1 / 22

นโยบายการตรวจราชการ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

นโยบายการตรวจราชการ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. โดย นายแผ่เกียรติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมษายน 2550. แผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรฯ ปี 2550. โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (กนท. สป.กษ.)

lesley-good
Télécharger la présentation

นโยบายการตรวจราชการ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายการตรวจราชการ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดย นายแผ่เกียรติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมษายน 2550

  2. แผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรฯ ปี 2550 • โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (กนท. สป.กษ.) • ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (สำนักช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน สป.กษ.) • โครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีแก่เกษตรกรไทย (กตส.) • โครงการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพข้าวในเขต พื้นที่นำร่อง (กกข.)

  3. แผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรฯปี 2550 (ต่อ) 5. โครงการความปลอดภัยด้านอาหาร Food Safty (6 หน่วยงาน) 6. โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน (กสก.) 7. การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ (ตรวจเฉพาะ พด.) 8. การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก (ปศ.) 9. การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน (ชป.)

  4. เศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 • นโยบายของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

  5. เศรษฐกิจพอเพียง • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำคำนิยามที่ได้ทรงแก้ไขแล้วมาใช้เป็น Working Definition จากนั้นสรุปแก่นแท้ของนิยาม ศก.พอเพียงว่า เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไขคือ 1. ความพอประมาณ (Moderation) 2. ความมีเหตุผล (Reasonableness) และ 3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (Self-immunity system) จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ห่วงนี้ เป็น Holistic ที่ต้องใช้ร่วมกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ ต้องพิจารณาทั้ง 3 ปัจจัยไปพร้อมๆกัน

  6. เศรษฐกิจพอเพียง • นอกจากนั้นการจะนำ 3 ห่วงไปใช้ให้ได้ผลยังต้องบรรลุ 2 เงื่อนไข คือ 1. ความรู้ (Knowledge รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และ 2. คุณธรรม(Morality ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) มิฉะนั้นก็จะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร

  7. หลักเกณฑ์ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้จาก ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน 5 ข้อ • มีความเชื่อในแนวคิดการพึ่งตนเอง • มีความเข้าใจคำว่า “บูรณาการ” เลือกเรื่องที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ไม่มีสูตรสำเร็จ ขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง • เคารพในภูมิปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน • เคารพในระบบนิเวศ • มีความเข้าในแก่นของ “สังคมมีสุข” และให้ความสำคัญกับครอบครัวและชุมชน

  8. ความเห็นของปราชญ์ชาวบ้านความเห็นของปราชญ์ชาวบ้าน • กระทรวงเกษตรฯควรบูรณาการความรู้ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน • การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐไม่สามารถสำเร็จได้ หากประชาชนยังไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาความยากจน คือ การปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยยึดเกณฑ์ที่สำคัญ 5 ข้อ ข้างต้น • หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปสนับสนุนการปฏิบัติงานของปราชญ์ชาวบ้าน เช่น ตามความต้องการในแผนแม่บทชุมชนมากกว่าจะเป็นตัวหลักในการพัฒนาเหมือนที่ผ่านมาในอดีต

  9. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของเกษตรกร มี 7 ประการ • เกษตรกรต้องสมัครใจในการประกอบอาชีพการเกษตร • ต้องรู้จักตนเองและรู้ศักยภาพตนเอง • มีความรู้ สามารถจัดการองค์ความรู้ ทดลอง ทดสอบ รวมถึงการหาวิทยากรที่เหมาะสม • รู้จักออม ประหยัด • มีกัลยาณมิตร เพื่อสร้างเครือข่ายรวมพลังกัน • มีคุณธรรม จริยธรรม • มีความขยัน อดทน

  10. ภาพรวมงบประมาณด้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • ปี 2550 งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 911.37 ล้านบาท จาก 8 ส่วนราชการ และ 1 องค์การมหาชน 6. ปศ. 30.00 ล้านบาท 7. ปม. 30.00 ล้านบาท 8. กวก. 26.19 ล้านบาท 9. ส.วิจัยและ 51.07 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่สูง 1. สป.กษ. 285.00 ล้านบาท 2. กสก. 159.61 ล้านบาท 3. กตส. 144.82 ล้านบาท 4. สปก. 114.90 ล้านบาท 5. พด. 69.80 ล้านบาท

  11. คณะผู้ดำเนินการ • คณะกรรมการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (รองนรต.โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) • คณะกรรมการบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รองปลัดฯสุทธิพร จีระพันธุ) • คณะทำงานบูรณาการแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ผอ.กนท.) • คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับจังหวัด • คณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สศช.)

  12. การตรวจราชการ • ตรวจราชการบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล • การตรวจราชการในพื้นที่ มี 3 รอบ 1. รอบที่ 1 ขั้นตอนการทำ Project Reviewเป็นการพิสูจน์สมมติฐานความเสี่ยงว่า โครงการที่วิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลัก ธรรมาภิบาลไว้ มีความเสี่ยงจริงหรือไม่ อย่างไร 2. รอบที่ 2 ขั้นตอนการทำ Progress Reviewเป็นการติดตามผลการดำเนินการของหน่วยรับตรวจ ตามข้อเสนอแนะ / ข้อสั่งการ และ/หรือ ข้อสังเกต ของ ผตร.สร. และ ผตร.กระทรวง 3. รอบที่ 3 ขั้นตอนการทำ Monitoring /Evaluationเป็นการประเมินผลในภาพรวมของแผนงาน/โครงการ

  13. ประเภทของความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลประเภทของความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล • แนวทางการดำเนินงานไม่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล (หลักภาระรับผิดชอบ) • ขาดการประสานการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง (หลักการมีส่วนร่วม) • ใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า (หลักคุณธรรม โปร่งใส คุ้มค่า นิติธรรม) • ดำเนินการไม่โปร่งใส ไม่มีกลไกในการตรวจสอบประเมินผล ( - ” -) • ประชาชนผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงไม่มีส่วนร่วมในโครงการ (หลักการมีส่วนร่วม) • แผนงาน โครงการ ไม่กระจายผลประโยชน์ที่ถูกต้องไปยังภาคส่วนที่ควรได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง (หลักความคุ้มค่า)

  14. ผู้ตรวจ ตรวจอะไร ? ที่ไหน ? อย่างไร ? • ขั้นตอนการปฏิบัติงานของราชการส่วนกลาง • ขั้นตอนการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค 2.1 หน่วยงานราชการ 2.2 ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน 2.3 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 2.4 เกษตรกร

  15. ตรวจการปฏิบัติงานของราชการส่วนกลาง (1) • ความชัดเจนของโครงการ • ความต่อเนื่องในเชิงนโยบาย • การมีส่วนร่วม สอบถามความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ • มีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เจ้าภาพรับผิดชอบ • มีระเบียบกระทรวงเกษตรฯว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พ.ศ.2550 พร้อมคู่มือการปฏิบัติ • มีการบูรณาการแผนงาน/งบประมาณในส่วนกลาง

  16. ตรวจการปฏิบัติงานของราชการส่วนกลาง (2) • โอนเงินงบประมาณให้หน่วยปฏิบัติ • มีการติดตามประเมินผล

  17. ตรวจการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค (ราชการ1) • มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อบูรณาการแผนงาน/โครงการ/งบประมาณในระดับจังหวัด ทุก 1-2 เดือน • ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ • มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการ ศูนย์เรียนรู้ เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ • การจัดตั้ง/คัดเลือก เกษตรกร ปราชญ์ กลุ่ม สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน • การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่ม สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน

  18. ตรวจการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค (ราชการ2) • การจัดทำฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรที่ผ่านการเรียนรู้จากศูนย์ฯของกรม/ปราชญ์ต่าง ๆ

  19. ตรวจการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค (ศูนย์เรียนรู้1) • มีการจัดทำแผนการฝึกอบรม ฯลฯ และดำเนินการเป็นไปตามแผน • หลักสูตร วิธีการฝึกอบรม เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร/ตลาด • การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม • ความรู้/ความสามารถในการถ่ายทอดของวิทยากร • เบิกจ่ายงบประมาณอย่างถูกต้องเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด • มีการประชุมของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน

  20. ตรวจการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค (ศูนย์เรียนรู้2) • การจัดซื้อ-จัดจ้าง เน้นความต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์ยั่งยืน • การมีส่วนร่วมของเกษตรกร • เครื่องมือ อุปกรณ์ งบประมาณเพียงพอหรือไม่ เน้นภาพ/วิดีทัศน์ • ศูนย์ดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร • การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในโครงการ • การติดตามประเมินผลโครงการ • จัดทำรายงานผลงานอย่างสม่ำเสมอ

  21. ตรวจการปฏิบัติงานของส่วนภูมิภาค (ศูนย์เรียนรู้3) • เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้กลับไปปฏิบัติ เป็นเครือข่าย ขับเคลื่อนขยายผล • การพัฒนาจากทฤษฎีขั้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่ 2 และ 3 • การสนับสนุน/ต่อยอดให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเครือข่ายโดยใช้งบปกติของส่วนราชการต่าง ๆ

  22. สวัสดี

More Related