1 / 143

การวิจัย ทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ Business Research and Information System

การวิจัย ทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ Business Research and Information System . รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิชาติ สุนทรสมัย คณะการจัดการและการท่องเที่ยว. บทที่ 1. การวิจัยและกระบวนการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ. Business Information Systems Internal accounting

lindsey
Télécharger la présentation

การวิจัย ทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ Business Research and Information System

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจBusiness Research and Information System รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิชาติ สุนทรสมัย คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

  2. บทที่ 1 การวิจัยและกระบวนการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

  3. Business Information • Systems • Internal accounting • Business intelligence • Business research • Management science Business Management Data Information is clearly a key element in the MKIS and is increasingly using recent and new information technology. Components of the Business Information System Business Environment

  4. การวิจัย (Research)หมายถึงกระบวนแสวงหาความรู้ความจริงรวมตลอดจนการตรวจสอบแนวคิดความรู้ข้อสงสัยต่างๆด้วยวิธีการที่มีระบบมีหลักการที่เชื่อถือได้โดยอาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) • การวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจหมายถึงกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจอย่างมีระบบและนำความรู้ความจริงที่ค้นคว้าหรือรวบรวมได้มาดำเนินการวิเคราะห์ตีความหมายของข้อมูลที่ได้รับด้วยวิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินธุรกิจหรือเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจในองค์กรธุรกิจและสถาบัน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darvin) ได้เสนอวิธีที่เรียกว่า “วิธีอนุมาน-อุปมาน” (Deductive-Inductive method) • วิธีอนุมาน (Deductive method) หมายถึง การสรุปจากข้อเท็จจริงใหญ่ใช้ไปสรุปจากข้อเท็จจริงย่อย • วิธีอุปมาน (Inductive method) หมายถึง การสรุปจากข้อเท็จจริงย่อยใช้ไปสรุปจากข้อเท็จจริงใหญ่

  6. Business Research Suppliers บริษัทวิจัยที่ขายผลงานวิจัยที่บริษัทได้ทำขึ้นมาเป็นประจำ • Syndicated research service: Provides information from common pool of data to different clients are in the syndicated research service business. Supplier who offers syndicated research services tends to be among the largest in the Business research business.A.C. Neilson >> Retail Audit, TV Viewing ServiceTaylor Nelson Sofres >> Purchase Panels • Standardized research services: Be research conducted for different clients using the same research design. For example Advertising research technique • Customized research services: Almost all Business research suppliers offer tailor-made, one-of-a-kind studies for particular clients. บริษัทวิจัยที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่นวิจัยโฆษณา, อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น บริษัทวิจัยทั่ว ๆ ไป

  7. ขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาและการนิยามปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับปัญหา ขั้นตอนที่ 3 การตั้งสมมุติฐาน ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบสมมติฐาน (การวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ข้อมูล) ขั้นตอนที่ 5 การสรุปผลการทดสอบสมมติฐานที่ได้เป็นข้อค้นพบใหม่

  8. ต้องมีความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) และมีความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) ต้องเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาโดยตรง ต้องเป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นอย่างมีระบบและมีเหตุมีผลในการทุกขั้นตอนของการวิจัย มักเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาแนวคิด และหรือทฤษฎีที่เชื่อถือได้ หรือเน้นเกี่ยวกับการค้นพบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ต้องการนักวิจัยที่มีความรู้ และใช้ความสามารถในปัญหาที่จะทำโดยเฉพาะ ต้องมีเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้ เป็นกระบวนการที่มีเหตุผลและเป็นปรนัย เป็นกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง รอบคอบ ต้องอาศัยนักวิจัยที่มีความซื่อสัตย์และมีความกล้าหาญในการดำเนินวิจัยตลอดจนมีความเจตจำนงที่แน่วแน่ในการรายงานและเสนอผลการวิจัยที่ค้นพบ ต้องใช้วิธีการบันทึกข้อมูลและการเขียน และการนำเสนอรายงานผลการวิจัยอย่างระมัดระวัง คุณสมบัติของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

  9. บทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจบทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ • ด้านการจัดการอุตสาหกรรมศึกษาเกี่ยวกับโอกาสทางทางธุรกิจ โอกาสทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจหาข้อมูลและความเป็นไปได้ต่างๆ • ด้านการจัดการการท่องเที่ยวการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก การคมนาคมที่สะดวก สถานที่พักที่เพียงพอและปลอดภัย ร้านอาหารที่สะอาดและรสชาติดี ร้านขายของฝากและของที่ระลึกที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและราคายุติธรรม การล่วงรู้ถึงความต้องการ วัฒนธรรม ความชอบและการดำรงชีวิตของนักท่องเที่ยวแต่ละชาติ แต่ละศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ • ด้านทางธุรกิจและการจัดการทางธุรกิจการวิจัยทางธุรกิจจะมีส่วนช่วยค้นหาข้อมูลดังกล่าวมาป้อนให้กับองค์การ เพื่อใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในอนาคต

  10. บทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจบทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ • ด้านการจัดการ การวิจัยเกี่ยวกับการทำงานเป็นหมู่คณะ เช่นการวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงการจัดสายงานช่วงของอำนาจหน้าที่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และการวิจัยด้านจรรยาบรรณและนโยบายการจัดการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในองค์การ และปัจจัยทางการจัดการเช่น ความรับผิดชอบต่อสังคมของฝ่ายจัดการ การวิจัยถึงอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมต่อองค์กรต่อวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น • ด้านการบัญชี การวิจัยเกี่ยวกับการหาวิธีการจดบันทึก รายงานทางการเงิน รวมถึงวิธีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพที่สุด กำหนดการสรุปรายงานทางการเงินออกมาในรูปงบการเงิน โดยใช้วิธีบันทึกต่าง ๆ รวมถึงการหาวิธีเสนอข้อมูลทางการเงิน ตามมาตรฐาน และอย่างมีธรรมมาภิบาล • ด้านการเงิน การดำเนินงานทางด้านการเงินทั่วไป และ การดำเนินงานของสถาบันการเงินโดยตรง

  11. บทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจบทบาทของการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ • ด้านการจัดการการผลิตและการดำเนินงานกระบวนการแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ ให้เป็นผลผลิต โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้แรงงาน เครื่องจักร เพื่อนำมาเข้าร่วมกระบวนการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการเพื่อจัดจำหน่ายการควบคุมการผลิต การกำหนดเวลาและอัตราการผลิต หรือจัดสายการผลิต การจัดการด้านคุณภาพ การกำหนดบุคลากรในแผนการผลิต • การจัดการด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการพยากรณ์ความต้องการหรืออุปสงค์ในสินค้าและบริการ นโยบายเกี่ยวกับราคาหรือเงินทุนกิจการ การพยากรณ์อุปสงค์ในสินค้าของกิจการ ควรยืดหยุ่นของราคาสินค้า นโยบายเกี่ยวกับราคาเมื่อมีผู้ขายน้อยราย งบประมาณเงินทุนของกิจการ • ด้านสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ *การวิจัยทางด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม *การวิจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม *การวิจัยด้านการเมือง มาตรการและนโยบาย ของรัฐ *การวิจัยด้านการแข่งขัน

  12. ความจำเป็นที่ต้องใช้การวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจความจำเป็นที่ต้องใช้การวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ • เงื่อนไขด้านเวลา (Time constraints) • ความสามารถในการจัดหาข้อมูล (Availability of data) • ลักษณะของการตัดสินใจ (Nature of the decision) • ผลประโยชน์เปรียบเทียบกับต้นทุน (Benefits versus Costs)

  13. ประเภทการวิจัย แบ่งตามจุดมุ่งหมายเป็นเกณฑ์ • การวิจัยพื้นฐาน หรือวิจัยบริสุทธิ์ (Pure or Basic Research) • การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) แบ่งตามระเบียบวิธีของการวิจัย • การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) • การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

  14. ประเภทการวิจัย แบ่งตามวิธีการศึกษาค้นคว้า • การวิจัยเพื่อบุกเบิก • การวิจัยเพื่อพรรณนา • การวิจัยเพื่ออธิบาย • การวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน

  15. ประเภทการวิจัย แบ่งตามวิธีการที่ใช้ในการวิจัย • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)มักพรรณนาปรากฏการณ์อันใดอันหนึ่ง เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์โดยใช้ปรากฏการณ์นั้นเป็นกุญแจไขลักษณะรวมของทั้งระบบต้องศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ และสภาพแวดล้อมทั้งหมดทำให้มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยม มักใช้กัน 2 วิธี คือ 1. การสังเกตทั้งแบบไม่มีส่วนรวมและมีส่วนร่วม 2. การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและเจาะลึก

  16. ประเภทการวิจัย • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)มักให้ความสำคัญกับการจัดการในเรื่อง ตัวเลข มีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหลายตัว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะมีรูปแบบการรวบรวมข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบอ้าง (Generalize) ไปสู่ประชากรได้ *มีการสร้างมาตรวัดประเภทต่าง ๆ ในการสำรวจขนาดใหญ่จะอาศัยการวิเคราะห์ทางสถิติ มีการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรต่าง ๆ *ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณคือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในทางวิชาการ

  17. ประเภทการวิจัย แบ่งตามเนื้อหา • การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) • การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies) • การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies) • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การจัดแบ่งประเภทการวิจัยเช่นนี้ก็เพื่อสะดวกในการพิจารณาธรรมชาติของปัญหาที่จะทำการวิจัย การจัดเก็บข้อมูล และชนิดของข้อมูล

  18. กระบวนการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจกระบวนการวิจัยทางธุรกิจและระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ส่วนที่ 1 วงจรการระบุปัญหา ประกอบด้วย • การระบุความต้องการและกำหนดปัญหา (Problem Discovery and Definition) ได้แก่ การระบุปัญหาหลัก ระบุปัญหารอง ระบุตัวแปรที่สนใจที่เกี่ยวข้อง และ ความสัมพันธ์กัน จากการแสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริง ส่วนที่ 2 วงจรการพัฒนาปัญหา ประกอบด้วย • การออกแบบการวิจัย (Research Design) ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ ระบุสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ระบุกรอบแนวคิดในการวิจัย ส่วนที่ 3 วงจรการพัฒนาเครื่องมือวิจัยและหาคำตอบ ประกอบด้วย • การวางแผนด้านตัวอย่าง (Planning the Sample) • การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) • การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Processing and Analysis) ส่วนที่ 4 วงจรผลผลิต ประกอบด้วย • การสรุปและรายงาน (Conclusions and Report) ส่วนที่ 5 วงจรการป้อนกลับ ประกอบด้วย • การนำเสนอผลการวิจัยและการสังเคราะห์งานวิจัย

  19. บทที่ 2 ปัญหาการวิจัย

  20. ปัญหาและคำถามการวิจัย (Research Problem and Question) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้และหาคำตอบ ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่สงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. ปัญหาทางวิชาการนั้นเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยอยากจะรู้คำตอบ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีหรือองค์ความรู้ หรือเข้าใจในปัญหาที่แตกต่างจากการค้นพบแนวคิดหรือองค์ความรู้ใหม่เท่านั้น 2. ปัญหาทางปฏิบัติเป็นปัญหาที่อยากรู้และหาคำตอบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานหรือกำหนดแนวทางแนวปฏิบัติ ...อะไรคือ ตัวปัญหา อะไร คืออาการที่แสดงออกมา...

  21. หลักเกณฑ์ในการเลือกปัญหาการวิจัยหลักเกณฑ์ในการเลือกปัญหาการวิจัย • เลือกปัญหาโดยคำนึงถึงความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง • เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถและความรู้ของตนเอง • เลือกปัญหาที่มีคุณค่าและเป็นปัญหาใหม่ ๆ • เลือกปัญหาโดยคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและบุคลากรของตน • เลือกปัญหาโดยคำนึงสภาพเอื้ออำนวยต่อการทำวิจัย • การแก้ปัญหานั้นมีโอกาสจะได้รับความร่วมมือจากเกี่ยวข้อง • การแก้ปัญหานั้นมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ • การแก้ปัญหานั้น มีแหล่งวิชาการหรือฐานความรู้ที่จะให้ค้นคว้าหรือไม่ • การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันเหตุการณ์เสมอ

  22. การเขียนประเด็นของปัญหาควรมีหลักการดังนี้การเขียนประเด็นของปัญหาควรมีหลักการดังนี้ 1. เป็นประเด็นที่น่าสนใจ 2. เป็นประเด็นที่เป็นปัญหาจริง ๆ อยู่ในปัจจุบัน 3. เขียนให้ตรงประเด็น ข้อมูลเชิงเหตุผลควรจะนำไปสู่จุดที่เป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะทำวิจัย 4. เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย ไม่ยืดยาวจนน่าเบื่อ 6. ใช้ภาษาง่าย ๆ จัดลำดับประเด็นที่เสนอให้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน 7. เป็นประเด็นที่น่าจะเป็นประโยชน์เมื่อทำการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว 8. อยู่ในวิสัยที่ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะทำได้ทั้งในแง่ของเวลา ค่าใช้จ่ายตามความสามารถของ ผู้วิจัย

  23. แหล่งของปัญหาการวิจัยแหล่งของปัญหาการวิจัย 1.วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่ผู้อื่นเคยทำมาก่อน 2. การระดมสมองและการประชุมตลอดจนคำกล่าว คำปราศรัย พูดคุย ข้อเสนอแนะของผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่าง ๆ 3.วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น 4.ข้อโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลที่อยู่ในวงการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 5.ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่าง ๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัยหรือเชื่อมโยงกับการวิจัยได้ หรือบุคคลที่ทำการวิจัย 6.การอ่านเอกสาร 7.การอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ หรือบทคัดย่อรายงานการวิจัย 8.ประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง 9.การจัดสัมมนา และมีการอภิปรายประเด็นปัญหาต่าง ๆ

  24. ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่เหมาะสมลักษณะของปัญหาการวิจัยที่เหมาะสม • เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ มีประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง • เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบ • เป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมติฐาน • เป็นปัญหาที่สามารถให้ความหมายที่ชัดเจนหรือกำหนดขอบเขตและนิยามปัญหา • เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าได้ • เป็นปัญหาที่ไม่เกินกำลังความสามารถของผู้วิจัยที่จะทำให้สำเร็จ • เป็นปัญหาที่สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลและสรุปผลได้อย่างถูกต้อง

  25. หลักการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยหรือชื่อเรื่องหลักการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยหรือชื่อเรื่อง 1. ใช้ภาษาง่าย กะทัดรัดที่สุด และมีความชัดเจน 2. มักเขียนในรูปของวลีที่เป็นลักษณะประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ประโยคเชิงปฏิเสธ หรือเป็นลักษณะของคำถาม 3. สะท้อนให้เห็นภาพรวมของเรื่องที่จะทำการวิจัย 4. ขึ้นต้นในลักษณะของคำนาม เช่น การ………..หรือความ…....หรือโครงสร้าง........หรือประสิทธิภาพ......หรือผลกระทบ...........ความสัมพันธ์……หรือปัจจัย…….. 5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น

  26. ตัวอย่างหัวข้อปัญหาการวิจัยตัวอย่างหัวข้อปัญหาการวิจัย • ตัวอย่างที่ 1“ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานประจำของบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)” • วัตถุประสงค์ คือการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลาออก • ตัวแปรที่ศึกษา คือการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงาน • กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานประจำของบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)ที่ลาออกในช่วงที่สนใจศึกษา

  27. การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) • การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย  ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติจริง  วัดได้ประเมินได้  ซึ่งก็คือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยนั่นเอง  ซึ่งอาจจะเป็นผลที่เป็นผลลัพธ์ (Output)  (งานวิจัยบางเรื่องก็อาจเป็นผลที่เป็น กระบวนการ (Process)  หรือ ผลงาน (Outcome) • ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของการวิจัยเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรด้านบริหารงานบริการประชาชน 1. เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาของบุคลากรในด้าน บริหารงานบริการประชาชน 2. เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาในด้านของการให้บริการแก่ประชาชน

  28. หลักเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยหลักเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัย • ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ • ความไม่ซ้ำซ้อนของวัตถุประสงค์ที่จะวิจัย • ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์

  29. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) สมมติฐานมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ • อาจเป็นข้อความที่กล่าวถึงความแตกต่างของตัวแปรและตีความหมาย (อาจเป็นตัวคงที่ใดๆ) ของตัวแปรอย่างน้อย 1 ตัว หรือ • อาจเป็นข้อความที่กล่าวถึงความแตกต่างหรือความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปและ/หรือ • สามารถทดสอบความแตกต่างความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องของตัวแปรเหล่านี้ได้และส่วนใหญ่ต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ

  30. แหล่งที่มาของสมมติฐานแหล่งที่มาของสมมติฐาน 1. ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้วิจัย 2.  การใช้หลักเหตุผล 3. การใช้ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ 4.  การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.  การศึกษาเปรียบเทียบ 6.  ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ

  31. ชนิดของสมมติฐาน 2 ชนิด คือ • สมมติฐานเชิงบรรยาย (Descriptive Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนเป็นข้อความในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนถึงสาเหตุ ความสัมพันธ์ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่น่าเป็นไปได้ • สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนอธิบายข้อเท็จจริงในรูปแบบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเขียนอธิบายในรูปของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคุณลักษณะสำคัญๆ ของประชากร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ค่าพารามิเตอร์ (Parameter)1 สมมติฐานหลักหรือเป็นกลาง (Null Hypothesis : Ho) เป็นสมมติฐานที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างค่าสถิตินั้น ๆ 2 สมมติฐานทางเลือกหรือไม่เป็นกลาง (Alternative H1) เป็นสมมุติฐานที่แสดงความแตกต่างระหว่างค่าพารามิเตอร์ของตัวแปร หรือเขียนสมมติฐานที่ใช้รองรับข้อสรุปผล

  32. ลักษณะสมมติฐานการวิจัยที่ดีลักษณะสมมติฐานการวิจัยที่ดี • สมมติฐานที่ดีต้องอธิบาย หรือตอบคำถามได้หมด                 • สมมติฐานที่ดีจะต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป                 •  ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเข้าใจง่าย • สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หรือหลักฐาน •  สมมติฐานที่ดีต้องสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และความรู้พื้นฐาน • สมมติฐานที่ดีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการวิจัย • สมมติฐานที่ดีต้องมีอำนาจการพยากรณ์สูง

  33. สิ่งที่ควรคำนึงในการตั้งสมมติฐานการวิจัย มีดังต่อไปนี้ • มีสมมติฐานการวิจัยว่าอย่างไร • สมมติฐานการวิจัยนั้นมีทางเป็นไปได้ไหมโดยการตรวจสอบทางการวิจัยและสถิติ • สมมติฐานนั้นกล่าวไว้รัดกุม หรือชัดเจนเพียงใด • สมมติฐานนั้นมีทางทดสอบได้หรือไม่ • สมควรตั้งสมมติฐานเป็นประโยชน์บอกเล่า หรือเป็นคำถาม • มีสมมติฐานที่จะต้องทดสอบจริง ๆ เท่าไร • สมมติฐานแต่ละข้อมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหรือไม่

  34. ตัวแปร (Variable) • ตัวแปรหมายถึง สิ่งที่อธิบายลักษณะต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ที่นักวิจัยสนใจ เป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าและมีค่าได้มากกว่า 1 ค่า เช่น คะแนนสอบ ความเครียด วิธีการฝึกอบรม พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

  35. ประเภทของตัวแปร 1. จำแนกตามคุณสมบัติ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) 1.1.1 ตัวแปรแบบต่อเนื่อง (Continuous Variable) เป็นตัวแปรซึ่งมีค่าใด ๆ ก็ได้ในช่วงที่กำหนดให้ หรือ/และ อาจจะวัดโดยละเอียดได้ โดยเทียบในเส้นจำนวน เช่น ความสูง น้ำหนัก ตัวอย่างเช่น ความสูงของคนไทยในอดีต มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 140 ซ.ม. และสูงสุด 175 ซ.ม. ดังนั้นค่าที่อยู่ในระหว่าง 140 ซ.ม.ถึง 175 ซ.ม. นี้ จะมีคนไทยจะมีความสูงใด ๆ ก็ได้ 1.1.2 ตัวแปรแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Variable) คือ ตัวแปรที่มีค่าได้เพียงบางค่าในช่วงนั้น หรือตัวแปรที่สมมติค่าได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น หรือตัวแปรที่ไม่อาจนำมาคำนวณได้อย่างมีความหมาย เช่น จำนวนจุดบนลูกเต๋า ซึ่งอาจมีจาก 1 – 6 แต่ระหว่าง 1 กับ 6 มีค่าที่ละเอียดได้ไม่ทุกค่า มีได้เพียง 1,2 ........6, 1.2 ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Variable) เป็นตัวแปรที่บอกความแตกต่างในเชิงคุณลักษณะอาจใช้ตัวเลขแทนคุณลักษณะ นั้น ๆ

  36. ประเภทของตัวแปร 2. จำแนกตามบทบาท 2.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่มักเรียกว่าเป็น “เหตุ” ที่เกิดขึ้นหรือมัก “เกิดก่อน” ตัวอย่างตัวแปรอิสระ เช่น เพศ (ชาย – หญิง) ระดับการศึกษา (ประถมศึกษาปีที่ 1,2,3,4 หรือมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3,4,5,6 ปริญญาตรี ปริญญาโท เป็นต้น) อายุ (8-10 ปี,11 –13 ปี ฯลฯ) เคยผ่านงานภาคเอกชน (เคยผ่าน,ไม่เคยผ่าน) เหล่านี้ เป็นต้นในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรประเภทนี้ก็คือ ตัวแปรที่เป็นตัวจัดกระทำ (Treatment) นั่นเอง 2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็น “ผล” อันเกิดจาก “เหตุ” (ตัวแปรอิสระ) ตัวอย่าง ตัวแปรตาม เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ความรู้ความเข้าใจจากการได้รับการฝึกอบรม พฤติกรรมในการเที่ยงเตร่ตามสถานที่เริงรมย์

  37. ประเภทของตัวแปรในการวิจัยเชิงทดลองประเภทของตัวแปรในการวิจัยเชิงทดลอง • ตัวแปรทดลอง (Experimental Variables) หรืออาจเรียกว่า ตัวแปรจัดกระทำ (Treatment Variable) หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่กำหนดขึ้นในการทดลองครั้งหนึ่ง ๆ เพื่อกำหนดให้เป็นสาเหตุ หรือตัวจัดกระทำ (Treatment) • ตัวแปรควบคุม (Control Variables) เป็นตัวแปรที่อาจส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้โดยตรง หรือผ่านหรือร่วมกันกับทางตัวแปรอิสระ ทำให้ส่งผลเสริมหรือลดทอนต่อผลการทดลองหรือตัวแปรตาม • ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variables) เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้น และอาจจะมีอิทธิพลต่อผลการทดลอง ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบ หรือไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

  38. ตัวอย่าง 1. ชื่อเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนในเขตจังหวัดชลบุรี ต่อการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาชลบุรี *ตัวแปรอิสระ : การบริการของธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาชลบุรี *ตัวแปรตาม : ความพึงพอใจของประชาชนในเขตจังหวัดชลบุรี 2. ความต้องการของประชาชนในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี *ตัวแปรอิสระ : การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี *ตัวแปรตาม : ความต้องการของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

  39. กรอบแนวคิดในการวิจัย กรอบแนวคิด(Conceptual Framework) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิจัยและคำตอบของปัญหาการวิจัย ฉะนั้นการระบุกรอบแนวความคิดจึงต้องชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ • กรอบแนวคิดในการวิจัย หมายถึง ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่แสดงความเกี่ยวข้องหรือความพันธ์ของตัวแปรที่สนใจศึกษาทั้งหมดตามทฤษฎีหรือแนวคิดที่ใช้ระบุขอบเขตการวิจัยอย่างชัดเจน • ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการรณรงค์การใช้สินค้าไทยของวัยรุ่นไทย” สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติคือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปหรือระบุองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอนว่า ตัวแปรประกอบไปด้วย “การมีส่วนร่วม และการใช้สินค้าไทยของวัยรุ่นไทย” นั้น เป็นอย่างไรมีคำอธิบายว่าอย่างไร และสำหรับการศึกษาวิจัยนี้จะกำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย จากนั้นจึงนำมาเป็นเป็นแผนภาพ กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework Diagram) ที่สามารถระบุตัวแปรและความเกี่ยวข้องโดยอาศัยเส้นตรงและลูกศร

  40. นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) • ให้ความหมายของแนวคิด โดยจะต้องค้นหาสิ่งบ่งชี้ (Indicators) ว่าสิ่งที่ต้องการวัดนั้น จะใช้อะไรมาวัดหรือเป็นตัวแทนในการศึกษา คำจำกัดความของตัวแปร จะต้องชี้วัดลงไปว่า สิ่งที่สนใจศึกษานั้นมีลักษณะอย่างไร อะไรเป็นเครื่องวัด

  41. ข้อพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยข้อพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย • ต้องกำหนดความหมายของแนวคิด (Concept) ต่าง ๆ ไว้แน่นอนชัดเจน • คำศัพท์ที่ต้องใช้ ได้มีการนิยามไว้แน่นอนชัดเจน • มีการกำหนดแนวคิด (Concept) ต่าง ๆ อย่างพอเพียงและถูกต้อง • แนวคิด (Concept) บางประการ จำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดเพิ่ม • เมื่อกลุ่มที่ทำการศึกษาเปลี่ยนไป นิยามเชิงปฏิบัติการและการให้ความหมายอาจเปลี่ยนตามไป • มีอะไรเป็นพื้นฐานในการกำหนดความหมายต่าง ๆ

  42. บทที่ 3 การออกแบบการวิจัย

  43. การออกแบบการวิจัย (Research Design) • เป็นการกำหนดข้อมูลที่ต้องการหรือกำหนดแบบวิจัยการออกแบบวิจัยในขั้นตอนนี้จะเป็นตัวชี้ถึงการดำเนินการวิจัยในขั้นตอนต่อไป • เช่น การกำหนดและออกแบบระเบียบวิธีวิจัย การออกแบบการเลือก

  44. การออกแบบการวิจัยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้การออกแบบการวิจัยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ • วัตถุประสงค์การวิจัย • สมมติฐานการวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้อง • ข้อจำกัดในการวิจัย

  45. ประเภทการออกแบบการวิจัยประเภทการออกแบบการวิจัย • การวิจัยเชิงบุกเบิก (Exploratory Research) • การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) • การวิจัยเชิงเหตุผลหรือการวิจัยเชิงทดลอง (Causal or Experimental Research)

  46. ประเภทการออกแบบการวิจัยประเภทการออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงบุกเบิก • เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีที่ไหนอ้างอิงได้มาก่อน มีวิธีการดังนี้ *การใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) *การสำรวจประสบการณ์ (Experience Survey) *การศึกษานำร่อง (Pilot Study) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การสัมภาษณ์เจาะลึก 2. การสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ 3. การวิเคราะห์กรณีศึกษา

  47. ประเภทการออกแบบการวิจัยประเภทการออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงบรรยาย • เป็นการวิจัยเพื่ออธิบายลักษณะประชากรหรือกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจว่าเป็นอย่างไร ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของตัวแปร • นำข้อมูลที่ได้นำไปเสนอแนะและปรับปรุง • นำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจ • มักใช้การสำรวจ (Survey) จะต้องมีการเลือกผู้ตอบ เป็นตัวแทนของกลุ่มที่สนใจศึกษา

  48. ประเภทการออกแบบการวิจัยประเภทการออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. การวิจัยเชิงบรรยายในช่วงเวลาต่อเนื่องหรือระยะยาว (Longitudinal Study) • เป็นการวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลในเรื่องเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง • แบ่งประเภทของกลุ่มตัวอย่างลักษณะนี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ • กลุ่มตัวอย่างคงที่แท้จริง (True Panels) • กลุ่มตัวอย่างคงที่จิปาถะ (Omnibus Panels) 2. การวิจัยเชิงบรรยาย แบบการศึกษาในรูปตัดขวาง(Cross-sectional Study) • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือหาข้อสรุปจากข้อมูลชุดหนึ่ง • จะเก็บข้อมูลในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียว

  49. ประเภทการออกแบบการวิจัยประเภทการออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงเหตุผลหรือการวิจัยเชิงทดลอง • เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรสองตัวขึ้นไป • เป็นการศึกษาผลจากการให้สิ่งทดลองหรือสิ่งกระตุ้น (Treatment) หรือสิ่งที่เป็นตัวการและคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม

  50. ตัวแปรภายนอก ภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรใน งานวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล ตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรเหตุ

More Related