1 / 259

ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติและดุลยภาพในตลาดผลผลิต

บทที่ 2. ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติและดุลยภาพในตลาดผลผลิต. โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ. การคำนวณรายได้ประชาชาติ องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ ดุลยภาพในตลาดผลผลิต ความชันและความยืดหยุ่นของเส้น IS

mateo
Télécharger la présentation

ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติและดุลยภาพในตลาดผลผลิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติและดุลยภาพในตลาดผลผลิต โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ • การคำนวณรายได้ประชาชาติ • องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ • ดุลยภาพในตลาดผลผลิต • ความชันและความยืดหยุ่นของเส้น IS • การเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพในตลาดผลผลิต (เส้น IS) • สรุป • กิจกรรมและคำถามท้ายบท

  3. ความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติ -ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) -ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) โดย GNP = GDP + F เมื่อ F = net income from abroad (รายได้สุทธิจากต่างประเทศ) -ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product : NNP) โดย NNP = GNP - ค่าใช้จ่ายกินทุน เมื่อ ค่าใช้จ่ายกินทุน (Capital Consumption Allowances) ประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคา ค่าเครื่องใช้เครื่องมือในการผลิต ที่ชำรุดสึกหรอหรือล้าสมัย และค่าทรัพย์สินสูญหาย

  4. -รายได้ประชาชาติ(National Income : NI) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการประชาชาติผลิตขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายกินทุนและภาษีทางอ้อมออกแล้ว (Indirect Tax) ออกแล้วโดย NI = NNP - ภาษีทางอ้อม เมื่อภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่ผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่ที่จะต้องเสียให้รัฐบาล เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น -รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income :PI) โดย PI = NI - กำไรที่ธุรกิจกันไว้ขยายกิจการ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน -รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (Disposable Personal Income : DPI) โดย DPI = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  5. ความสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติประเภทต่าง ๆ 1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) = เป็นมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง 2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) = GDP + F 3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (NNP) = GNP – ค่าใช้จ่ายกินทุน 4. รายได้ประชาชาติ (NI) = NNP – ภาษีทางอ้อม 5. รายได้ส่วนบุคคล (PI) = NI –กำไรที่ธุรกิจกันไว้ขยายกิจการ – ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน 6. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  6. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ การคำนวณ GDP ด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) ด้านรายได้ (Income Approach) ด้านผลผลิต (Production Approach)

  7. 1) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านการผลิต หรือด้านผลผลิต (Production Approach) (1) คำนวณจากผลิตผลขั้นสุดท้ายเป็นผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการเฉพาะที่เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย (Final Product) ที่ผลิตขึ้นในประเทศหรือที่ประเทศได้มาในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี -(2) คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value added) ซึ่งเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตในแต่ละขั้นตอน โดยคิดเพียงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตแต่ละขั้น เพื่อขจัดปัญหาการนับซ้ำ มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าของสินค้าและบริการ(ที่ขาย) - (ต้นทุน)สินค้าและบริการที่ใช้ในการผลิตสินค้า

  8. ตารางแสดงตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเพิ่มตารางแสดงตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเพิ่ม

  9. ภาพแสดงส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติด้านการผลิตภาพแสดงส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติด้านการผลิต ด้านผลผลิต(Production Approach) 1.) เกษตรกรรม 7.) ค้าส่งและค้าปลีก 2.) เหมืองแร่และย่อยหิน 8.) การธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3.) อุตสาหกรรมการ 9.) ที่อยู่อาศัย 4.) ก่อสร้าง 10.) การบริหารและการป้องกันประเทศ 5.) การไฟฟ้าและการประปา11.) การบริการ 6.) การคมนาคมและการขนส่ง

  10. 2) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (Income Approach) เอารายได้ของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งของเอกชนและรัฐบาลอันเกิดจากการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดในประเทศเข้ามารวมกันในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ก. รายได้ของเอกชนประกอบด้วย ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร ข. รายได้ของรัฐบาลส่วนมากเป็นรายได้จากเงินค่าภาษีอากร รายได้จากทรัพย์สินและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ค. รายได้ที่ไม่นำมารวมเป็นรายได้ประชาชาติ เป็นรายได้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เช่น เงินโอน รายได้ที่ได้มาโดยบังเอิญ รายได้ที่ผิดกฎหมาย

  11. ด้านรายได้ (Income Approach) ค่าจ้าง (wages) กำไร (profits) ค่าเช่า (rent) ดอกเบี้ย (interest)

  12. 3) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) GNE = C + I + G + (X-M) NI = GNE - Capital Consumption Allowance - Indirect Tax

  13. องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติองค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ

  14. องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติองค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ • การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (Consumption : C) • การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน (Investment : I) • การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure : G) • การส่งออกสุทธิ (Net Export : X-M)

  15. Y = C + I + G + (X – M) (1) ตามแบบจำลองอย่างง่ายของ เคนส์เซี่ยน (Simple Keynesian Economic Model)เงื่อนไขผลผลิตดุลยภาพY = E = C + I + G (2) Y คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมปะชาชาติ (GNP) E คือ อุปสงค์มวลรวม (AD = C + I + G)ถ้าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติด้านรายได้Y = C + S + T (3)เงื่อนไขรายได้ดุลยภาพ (2) = (3) C + I + G = C + S + T I + G = S + T(4)

  16. ภาษี(T) รายได้ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ การบริโภค(C) GDP การออม(S) การลงทุน(I) ตลาดการเงิน การใช้จ่าย(G) ภาษี(T) ภาครัฐบาล กระแสการหมุนเวียนของรายได้และผลผลิต ในระบบเศรษฐกิจแบบปิดและมีภาครัฐบาล

  17. ส่วนกระตุ้นในระบบเศรษฐกิจ (Injection): เมื่อเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มสูงขึ้นหรือขยายตัว - การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (C)- การลงทุน(I)- การใช้จ่ายรัฐบาล (G) - การส่งออก (X) • ส่วนรั่วในระบบเศรษฐกิจ (Leakage) : เมื่อเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ประชาชาติลดลงหรือหดตัว - การออม (S)- ภาษี (T)- การนำเข้า (M)

  18. การบริโภค (Consumption : C)

  19. การบริโภค (Consumption : C) ความหมายของรายจ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน (Private Consumption) - รายจ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน (Private Consumption) หมายถึง รายจ่ายของครัวเรือนหรือประชาชนในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ต่างๆในงวดเวลาหนึ่งๆ ซึ่งรวมถึงรายจ่ายซื้อสินค้าที่บริโภคหมดไป ตลอดจน รายจ่ายค่าซื้อบริการต่างๆ (1) nondurable goods เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า อาหาร (2) durable goods เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ (3) ค่าซื้อบริการต่างๆ เช่น บริการการแพทย์ บริการธนาคาร การศึกษา ค่าเช่าบ้าน

  20. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน (1) รายได้ประชาชาติ (ในทิศทางเดียวกัน) (2) อัตราภาษี (ในทิศทางตรงกันข้าม) (3) ระดับราคา (ในทิศทางตรงกันข้าม) (4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ในทิศทางตรงกันข้าม) (5) อัตราดอกเบี้ย (ในทิศทางตรงกันข้ามกัน) (6) สินเชื่อผู้บริโภค (ในทิศทางเดียวกัน) (7) ทรัพย์สิน (ในทิศทางเดียวกัน) (8) การคาดคะเนอนาคต (ในทิศทางเดียวกัน/ทางดี-ทางร้าย) (9) ลักษณะการกระจายรายได้ (ในทิศทางเดียวกัน) (10)การเปลี่ยนแปลงรสนิยม (ในทิศทางเดียวกัน) (11)การเอาอย่างกันในการบริโภค (ในทิศทางเดียวกัน)

  21. เคนส์และฟังก์ชันการบริโภค (Keynes an Consumption Function)

  22. เคนส์และฟังก์ชันการบริโภค -ฟังก์ชั่นการบริโภค (Consumption Function) C = f(Yd) เมื่อ C = การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค Yd = Disposable Income เป็นรายได้สุทธิส่วนบุคคล ซึ่งพ้นภาระ ภาษีที่บุคคลสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยได้จริง - แบบจำลองการบริโภคที่ขึ้นอยู่กับรายได้ C = a + bYd เมื่อ a = ค่างคงที่ เป็นการบริโภคขณะที่รายได้เท่ากับศูนย์ (Autonomous consumption) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ (ระยะตัดแกนการบริโภค) b = ความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายอุปโภคบริโภคเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (Marginal Propensity to Consume หรือ MPC) (ความ ชันเส้นการบริโภค)

  23. = APC = + b = MPC= bสรุป เมื่อ Y เพิ่มขึ้น APC จะลดลงAPC > MPC เพราะ APC = + MPC MPC มีค่าคงที่(= b) และ 0 < MPC < 1

  24. C = a + bYd Yd = Y – T T = T0 การบริโภคขึ้น (C) อยู่กับรายได้หลังหักภาษี (Yd)ภาษี(T) เป็นแบบเหมาจ่าย (T0) (ไม่ขึ้นอยู่กับรายได้) C = a + b (Y – T0) C = a + bY – bT0 C = a – bT0 + bYโดยที่ a – bT0คือ ระยะตัดแกนการบริโภค(แกนตั้ง)b คือ ความชัน (Slope) ของเส้นการบริโภค

  25. C C2= (a-bT0)/ + bY1 (a-bT0) C2 C1= (a-bT0) + bY1 C1 (a-bT0)/ (a-bT0) Y 0 Y1 การบริโภคขึ้น (C)เพิ่มขึ้น เมื่อการบริโภคที่ไม่ขึ้นกับรายได้เพิ่มขึ้น

  26. การบริโภคขึ้น (C)เพิ่มขึ้น เมื่อการบริโภคที่ไม่ขึ้นกับรายได้เพิ่มขึ้น C2= 120 + 0.7Y1 C C1= 100 + 0.7Y1 20 C2=330 C1=310 120 100 Y 0 Y1=300

  27. C = a + bYd Yd = Y – T T = T0 + tY การบริโภคขึ้น (C) อยู่กับรายได้หลังหักภาษี (Yd)ภาษี(T) เป็นแบบเหมาจ่าย (T0) และภาษีที่ขึ้นอยู่กับรายได้ (tY)(เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล) t คือ อัตราภาษี C = a + b (Y – T0 – tY) C = a + bY – bT0 - btY C = a – bT0 + bY – btY C = a – bT0 + (1 – t)bYโดยที่ a – bT0คือ ระยะตัดแกนการบริโภค(แกนตั้ง)(1 – t)b คือ ความชัน (Slope) ของเส้นการบริโภค

  28. C C3= (a-bT0) + (1-t1)bY1 (a-bT0) C2 (t1 ) C3 C1 (t2 ) (a-bT0)/ C4 (a-bT0) Y 0 Y1 การบริโภคขึ้น (C)เพิ่มขึ้น เมื่อการบริโภคที่ไม่ขึ้นกับรายได้เพิ่มขึ้น และอัตราภาษีเปลี่ยน C2= (a-bT0)/ + (1-t)bY1 C1= (a-bT0) + (1-t0)bY1 C4= (a-bT0) + (1-t2)bY1

  29. การบริโภคขึ้น (C)เพิ่มขึ้น เมื่อการบริโภคที่ไม่ขึ้นกับรายได้เพิ่มขึ้น และอัตราภาษีเปลี่ยน C C2= 400 + (1-0.2)0.7Y1 C3= 200 + (1-0.1)0.7Y1 (200) C2=680 (t1=0.1) C1= 200 + (1-0.2)0.7Y1 C3=515 (t2 =0.1) C1=480 C4= 200 + (1-0.3)0.7Y1 400 C4=396 200 0 Y Y1=500

  30. ทฤษฎีการบริโภคภาคตัดขวางและแบบอนุกรมเวลา (Cross –Section and Time – series Consumption Function)

  31. ทฤษฎีการบริโภคภาคตัดขวางและแบบอนุกรมเวลา C= 2.42 + 0.66Y (0.86) (47.48)** t-statR2 = 0.996 C C= 2.42 + 0.66Y C2=75.02 C1=68.42 2.42 Y 0 Y1=100Y2=110

  32. การบริโภคภาคตัดขวาง ในเขตเทศบาล

  33. การบริโภคภาคตัดขวาง นอกเขตเทศบาล

  34. การบริโภคในระยะยาว

  35. การบริโภคในระยะสั้นและระยะยาว (Short-run and Long-run Consumption Function)

  36. C C= 0.9Y C2=117 C1=90 Y 0 Y1=100Y2=130 C= bY ; ไม่มี a หรือ ค่าคงที่ หรือระยะตัดแกนตั้ง=APC APC = MPC = b = MPC ข้อค้นพบของ Simon Kuznet C = bYและ APC เกือบจะคงที่ ซึ่งแตกต่างจากเดิม (ของเคนส์)

More Related