1 / 29

ชุดการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุดการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์. รายวิชา เพิ่มเติม เรื่อง การเริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. 1. ชุดที่. เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. จัดทำโดย...นางณิชาพัฒน์ โชติธนนันทพงศ์ ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ

margo
Télécharger la présentation

ชุดการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชุดการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ชุดการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ รายวิชา เพิ่มเติม เรื่อง การเริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 1 ชุดที่ เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดย...นางณิชาพัฒน์ โชติธนนันทพงศ์ ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  2. คำนำ เอกสารชุดการเรียนรู้การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว 20204 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้สอนพยามยามที่จะสร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง พ.ศ. 2551 โดยมีทั้งหมดจำนวน 6 ชุด ดังนี้ ชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ชุดการเรียนรู้ที่ 2 เรือง ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การเลือกหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การตั้งสมมติฐานและตัวแปร ชุดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การนำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ชุดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนและครูผู้สอนในกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เอกสารชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง กระบวนการสืบเสาระแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่มนี้ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ขอขอบคุณ ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้คำแนะนำในการปรับปรุงตรวจสอบและแก้ไขจนได้ชุดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ณิชาพัฒน์ โชติธนนันทพงศ์

  3. คู่มือนักเรียน คำชี้แจง เอกสารชุดการเรียนรู้ เรื่อง เริ่มต้นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีจำนวน 6 เล่ม เอกสารเล่มนี้เป็นชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ใช้เวลา 4 ชั่วโมงให้นักเรียนปฏิบัติ ดังนี้ 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน 2. นักเรียนรับชุดการเรียนรู้จากครู เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 3. นักเรียนศึกษาคู่มือนักเรียนให้เข้าใจอย่างละเอียด และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดให้ 4. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ลงในกระดาษคำตอบ 5. ตรวจแบบทดสอบด้วยตนเอง และเขียนคะแนนไว้ในช่องคะแนนก่อนเรียน 6. นักเรียนอ่านมาตรฐานการเรียนรู้ / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 7. นักเรียนศึกษาใบความรู้ ทำแบบฝึกกิจกรรมตามลำดับ 8. เมื่อเสร็จทุกขั้นตอน ให้เปิดดูเฉลยในท้ายเล่ม และตรวจสอบ ถ้าหากตอบผิดหรือไม่แน่ใจให้กลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง (เฉลยบางข้อ จะเป็นแนวคำตอบเท่านั้น) 9. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ ลงในกระดาษคำตอบ เปรียบเทียบความก้าวหน้าของตนเอง 10. ส่งเอกสารชุดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอน เพื่อตรวจคำตอบอีกครั้ง และบันทึกคะแนนเก็บระหว่างเรียน

  4. ชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 8ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นักเรียนสามารถอธิบาย อภิปราย ความหมายของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เร็วๆ พวกเรารีบไปทำกิจกรรมกัน

  5. แบบทดสอบก่อนเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยองค์ประกอบใด 1. ความรู้ - ความจำ 2. ความจำ - ความเข้าใจ 3. ความเข้าใจ - การนำไปใช้ 4. ความรู้ - การนำไปใช้ 2. ทักษะ หมายถึง อะไร 1.ความรู้ 2. ความชำนาญ 3. ความเข้าใจ 4. ความจำ 3. วิธีการทางวิทยาศาสตร์เริ่มต้นด้วยข้อใด 1. รวบรวมข้อมูล 2. ปัญหา 3. สมมติฐาน 4. ทดลอง คำชี้แจง 1. ข้อสอบชุดนี้มี จำนวน 10 ข้อ 2. ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียวแล้ว เขียนเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ

  6. 4. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะใด เป็นลำดับแรก 1. การสังเกต 2. การวัด 3. การทดสอบ 4. ตั้งสมมติฐาน 5. เด็กน้อยเอามือไปแหย่เปลวไฟจึงรู้ว่าเปลวไฟร้อน จัดว่าเป็นการเรียนรู้ โดยวิธีใด 1. ความบังเอิญ 2. การสังเกต 3. การทดลอง 4. การจัดระบบ 6. ถ้าข้อมูล 1 2 3 5 8 13 จงพยากรณ์ว่าข้อมูลต่อไปของชุดนี้คือข้อใด 1. 21 2. 18 3. 15 4. 13 7. ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่เกิดจากการสังเกต 1. จำนวยผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2550 มีจำนวน 1,200 คน 2. จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลในปี 2550 จำนวนลดลง จากปี 2549 3. กลุ่มเลือดจำแนกเป็นหมู่ A, O , และ AB 4. คนแห่มาชุมนุมครั้งนี้มีประมาณ 800 คน

  7. 8. วิธีการใดสามารถนำมาใช้ในการป้องกัน แก้ไขผลกระทบอันเนื่องมาจาก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. ศึกษาสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว 2. รักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล 3. ศึกษาทดลองมากขึ้น 4. ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้นๆอย่างเข้าใจและนำไปใช้ให้ก่อเกิด ประโยชน์อย่างแท้จริง 9. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์ 1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน 2. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3. สร้างความสำนึกความรับผิดชอบ 4. ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีคุณธรรม 10. โครงงานวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดสิ่งใดมากที่สุด 1. ความรู้และประสบการณ์ในการทำโครงงาน 2. แนวทางในการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3. ความรับผิดชอบ 4. เจตคติที่มีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำกันได้ไหมค่ะ เด็กๆ

  8. ใบความรู้ เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์ซึ่งเป็นผู้สร้างและใช้เทคโนโลยี จึงมีความพยายามที่จะศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ สะสมไว้เพื่อสร้างศักยภาพเมื่อมีความจำเป็นก็จะได้นำความรู้ ที่ค้นพบนั้นไปสร้างเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบายและประโยชน์ต่างๆ ในการดำรงชีวิตให้มีความผาสุก โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ช่วย ให้นักเรียนได้เรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหารวมทั้งการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่จะเริ่มต้นด้วยการสังเกต และการทดลองที่เป็นระเบียบ มีขั้นตอนโดยปราศจากอคติ สามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล โดยทั่วไปวิทยาศาสตร์แบ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Pure Science) เป็นวิทยาศาสตร์กฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่เกี่ยวกับการเอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตหรืออุตสาหกรรม ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Appilied Science) กล่าวถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่ละสาขาไปใช้ใน กิจการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในอุตสาหกรรม หรือเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้าน อื่นๆ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  9. เทคโนโลยี คือความรู้วิชาการรวมกับความรู้ วิธีการและความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วยนั้นคือวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำควบคู่กัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่าทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องอาศัยกระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่มีกระบวนการนี้ก็จะไม่สามารถค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้ คือ 1. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง คุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1.ตระหนักในความไม่แน่นอนของสรรพสิ่ง ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ เป็นความรู้สุดยอดไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกประเภทพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีข้อมูลและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม 2. กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude)

  10. 2. ยึดมั่นในความจริงและข้อเท็จจริง พร้อมที่จะยอมรับประกาศและยืนยันความจริงและข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติหรือบิดเบือนเนื่องมาจากอิทธิพลทางอารมณ์ส่วนตนและสังคม 3. ยึดมั่นในอิสรเสรีภาพทางความคิด พร้อมที่จะยืนยันและต่อสู้ป้องกันความคิดเห็นของตนเอง ไม่เชื่อตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาโดยไม่มีเหตุผล และขัดแย้งกับความคิดเห็นของตนเองและในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่นแม้จะขัดแย้งหรือต่างจากความคิดของตนเองอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอคติ 4. อดทดต่อการรอคอยเพื่อความรู้ที่ถูกต้อง อดทนต่อการถูกคัดค้านโจมตีและเยาะเย้ย อดทนต่อความผิดพลาดพร้อมที่จะแสวงหาแนวทางใหม่สำหรับ การแก้ปัญหาที่ตนสนใจและกำลังศึกษาอยู่อย่างไม่ท้อถอย 5. ใฝ่หาเหตุผลทางธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งได้แก่ตัวอย่างต่อไปนี้ ก) ไม่เชื่อไสยศาสตร์และเวทมนตร์ต่างๆ ข) เชื่อว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะแปลกประหลาดและลึกลับเพียงใดก็ตาม ในที่สุดจะสามารถอธิบายด้วยเหตุผลได้เสมอ ค) เชื่อว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันเสมอไป ต้องอดทน และรอคอย

  11. 6. มีใจกว้าง ยอมรับข้อมูลและความคิดเห็นของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของตน ซึ่งได้แก่ตัวอย่างดังต่อไปนี้ ก) เชื่อว่าสัจธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ความคิดเห็นว่าอะไรจริงหรือไม่จริงเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ข) รวบรวมความคิดเห็นจากสิ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันที่ดีที่สุด ไม่ยึดถือความคิดที่สืบทอดกันมาเพียงอย่างเดียว ค) พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข้อสรุปของตนเองเมื่อมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพิ่มเติม ง ) พร้อมที่จะสังเกต รับฟัง หรือศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุน ความคิดซึ่งขัดแย้งกับความคิดเห็นของตน จ) ยอมรับว่าไม่มีข้อสรุปใดจะมีความถูกต้องสมบูรณ์ 7. เลือกข้อสรุปหรือความคิดที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงพอ ได้แก่ตัวอย่างดังต่อไปนี้ ก) รีรอที่จะรับว่าสิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงในเมื่อยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดแจ้ง ข) สร้างข้อสรุปจากหลักฐานเชิงประจักษ์หลายๆ ด้านหลายแหล่งที่มา ค) หาคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับปรากฏการณ์ที่ได้สังเกตเท่าที่หลักฐานเชิงประจักษ์จะอำนวยให้ ง) เข้มงวดต่อข้อเท็จจริง เว้นจากการโอ้อวดเกินความจริง จ) ไม่ยอมให้ความภูมิใจ อคติ ความลำเอียงหรือ ความทะเยอทะยานส่วนตนมาบิดเบือนความจริง รวบรวมข้อมูล ให้มากๆ

  12. 8. ประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของเทคนิคเครื่องมือที่ใช้ และข้อมูลที่ได้รับเสมอซึ่งได้แก่ตัวอย่างดังต่อไปนี้คือ ก) ในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหา กระทำตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ข) ใช้กระบวนการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลถูกต้อง ค) พิจารณาอย่างรอบคอบเสมอว่า ข้อมูลที่ได้สัมพันธ์กับปัญหาหรือไม่ ง) ทางเลือกแหล่งความรู้และข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดเสมอ 9. มีความกระตือรือร้น สนใจและจริงจังต่อสิ่งที่ตนกำลังสังเกต ซึ่งได้แก่ตัวอย่างดังต่อไปนี้ ก) ถามปัญหา “อะไร” “ทำไม” “อย่างไร” ในปรากฏการณ์ที่กำลังสังเกตเสมอ ข) ไม่พอใจในคำตอบใดๆ ที่มีความคลุมเครือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีสืบเสาะหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์แบบมีลำดับขั้นตอน การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะคล้ายกัน คือเมื่อพบปัญหาแล้ว เขาจะใช้วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางเดียวกัน จะมีการเริ่มต้น ณ จุดๆ หนึ่ง แล้วทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับขั้นตนถึงจุดสุดท้าย ก็จะครบวงจรของการแก้ปัญหา ถ้าอยากตรวจสอบใหม่ ณ จุดใดก็สามารถจะทดสอบได้ตามวงจรนั้น นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ได้สรุปวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็น 4ขั้น ตามลำดับดังนี้ คือ ขั้นตั้งปัญหา ขั้นสร้างสมมติฐาน ขั้นรวบรวมข้อมูล และ ขั้นลงข้อสรุป ( ดูในรูปที่ 1 ) 2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์

  13. เผชิญกับปัญหา จุดเริ่มต้น ตั้งปัญหา ตั้งปัญหาในรูปของคำถาม รวมรวมข้อมูล -ทำการทดลอง -สำรวจรวบรวมข้อมูล -สังเกต -อภิปรายซักถาม สร้างสมมติฐาน สร้างไว้หลายๆสมมติฐานแล้วเลือกสมมติฐานที่ดีที่สุดทำการทดสอบก่อน ลงข้อสรุป ตรวจสอบหาความจริงที่ปรากฏในข้อมูลและสรุปผล กฎ ทฤษฎีใหม่ ปัญหาใหม่ รูปที่ 1 แผนภาพแสดงขั้นตอนในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์

  14. 3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้แบ่งไว้ 13 ลักษณะ ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับโครงงานวิทยาศาสตร์

  15. โครงงานวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จัก การค้นคว้า การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลข้อมูล และนำเสนอข้อมูลอย่างมีทักษะ แบบแผน เป็นการตรวจสอบสมมติฐาน หรือกล่าวได้ว่าเป็นงานวิจัยขั้นพื้นฐานภายใต้คำแนะนำให้คำปรึกษาและการดูแลของครู อาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญ อาจกล่าวได้ว่า การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการวิจัยอย่างง่ายทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องแสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาโดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสำเร็จด้วยตนเอง ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น นักเรียนสามารถทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น มีหลักการที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี 2.นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความในใจและระดับความรู้ความสามารถ 3.เป็นกิจกรรมที่มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบปัญหาที่สงสัย 4.นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าตลอดจนดำเนินการปฏิบัติทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการแปลผล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยมีครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา 3. โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผมเป็นที่ปรึกษาให้ครับ

  16. จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองให้เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจในชุมชนได้ชม เมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่นๆ การทำโครงงานและการจัดงานแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ จะมีคุณค่าต่อการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีคุณค่าอื่นๆ อีก ดังนี้ 1.สร้างความสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 2.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง 3.เปิดโอกาสหนักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนในใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องเรียนตามปกติ 4.ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสาร 5.กระตุ้นให้นักเรียนมีความในใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์ 6.ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์ 7.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น 5. จุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่าลืมนำเสนอผลงานนะจ๊ะเด็กๆ

  17. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้ ความชำนาญและมีความมั่นใจในการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์ คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่นๆอีกมาก ซึ่ง สสวท. ได้สรุปได้ดังนี้ 1.สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษรค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 2.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง 3.เปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจนอก เหนือหรือลึกซึ้งกว่าการศึกษาในหลักสูตรปกติ 4.ช่วยให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (talent) ได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเอง 5.ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนที่มีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น 6.ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น 7.ช่วยทำให้ครูกับนักเรียนได้ทำงานร่วมกัน และครูจะให้คำปรึกษาหารือในการทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น 8.ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยโรงเรียนเปิดโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแก่ชุมชนมากขึ้น 6. คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์ เรามาลองทำกิจกรรมกันดูนะครับ เพื่อทดสอบความเข้าใจ

  18. แบบฝึกกิจกรรมที่ 1 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 10 คะแนน คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3 – 4 คน คละชาย หญิง คนเก่ง ปานกลาง และ คนที่อ่อน 2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 เวลา 10 นาที คะแนนเต็ม 10 คะแนน 3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 เวลา 10 นาที สมาชิกในกลุ่ม 1………………………………………………………ชั้น ม.2/……เลขที่……. 2………………………………………………………ชั้น ม.2/……เลขที่……. 3………………………………………………………ชั้น ม.2/……เลขที่……. 4………………………………………………………ชั้น ม.2/……เลขที่……. พร้อมแล้วค่ะ ตื่นเต้นๆ พร้อมลุยกันหรือยังค่ะเด็กๆ

  19. กิจกรรมที่ 1 คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณาจากข้อมูลที่กำหนดให้ ว่าข้อใดเป็น วิทยาศาสตร์และไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำได้มั๊ยจ๊ะเด็กๆ คะแนนเต็ม 10คะแนน คะแนนที่นักเรียนได้ คะแนน

  20. เกมส์ การสังเกต คำชี้แจง ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันสังเกตรูปภาพห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง ในเวลา 5นาที แล้วบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตเป็นข้อๆ อย่างละเอียด ที่มา http://awongyai.files.wordpress.com/2009/11/sciencelab.gif?w=300 หลัง / ไกล ซ้าย ขวา หน้า / ใกล้ เร็วๆ เจ้าตูบ เราไปช่วยน้องๆ เค้าสังเกตกัน

  21. ผลการสังเกต ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................เกณฑ์การประเมิน / ตรวจสอบกับภาพต้นฉบับ สิ่งที่สังเกตได้แต่ละอย่างให้ 1 คะแนน หากบอกจำนวนด้วย ให้ 2 คะแนน ถ้าได้ คะแนน 21 – 25 ถือว่ามีทักษะการสังเกตดีเยี่ยม คะแนน 16 – 20 ถือว่ามีทักษะการสังเกตพอใช้ คะแนน ต่ำกว่า 10 ยังต้องฝึกทักษะเพิ่มเติม สรุป นักเรียนมีทักษะการสังเกตอยู่ในระดับ ...............................................

  22. กิจกรรมที่ 2 คำชี้แจง ให้นักเรียนนำคำต่อไปนี้ไปเติมลงในช่องว่าให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ 1. กฎ ทฤษฎีใหม่ ปัญหาใหม่ 2. ลงข้อสรุป 3. รวบรวมข้อมูล 4. สังเกต 5. เผชิญกับปัญหา 6. อภิปรายและซักถาม 7. ตั้งปัญหา 8. สร้างสมมติฐาน 9. ทำการทดลอง 10. สำรวจรวบรวมข้อมูล จุดเริ่มต้น ........................... .................................. ........................................ ........................................................................................................................................................................................................ สร้างไว้หลายๆ สมมติฐาน แล้วเลือกสมมติฐานที่ดีที่สุดทำการทดสอบก่อน ตรวจสอบหาความจริงที่ปรากฏในข้อมูลและสรุปผล .............................................

  23. กิจกรรมที่ 3 คำชี้แจง ให้นักเรียนนำอักษรหน้าข้อความทางขวามือ ไปเติมหน้าข้อความทางซ้ายมือที่มี ความสัมพันธ์กัน

  24. แบบทดสอบหลังเรียน 1. วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยองค์ประกอบใด 1. ความรู้ - ความจำ 2. ความจำ - ความเข้าใจ 3. ความรู้ - การนำไปใช้ 4. ความเข้าใจ - การนำไปใช้ 2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์เริ่มต้นด้วยข้อใด 1. ปัญหา 2. ทดลอง 3. สมมติฐาน 4. รวบรวมข้อมูล 3. ทักษะ หมายถึง อะไร 1.ความรู้ 2. ความจำ 3. ความเข้าใจ 4. ความชำนาญ 4. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะใด เป็นลำดับแรก 1. การวัด 2. การสังเกต 3. การทดสอบ 4. ตั้งสมมติฐาน กิจกรรม 1

  25. 5. ถ้าข้อมูล 1 2 3 5 8 13 …… จงพยากรณ์ว่าข้อมูลต่อไปของชุดนี้คือ ข้อใด 1.13 2. 15 3. 18 4.21 6. เด็กน้อยเอามือไปแหย่เปลวไฟจึงรู้ว่าเปลวไฟร้อน จัดว่าเป็นการเรียนรู้ โดยวิธีใด 1. การสังเกต 2.การทดลอง 3. ความบังเอิญ 4. การจัดระบบ 7. ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่เกิดจากการสังเกต 1. คนแห่มาชุมนุมครั้งนี้มีประมาณ 800 คน 2. กลุ่มเลือดจำแนกเป็นหมู่ A, O , และ AB 3. จำนวยผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2550 มีจำนวน 1,200 คน 4. จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลในปี 2551 จำนวนลดลง จากปี 2550 กิจกรรม 1

  26. 8. โครงงานวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดสิ่งใดมากที่สุด 1. ความรับผิดชอบ 2. เจตคติที่มีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3. ความรู้และประสบการณ์ในการทำโครงงาน 4. แนวทางในการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 9. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์ 1. สร้างความสำนึกความรับผิดชอบ 2. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน 4. ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีคุณธรรม 10. วิธีการใดสามารถนำมาใช้ในการป้องกัน แก้ไขผลกระทบอันเนื่องมาจาก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. ศึกษาทดลองมากขึ้นศึกษา 2. สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว 3. รักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล 4. ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้นๆอย่างเข้าใจและนำไปใช้ให้ก่อเกิด ประโยชน์อย่างแท้จริง กิจกรรม 1

  27. 10 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 1. 4 6. 1 2. 2 7. 4 3. 2 8. 4 4. 4 9. 4 5. 3 10. 4 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 1. 3 6. 2 2. 1 7. 1 3. 4 8. 2 4. 4 9. 4 5. 4 10. 4

More Related