1 / 3

โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. ความเป็นมา.

Télécharger la présentation

โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ความเป็นมา อ่างเก็บน้ำห้วยไฟอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2525 เป็นเขื่อนดินสูง 14 เมตร ความจุเก็บกักน้ำ 700,000 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ไดรับประโยชน์ 3,000 ไร่ และได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นตามรูปแบบของกรมชลประทาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532 หมายเลขทะเบียน 270304-32-20-0035 ปี พ.ศ.2549 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้จัดประกวดคัดเลือกผลงานการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี โดยมีกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ ได้รับรางวัลชนะเลิศในเขตภาคเหนือและได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับทราบว่า เกษตรกรบ้านทุ่งกระเทียม ได้ประสบกับปัญหาราคาผลผลิตกระเทียมตกต่ำ จึงทรงพระราชทานพระราชกระแสให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคากระเทียมตกต่ำให้กับราษฎรบ้านทุ่งกระเทียม สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชดำริ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2550 พื้นที่ 57-1-36 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้แก่ เกษตรกร โดย ส.ป.ก. ได้เข้าร่วมดำเนินงานโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ.2552 ในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างแปลงต้นแบบการเกษตรสำหรับการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรบ้านทุ่งกระเทียม ทิศทางการดำเนินงาน - พัฒนาองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรมศึกษาดูงานในพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จ - เกษตรกรได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในแปลงสาธิต - เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิต เพื่อดำเนินกิจกรรมเกษตร ผสมผสานในแปลงของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายตามแนว ทางเศรษฐกิจพอเพียง

  2. วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดรูปแบบการผลิตทางการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - สร้างแปลงต้นแบบการเกษตรสำหรับการเรียนรู้ โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีเป็นหลัก กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา จำนวน 70 ราย พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งกระเทียม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เนื้อที่จำนวน 57 ไร่ส.ป.ก. รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชหลังนา องค์ความรู้การจัดการ - จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อเกษตรกรได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นแปลงต้นแบบ เน้นการทำเกษตรรูปแบบเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก - แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการขุดสระน้ำเพื่อการเกษตรขนาด 1,260 ลบ.ม. ให้แก่เกษตรกรเพื่อเลี้ยงปลา ปลูกผัก สำหรับบริโภคในครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง - ศึกษา ดูงาน ด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต

  3. ผลการดำเนินงาน (ปี 2552 – 2554)  จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชหลังนา เนื้อที่ 1 ไร่ พัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตจำนวน 302 ราย (เกษตรกร 1 ราย อบรมมากกว่า 1หลักสูตร)  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สระน้ำเพื่อการเกษตร ขนาด 1,260 ลบ.ม. 30 แห่ง ผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับ •  เกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักชนิดต่างๆ จากการปฏิบัติจริงในแปลงรวม ก่อนตัดสินใจนำไปปลูกในแปลงของตนเองเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก •  เกษตรกรมีสุขภาวะของชีวิตที่ดีขึ้นไม่เจ็บป่วยไข้ เนื่องจากทำเกษตรอินทรีย์และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสารเคมีทุกชนิด • เกิดความสมดุลในแปลงเกษตรกรรมที่ทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะระบบนิเวศวิทยา ทำให้เกิดความหลากหลาย ทางชีวภาพของระบบพืช, สัตว์ และสิ่งแวดล้อม • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนกับเกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ •  เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในชุมชนจะมีความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน เนื่องจากทำการเกษตรอินทรีย์ที่มี ความปลอดภัยและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อมด้วยการ ดูแลและเอาใจใส่ต่อการผลิตทั้งระบบ แผลการดำเนินงาน ปี 2555 งบประมาณ 926,200 บาท จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกผัก เพื่อเกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักหลายชนิด เป็นการตัดสินใจนำไปปลูกในแปลงของตนเอง  พัฒนาองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ตามความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนวัสดุการเกษตร 100 ราย  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - ก่อสร้างถนนสายสันป่าก๋อย ระยะทาง 0.675 ก.ม.

More Related