1 / 28

ระบบกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ : การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจด้านการบิน

ระบบกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ : การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจด้านการบิน. ดร. เสรี นนทสูติ ที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 มกราคม 2553. หัวข้อการบรรยาย. ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจต่อระบบเศรษฐกิจ

lavonne
Télécharger la présentation

ระบบกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ : การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจด้านการบิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ: การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจด้านการบิน ดร. เสรี นนทสูติที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย15 มกราคม 2553

  2. หัวข้อการบรรยาย • ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจต่อระบบเศรษฐกิจ • ความหมายและประเภทของรัฐวิสาหกิจ • ระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจ • กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงาน • กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน • กฎหมายเกี่ยวกับบุคลากร • ระบบการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ • การยกเว้น/ผ่อนคลายกฎระเบียบให้กับรัฐวิสาหกิจ • รัฐวิสาหกิจกับรัฐธรรมนูญ • ปัญหาระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจ • ข้อมูลรัฐวิสาหกิจด้านการบิน

  3. ประเภทของรัฐวิสาหกิจ • จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ • จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 • จัดตั้งตามกฎหมายเอกชน (บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด) • หน่วยงานธุรกิจของรัฐหรือของรัฐบาล • บริษัทที่แปลงสภาพตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 • หน่วยงานธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังกำกับดูแล • สถาบันการเงินที่รัฐเข้าแทรกแซง • รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทลูก • รัฐวิสาหกิจที่เป็นโดยนิติเหตุ • หน่วยงานของรัฐที่เป็นรัฐวิสาหกิจ

  4. ตัวอย่างคำนิยามที่เกี่ยวข้อง “รัฐวิสาหกิจ” • พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 • พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 • พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน พ.ศ. 2518 • พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 • พรบ. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 • พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 • พรบ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 • พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542

  5. พรบ.วิธีงบประมาณ /พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ / พรบ. เอกชนเข้าร่วมงาน / พรบ. ตรวจเงินแผ่นดิน / สคร. โครงสร้างนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามกฎหมายต่างๆ พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ 1. รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐ รัฐ รัฐ รัฐ รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) ถือรวม > 50% บริษัทลูก บริษัทลูก บริษัทลูก บริษัทลูก ถือรวม > 50% บริษัทหลาน บริษัทหลาน บริษัทหลาน บริษัทหลาน ถือรวม > 50% บริษัทเหลน พรบ. สภาพัฒน์ฯ, พรบ. การบริหารหนี้ฯ รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐ รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐ รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐ รัฐ ถือรวม > 50% รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) ถือ > 50% ถือรวม > 50% รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน) ถือรวม > 50%* บริษัทลูก ถือรวม > 50% หมายเหตุ * พรบ. การบริหารหนี้ฯ นับรวมเฉพาะทุนตามสัดส่วนที่เป็นของหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ถือรวม > 66.7% บริษัทลูก พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ถือรวม > 50% รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. จัดตั้งเฉพาะ) รัฐ ถือรวม > 50% ถือรวม > 50% รัฐวิสาหกิจแม่ (กม. แพ่ง หรือ กม. มหาชน)

  6. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า (ก) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละห้าสิบ (ค) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ / หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ (ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ค) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ (จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ง) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) และ/หรือ (ค) มีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละห้าสิบ

  7. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและหมายความ รวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่เป็นเจ้าของ แต่ไม่รวมถึงองค์การหรือกิจการ ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อสงเคราะห์หรือส่งเสริมการใด ๆ ที่มิใช่ธุรกิจ (2) บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือ ทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าและหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุน รวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ หรือ (3) บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือ ทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า และหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) และ/หรือ (2) มีทุนรวมอยู่ด้วยถึงสองในสาม

  8. พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 6 “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความ รวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวง การเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

  9. พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521มาตรา 4 • “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า • องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ • บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม และหรือรัฐวิสาหกิจตาม (๑) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หรือ • (๓) บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม และหรือรัฐวิสาหกิจตาม (๑) และหรือ (๒) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

  10. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 4 • “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า • องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ • บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ • (ค) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจตาม (ก) หรือ (ข) หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ โดยให้คำนวณเฉพาะทุนตามสัดส่วนที่เป็นของหน่วยงานของรัฐเท่านั้น

  11. พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 มาตรา ๕ เมื่อรัฐบาลมีแผนงานหรือนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ และมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่แตกต่างไปจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ กิจการอันเป็นบริการสาธารณะที่จะจัดตั้งองค์การมหาชนตามวรรคหนึ่ง ได้แก่การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การศึกษาอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การอำนวยบริการแก่ประชาชน หรือการดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ โดยต้องไม่เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเป็นหลัก

  12. ระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจ • พรบ. ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 • พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2539 • พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 • พรบ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 • พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 • พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 • พรฎ. ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 • ระเบียบว่าด้วยพัสดุ • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2546 • พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535* • พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535* • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์* • พรบ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พุทธศักราช 2499* • พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 • พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 • พรบ. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 • ระเบียบว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2520 • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจำหน่ายหุ้นและซื้อหุ้นของส่วนราชการ พ.ศ. 2535 • ประมวลรัษฎากร* • พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 • พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 • พรบ. ประกอบฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 • พรบ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 • พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2539 • พรบ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 • พรบ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 • พรบ. บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 การดำเนินงาน การเงิน บุคลากร * สำหรับรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด

  13. ตัวอย่างมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจตัวอย่างมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการสรรหา กำหนดคุณสมบัติและค่าตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจำหน่ายโบนัสกรรมการและพนักงาน • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัสดุ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อพัสดุที่ผลิตในประเทศ • มติคณะรัฐมนตรีที่ยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป • มติคณะรัฐมนตรีที่ให้รัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินได้เองตามมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนารัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาติดตามคู่สมรสของพนักงานรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้รัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกู้และการใช้เงินกู้จากต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ • มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารหลักทรัพย์

  14. ระบบการกำกับดูแล คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเฉพาะ (เช่น กนร. กนท. กพช.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง • ดูแลการเงินการบัญชี • การนำส่งรายได้แผ่นดิน • การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • การจัดการกำกับดูแลที่ดี • การตรวจสอบภายใน • เสนอความเห็นการกู้เงินและอนุมัติกู้เงิน/ค้ำประกันเงินกู้ • การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ • พิจารณางบลงทุน สำนักงบประมาณ • จัดสรรเงินอุดหนุน กระทรวงแรงงาน (ครส.) กระทรวงเจ้าสังกัด • สวัสดิการและผลประโยชน์ของพนักงาน • กำหนดนโยบายการบริหารงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด • การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน • ตรวจสอบบัญชี คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการรายสาขา (เช่น กทช. กสช. ) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

  15. การยกเว้น/ผ่อนคลายกฎระเบียบให้กับรัฐวิสาหกิจการยกเว้น/ผ่อนคลายกฎระเบียบให้กับรัฐวิสาหกิจ • เนื่องจากไม่เข้าข่ายเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ตามกฎหมายหรือระเบียบนั้นๆ • เปรียบเทียบนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ • ได้รับยกเว้นตามนิยามของกฎหมายหรือระเบียบนั้นๆ เช่น นิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” • ตามกฎหมายคุณสมบัติมาตรฐาน (“...แต่ไม่รวมถึงองค์การหรือกิจการที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อสงเคราะห์หรือส่งเสริมการใด ๆ ที่มิใช่ธุรกิจ”) • ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 หมายถึง “รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณซึ่งไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น” • กฎหมายจัดตั้งกำหนดไม่ให้ถือว่าเป็น “รัฐวิสาหกิจ” เช่น • มาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 กำหนดว่า “ให้จัดตั้งบรรษัทขึ้นเรียกว่า “บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย” เรียกโดยย่อว่า “บสท.”ให้ บสท. เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น” • ได้รับยกเว้นหรือผ่อนคลายตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย • ตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 “พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา...” • การออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้อำนาจรัฐวิสาหกิจกำหนดสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินได้เองตามมาตรา 13(2)

  16. การยกเว้น/ผ่อนคลายกฎระเบียบให้กับรัฐวิสาหกิจการยกเว้น/ผ่อนคลายกฎระเบียบให้กับรัฐวิสาหกิจ • ได้รับยกเว้นโดยมติคณะรัฐมนตรี • กฎระเบียบที่อาจอยู่ในข่ายได้รับยกเว้น • ระยะเวลาที่ได้รับยกเว้น (ครอบคลุมถึงกฎระเบียบในอนาคต?) • องค์กรที่ได้รับยกเว้น (รวมถึงบริษัทลูกที่เป็นรัฐวิสาหกิจ?)

  17. รัฐวิสาหกิจกับรัฐธรรมนูญ (2540) หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 87 รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัย กลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครอง ผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุม ธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประ กอบกิจการแข่งขันกันเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือ การจัดให้มีการสาธารณูปโภค เรื่องเสร็จที่ 352/2548 คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) มีข้อสังเกตว่า องค์การตลาดได้จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งในขณะนั้นอาจมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับตลาดเองเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนดำเนินการมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและเป็นการลดค่าครองชีพของประชาชนด้วย แต่โดยที่ในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นและมีพื้นที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรแล้ว โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดให้มีตลาดเป็นส่วนหนึ่งแห่งภารกิจด้วย จึงสมควรได้มีการพิจารณาทบทวนว่าการดำรงองค์การตลาดไว้จะยังมีความจำเป็นอยู่อีกต่อไปหรือไม่ และจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๘๗ หรือไม่

  18. รัฐวิสาหกิจกับรัฐธรรมนูญ (2550) มาตรา ๘๔ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุน ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค . . . (๕) กำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และคุ้มครองผู้บริโภค . . . (๑๐) จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเพื่อ ประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐในทางเศรษฐกิจ และต้องมิให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอยู่ในความผูกขาดของเอกชนอันอาจก่อความเสียหายแก่รัฐ (๑๑) การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด จะกระทำมิได้ . . .

  19. ปัญหาในระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจปัญหาในระบบกฎหมายรัฐวิสาหกิจ • หลักการเกี่ยวกับรูปแบบและการจัดองค์กรของรัฐวิสาหกิจ • ขาดหลักการกลางในการจัดองค์กร • มีการนิยามที่แตกต่างกันไว้ในกฎหมายหลายฉบับ • อำนาจทางมหาชนของรัฐในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด • การเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากของรัฐและสิทธิของผู้ถือหุ้นข้างน้อยตามหลักบรรษัทภิบาล • อำนาจของรัฐในการกำหนดมาตรการเพื่อใช้บังคับกับบริษัทรัฐวิสาหกิจ • การกำหนดนโยบายการพัฒนารัฐวิสาหกิจและข้อจำกัดของหน่วยงานต่างๆ • อำนาจการเสนอหรือกำหนดนโยบาย • อำนาจในการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ • ข้อจำกัดขององค์กรต่างๆ (กฤษฎีกา สคร. กระทรวงเจ้าสังกัด ศาลปกครอง) • สิทธิพิเศษของรัฐวิสาหกิจ • ความเท่าเทียมกันในการประกอบธุรกิจ • ข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายแข่งขันทางการค้า • สิทธิและอำนาจทางมหาชนของรัฐวิสาหกิจแปลงสภาพ • การจำกัดอำนาจทางมหาชนของรัฐวิสาหกิจแปลงสภาพและการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลรายสาขา (sector regulator)

  20. ตัวอย่างปัญหากฎหมายรายฉบับตัวอย่างปัญหากฎหมายรายฉบับ • คำนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” • กรณีบริษัทไทยโอเลฟินส์และการถือหุ้นของภาครัฐ (กระทรวงการคลังถือหุ้นใน ปตท.61.13% และ ปตท. ถือหุ้นใน โอเลฟินส์ 63.03%จะทำให้โอเลฟินส์ เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือไม่) • กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน • คำนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” • กรณีบริษัท บางจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท. (เมื่อมีการแปลงสภาพ ปตท. เป็นบริษัทแล้ว บริษัทบางจาก ยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพรบ. รส สัมพันธ์ อยู่หรือไม่) • กรณีองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก • ประเด็นอำนาจของรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 13(2) • ประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และความสอดคล้องกับระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ พรบ. วิธีการงบประมาณ พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

  21. ตัวอย่างปัญหากฎหมายรายฉบับตัวอย่างปัญหากฎหมายรายฉบับ • คำนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” • กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ • กรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • กรณีสำนักธนานุบาล กรุงเทพมหานครและบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ • กรณีองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง • กรณีองค์การสวนสัตว์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทย • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ • กรณีการมีประโยชน์ได้เสียของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ • กรณีการแต่งตั้งที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจ • กรณีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ • การรักษาการแทนผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ • การแก้ไขปรับปรุงพรบ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ • การนับจำนวนกรรมการในรัฐวิสาหกิจ • การสรรหาผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ • การปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ พนักงานและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ • Director’s Pool พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

  22. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) Source: Thai Airways International Public Co., Ltd.

  23. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) List of Major Shareholders as of 20 March 2008

  24. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

  25. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 6 มกราคม 2552 Source: www.airportthai.co.th

  26. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) รายละเอียดของบริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องของ ทอท. ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 Source: Form 56-1

  27. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ความเป็นมา เมื่อปี พ.ศ.2941 รัฐบาลได้อนุมัติให้บริษัทสายการบินต่างๆ ร่วมออกทุน ดำเนินการก่อตั้งบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.2506 รัฐบาลได้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่คืนจากบริษัทสายการบิน บริษัทฯ จึงมีสภาพเป็น รัฐวิสาหกิจนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน หุ้นจดทะเบียนของบริษัทฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 6,600,000 หุ้น คิดเป็นเงิน 660,000,000.- บาท โดยแบ่งหุ้นออกเป็น 2 ประเภท คือ หุ้น ก. รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด จำนวน 6,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ชำระเต็มมูลค่าแล้ว เป็นเงิน 600,000,000.- บาท   หุ้น ข. บริษัทสายการบินต่างๆ เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด จำนวน 600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ชำระเต็มมูลค่าแล้ว เป็นเงิน 60,000,000 บาท และในปี 2551 บริษัทฯ มีสายการบินร่วมเป็นผู้ถือหุ้นทั้งสิ้นรวม 88 บริษัท บริการ ให้บริการการเดินอากาศ ในเขตแถลงข่าวการบินของประเทศไทย และพื้นที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย การให้บริการการเดินอากาศ (Air Navigation Services : ANS) ประกอบด้วย บริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) และ บริการสื่อสารการบิน (Aeronautical Telecommunications Service : COM) Source: www.aerothai.or.th

  28. สถาบันการบินพลเรือน พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๖ ให้.สบพ. มีวัตถุประสงค์ในการจัดดำเนินการผลิตบุคลากรทางด้านการบินและดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศ บริการอากาศยาน และกิจการอื่นเกี่ยวกับ การบินเพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคลากรดังกล่าว มาตรา ๑๐ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน” ประกอบด้วยประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมการขนส่งทางอากาศ* ผู้แทนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ผู้แทนบริษัทการบินไทย จำกัด ผู้แทนบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้แทนกองทัพอากาศ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสองคน และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ

More Related