1 / 10

ทฤษฎีการสื่อสาร

ทฤษฎีการสื่อสาร. จัดทำโดย นางสาวภาณุมาศ นักษัตรมณฑล รหัสนิสิต 5414600546 สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ผู้ส่งสาร. ข้อมูลข่าวสาร. สื่อ หรือ ช่องทางการสื่อสาร. ผู้รับสาร. ทฤษฎีการสื่อสาร.

marlis
Télécharger la présentation

ทฤษฎีการสื่อสาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีการสื่อสาร จัดทำโดย นางสาวภาณุมาศ นักษัตรมณฑล รหัสนิสิต 5414600546 สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

  2. ผู้ส่งสาร ข้อมูลข่าวสาร สื่อ หรือ ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร ทฤษฎีการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน องค์ประกอบของการสื่อสาร

  3. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่า สื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียว แต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับ ก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ • ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น • สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์ • ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง

  4. รูปแบบจำลองการสื่อสารรูปแบบจำลองการสื่อสาร 1 ลาสแวลล์ (Lasswell) 2 เบอร์โล (Berlo) 3 แชนนันและวีเวอร์ (Shannon and Weaver) 4 ออสกูดและชแรมม์ (Osgood and Schramm) 5 ชแรมม์ (Schramm) CLOSE

  5. ลาสแวลล์ (Lasswell) โดยวิธีการและ ช่องทางใด พูดอะไร ไปยังใคร ด้วยผลอะไร ใคร ผล ผู้ส่ง สาร สื่อ ผู้รับ - ใคร คือ เป็นผู้ส่งหรือผู้ที่ทำการสื่อสาร - พูดอะไร คือ เนื้อหาที่สื่อสารออกไป - วิธีการและช่องทางใด เช่น ท่าทาง หรือใช้สื่อไฟฟ้า - ไปยังใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสาร - ด้วยผลอะไร คือ เมื่อผู้รับสารรับสารจะเกิดผล ตอบสนองอย่างไรบ้าง

  6. เบอร์โล (Berlo) • แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ

  7. แชนนันและวีเวอร์ (Shannan and Weaver) • ให้ความสำคัญกับ "สิ่งรบกวน" (Noise) เพราะในการสื่อสารหากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นก็จะเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร เช่น หากอาจารย์ใช้ภาพเป็นสื่อการสอนแต่ภาพนั้นไม่ชัดเจนหรือเล็กเกินไปก็จะทำให้ผู้เรียนเห็นไม่ชัดเจนทำให้เกิดการไม่เข้าใจ

  8. ออสกูดและชแรมม์ (Osgood and Schramm) • การกระทำของผู้ส่งและผู้รับซึ่งทำให้ที่อย่างเดียวกันและเปลี่ยนบทบาทกันไปมาในการเข้ารหัสสารการแปลความหมายและการถอดรหัสสารอย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ในการเข้ารหัสนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับตัวถ่ายทอดและการถอดรหัสก็คล้ายคลึงกับการับของเครื่องรับนั่นเอง

  9. ชแรมม์ (Schramm) แบบที่ 1 อธิบายการสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรงประกอบด้วย ผู้ส่ง การเข้ารหัส สัญญาณ การถอดรหัส และผู้รับ แบบที่ 2 อธิบายกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย แบบที่ 3 ในกระบวนการสื่อสาร จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร อันเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสารเป็น กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม

  10. ขอบคุณค่ะ ที่มา :กิดานันท์ มลิทอง 2543. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

More Related