1 / 20

ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร

หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร การเตรียมการก่อนการเรียกขาน      1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย      2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ.

luz
Télécharger la présentation

ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารการเตรียมการก่อนการเรียกขาน     1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย     2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ

  2. 3. ก่อนพูดต้องฟังก่อนว่าข่ายสื่อสารนั้นว่างหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดการรบกวนการทำงานของสถานีอื่น โดยต้องใช้นามเรียกขานที่กำหนดให้เท่านั้น     4. ตรวจสอบนามเรียกขานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะต้องทำการติดต่อสื่อสารก่อน     5. การเรียกขานหรือการตอบการเรียก ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของข่ายสื่อสารการเรียกขาน

  3. การเรียกขานต้องครบองค์ประกอบ ดังนี้     - “นามเรียกขาน”  ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก      - “จาก”     - “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก     - “เปลี่ยน”

  4. การตอบรับการเรียกขาน       การตอบในการเรียกขาน ครั้งแรกต้องตอบแบบเต็ม  ซึ่งประกอบด้วย       ก.  “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก        ข.  “จาก”       ค.  “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก       ง.  “เปลี่ยน”     

  5. *ตัวอย่างที่  1(ศูนย์ฯ เรียก)     สายฟ้า  จาก  พิชิต เปลี่ยนลูกข่ายตอบ)  ตอบพิชิต จาก สายฟ้า  เปลี่ยน หรือ(ลูกข่ายตอบ)  จาก สายฟ้า  ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ(ลูกข่ายตอบ)  สายฟ้า  ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ)

  6. ขั้นตอนการติดต่อสื่อสารขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร 1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ  ที่สังกัด- การเรียกขาน / การตอบ- ใช้นามเรียกขานที่กำหนด2. แจ้งข้อความ / วัตถุประสงค์ / ความต้องการ- สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความ- ใช้ประมวลสัญญาณ ว. ที่กำหนด3. จบข้อความลงท้ายคำว่าเปลี่ยน

  7. การรับ / แจ้งเหตุฉุกเฉิน1. เมื่อพบเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือให้แจ้งศูนย์ฯ ที่สังกัดหรือสัญญาณ ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้2. เตรียมรายละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร) ของเหตุเพื่อจะได้แจ้งได้ทันที3. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรเปิดเครื่องรับ – ส่งวิทยุให้พร้อมไว้เพื่อจะได้ฟังการติดต่อประสานงาน รายละเอียดเพิ่มเติม

  8. 4. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรรายงานผลคืบหน้าในการประสานงานเป็นระยะ5. เมื่อมีผู้แจ้งเหตุแล้วไม่ควรสอดแทรกเข้าไป ควรฟังอย่างสงบเพื่อมิให้เกิดการรบกวนและความสับสน

  9. มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร1.  ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง2.  ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า3.  ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร4.  ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร

  10. 5.  ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง6.  ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท7.  ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน8.  ไม่ควรยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม9.  ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง

  11. การใช้และการบำรุงรักษาการใช้และการบำรุงรักษา เครื่องวิทยุคมนาคม

  12. เครื่องรับ–ส่งวิทยุคมนาคม1. การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่ สะพานเหล็ก หรือสิ่งกำบังอย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคในการใช้ความถี่วิทยุ2. ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ตรวจดูว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้วสายอากาศเรียบร้อยหรือไม่3. ขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกำลังส่ง (HI – LOW)4. ในการส่งข้อความ หรือพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์ (PTT) ไม่ควรส่งนานเกินไป (เกินกว่า 30 วินาที)

  13. สายอากาศ1.  ความยาวของสายอากาศจะต้องสัมพันธ์กับความถี่วิทยุที่ใช้งาน2.  สายอากาศชนิดชัก ต้องชักสายอากาศให้สุดในขณะใช้งาน และเก็บทีละท่อน

  14. สูตรการคำนวณหาความยาวคลื่นสูตรการคำนวณหาความยาวคลื่น วิธีการคำนวณหาความยาวคลื่น(แลมด้า)เรื่องง่ายๆที่นักวิทยุหลายคนยังไม่รู้ วิธีการคำนวณความยาวคลื่นความถี่เรามีจุดประสงค์ในการคำนวณอยู่ 2 อย่างคือ1. ต้องการคำนวณเพื่อจะนำไปสร้างสายอากาศ    สูตร = 300 / ความถี่ต้องการคำนวณ * ค่า Vilocityของท่ออะลูมิเนียม

  15. 2.ต้องการคำนวณเพื่อจะนำไปตัดสายนำสัญญาณให้ได้ขนาดที่ถูกต้องตามตำรา  สูตร = 300 / ความถี่ต้องการคำนวณ * ค่า Vilocityของสายนำสัญญาณ พื้นฐานการคำนวณเพื่อหาความยาวคลื่น   สูตร   =  300  หารด้วยความถี่ที่เราต้องการจะคำนวณ    เช่น ความถี่ 165MHz           =  300 / 165             =   181 cm.

  16. คำตอบ        คือ ย่านความถี่ 165mhz จะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 181 ซม. หรือ 1 แลมด้านี้คือการคำนวณความยาวคลื่นแบบพื้นฐานเท่านั้นแต่ถ้าเราต้องการนำไปใช้งานจริงต้องคูณค่า Vilocity Factor เข้าไปด้วยเช่นเราต้องการคำนวณหาความยาวของสายนำสัญญาณเราก็จะได้สูตรดังนี้ สูตรการคำนวณ300   หารด้วยความถี่ที่ต้องการคำนวณ  แล้วคูณด้วยค่า Vilocity Factor ของสายชนิดนั้นๆ

  17. ตัวอย่าง     ผมใช้สายนำสัญญาณ RG8  ซึ่งมีค่า Vilocityเท่ากับ 0.66 ใช้กับความถี่ 165MHz        =   300/165 *0.66         = 120.0 cmเราจะได้ค่าความยาวของสายนำสัญญาณ 1 แลมด้าสำหรับย่านความถี่ 165MHz ยาวเท่ากับ 120.0Cm

  18. วิธีการคำนวณเพื่อแบ่งสายนำสัญญาณให้เป็นท่อสั้นลง     ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ   1/4 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 4    1/8 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 8   1/16 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 16

  19. ตัวอย่าง ความถี่ 165Mhz สายนำสัญญาณชนิด RG8 ยาว 1แลมด้าเท่า 120ซม.      ต้องการ 1/4 แลมด้า    = 120/4*1    = 30cm ต้องการ 3/4 แลมด้า    = 120/ 4 * 3    = 90cm

  20. ต้องการ 5/4 แลมด้า    = 120/ 4 * 5    = 150cmต้องการ 5/8 แลมด้า    = 120/ 8 *5    = 75cm

More Related