1 / 28

งานนำเสนอ

งานนำเสนอ. เรื่อง รีโมตเซนซิ่ง. ผู้จัดทำ 1. น.ส. ธัญชนก พิมพ์บึง เลขที่ 20 2. น.ส. ศุภาวรรณ ซุยกระเดื่อง เลข ที่ 40 3. นาย ศตวรรษ แสนนาม เลขที่ 7 4. นาย จักรพันธ์ กาพย์แก้ว เลขที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เสนอ ครู อรวรรณ กองพิลา รายวิชา ภูมิศาสตร์.

marlow
Télécharger la présentation

งานนำเสนอ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานนำเสนอ เรื่อง รีโมตเซนซิ่ง

  2. ผู้จัดทำ 1. น.ส. ธัญชนก พิมพ์บึง เลขที่ 20 2. น.ส. ศุภาวรรณ ซุยกระเดื่อง เลขที่ 40 3. นาย ศตวรรษ แสนนาม เลขที่7 4. นาย จักรพันธ์ กาพย์แก้ว เลขที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เสนอ ครู อรวรรณกองพิลา รายวิชา ภูมิศาสตร์

  3. ที่มา และ ความหมายของ รีโมตเซนซิ่ง ในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) และทางภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery) เป็นคำที่ใช้แยกจากกัน ต่อมาได้มีการกำหนดศัพท์ให้รวมใช้เรียกคำทั้งสองรวมกัน ตลอดจนถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลซึ่งได้จากตัวรับสัญญาณระยะไกลที่เรียกว่า Remote Sensing คำว่ารีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing) เป็นประโยคที่ประกอบ ขึ้นมาจากการรวม   2  คำ ซึ่งแยกออก ได้ดังนี้ คือ          Remote = ระยะไกล            Sensing = การรับรู้

  4. จากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คำว่า "Remote Sensing"จึงหมายถึง "การรับรู้จากระยะไกล"   โดยมีนิยามความหมายนี้ได้กล่าวไว้ว่า “เป็นการสำรวจตรวจสอบคุณสมบัติสิ่งใดๆ ก็ตาม โดยที่มิได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นเลย”   ดังนั้นคำว่า "Remote Sensing"จึงมีความหมายที่นิยมเรียกอย่างหนึ่งว่า   การสำรวจจากระยะไกลโดยความหมายรวม รีโมทเซนซิ่ง จึงจัดเป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน   3  ลักษณะ คือ   - คลื่นรังสี    - รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก    - การเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา

  5. องค์ประกอบที่สำคัญของรีโมตเซนซิ่งองค์ประกอบที่สำคัญของรีโมตเซนซิ่ง • องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจข้อมูลระยะไกล คือ คลื่นแสง ซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานจาก ตัวเอง ซึ่งระบบการสำรวจข้อมูลระยะไกลโดยอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ เรียกว่า Passive Remote Sensing ส่วนระบบบันทึกที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้นและส่งไปยัง วัตถุเป้าหมาย เรียกว่า Active Remote Sensing เช่น ระบบเรดาร์ เป็นต้น

  6. รีโมตเซนซิ่ง อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น (spectral) รูปทรงสัณฐาน (spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (temporal) ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ระบบรีโมทเซนซิง แบ่งตามแหล่งกำเนิดพลังงานที่ก่อให้เกิดคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้า มี2กลุ่มใหญ่ คือ Passive remote sensing เป็นระบบที่ใช้กันกว้างขวางตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน โดยมีแหล่ง พลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ระบบนี้จะรับและบันทึกข้อมูลได้ ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันและมีข้อจำกัดด้านภาวะอากาศ ไม่สามารถรับข้อมูลได้ในฤดูฝน หรือเมื่อมีเมฆ หมอก ฝน

  7. 1. Passive remote sensing เป็นระบบที่ใช้กันกว้างขวางตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน โดยมีแหล่ง พลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ระบบนี้จะรับและบันทึกข้อมูลได้ ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันและมีข้อจำกัดด้านภาวะอากาศ ไม่สามารถรับข้อมูลได้ในฤดูฝน หรือเมื่อมี เมฆ หมอก ฝน 2. Active remote sensing เป็นระบบที่แหล่งพลังงานเกิดจากการสร้างขึ้นในตัวของเครื่องมือสำรวจ เช่น ช่วงคลื่นไมโครเวฟที่สร้างในระบบเรดาห์ แล้วส่งพลังงานนั้น ไปยังพื้นที่เป้าหมาย ระบบนี้ สามารถทำการรับและบันทึกข้อมูล ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา หรือ ด้านสภาวะภูมิอากาศ คือสามารถรับส่งสัญญาณได้ทั้งกลาง วันและกลางคืน อีกทั้งยังสามารถทะลุผ่านกลุ่มเมฆหมอก ฝนได้ในทุกฤดูกาล ในช่วงแรก

  8. ระบบ passive remote sensingได้รับการพัฒนามาก่อน และยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนระบบ active remote sensingมีการชพัฒนาจากวงการทหาร แล้วจึงเผยแพร่เทคโนโลยีนี้ต่อกิจการพลเรือนในช่วงหลัง การสำรวจในด้านนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะกับประเทศในเขตร้อนที่มีปัญหาเมฆ หมอก ปกคลุมอยู่เป็นประจำ

  9. หลักการของรีโมตเซนซิ่งหลักการของรีโมตเซนซิ่ง ประกอบด้วย 2 กระบวนการ ดังต่อไปนี้คือ 1. การได้รับข้อมูล (Data Acquisition)เริ่มจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดพลังงาน เช่น ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ, เกิดปฏิสัมพันธ์กับวัตถุบนพื้นผิวโลก และเดินทางเข้าสู่เครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ ซึ่งโคจรผ่าน ข้อมูลวัตถุหรือปรากฏการณ์บนพื้นผิวโลกที่ถูกบันทึกถูกแปลงเป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ส่งลงสู่สถานีรับภาคพื้นดิน และผลิตออกมาเป็นข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลเชิงอนุมาน และข้อมูลเชิงตัวเลขเพื่อนำไปนำวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

  10. 2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) วิธีการวิเคราะห์มีอยู่ 2 วิธี คือ   - การวิเคราะห์ด้วยสายตา ที่ให้ผลข้อมูลออกมาในเชิงคุณภาพ ไม่สามารถ วัดออกมาเป็นค่าตัวเลขได้แน่นอน - การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ที่ให้ผลข้อมูลในเชิงปริมาณที่สามารถแสดง ผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นค่าตัวเลขได้การวิเคราะห์หรือการจำแนกประเภทข้อมูลต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้    1.)ข้อมูลพื้นที่และเวลาเดียวกันที่ถูกบันทึกในหลายช่วงคลื่น ซึ่งในแต่ละช่วงความยาวคลื่น (Band) ที่แตกต่างกันจะให้ค่าการสะท้อนพลังงานของวัตถุหรือพื้นผิวโลกที่แตกต่างกัน    2.)การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลายช่วงเวลา เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง

  11. 3.)ระดับความละเอียดของข้อมูลในการจำแนกหรือวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน เช่น การวิเคราะห์ในระดับภูมิภาคก็อาจใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ที่มีรายละเอียดภาพปานกลาง

  12. สิ่งที่เกี่ยวข้อง และ สัมพันธ์ กับการทำงานของ รีโมตเซนซิ่ง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับ รีโมตเซนซิ่ง เป็นอย่างมาก และเป็นที่เข้าใจกันเป็น อย่างดี คือ รูปถ่ายทางอากาศ และ ภาพจากข้อมูลดาวเทียม ซึ่งบางครั้ง ที่ใช้ในการสื่อความหมายของ รีโมทเซนซิ่งคือข้อมูลระยะทางไกลข้อมูลจากดาวเทียม หรือโทรสัมผัส

  13. รูปถ่ายทางอากาศ 1. รูปถ่ายทางอากาศคือรูปที่ได้จากการถ่ายทำทางอากาศ โดยผ่านกล้องและฟิลม์ หรือบันทึกตัวเลข รูปถ่ายทางอากาศมีประโยชน์ต่อการเรียนทางภูมิศาสตร์ การศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ เมืองและหมู่บ้านโรงงาน อุตสาหกรรมความ หลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมาก

  14. ตัวอย่าง ภาพถ่ายทางอากาศ

  15. ภาพถ่ายทางดาวเทียม สภาพพายุจาก Asia Satellite (Weather Channel)

  16. ภาพถ่ายจากดาวเทียม 2.  ข้อมูลจากดาวเทียมเป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับณสถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินซึ่งกระจายอยู่ในบางประเทศทั่วโลก เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่งซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถจะนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่

  17. ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 IR1

  18.     ดาวเทียมที่เราควรรู้จักได้แก่1.1)  ดาวเทียมแลนด์แซต เป็นดาวเทียมของอเมริกา  เริ่มส่งและดำเนินการบันดาวเทียมแลนด์แซตทึกข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซต ดวงแรก1.2) ดาวเทียมสปอต  เป็นดาวเทียมของฝรั่งเศสและกลุ่ม ประเทศยุโรป  ใช้ศึกษาตะกอนในน้ำ  ปากแม่น้ำ  น้ำชายฝั่งทะเล  แยกประเภทพืช ศึกษาสภาพภูมิประเทศ1.3) ดาวเทียมโนอา  เป็นดาวเทียมขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งอเมริกา  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาด้านอุตุนิยมวิทยาโดยเฉพาะการพยากรณ์อากาศ  

  19. การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม          ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบและได้มีการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว เช่น  พื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า  พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดป่า  จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่างต่อเนื่องเช่น  การเช้าไปสังเกตการณ์การตรวจวัด    แต่ถ้าพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่  การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงต้องนำเทคโนโลยีมาใช้คือการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม  แต่ละดวงมีการเก็บข้อมูลด้วยความถี่สม่ำเสมอและสามารถใช้   ทดแทนกันได้  ข้อมูลดาวเทียมมีประโยชน์มากในการสำรวจทรัพยากร  ข้อมูลบางชนิดหลังจากสร้างเป็นแผนที่เฉพาะแบบแล้ว  เช่น  แผนที่ธรณีวิทยา  แผนที่ดิน  หรือแผนที่แหล่งน้ำ  จะมีการเปลี่ยนแปลงช้า  ข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เช่น  สภาพอากาศ  การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า และการใช้ที่ดิน

  20. ประโยชน์ของ รีโมตเซนซิ่ง อุตุนิยมวิทยา/อุบัติภัย • ภาพถ่ายจากดาวเทียมสามารถใช้ถ่ายพื้นที่ที่ได้รับเหตุอุบัติภัย และกำหนดขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้ ติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้น • ภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ศึกษาลักษณะการเกิดและประเมินความรุนแรง • ผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลพื้นที่ได้รับผลกระทบ เพื่อการวางแผนช่วยเหลือและฟื้นฟู

  21. ด้าน การวางผังเมือง . ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง เพื่อใช้ติดตามการขยายตัวของเมือง ·  ใช้ภาพถ่ายรายละเอียดสูง ติดตามระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ BTS ไฟฟ้า เป็นต้น ·   ผลลัพธ์จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์การพัฒนาสาธารณูปการ เช่น การจัดสร้าง/ปรับปรุง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ดับเพลิง ไปรษณีย์ ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ

  22. ด้านธรณีวิทยา การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแปลสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและโครงสร้างทางธรณี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น

  23. ด้านการเกษตร ภาพถ่ายจากดาวเทียมใช้สำรวจบริเวณพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สัปปะรด อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ผลลัพธ์จากการแปลภาพใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแง่ ปริมาณ ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ ติดตามขอบเขตและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้ประเมินบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม (มีศักยภาพ) ในการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

  24. ด้านการทำแผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม ที่ทันสมัยนำมาปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใหญ่ 1:50000 ได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัย ·   ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิประเทศ เส้นทางการคมนาคม หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ ·   ใช้ในการวางแผน/การมองภาพรวมที่รวดเร็วและถูกต้อง ·   จัดทำภาพสามมิติ

  25. ด้านป่าไม้ • ติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน • เป็นต้น • ผลลัพธ์จากการแปลสภาพพื้นที่ป่า เพื่อสำรวจพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรม นอกจากนี้ยังใช้สำหรับ ติดตามพื้นที่ไฟป่าและความเสียหายจากไฟป่า ประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกป่าทดแทนบริเวณที่ถูกบุกรุก หรือโดนไฟป่า

  26. ด้านสมุทรศาสตร์ และการประมง รีโมตเซนซิงใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำในท้องทะเล ·   ศึกษาตะกอนในทะเลและคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่งเช่น การแพร่ของตะกอนแขวนลอยจากการทำเหมืองแร่ในทะเล ศึกษาการประมงด้วยภาพดาวเทียมเรดาร์ที่เห็นพื้นที่ประมงน้ำเค็ม

  27. อ้างอิง http://netdev.gistda.or.th/knowledge/html/rs.html http://www.gotoknow.org/blog/logistics-supplychain/313504 http://pirun.ku.ac.th/~b4755096/ http://www.bubphateach.com/index.php?option=com_ content&view=ar... http://www.learners.in.th/blog/wann8/32031

  28. จบการนำเสนอ

More Related