1 / 24

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. ข้อมูลทั่วไปของอุทยาน การเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวก เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ลักษณะภูมิประเทศและอากาศ พันธ์ไม้และสัตว์ป่า จุดเด่นที่น่าสนใจ ประวัติผู้จัดทำ. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุทยาน.

linda-bush
Télécharger la présentation

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลทั่วไปของอุทยาน การเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวก เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ลักษณะภูมิประเทศและอากาศ พันธ์ไม้และสัตว์ป่า จุดเด่นที่น่าสนใจ ประวัติผู้จัดทำ

  2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุทยานข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุทยาน • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย • สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ • HOME

  3. การเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวก • ทางรถยนต์ จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด ประมาณ หลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาด อำเภอจอมทอง มีถนนแยกไปทางขวา คือ ถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์ ซึ่งมีระยะทาง ถึงยอดดอยประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งที่ทำการเขตจะอยู่ บริเวณหลัก กม. ที่ 31 • ทางรถโดยสารประจำทาง จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยังอำเภอจอมทอง ระยะทาง 60 กิโลเมตร มีรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก สีเหลือง และรถยนต์โดยสารประจำทาง สีน้ำเงิน จอดรอรับผู้โดยสาร อยู่บริเวณคิวรถ ที่บริเวณประตูเชียงใหม่ • จากอำเภอจอมทอง มีรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก สีเหลือง จอดรอรับผู้โดยสารอยู่บริเวณคิวรถ ในตลาดอำเภอจอมทอง • HOMENEXT

  4. สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 5 หลัง พักได้หลังละ 15-20 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 800-1,000 บาทต่อคืน และอนุญาติให้นำเต็นท์ไปตั้งค่ายพักแรมได้ ติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ถนนจอมทอง - อินทนนท์ กม. 31 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160 หรือที่กรมป่าไม้ โทร. 579-7223,579-5734 HOME

  5. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ • 1. เส้นทางสายอ่างกาเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมีเอกลักษณ์เฉพาะ ระยะทาง 360 เมตร ใช้เวลาเดินศึกษา ธรรมชาติประมาณ 15 - 20 นาที เป็นลักษณะของป่าดิบเขาระดับสูง มีพรรณไม้เขตอบอุ่น ผสมกับเขตร้อน ที่พบเฉพาะในระดับสูง เป็นแบบป่าโบราณ มีพืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้มากมาย ตามพื้น จะพบพวกข้าวตอกฤๅษีเป็นบริเวณกว้าง ในหน้าหนาวจะพบกุหลาบพันปี สีแดงสวย และได้ยินเสียงนกร้อง อยู่เป็นระยะๆ มีความชุ่มชื้น และเป็นต้นกำเนิด ของสายน้ำแม่ปิง มีความหลากหลาย ทางชีวภาพและ อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก • HOME NEXT

  6. 2. เส้นทางสายยอดดอย - น้ำตกสิริภูมิเป็นทางเดินระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชม. เหมาะสำหรับศึกษา เรื่องความแตกต่างของพันธุ์ไม้ ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน ความหลากหลายของสังคมพืช การทดแทนของพันธุ์ไม้ ที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพป่า การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง BACK HOMENEXT

  7. 3. เส้นทางสายกิ่วแม่ปานเป็นทางเดินป่าระยะสั้น ประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม. เหมาะสำหรับเรื่องการศึกษาป่าดิบเขา ในระดับต่ำลงมา สังคมทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นภายหลัง การทำลายสภาพป่าเดิม ลักษณะพืชเด่น ตามเส้นทางเดิน ทิวทัศน์ของ หน้าผาที่สวยงาม ตลอดจน ลักษณะการเกิดผลกระทบ ต่อเนื่องบริเวณรอยต่อ ระหว่างบริเวณรอยต่อ ระหว่างพื้นที่ป่าสมบูรณ์ กับพื้นที่ที่ถูกทำลาย หรือที่เรียกว่า EDGE EFFECT BACK HOME NEXT

  8. 4. เส้นทางสายน้ำตกแม่ปานเป็นทางระยะสั้นประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม. เหมาะสำหรับการศึกษาสภาพป่า ข้างลำธาร ความสำคัญของต้นน้ำ ชมน้ำตกตลอดการทาง BACK HOME NEXT

  9. 5. เส้นทางสายถ้ำบริจินดาเป็นทางระยะสั้นใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย 6. เส้นทางสายสบหาด - บ้านแม่กลางระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ สังคมป่าเต็งรังผสมสน และชมน้ำตกตาดน้อย BACK HOMENEXT

  10. 7. เส้นทางสายผาแว่น - น้ำตกวชิรธารระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ สังคมป่าผสมผลัดใบ ความร่มรื่น ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร และการทำเกษตรของชาวเขา 8. เส้นทางสาย กม.ที่ 38 - น้ำตกสิริภูมิเป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล ประมาณ 5.5 กิโลเมตร. ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม. เหมาะสำหรับการดูนก ที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1500 เมตร BACK HOME NEXT

  11. 9. เส้นทางสายปางสมเด็จ - ผาหมอนเป็นระยะทางไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม. เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่า โดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทาง สมัยที่ยังไม่มีถนน ตัดขึ้นดอยอินทนนท์ หมายเหตุ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในอุยานแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ ต้องติดต่อขอคนนำทาง จากเจ้าหน้าที่อุทยาน ณ ที่ทำการเขต บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 31 ก่อน BACK HOME

  12. ลักษณะภูมิประเทศและอากาศลักษณะภูมิประเทศและอากาศ • ลักษณะภูมิประเทศ : • สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล • HOME NEXT

  13. ลักษณะภูมิอากาศ : เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี ความชื้นสูงมาก โดยเฉพาะบนดอย ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนก็ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่ ต้องสวมเสื้อกันหนาว HOME BACK

  14. พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่โล่ง สลับกับป่าไม้ เนื่องจากถูกชาวเขา เผ่าแม้ว และกระเหรี่ยง ถางป่าทำไร่ จะเห็นได้จากบริเวณสองข้างทาง ขึ้นยอดดอยอินทนนท์ เป็นภูเขาหัวโล้น เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นทิวทัศน์ ที่แตกต่างจากอุทยานฯ อื่นๆ ป่าไม้ในเขตอุทยานฯ มีหลายชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ตแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น HOME NEXT

  15. นอกจากนี้ ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับ มอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง สัตว์ป่า ในบริเวณอุทยานฯ มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็น ที่อยู่อาศัยถูกถางลงมากมาย ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันมีสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี ชะมด กระต่ายป่า และไก่ป่า BACK HOME

  16. จุดเด่นที่น่าสนใจ ปัจจุบันทางทหารได้ตัดถนนขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ จึงสามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง ก็อาจเลือกวิธีเดินเท้า ที่นิยมมักเริ่มต้นจากน้ำตกแม่กลาง คืนแรกพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบ คืนที่สองพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงผาหม่อน คืนที่สามพักที่ปางสมเด็จ แล้วขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ในระหว่างทางจะได้รับความเพลิดเพลินกับบรรยากาศป่าเขา และได้ศึกษา ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงไปด้วย HOMENEXT

  17. ยอดดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งคนไทยส่วนมากต้องการไปสัมผัสเพื่อเป็นประวัติของชีวิต อากาศบนยอดดอยหนาวเย็น ยามฤดูหนาวอากาศหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวหาได้ยาก ในประเทศไทย ต้นไม้ในบริเวณยอดดอยแตกต่างจากที่อื่นเพราะมีสภาพเป็นป่าโบราณ ตามต้นไม้มีเฟิร์น หลายชนิดและมอสจับเขียวครึ้ม พันธุ์ไม้ดอกเช่น กุหลาบป่า คล้ายกับภูกระดึง แต่สูงใหญ่กว่ามาก จนเรียกกันว่า "กุหลาบพันปี" นอกจากนี้ ยังมี ลานข้าวตอกฤๅษี ซึ่งเป็นมอสชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียว สลับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น และเป็นที่ประดิษฐาน สถูปบรรจุอัฐิเจ้าอินทวิชยานนท์ อดีตเจ้าเมืองเชียงใหม่ • BACK HOMENEXT

  18. โครงการหลวงดอยอินทนนท์ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 31 แยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร ผลิตผลหลักคือไม้ดอกเมืองหนาว นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมแปลงดอกไม้และการเพาะขยายพันธุ์ • พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 41.5 ด้านซ้ายมือสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535 • BACK • HOMENEXT

  19. ดอยขุนกลางบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคา เนื่องจากป่าถูกถางลง เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตา • น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานฯ จากถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 8 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง • BACK HOMENEXT

  20. น้ำตกแม่ยะอยู่ทางทิศใต้ของเขตอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ มีความสูงถึง 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ เหมือนกับเอาน้ำตกต่างๆมารวมกันไว้ ณ ที่นี้ ทางเข้าน้ำตกนี้ แยกจากถนนสายจอมทอง-ฮอด ไปทางขวามือซึ่งมีป้ายบอกไว้ที่ข้างทาง • น้ำตกสิริภูมิเดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของแม้ว ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา มรว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า "สิริภูมิ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ น้ำตกนี้อยู่ใกล้ หลักกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ • BACK HOMENEXT

  21. น้ำตกวชิรธาร หรือน้ำตกเมืองโยงเกิดจากลำห้วยแม่กลางอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 22 ถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ มีน้ำไหลตกจากหน้าผาสูงถึง 70 เมตร • BACK • HOMENEXT

  22. น้ำตกแม่ปานตั้งอยู่เชิงดอยอินทนนท์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร เดินทางจากแยก ขึ้นดอยอินทนนท์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1192 อินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าไป ยังน้ำตกอีก 9 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินทางอีกประมาณ 10 นาที น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุด ของเชียงใหม่ • BACK • HOME NEXT

  23. น้ำตกทรายเหลืองตั้งอยู่บนเส้นทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน และอยู่ห่างจากถนนสายดอยอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 2 กิโลเมตร • ถ้ำบริจินดาเป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอกหินย้อย อยู่บนภูเขาทิศตะวันออกของอุทยานฯ • BACK • HOME

  24. ประวัติผู้จัดทำ • นางสาว ศุภวรรณ ขจรศักดิ์ • เกิดวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2527 • ที่อยู่ 34 หมู่ 1 ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ • เรียนแผนก คอมพิวเตอร์ - ธุรกิจ • HOME

More Related