปี) 5. ความมีเอกลักษณ์ – ความสับสนในบทบาท (12 - 18 ปี) 6. ความรู้สึกผูกพัน – ความโดดเดี่ยว (18 - 35 ปี) 7. ความเป็นหลักให้ผู้อื่น เป็นผู้ให้ – ความเฉื่อยชา (35 - 65 ปี) 8. ความรู้สึกสมบูรณ์และสมหวังในชีวิต – ความรู้สึกสิ้นหวัง (65 ปีขึ้นไป)

  22. การนำไปใช้จัดการศึกษา (มัธยม) 1. ครูควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาททางเพศที่เหมาะสม 2. ครูควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพที่หลากหลาย 3. ครูควรป้องกันการสร้างเอกลักษณ์เชิงลบ (Negative identity) 4. ครูต้องอดทนตอพฤติกรรมของวัยรุ่น 5. ครูควรมีการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับตัวเด็ก เพื่อให้เขาเข้าใจตนเอง เห็นจุดเด่น จุดด้อย 6. ครูควรมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก

  23. พัฒนาการทางจริยธรรม(Moral Development) โคล์เบิร์ก (Kohlberg) ได้พัฒนาแนวความคิดของเพียร์เจต์ (Piaget) การพัฒนาการทางจริยธรรม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ระดับละ 2 ขั้น รวมเป็น 6 ขั้น ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมของตนเอง (Pre-conventional Level) ระดับที่ 2 ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม (Conventional Level) ระดับที่ 3ระดับมีจริยธรรมตามวิจารณญาณหรือ เหนือกฎเกณฑ์ของสังคม (Postconventional Morality)

  24. พัฒนาการทางจริยธรรม

  25. การนำไปใช้ประโยชน์ 1. การสอน - ทราบพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ 2. การวางแผนทำงานวิจัย - เลือกใช้รูปแบบ และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของนักเรียน

  26. เอกสารอ้างอิง คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พื้นฐานกระบวนทัศน์ทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์, 2555. สุรวงค์โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่11.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

  27. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

More Related