1 / 31

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน. โดย...นางสาวกัลยา น้อยเกิดมี นางสาวอรอุมา ว่องไว. ความหมายของการ์ตูน. การ์ตูนเป็นคำที่เราคุ้นเคยมานาน และได้สัมผัสมาตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งในรูปของภาพการ์ตูนหนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูน สิ่งที่เราได้รับจากการ์ตูนนั้นมีทั้งอารมณ์ขัน ความรู้ และแง่คิดต่าง ๆ

len-vincent
Télécharger la présentation

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน โดย...นางสาวกัลยา น้อยเกิดมี นางสาวอรอุมา ว่องไว

  2. ความหมายของการ์ตูน • การ์ตูนเป็นคำที่เราคุ้นเคยมานาน และได้สัมผัสมาตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งในรูปของภาพการ์ตูนหนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูน สิ่งที่เราได้รับจากการ์ตูนนั้นมีทั้งอารมณ์ขัน ความรู้ และแง่คิดต่าง ๆ • การ์ตูน มาจากคำในภาษาอิตาเลียนว่า คาโทน และจากภาษาละตินว่าCartaมีความหมายว่า กระดาษ ตามความหมายที่เข้าใจกัน คือ การเขียนภาพลงบนกระดาษหนา ซึ่งในสมัยแรกเป็นเพียงการออกแบบเพื่องานเขียนภาพประดับกระจก และลายกระเบื้องเคลือบสี (Williams. 1972: 728)มีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่าการ์ตูนไว้ดังนี้

  3. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ให้ความหมายของการ์ตูนว่า การ์ตูน หมายถึงภาพล้อ ภาพตลก หรือบางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจจะล้อเลียนจะให้รู้สึกขบขัน บางทีก็เขียนติดต่อกันเป็นเรื่องยาวยืด • คินเดอร์ (Kinder. 1950: 150) ให้ความหมายของการ์ตูนไว้ว่า การ์ตูน หมายถึง ภาพที่ผู้อ่านสามารถจะตีความหมายได้จากสัญลักษณ์ที่มีอยู่ และส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกินจริงเพื่อสื่อความหมายหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทันสมัย ตัวบุคคล หรือสถานการณ์ต่าง ๆ

  4. บราวน์ (Brown. 1977: 89) ได้กล่าวถึงการ์ตูนไว้ว่า ข่าวสารในรูปของการ์ตูนจะสื่อความหมายได้อย่างรวดเร็ว และแจ่มแจ้งขึ้น ยิ่งกว่าการที่จะอ่านบทบรรณาธิการหรือบทความทำนองเดียวกันเสียอีก ถ้าผู้ดูเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับแนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังของข่าวสารนั้น ซึ่งตรงกับแนวความคิดของวอททิชและซูลเลอร์ที่ว่า การ์ตูนเป็นสิ่งแรกที่จะนำให้คนเข้าใจเรื่องราวเหตุการณ์ หรือสาระของข่าวสารต่าง ๆ มีคนจำนวนมากที่อาจไม่ได้อ่านบทความจากคอลัมน์ต่าง ๆในหนังสือพิมพ์ แต่ก็สามารถรับรู้เรื่องราวข่าวสาร หรือความเป็นไปต่าง ๆ ในขณะนั้นได้ โดยการติดตามอ่านการ์ตูน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักเขียนการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในขณะนั้นมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อ่านทั่ว่ไป เพราะการ์ตูนจะช่วยให้คนเข้าใจถึงเรื่องราว ข่าวสาร เหตุการณ์ และความคิดต่าง ๆ ได้ง่ายแล้ว การ์ตูนยังก่อให้เกิดความขบขันไปในตัวด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการ์ตูนที่ดี คือเป็นการ์ตูนที่สร้างให้ง่ายต่อความเข้าใจ ซึ่งจะต้องอาศัยความชำนาญของผู้เขียนในการถ่ายทอดให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม

  5. ประเสริฐ ศิลปะ (2532: 13 – 14) กล่าวถึงความหมายของการ์ตูนว่า การ์ตูน คือภาพที่เขียนขึ้นเพื่อจำลองความคิดของบุคคลใดบุคคลในอันที่จะล้อเลียน เสียดสี เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ โดยให้เกิดอารมณ์ขันแก่ผู้ดูไปด้วย ทั้งนี้โดยที่ลักษณะของการ์ตูนนั้น น่าจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ ๆ คือ 1. ใช้ลักษณะหรือสัญลักษณ์ที่คนทั่วไปรู้จักดี 2. เป็นภาพง่าย ๆ เน้นรายละเอียดเฉพาะจุดสำคัญ 3. แสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน 4. สะท้อนแนวคิดที่ชัดแจ้ง 5. สอดแทรกอารมณ์ขันลงในภาพ

  6. สรุปความหมายของการ์ตูนสรุปความหมายของการ์ตูน • ดังนั้นคำว่าการ์ตูน อาจสรุปได้ว่า หมายถึงภาพวาดในลักษณะที่ง่าย ๆ บิดเบี้ยวโย้เย้ เป็นภาพที่ไม่เหมือนกับภาพในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งมีรูปลักษณะที่เลียนแบบธรรมชาติ เรขาคณิตหรือรูปร่างอิสระ ที่ลดทอนรายละเอียดที่จำเป็นออก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อความหมายแทนตัวหนังสือหรือเป็นผู้แสดงแทนในการพูดหรือแสดงออกต่าง ๆ ทั้งเป็นภาพประกอบตกแต่งให้สวยงาม น่าขันล้อเลียนสังคมการเมือง และใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ประกอบ การเล่าเรื่องในทางบันเทิงคดี สารคดี

  7. แนวคิด/ทฤษฎี • การ์ตูนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือที่เร้าในความสนใจกระตุ้นให้เรียนในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี (สังเขต นาคไพจิต.2530) ซึ่งการ์ตูนใช้อธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจจากการใช้ภาพการ์ตูนง่ายๆ อธิบายในสิ่งที่จะเรียนรู้จะทำให้นักเรียนเข้าใจดียิ่งขึ้น ซึ้งในการใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมกาเรียนจะช่วยสร้างเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานเพราะการ์ตูนมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ให้อารมณ์ขันแก่ผู้ดู และช่วยสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน เพราะเด็กจะเลียนแบบการ์ตูนที่ตนชอบ(สมคิด ปลอดโปร่ง. 2528:137) ซึ่งผู้สอนสามารถนำการ์ตูนไปใช้ได้กับทุกกลุ่มวิชา(ถวัลย์ มาศจรัส.2525:4-5)ใช้ในการเรียนการสอนรายบุคคลได้อย่างดี

  8. นอกจากนี้แล้วหนังสือการ์ตูนยังสามารถที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน(จินตนาการิใบกาซูยี.2534:76-78)ได้เป็นอย่างดี โดยใช้เป็นหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และใช้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมหรือประกอบการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ อิทิเช่น ในวิชาวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ สุขศึกษาวัฒนธรรมประเพณี วรรณคดี เป็นต้น วิชาเหล่านี้สามารถนำเนื้อหาจัดเป็นหน่วยๆมาจัดทำเป็นภาพการ์ตูน ซึ่งจะทำให้เด็กผู้อ่านได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินชวนอ่าน รวมทั้งใช้เป็นหนังสือเรียนในการเรียนในวิชาต่างๆได้เป็นอย่างดี (ชม ภูมิภาค.2524)

  9. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ • หนังสือภาพการ์ตูนจัดเป็นหนังสือสำหรับเด็กประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะใช้ภาพแสดงเรื่องราวแทนการใช้ตัวหนังสือดำเนินเรื่องเหมือนหนังสือเด็กทั่วไป หนังสื่อการ์ตูนจะต้องมีเรื่องราวและภาพ มีการดำเนินเรื่องของตัวละครเพื่อดึงดูดใจให้ผู้อ่านติดตามเรื่อง ดังนั้นการเขียนเรื่องสำหรับหนังสือการ์ตูนจึงเป็นเรื่องสำคัญการเขียนเรื่องเพื่อเป็นหนังสือภาพการ์ตูนจะต้องมีกระบวนการเขียน ซึ่งประกอบด้วยการเลือกหาแนวคิดหรือแกนเรื่อง(theme) การวางโครงเรื่อง (piot) การดำเนินเรื่องราวไปตามโครงเรื่อง โดยให้มีเหตุการณ์ซึ้งประกอบไปด้วยตัวละคร ฉาก สถานที่และเหตุการณ์ที่เกิดจากตัวละครต่างๆตั้งแต่ต้นเรื่อง ตอนกลาง ไปจนจบเรื่องในตอนท้าย

  10. หลักการเลือกการ์ตูนประกอบการสอนหลักการเลือกการ์ตูนประกอบการสอน • 1. เลือกการ์ตูนให้เมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน2. เลือกการ์ตูนที่ออกแบบง่าย ๆ3. การ์ตูนที่มีสัญลักษณ์ให้ความหมายชัดเจน

  11. ประโยชน์ของการ์ตูนที่มีต่อการเรียนการสอนประโยชน์ของการ์ตูนที่มีต่อการเรียนการสอน • วิททิช และซูลเลอร์ (Wittich ; & Sehuler. 1962: 164) กล่าวว่าการ์ตูนที่ให้ความเพลิดเพลินและแสดงออกถึงอารมณ์ขันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ครูที่มีประสิทธิภาพทั่ว่ไปถือว่าภาพการ์ตูนเป็นอุปกรณ์การสอนที่สมบูรณ์แบบอย่างหนึ่ง • เลฟเวอรรี่ (Lavery. 1992: 60) ได้กล่าวว่า การ์ตูนและเรื่องประกอบภาพเป็นที่โปรดปราณของนักเรียนทุกวัย สังเกตได้ง่าย ๆ เช่น เมื่อนักเรียนอ่านวารสารก็จะรีบพลิกไปที่หน้าการ์ตูนก่อนเสมอ การ์ตูนโดยทั่วไปเป็นภาพที่มีเนื้อหาประกอบเพียงเล็กน้อย จัดเป็นสื่อทัศนะที่นำเสนอเนื้อหาที่ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในห้องเรียนได้

  12. สังเขต นาคไพจิต (นภดล บัวสาย. 2545: 48 ; อ้างอิงจาก สังเขต นาคไพจิต. 2530: 72)กล่าวถึง ประโยชน์ของการ์ตูน ด้านการเรียนการสอนไว้ดังนี้ 1. กระตุ้นให้เรียน (Motivation) เป็นเครื่องเร้าความสนใจในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ใช้ทั้งในโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทำให้เกิดอารมณ์ขันเรียนสนุก 2. ใช้อธิบายให้เข้าใจ (Illustration) ใช้ภาพการ์ตูนง่าย ๆ อธิบายเนื้อหาวิชาที่ทำให้นักเรียนเข้าใจวิชาที่เรียนดียิ่งขึ้น 3. ใช้เป็นกิจกรรมนักเรียน (Pupil Activity) การให้นักเรียนเขียนการ์ตูนด้วยตนเอง อธิบายภาพด้วยตนเองเป็นการสร้างเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

  13. สรุปได้ว่า การ์ตูนเป็นสิ่งที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยให้ความสนใจ การ์ตูนเป็นตัวช่วยดึงดูดความสนใจ สร้างความสนใจในการเรียน และเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักเรียน ทั้งการ์ตูนยังช่วยให้เด็กชอบและสนใจอ่านหนังสือ และช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่จะเรียบเรียงเรื่องที่เขาเห็น หรือเรียนรู้ออกมาได้ดี เนื่องจากการ์ตูนสามารถถ่ายทอดความคิดและจินตนาการออกมาเป็นภาพเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ส่งและผู้รับได้เป็นอย่างดี

  14. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ์ตูนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ์ตูน • งานวิจัยในประเทศ • ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ (2534: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา โดยใช้หนังสือเรียนที่ใช้ภาพเหมือนกับสื่อหนังสือเรียนที่ใช้ภาพการ์ตูน พบว่า ผลสัมฤทธิท์างการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา โดยใช้หนังสือเรียนที่ใช้ภาพการ์ตูนสูงกว่านักเรียนที่ใช้สื่อภาพเหมือน

  15. นภดล บัวสาย (2545: บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยและแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปการ์ตูนกับการสอนตามคู่มือครู ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปการ์ตูนมีความสามารถในการอ่านภาษาไทยและมีแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

  16. งานวิจัยต่างประเทศ • พิทแมน (Pittman. 1958: 283) ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของหนังสือการ์ตูนที่มีต่อเด็กผลการวิจัยพบว่า หนังสือการ์ตูนมีอิทธิพลต่อเด็ก สามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของเด็กได้ • ฮิลเดรท (นภดล บัวสาย. 2545: 53 ; อ้างอิงจากHildreth. 1985: 525) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสนใจในการอ่านของเด็กชายและเด็กหญิง โดยทำการวิจัยกับเด็กอายุ 6 – 16 ปี ในประเทศอังกฤษ พบว่าเด็กชายและเด็กหญิงร้อยละ 95 ชอบอ่านการ์ตูน

  17. จากการศึกษางานวิจัยทั้งใน และต่างประเทศ สามารถสรุปได้ว่า การนำการ์ตูนมาเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนจะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เพราะการ์ตูนจะเป็นสิ่งเร้าความสนใจให้นักเรียนมีความสุข และสนุกกับการเรียนหนังสือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้มีความคิดที่จะศึกษาความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ของนักเรียนด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าการ์ตูนจะสามารถช่วยให้นักเรียนมีความสุข และเกิดความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น

  18. ตัวอย่าง การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน

  19. แบบฝึกหัด • คำถามข้อ 1 • การ์ตูน มาจากคำในภาษาใด ? ก. อิตาเลียน และละติน ข. อังกฤษ และฝรั่งเศส ค. ละติน และอังกฤษ ง. ฝร่งเศสและอิตาเลียน

  20. คำตอบข้อ 1 • ก. อิตาเลียน และละติน • การ์ตูน มาจากคำในภาษาอิตาเลียนว่า คาโทน และจากภาษาละตินว่าCarta • มีความหมายว่า ภาพวาดในลักษณะที่ง่าย ๆ บิดเบี้ยวโย้เย้ เป็นภาพที่ไม่เหมือนกับภาพในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งมีรูปลักษณะที่เลียนแบบธรรมชาติ เรขาคณิตหรือรูปร่างอิสระ ที่ลดทอนรายละเอียดที่จำเป็นออก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อความหมายแทนตัวหนังสือหรือเป็นผู้แสดงแทนในการพูดหรือแสดงออกต่าง ๆ ทั้งเป็นภาพประกอบตกแต่งให้สวยงาม น่าขันล้อเลียนสังคมการเมือง และใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ประกอบ การเล่าเรื่องในทางบันเทิงคดี สารคดี

  21. คำถามข้อ 2 • ข้อใดกล่าวถึงความหมายของการ์ตูนได้ถูกต้อง ? ก. ภาพล้อ ภาพตลก หรือบางทีเขียนเป็นภาพบุคคล ข. ภาพที่ผู้อ่านสามารถจะตีความหมายได้จากสัญลักษณ์ที่มีอยู่ และส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกินจริง ค. ภาพที่เขียนขึ้นเพื่อจำลองความคิดของบุคคลใดบุคคลในอันที่จะล้อเลียน เสียดสี เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ง. ถูกทุกข้อ

  22. คำตอบข้อ 2 • ง. ถูกทุกข้อ

  23. คำถามข้อ 3 • ข้อใดกล่าวถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการ์ตูนไม่ถูกต้อง ? ก. สอดแทรกอารมณ์ขันลงในภาพ ข. แสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน ค. เป็นภาพที่ซับซ้อน เน้นรายละเอียดเฉพาะจุดสำคัญ ง. สะท้อนแนวคิดที่ชัดแจ้ง

  24. คำตอบข้อ 3 • ค. เป็นภาพที่ซับซ้อน เน้นรายละเอียดเฉพาะจุดสำคัญ • คุณลักษณะที่สำคัญ ๆ คือ 1. ใช้ลักษณะหรือสัญลักษณ์ที่คนทั่วไปรู้จักดี 2. เป็นภาพง่าย ๆ เน้นรายละเอียดเฉพาะจุดสำคัญ 3. แสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน 4. สะท้อนแนวคิดที่ชัดแจ้ง 5. สอดแทรกอารมณ์ขันลงในภาพ

  25. คำถามข้อ 4 • ข้อใดกล่าวถึง หลักการเลือกการ์ตูนประกอบการสอนไม่ถูกต้อง ? ก. เลือกการ์ตูนให้เมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน ข. เลือกการ์ตูนที่มีสีสันสวยงามค. เลือกการ์ตูนที่ออกแบบง่าย ๆง. การ์ตูนที่มีสัญลักษณ์ให้ความหมายชัดเจน

  26. คำตอบข้อ 4 • ข. เลือกการ์ตูนที่มีสีสันสวยงาม หลักการเลือกการ์ตูนประกอบการสอนมีดังนี้ 1. เลือกการ์ตูนให้เมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน2. เลือกการ์ตูนที่ออกแบบง่าย ๆ3. การ์ตูนที่มีสัญลักษณ์ให้ความหมายชัดเจน

  27. คำถามข้อ 5 • การ์ตูนมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างไร ? ก. กระตุ้นให้เรียน ข. อธิบายให้เข้าใจ ค. ใช้เป็นกิจกรรมนักเรียน ง. ถูกทุกข้อ

  28. คำตอบข้อ 5 • ง. ถูกทุกข้อ • สังเขต นาคไพจิต กล่าวถึง ประโยชน์ของการ์ตูน ด้านการเรียนการสอนไว้ดังนี้ 1. กระตุ้นให้เรียน (Motivation) เป็นเครื่องเร้าความสนใจในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ใช้ทั้งในโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทำให้เกิดอารมณ์ขันเรียนสนุก 2. ใช้อธิบายให้เข้าใจ (Illustration) ใช้ภาพการ์ตูนง่าย ๆ อธิบายเนื้อหาวิชาที่ทำให้นักเรียนเข้าใจวิชาที่เรียนดียิ่งขึ้น 3. ใช้เป็นกิจกรรมนักเรียน (Pupil Activity) การให้นักเรียนเขียนการ์ตูนด้วยตนเอง อธิบายภาพด้วยตนเองเป็นการสร้างเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

  29. The End

More Related