1 / 46

เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ

เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ. Present by. คุณดาริณี หุตะจิตต์ หัวหน้ากลุ่มอัตรากำลังและระบบงาน. เทคนิคการประชุม : วิธีการประชุมอย่างมีประสิทธิผล ( Effective Meeting) หากการประชุมทุกครั้งถ้าดำเนินไปอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้การประชุมไม่บรรลุความสำเร็จ

liza
Télécharger la présentation

เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพเทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ Present by คุณดาริณี หุตะจิตต์ หัวหน้ากลุ่มอัตรากำลังและระบบงาน

  2. เทคนิคการประชุม: วิธีการประชุมอย่างมีประสิทธิผล (Effective Meeting) หากการประชุมทุกครั้งถ้าดำเนินไปอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้การประชุมไม่บรรลุความสำเร็จ ดังนั้น ผู้บรรยายจึงขอนำเสนอหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิผลขององค์กรและของผู้ปฏิบัติ สามารถทำความเข้าใจจากเนื้อหาสาระและนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้

  3. เทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพเทคนิคการประชุมแบบมืออาชีพ มีบทสำคัญอยู่ 6 บท ดังนี้ บทที่ 1 : เริ่มต้นด้วย 8 คำถาม บทที่ 2 : การประชุม 5 ประเภท บทที่ 3 : ขั้นตอนการประชุม บทที่ 4 : บทบาทการเป็นผู้นำการประชุม บทที่ 5 : บทบาทผู้เข้าร่วมประชุมที่ดี บทที่ 6 : บทบาทของผู้บันทึกผลการประชุม

  4. บทที่ 1 เริ่มต้นด้วย 8 คำถาม ก่อนที่ท่านจะได้ติดตามสาระของเทคนิคการประชุมอย่างมีประสิทธิผลโดยละเอียด เคยมีคำถาม 8 ข้อ ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจในสหรัฐอเมริกา สำหรับท่านที่สนใจ ท่านสามารถจะลองตอบแบบสอบถาม และตรวจสอบเปรียบเทียบ คำตอบของท่านกับความเห็นของนักธุรกิจสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการประชุมอย่างมีประสิทธิผลนี้ได้จากหัวข้อคำตอบ

  5. คำถาม……..จาก ( The Journal of Management Development, Vol. 10, No.1 ) 1) กับแนวโน้มที่องค์กรต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลง กระบวนงานมีความกระชับมากขึ้น และมีความสลับซับซ้อนน้อยลงเข้าทำนอง “จิ๋วแต่แจ๋ว” แล้วจะเป็นผลให้ค่อย ๆ หมดความจำเป็นในการประชุมลง และผู้นำยุคใหม่ก็จะใช้เวลาไปกับการประชุมลดน้อยลงด้วยหรือไม่ (คำตอบของท่าน) ………………………………………...

  6. 2) หัวหน้างานที่บริหารการประชุมได้ดี ก่อให้เกิดเป็นการประชุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะมีความก้าวหน้าในงานมากกว่าคนอื่นหรือไม่ (คำตอบของท่าน) ………………………………………... 3) การที่ประธานที่ประชุมมีความสามารถเฉพาะตัวในการบริหารกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมประชุมให้อยู่ในกฎ กติกา และมารยาทของการประชุมที่ดีได้นั้น ถือว่าเขาทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แล้วหรือไม่ (คำตอบของท่าน) ………………………………………...

  7. 4) ประธานที่ประชุมควรมีประสบการณ์ในงานกี่ปี จึงจะสามารถนำประชุมและใช้เวลาในการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คำตอบของท่าน) ………………………………………... 5) ประธานที่ประชุมที่ทำงานอยู่ในสายงานใด (บริหารทั่วไป บริหารการผลิต บัญชีและการเงิน และบริหารการตลาด) น่าจะมีความสามารถในการบริหารการประชุมได้ดีที่สุด (คำตอบของท่าน โปรดเรียงลำดับ) 1.………………………………………………………. 2.………………………………………………………. 3.………………………………………………………. 4.……………………………………………………….

  8. 6) เจ้าหน้าที่ในฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดูจะรักษาเวลาในการมาเข้าร่วมประชุมตรงตามเวลามากกว่าเจ้าหน้าที่จากฝ่ายอื่น ๆ จริงหรือไม่ (คำตอบของท่าน) ………………………………………... 7) การจัดให้มีการประชุมนอกสถานที่ จะมีประสิทธิผลสูงกว่าการจัดภายในองค์กรจริงหรือไม่ (คำตอบของท่าน) ………………………………………... 8) ภายใต้เจตนารมณ์ที่จะเริ่มประชุม และยุติการประชุมให้ตรงต่อเวลา แต่ในความเป็นจริงกลับเริ่มประชุมได้ช้ากว่ากำหนดการไป 15 นาที และเวลาเลิกประชุมก็ยืดออกไปอีก 15 นาทีด้วยเช่นกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น (คำตอบของท่าน) ………………………………………...

  9. คำตอบ ของนักธุรกิจในสหรัฐอเมริกา 1) ไม่เป็นความเป็นจริง มีแต่จะเท่าเดิมหรือมากขึ้น เนื่องจากในการปฏิรูปองค์กร จะเป็นผลให้เกิดรูปแบบของการทำงานเป็นทีมมากขึ้นมาแทน ซึ่งทีมงานต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีหัวหน้าทีมและลูกทีม ที่จำเป็นต้องมีการประชุมเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้แล้ว ในระหว่างทีมงานต่าง ๆ ก็ยังคงต้องอาศัยการประชุมเพื่อประสานงานกัน ให้ราบรื่นอีกด้วย

  10. 2) มีผู้ตอบว่า “ถูกต้อง” ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ตอบทั้งหมดด้วยเหตุผลประกอบที่ว่า หัวหน้างานคนนั้นเสมือนเป็นผู้ที่มีประสิทธิผลสูง มีการประสานงาน ประสานความคิด มอบหมายงาน และติดตามความก้าวหน้าของงานผ่านกระบวนการ และเทคนิคในการประชุม เป็นผลให้งานจำนวนมากชิ้นนั้นสำเร็จลุล่วงในเวลาที่รวดเร็วขึ้น

  11. 3) ถูกต้องเพียงบางส่วน ในความเป็นจริงนั้น การเตรียมการก่อนการประชุม (Planning & reparation) ต่างหากที่จะมีความสำคัญมากกว่าบทบาทของตัวผู้นำการประชุม โดยประสิทธิผลของการประชุมจะเกิดขึ้นจาก :- ๏ วัตถุประสงค์ของการประชุมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ๏ กำหนดเวลาของแต่ละวาระที่จะประชุมกัน ๏ ความคาดหวังที่จะมีผลในทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ๏ มีการศึกษาหาข้อมูล ข้อเท็จจริง เตรียมทำการบ้านมา ก่อนจะเข้าประชุม

  12. 4) คำตอบที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ตอบเห็นว่า ๏ ผู้นำประชุมที่มีอายุงานมากกว่า 20 ปี จะสามารถนำประชุมได้ โดยใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ 66 % ๏ ผู้นำประชุมที่มีอายุงานระหว่าง 10 - 20 ปี จะสามารถ นำประชุมได้ โดยใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ 64 % ๏ ผู้นำประชุมที่มีอายุงานน้อยกว่า 10 ปี จะสามารถ นำประชุมได้ โดยใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ 69 % โดยสรุป ก็คือ จะค่อนข้างใกล้เคียง ดังนั้น อายุงานจึงดู ไม่ค่อยเป็นอุปสรรคต่อการที่จะเป็นผู้นำในการประชุม น่าจะขึ้น อยู่กับการเตรียมการ และเทคนิคในการนำประชุมที่ถูกต้องมากกว่า

  13. 5) สายบริหารการผลิตและบริหารทั่วไป จะสามารถบริหารการประชุมได้ดีที่สุด เนื่องจากสามารถเตรียมการก่อนการประชุมได้เรียบร้อย มีการเขียนวัตถุประสงค์และวาระการประชุมได้อย่างชัดเจน มีเทคนิคในการดำเนินการประชุมที่ดีกว่า สามารถสรุปผลการประชุมได้ดีกว่าสายงานอื่น ๆ 6) ไม่เป็นความจริง กลุ่มที่ตรงเวลามากที่สุด คือ คนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต คงเป็นเพราะระบบงาน และระบบเครื่องอุปกรณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่ทุกวันนั้น เป็นเครื่องสอนให้เกิดจิตสำนึกในเรื่องการรักษาเวลาได้เป็นอย่างดี

  14. 7) ในจำนวนผู้ที่ตอบทุก ๆ 11 คน จะตอบว่า “ใช่” ถึง 10 คน ซึ่งน่าจะมีเหตุผลมาจากการจะไปประชุมนอกสถานที่ทำงานนั้นต้องมีการเตรียมการ และมีการวางแผนอย่างดี รวมทั้งจะไม่เกิดการถูกขัดจังหวะจากงานประจำอีกด้วย 8) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประชุม จะตกต่ำลงทันที ผู้เข้าร่วมประชุมอาจมีนัดหมายอื่นรออยู่ อาจเกิดความกระวนกระวายใจขึ้นได้ โดยรวมแล้วก็เท่ากับว่าเป็นสัญญาณเตือนของการบริการการประชุมที่ล้มเหลว

  15. คำถาม - คำตอบ จากการสำรวจข้างต้นนี้ พอจะสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ว่า ๏ การประชุมที่มีประสิทธิผล จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรในยุคใหม่ ๏ ประธานที่ประชุมหรือผู้นำประชุมจำเป็นต้องมีเทคนิค มีการวางแผนและมีการเตรียมการล่วงหน้าที่ดี ซึ่งมีความสำคัญ มากกว่าประสบการณ์ในการทำงานและสายงานที่สังกัด ๏ ความก้าวหน้าและความสำเร็จองกิจกรรมที่ทีมงาน รับผิดชอบจะขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของการประชุม การมอบหมาย และการติดตามงานรวมถึงความรับผิดชอบของผุ้เข้าร่วมประชุม ทุกคนเป็นสำคัญ

  16. อายุงานและประสบการณ์ในการทำงาน ไม่ได้เป็น อุปสรรคต่อการบริหารการประชุม ให้มีประสิทธิผลแต่อย่างใด นักบริหารรุ่นใหม่อายุงานเฉลี่ยประมาณ 10 ปี ก็สามารถทำหน้าที่ ได้อย่างดี

  17. บทที่ 2 การประชุม 5 ประเภท 1. การประชุมเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร 2. การประชุมเพื่อเร่งเร้าจูงใจและประกาศเกียรติคุณ 3. การประชุมเพื่อร่วมกันคิดสร้างสรรค์ 4. การประชุมเพื่อร่วมกันตัดสินใจ 5. การประชุมเพื่อสอนงานและฝึกอบรม

  18. 1. การประชุมเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร • เป็นการประชุมเพื่อทำความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขององค์กร นโยบายเป้าหมาย และกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึงวิธีปฏิบัติและระเบียบต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องมีการจัดกลุ่มผู้เข้าประชุมให้สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบ

  19. 2 . การประชุมเพื่อเร่งเร้าจูงใจและประกาศเกียรติคุณ การประชุมเพื่อเร่งเร้าจูงใจและประกาศผลสำเร็จของงานเป็นสิ่งสำคัญในยามที่องค์กรต้องการรวบรวมพลัง ความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงาน การประชุมใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมหลายร้อยคนควรดำเนินการ ดังนี้ • ตั้งชื่อการประชุมนี้ให้น่าสนใจ • ถ้ามีงบประมาณเพียงพอที่จะไปจัดที่ต่างจังหวัด ก็ยิ่งได้บรรยากาศ • ควรมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปร่วมบรรยายด้วย

  20. 3. การประชุมเพื่อร่วมกันคิดสร้างสรรค์ การประชุมประเภทนี้เป็นการประชุมที่องค์กรต่าง ๆ ปฏิบัติกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ และประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ ระดับของการทำงาน การร่วมกันคิดสร้างสรรค์โดยการประชุมนี้อาจมีวัตถุประสงค์ได้หลากหลาย เช่น  เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา  เพื่อระดมความคิด (Brainstorming) ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์  เพื่อระดมความคิกในการค้นหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

  21. 4. การประชุมเพื่อร่วมกันตัดสินใจ การประชุมในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจแก้ปัญหา กำหนดกลยุทธ์ หรือกำหนดเป้าหมาย ซึ่งองค์ประชุมจะต้องประกอบด้วยผู้นำประชุมที่เป็นผู้บริหารระดับสูง หรือผู้นำองค์กร และสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมก็จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีอำนาจการตัดสินใจสั่งการในระดับหน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน (User Department)

  22. 5. การประชุมเพื่อสอนงานและฝึกอบรม ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือติดตั้งระบบงานใหม่ เช่น การนำระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้นั้น จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้เข้าใจขั้นตอน และวิธีการใช้เครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ จึงจะช่วยให้การส่งมอบระบบเป็นไปโดยราบรื่น การประชุมประเภทนี้จะเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง ซึ่งผู้บริหารจะต้องเข้าใจในความจำเป็นอย่างแท้จริง

  23. สรุปการประชุมทั้ง 5 ประเภท • จะเห็นได้ว่า การประชุมทั้ง 5 ประเภท นี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในทุก ๆ องค์กร และสามารถแยกได้เป็นกลุ่มตามความคล้ายคลึงกันของการเตรียมการ และการดำเนินการในการประชุม ดังนี้ • กลุ่มแรก : ได้แก่ การประชุมเพื่อร่วมกันคิดสร้างสรรค์ และการประชุมเพื่อร่วมกันตัดสินใจ • กลุ่มที่สอง : ได้แก่ การประชุมเพื่อแจ้งข้อข่าวสาร การประชุมเพื่อเร่งเร้าจูงใจและประกาศเกียรติคุณ และการประชุมเพื่อสอนงานและฝึกอบรม

  24. บทที่ 3 ขั้นตอนการประชุม + การวางแผนล่วงหน้า + การดำเนินการประชุม + ปิดการประชุมและติดตามผล + บทบาทในการประชุม

  25. การวางแผนล่วงหน้า . การกำหนดวัตถุประสงค์ . การกำหนดผู้ที่ควรเข้าร่วมประชุม . การจัดวาระการประชุม . กำหนดการประชุมและหนังสือเชิญประชุม . การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์

  26. การดำเนินการประชุม การประชุมที่บรรลุผลสำเร็จมี 8 ขั้นตอน 1. การประชุมต้องเกิดจากความต้องการที่แท้จริง 2. ค่าเป้าหมายสำหรับการประชุม 3. ให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจ 4. ดำเนินการตามตารางเวลา 5. ให้ความสนใจกับสิ่งสำคัญ 6. ดำเนินการประชุมตามที่วางไว้ 7. ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม 8. มีผู้ดำเนินการประชุมที่ดี

  27. ปิดการประชุมและติดตามผลปิดการประชุมและติดตามผล . แบบฟอร์มประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการ ประชุม

  28. บทบาทในการประชุม 1. ผู้ดำเนินการประชุม (Facilitator) 2. ผู้บันทึกผลการประชุม (Note-taker) 3. ผู้บันทึกในกระดาน (Whiteboard Note-keeper) 4. ผู้รักษาเวลา (Time-keeper) 5. ผู้ควบคุมเวลา (Vibes-watcher) 6. สมาชิกผู้เข้าร่วมในการประชุม (Group Member)

  29. บทที่ 4 บทบาทการเป็นผู้นำการประชุม + บุคลิกภาพส่วนตัวของประธานที่ประชุม + เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุม + วิธีการจัดการกับตัวป่วนในที่ประชุม + แบบทดสอบการบริหารการประชุมให้มี ประสิทธิผล + คุณประโยชน์ของการประชุมที่เป็นเลิศ + ข้อชวนคิด : การใช้วิธีการเชิงระบบ

  30. บุคลิกภาพส่วนตัวของประธานที่ประชุมบุคลิกภาพส่วนตัวของประธานที่ประชุม • มีความยุติธรรมในการให้โอกาสแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้แสดงความคิดเห็นโดยเสรี • มีความมั่นใจในตนเอง โดยศึกษารายละเอียดของหนังสือเชิญประชุมและกำหนดการประชุม รวมถึงวาระการประชุมมาเป็นอย่างดี และมั่นใจว่าจะสามารถบริหารการประชุมให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในกาประชุมครั้งนี้ • ความชัดเจนในขั้นตอนการคิด และการตัดสินใจด้วยเหตุ-ด้วยผลรวมถึงทักษะในการวิเคราะห์ ตลอดจนสามารถสรุปประเด็น และสรุปกิจกรรมในแต่ละวาระการประชุม

  31. เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุม ช่วงเปิดการประชุม 1. เปิดการประชุมให้ตรงเวลา 2. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างบรรยากาศ 3. กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมและกำหนด พร้อมวาระต่าง ๆ 4. กล่าวแนะนำผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน 5. กล่าวขอความร่วมมือในการออกความเห็น วิเคราะห์ อภิปราย อย่างตรงไปตรงมา 6. ทบทวนการประชุมครั้งก่อน ติดตามความคืบหน้า

  32. คุณประโยชน์ของการประชุมที่เป็นเลิศคุณประโยชน์ของการประชุมที่เป็นเลิศ 1.) ประหยัดเวลาและได้ผลสรุปที่ดี ผู้นำประชุมที่ดีจะช่วยลดความขัดแย้ง และความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน อันเนื่องมาจากรูปแบบและวิธการคิด (Mental Models) ของแต่ละคนที่แตกต่าง 2.) สร้างความกระตือรือร้น และสร้างเสริมพลังของความร่วมมือ การประชุมที่มีประสิทธิผล จะเป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ร่วมประชุมได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน (Team Learning) ในเรื่องการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจรวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆ และยังทำให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้นำประชุมสามารถนำประชุมได้อย่างมีประสิทธิผล ผู้เข้าร่วมประชุมก็เต็มใจที่จะเข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือทุกวิถีทางของการประชุม

  33. 3.) เป็นการระดมพลังความคิด พลังความคิดจากผู้เข้าร่วมประชุม จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมหรือไม่ ก็อยู่ที่บทบาทของผู้นำประชุมเป็นสำคัญ หากมีการปล่อยให้บุคคลเพียง 2-3 คน ยึดที่ประชุมเป็นเวทีแล้ว คนอื่น ๆ อาจจะละความสนใจจากการร่วมคิดไปได้ 4.) การทำงานเป็นทีม การเข้าร่วมประชุมนั้นในทางจิตวิทยาถือได้ว่าเป็นการตอกย้ำเอกลักษณ์ขององค์กร ในลักษณะของการเป็นทีมงานเดียวกัน ทำให้เกิดความสามัคคี 5.) สถานการณ์สร้างผู้นำ ในการประชุมนั้นที่มีประสิทธิผล เราจะได้มีอกาสเห็นแววของผู้นำในรุ่นต่อ ๆ ไป และก็ค่อย ๆ เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันโดยอัตโนมัติ

  34. ข้อชวนคิด : การใช้วิธีการเชิงระบบ แนวคิดในการบริหารยุคใหม่ที่กล่าวขวัญถึงกันเป็นอย่างมาก ก็คือ การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) ซึ่งใช้เทคนิคการประชุมอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิผล ก็เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จ  การมีภาวะผู้นำ (Leadership) โดยผู้นำในทุก ๆ ระดับจะต้องเป็นทั้งผู้ออกแบบ (Designer) ครูผู้สอน (Teacher) และผู้คอยช่วยเหลือ (Steward)  การมีความคิดความเข้าใจในเชิงระบบ (Systems Thinking) ก็คือการมองอะไรก็มองภาพใหญ่และมองอย่างเป็ฯระบบ

  35. บทที่ 5 บทบาทผู้เข้าร่วมประชุมที่ดี • ก่อนการเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องเตรียมตัว โดยการศึกษาถึงวัตถุประสงค์และวาระการประชุมที่ได้แนบไปกับหนังสือเชิญประชุม และกำหนดการประชุม พร้อมทั้งต้องจัดเตรียมรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือคิดวิเคราะห์ตามวาระต่าง ๆ เป็นการล่วงหน้า

  36. บัญญัติ 10 ประการ • สิ่งที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องตระหนักไว้ตลอดเวลา ก็คือ กติกา และมารยาทในการประชุม ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1) ต้องมาเข้าร่วมประชุมให้ทันเวลา 2) ต้องนำสำเนารายงานกาประชุมครั้งนี้แล้ว และกำหนดการ ประชุมครั้งใหม่ พร้อมเอกสารประกอบ (ถ้ามี) 3) กรณีมาถึงก่อนเวลา ก็ควรรอในห้องประชุม ไม่ควรมีการ เดินเข้า-เดินออก (ถ้าไม่จำเป็น)

  37. 4) เมื่อต้องการจะพูดเรื่องชี้แจง ก็ควรยกมือขึ้นขออนุญาตต่อประธานในที่ประชุม และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงพูดได้ 5) อภิปราย หรือชี้แจงต่อที่ประชุมด้วยวาจากสุภาพ ไม่ก้าวร้าว มีใจความกระชับ ชัดเจน และมีเหตุมีผลเสมอ 6) การนำเสนอ การอภิปรายและชี้แจงทุกครั้ง จะเป็นการเสนอต่อท่านประธาน จึงไม่ควรมีการจับกลุ่มคุยกันเอง การจับคู่อภิปรายกันเองนั้น นอกจากจะไม่ให้เกียรติต่อประธานที่ประชุมแล้ว ยังเป็นการสูญเสียความต่อเนื่องของวาระที่ประชุมกันอยู่ด้วย

  38. 7) เก็บรักษาความลับในที่ประชุมไว้ไม่แพร่งพรายออกไป เพราะผู้ที่มีสิทธิและอำนาจต่อการเปิดเผยผลการประชุมนี้น่าจะอยู่ที่ตัวประธานเป็นสำคัญ 8) ไม่นำเครื่องอุปกรณ์สื่อสารใด ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่ส่งเสียงดังเข้าไปในห้องประชุม เพราะจะส่งเสียงรบกวนสมาธิ ที่ประชุม และถือได้ว่าไม่เคารพต่อที่ประชุมอีกด้วย 9) มีความพยายามที่จะร่วมกันคิดวิเคราะห์อย่างหลากหลายและหาทางแก้ไขปัญหา รวมถึงกล้าที่จะนำเสนอและตัดสินใจต่อ ที่ประชุม 10) หากที่ประชุมมีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่จะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เราจะไม่เห็นด้วย แต่ก็ควรเต็มใจรับไปปฏิบัติ เนื่องจากเราอยู่ในทีมเดียวกัน และองค์กรเดียวกัน

  39. บทที่ 6บทบาของผู้บันทึกผลการประชุม + กิจกรรมก่อนการประชุม + กิจกรรมระหว่างการประชุม + กิจกรรมภายหลังการประชุม + วิธีการเขียนรายงานการประชุม

  40. โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้บันทึกผลการประชุมและจัดทำรายงานการประชุม มักจะเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่ทำการวางแผน และกำหนดรายละเอียดของการประชุมร่วมกับผู้นำการประชุมหรือประธานที่ประชุม ในกรณีที่เป็นรูปแบบของคณะทำงาน หรือคณะอนุกรรมการ ก็อาจมีการเรียกตำแหน่งนี้ว่า เป็น “เลขานุการคณะทำงาน หรือ เลขานุการคณะอนุกรรมการ ” ก็ได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้รับผิดชอบงานด้านนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่จะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประชุม เนื่องจากจะต้องรับผิดชอบ เริ่มตั้งแต่การเกิด ไปจนถึงภายหลังการสิ้นสุดของการประชุมแต่ละครั้งเลยทีเดียว

  41. + กิจกรรมก่อนการประชุม 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประชุม 2. เรียนเชิญประธานที่ประชุม 3. กำหนดตัวผู้ที่ควรเข้าร่วมประชุม 4. กำหนดวาระจัดทำหนังสือเชิญประชุม 5. จัดทำกำหนดการของการประชุม (Meeting Agenda) 6. การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ 7. ประสานงานในการจัดเตรียมข้อมูล และการนำเสนอประเด็นของสมาชิกที่จะเข้าร่วมประชุม

  42. + กิจกรรมระหว่างการประชุม 1. จดบันทึกผลของการประชุม 2. เขียนสรุปประเด็นต่าง ๆ บนกระดานเขียน (White Board) หรือแผ่นพลิก (Flip Chart) 3. ประสานงานกับหน่วยงานด้านอาคารสถานที่ (ถ้ามี) เพื่อให้การประชุมดำเนินไปโดยราบรื่น ทั้งในเรื่องของการควบคุมเครื่องปรับอากาศ (อุณหภูมิที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา) ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง ตลอดจนการสำรองเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ

  43. + กิจกรรมภายหลังการประชุม 1. จัดทำรายงานการประชุม เพื่อนำเสนอให้ประธานที่ประชุมลงนามคู่กับผู้บันทึกผลการประชุม แล้วแจกจ่ายไปยังผู้เข้าประชุมทุกคนภายใน 48 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดการประชุม 2. รายงานการประชุมนั้น ต้องมีใจความสำคัญครบถ้วน ถูกต้องตามความเป็นจริง สั้น และกระชับ 3. ทำการประเมินผล เพื่อสรุปบรรยากาศและเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้น

  44. + วิธีการเขียนรายงานการประชุม วิธีที่จะเขียนรายงานการประชุมได้อย่างดีนั้นมีวิธีการ ดังนี้ 1. จงฟัง การฟังนั้นเป็นทักษะที่สำคัญ คุณไม่เพียงแต่ต้องฟัง ว่าที่ประชุมกล่าวถึงเรื่องอะไรกัน แต่ยังต้องมั่นใจด้วยว่าคุณ เข้าใจได้ถูกต้อง

  45. 2. จดบันทึก จดบันทึกประเด็นที่สำคัญและผลการตัดสินใจ โดยต้องระบุให้ได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการอภิปรายคืออะไร ? ข้อมูลไหนที่สำคัญ? และมุ่งความสนใจไปที่การตัดสินใจนั้น ๆ พร้อมทั้งกล่าวทวนผลการตัดสินใจด้วยเพื่อความถูกต้อง นอกจากนี้หากคุณพบว่าประเด็นไหนไม่ชัดเจนก็ควรถามแก่ที่ประชุมด้วย 3. เขียนรายงานการประชุม ต้องมีชื่อการประชุม ชื่อผู้เข้าร่วม ประชุม วัน เวลา สถานที่ รายละเอียดการอภิปรายประเด็นต่าง ๆ พร้อมการตัดสินใจ และผู้รับผิดชอบ

  46. ขอบคุณค่ะ

More Related