1 / 36

ทุจริตธนาคาร

ทุจริตธนาคาร. คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านทั่วไป ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน Bank and Financial Institution Internal Auditors Club กันยายน 2547. ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์. ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (2528) ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (2533) IIA’s Endorsed Internal Auditing Program (2546)

Télécharger la présentation

ทุจริตธนาคาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทุจริตธนาคาร คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านทั่วไป ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน Bank and Financial Institution Internal Auditors Club กันยายน 2547 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  2. ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์ • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (2528) • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (2533) • IIA’s Endorsed Internal Auditing Program (2546) • ประสบการณ์ด้านวิศวกรรม 5 ปี • ประสบการณ์ด้านการเงิน 15 ปี • หัวหน้าตรวจสอบภายใน บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)(มิ.ย. 2547 - ปัจจุบัน) • ผ่านการสอบ CIA CCSA CISA • วิทยากรและคณะทำงาน สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  3. ความเสียหายจากอาชญากรรมทางการเงินการธนาคารปี 2536 - 2545 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  4. หัวข้อบรรยาย • 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • 3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • 4. ทุจริตเกี่ยวกับการขาดการควบคุมบัตรผ่านรายการ • 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • 7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  5. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • ไม่มีการสุ่มตรวจเงินสดคงเหลือในห้องมั่นคงกับยอดทางบัญชีให้ถูกต้องตรงกัน • พนักงาน Cashier ทุจริตนำเงินไปใช้หมุนเวียนโดยแอบยัดไส้แหนบเงินหรือบรรจุเงินในแต่ละแหนบไม่ครบถ้วนทำให้เงินสดขาดหายไป หรือซ่อนยอดไว้ในธนบัตรชำรุดหรือเหรียญกษาปณ์ • ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่อาวุโส ต้องร่วมเป็นกรรมการสุ่มตรวจนับเงินสดคงเหลือในห้องมั่นคงโดยไม่แจ้งพนักงาน Cashier ทราบล่วงหน้า ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  6. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • ไม่มีการตรวจสอบเงินสดของสาขาย่อย • ผู้จัดการสาขาแม่ ไม่ได้กำชับให้สาขาย่อย ส่งเงินสดให้สาขาแม่ทั้งที่ในรายงานปรากฏยอดเงินสดในมือสูงมาก เมื่อไปตรวจนับเงินสดจริง พนักงานได้ทุจริตนำเงินไปใช้แล้ว • ผู้จัดการสาขาแม่ ต้องกำชับให้ผู้จัดการสาขาย่อยส่งเงินให้สาขาแม่ทุกวันโดยจะต้องเหลือเงินสดที่สาขาย่อยให้น้อยที่สุด และต้องไปสุ่มตรวจนับเงินสดที่สาขาย่อยอย่างน้อยเดือนละครั้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  7. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • การควบคุมภายในด้านเงินสด • ควรติดตามดูแลพฤติกรรมพนักงานด้านการเงินอยู่เสมอ • โต๊ะ Cashier ควรอยู่ห่างจากเคาน์เตอร์ ไม่ควรตั้งเก้าอี้รับแขก และไม่ให้นำถุงหรือกระเป๋าอื่นนอกจากกระเป๋าใส่เงินของธนาคารมาวาง • การรับ/จ่ายเงินของ Cashier ต้องทำผ่านพนักงาน A/T ทุกครั้ง ในการรับส่งเงินต้องตรวจนับซึ่งหน้า บันทึกรายการ และลงนามกำกับทันทีทุกครั้ง • ควบคุมให้พนักงาน A/T นำเงินส่ง Cashier เป็นระยะ และไม่ยอมให้ พนักงาน A/T ยืมเงินกันเองเพื่อจ่ายลูกค้า ต้องเบิกจาก Cashier เท่านั้น • การนำเงินเข้าออกห้องมั่นคงของ Cashier ต้องทำคู่กับผู้รับมอบอำนาจ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  8. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • การควบคุมภายในด้านเงินสด • ผู้รับมอบอำนาจสาขาตรวจนับเงินสดที่ Cashier โดยละเอียดและสม่ำเสมอ • เมื่อมีกรณีเงินขาดหรือเกินบัญชีขึ้นในสาขา ต้องพยายามค้นหาสาเหตุทุกครั้ง ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ ควรรายงานสำนักงานใหญ่เพื่อพิจารณาสั่งการ • ไม่ควรเก็บเงินสดไว้ที่สาขามากเกินไป ควรหมุนเวียนถ่ายเทเงินในห้องมั่นคงออกมาใช้งาน หรือนำส่งสำนักงานใหญ่หรือ ธปท.อย่างสม่ำเสมอ • การขนส่งเงินระหว่างสาขากับ สนงญ.หรือ ธปท. ต้องมีผู้รับมอบอำนาจควบคุมดูแลทุกครั้ง และจำนวนเงินที่ขนส่งแต่ละเที่ยวต้องไม่เกินวงเงินที่ได้ทำประกันภัยเอาไว้ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  9. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • แนวการตรวจสอบด้านเงินสด • - ตรวจสอบกรณีพิเศษ • ควรมีรายงานควบคุมปริมาณเงินสดที่เก็บไว้ที่แต่ละสาขาในแต่ละวัน ถ้าพบสาขาใดเก็บเงินสดปริมาณมากผิดปกติเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และมีการขอเบิกเงินสดจากสำนักงานใหญ่บ่อยครั้ง ต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทันที • ควรส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเงินสดตามสาขาต่างๆ เป็นครั้งคราวโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  10. 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • แนวการตรวจสอบด้านเงินสด • - ตรวจสอบตามปกติประจำปี • ในการเข้าตรวจสอบเงินสดตามสาขา ควรให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้องของตัวเงินสดทุกจำนวน โดยเฉพาะธนบัตรชำรุด เหรียญกษาปณ์ที่มีปริมาณมากๆ ปึกธนบัตรมูลค่าสูงที่ไม่ถูกนำออกมาใช้งานประจำวัน รายละเอียดของธนบัตรพิเศษ/เงินที่ระลึก • ทดสอบ/สังเกตดูระบบการควบคุมภายในด้านเงินสดจุดที่สำคัญๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  11. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การแอบอ้างชื่อลูกค้าเปิดบัญชีใหม่เพื่อใช้ในการทุจริต • ผู้ทุจริตใช้อำนาจเปิดบัญชีใหม่ซึ่งเป็นบัญชีปลอมด้วยนามแฝงเพื่อไม่ให้มีพิรุธสำหรับใช้เดินบัญชีหมุนเวียนเพื่อทำการทุจริต • ในแต่ละวันเมื่อมีการเปิดบัญชีใหม่ทุกประเภท ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไป ต้องสุ่มตรวจสอบใบเปิดบัญชีและการ์ดลายเซ็นของลูกค้าแต่ละราย ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  12. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตจากสมุดบัญชีที่ลูกค้าฝากไว้ • พนักงานที่ทำการทุจริตปลอมแปลงตัวอย่างลายมือชื่อของลูกค้าที่ฝากสมุดบัญชีไว้ และถอนเงินจากบัญชีลูกค้า หรือปิดบัญชีเงินฝากระยะยาวแล้วนำเงินไปใช้ส่วนตัว รายการเช่นนี้ตรวจพบได้ยากถ้าพนักงานปลอมลายเซ็นลูกค้าและผู้รับมอบอำนาจสาขาได้คล้ายของจริง หรือลอบทำลายสลิปถอนเงินหลังจากผ่านรายการทางบัญชีครบขั้นตอนแล้วก็อาจตรวจไม่พบด้วย • ห้ามพนักงานเก็บรักษาสมุดเงินฝากทุกประเภทของลูกค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้น สมุดบัญชีเงินฝากระยะยาวให้รับฝากได้แต่ต้องมีทะเบียนควบคุม โดยต้องมีการตรวจนับความถูกต้องและให้อยู่ในความดูแลของผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไป ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  13. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตจากการโอนเงินจากบัญชีลูกค้าเข้าบัญชีพนักงาน • พนักงานที่เล่นการพนันมักทำรายการฝาก/ถอน/โอนเงินค่อนข้างบ่อยเพื่อชำระหนี้พนัน นานเข้าเมื่อไม่มีเงินในบัญชีเพื่อหมุนเวียนใช้จ่าย ก็จะใช้วิธีทุจริตจากบัญชีลูกค้า เช่นปลอมลายเซ็นถอนเงินจากบัญชีลูกค้าที่ละทิ้งบัญชีไว้นานๆ • ผู้จัดการต้องคอยหมั่นตรวจสอบการทำรายการของบัญชีพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝากหรือถอนเงินจำนวนสูงๆ และมีการโอนเข้าบัญชีอื่นเป็นประจำ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  14. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การโอนบัญชีลอย • พนักงานที่ทุจริตสร้าง Pass Slip โดยไม่มีที่มาที่ไป ทำรายการฝากลอยเข้าบัญชีโดยซ่อนยอดเดบิตไว้ในบัญชีหนึ่งบัญชีใด มีทั้งที่ถอนเอาไปหมุนระหว่างวันตอนเย็นเอามาคืน หรือถอนไปใช้เลย อาจทำกับบัญชีตัวเอง บัญชีพรรคพวกหรือบัญชีปลอมที่สร้างขึ้น • ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไปควรตรวจสอบรายการโอนบัญชีต่างๆ ที่มีจำนวนเงินสูงๆ โดยการตรวจเลขที่บัญชี ชื่อบัญชี ที่บันทึกผ่านเครื่อง Terminal เทียบกับสลิป และการ์ดลายเซ็น ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  15. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตสมุดคู่ฝาก • พนักงานที่ทุจริตขโมยสมุดคู่ฝากเปล่า ไปปลอมแปลงรายการ เพื่อขอวีซ่า มีทั้งทำให้เพื่อนฝูงและรับจ้างกลุ่มมิจฉาชีพ สาเหตุ มาจากความหละหลวมของสาขาในการควบคุมสมุดคู่ฝากที่ยังไม่ได้นำออกใช้งาน • การทุจริตโดยบุคคลภายนอก มักมาในรูปขโมยสมุดคู่ฝากจากลูกค้าแล้วปลอมแปลงลายเซ็นมาเบิกเงิน จะพลาดยาก ถ้าพนักงานสาขาใช้ความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน เช่นให้ลูกค้าเซ็นสองครั้งทั้งในฐานะผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน ประกอบกับการพิจารณาลายเซ็นเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ลูกค้าให้ไว้อย่างถี่ถ้วน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  16. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การควบคุมภายในด้านเงินฝาก • ควบคุมสมุดคู่ฝากที่ยังไม่ได้นำออกใช้งานให้ปลอดภัยรัดกุม • จัดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบสมุดคู่ฝากที่สาขารับฝากจากลูกค้าเอาไว้ • ต้องควบคุมดูแลบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานเป็นพิเศษ เช่นตั้ง Code เป็นห้ามถอน/ฝาก หรือต้องมีผู้รับมอบอำนาจของสาขาอนุมัติ • ห้ามผ่าน Effect Not Cleared โดยเด็ดขาด อนุโลม เป็นรายกรณีเฉพาะนำC/O หรือ Draft เข้าบัญชีและต้องมีผู้รับมอบอำนาจควบคุมดูแล • ห้ามโอนบัญชีระหว่างกันในสาขาเว้นแต่ลูกค้าจะยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและต้องมีผู้รับมอบอำนาจของสาขาอนุมัติ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  17. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การควบคุมภายในด้านเงินฝาก • ต้องมีระบบควบคุมเกี่ยวกับการ Error รายการบัญชีอย่างเคร่งครัด • เพื่อให้มีการตรวจสอบระบบควบคุมภายในที่สำคัญๆ อยู่เสมอ ควรมีรายงานให้ผู้รับมอบอำนาจสาขาใช้ติดตามดูแลความผิดปกติ หรือสัญญาณเตือนภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น รายงานการปลด Miscellaneous Code รายงานการถอน No Book รายงานการผ่าน Effect Not Cleared และเช็คคืนจากการผ่าน Effect รายงาน Error Correction ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งรายงานเหล่านี้ควรแสดงให้เห็นเฉพาะจุดที่ผิดปกติจริงๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  18. 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • แนวการตรวจสอบด้านเงินฝาก • ตรวจนับสมุดคู่ฝากเปล่าที่สาขาเก็บ Stock ไว้ และทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการเบิกสมุดคู่ฝากเปล่าออกใช้งาน • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับฝากสมุดคู่ฝากจากลูกค้า • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวนานๆ • ทดสอบรายการถอน No Book และการผ่าน Effect ให้ลูกค้า • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการโอนบัญชีระหว่างกันในสาขา • ทดสอบรายการ Error Correction ที่ผิดปกติ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  19. 3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • ประเมินหลักประกันสูงกว่าความเป็นจริง • ผู้จัดการไม่เคยดูหลักประกันที่พนักงานสินเชื่อประเมินมา เปิดโอกาสให้พนักงานสินเชื่อที่รู้เห็นกับลูกค้า ประเมินหลักประกันสูงกว่าความเป็นจริงมาก • ผู้จัดการต้องดูหลักประกันสินเชื่อทุกรายทั้งเก่าและใหม่ เพื่อจะได้ทราบว่า ราคาหลักประกันในปัจจุบันเมื่อเทียบกับที่ประเมินไว้ครั้งแรกแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และเรียกหลักประกันเพิ่มหากมูลค่าหลักประกันไม่คุ้มกับวงเงินสินเชื่อที่ปล่อยไป ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  20. 3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • ขโมยเอกสาร/หลักประกันลูกค้า • พนักงานที่ทุจริต (โดยมากจะเป็นพนักงานสินเชื่อ) ขโมยเอกสารสำคัญ/ เอกสารในซองหลักประกันของลูกค้าเช่นสมุดเงินฝากของลูกค้า ไปทำใบยกเลิกการกันวงเงินและปลอมลายมือชื่อลูกค้าเบิกเงินสดออกไป บางครั้งก็ขโมยโฉนดที่ดินลูกค้าไปโอนจดจำนองใหม่และขายให้กับผู้อื่น • ผู้จัดการต้องเรียกพนักงานที่ไม่ใช่พนักงานสินเชื่อ มาช่วยกันตรวจนับ เอกสารสำคัญ/ เอกสารในซองหลักประกันของลูกค้า เพื่อดูว่า เอกสารสำคัญ ต่างๆ เช่น สมุดเงินฝากของลูกค้า โฉนดที่ดิน ยังจัดเก็บอยู่ในซองครบถ้วนหรือไม่ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  21. 3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • รับชำระค่าธรรมเนียมแต่ไม่มีการบันทึกรับเงินผ่านบัญชี • พนักงานสินเชื่อที่ทุจริต เมื่อได้รับชำระค่าธรรมเนียมศาล Letter of Guaranty หรือค่าประกันต่างๆ จากลูกค้า บางครั้งจะเก็บเงินไว้เองและนำส่ง Cashier ภายหลัง เป็นช่องว่างให้เกิดการทุจริตได้ • ผู้จัดการต้องมีทะเบียนควบคุมลูกค้าที่ทำวงเงินค้ำประกัน ลูกค้าที่ค้างค่าธรรมเนียมศาล ว่ามีใครบ้าง รายใดค้างชำระกับธนาคาร และเมื่อใดจะครบกำหนด โดยจะต้องตรวจสอบอยู่เสมอ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  22. 4. ทุจริตเกี่ยวกับการขาดการควบคุมบัตรผ่านรายการ • ถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้คนเดียวตลอดทั้งวัน • ผู้ทุจริตสามารถทำรายการทุกรายการได้ หากถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้คนเดียว เช่น รายการ No Book, Cash Over 100000 การตั้งวงเงินต่างๆ หรือ การ Correct เป็นต้น (หลายสาขาที่เกิดทุจริตเป็นลักษณะนี้) • ต้องแยกการถือบัตรผ่านรายการของแต่ละระดับ (ASC สำหรับพนักงาน Authorized Teller-A/T, SC สำหรับหัวหน้าพนักงาน A/T หรือเจ้าหน้าที่อาวุโส,และ SSC สำหรับผู้จัดการ) หากผู้จัดการสาขาไม่อยู่ ห้ามผู้ช่วยผู้จัดการมอบบัตรSSCให้เจ้าหน้าที่อาวุโสต่อเป็นอันขาด และห้ามพนักงานแต่ละระดับถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้ที่ตัว ยกเว้น ผู้จัดการสาขาเท่านั้น ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  23. 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • ไม่มีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ • พนักงานบางคนไม่ระมัดระวังในการรักษารหัสลับหรือ Password ของตน หรือไม่ปิดเครื่อง Terminal เมื่อลุกจากโต๊ะหรือไปรับประทานอาหาร ทำให้เกิดการลักลอบทำรายการเข้าเครื่อง โดยเกิดทุจริตในลักษณะโอนเงินเข้าบัญชีต่างๆ • ผู้จัดการสาขาต้องกำหนดให้มีการเปลี่ยนรหัสลับหรือ Password ต่างๆ เช่น รหัส Password ของ Teller รหัสห้องมั่นคง รหัสตู้ ATM โดยต้องมีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ อย่างน้อยทุกหกเดือนหรือตามความเหมาะสมของสาขา ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  24. 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • การทุจริตเงินสดในเครื่อง ATM • มีโอกาสเป็นได้ทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานใหญ่ พนักงานสาขาหรือบุคคลภายนอกขึ้นกับรูปแบบการควบคุมภายในของแต่ละธนาคาร • บรรจุเงินสดในกล่องเงินสดเข้าเครื่อง ATM ไม่ครบตามที่แจ้งไว้ ยักยอกเงินสดคงเหลือในกล่อง • ขโมยเงินที่เครื่อง Reject ออก หรือยักยอกซองเงินสดที่ลูกค้านำมาฝากผ่านเครื่อง ATM • ทุจริตจากการแอบทราบรหัสหรือปลอมแปลงกุญแจ • บุคคลภายนอกงัดแงะ • ผู้จัดการสาขาต้องกำหนดให้มีการเปลี่ยนรหัสลับหรือ Password ต่างๆ เช่น รหัส Password ของ Teller รหัสห้องมั่นคง รหัสตู้ ATM โดยต้องมีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ อย่างน้อยทุกหกเดือนหรือตามความเหมาะสมของสาขา ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  25. 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • เงินสดในเครื่อง ATM - การควบคุมภายใน • หมุนเวียนชุดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลเงินสดในเครื่อง • ในหนึ่งชุดเจ้าหน้าที่ ควรมีพนักงานระดับผู้รับมอบอำนาจไม่น้อยกว่าสองคน โดยแยกคนหนึ่งถือรหัสและอีกคนหนึ่งถือกุญแจเปิดปิดเครื่อง และไม่ควรให้มีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่กันระหว่างพนักงานสองคนนี้ • กำหนดให้เปลี่ยนรหัสทุกครั้งที่เปลี่ยนชุดเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล • การเปิดปิดเครื่อง ATM ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเครื่องขัดข้อง หรือเปลี่ยนกล่องเงินสด จะต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ครบคณะเสมอ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  26. 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • เงินสดในเครื่อง ATM - การควบคุมภายใน • ทุกครั้งที่เปลี่ยนกล่องเงินสดต้องตรวจนับเงิน Reject หรือซองเงินฝากของลูกค้าทันที • การบรรจุเงินสดในกล่องเงินสดเข้าเครื่อง ATM หรือนำเงินออกจากกล่อง ต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแล โดยผู้ตรวจนับและผู้ควบคุมต้องไม่เป็นคนเดียวกัน • การตรวจนับเงินสดในซองเงินฝากผ่าน ATM ของลูกค้า ควรทำในรูปคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้รับมอบอำนาจไม่น้อยกว่าสองคน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  27. 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • ทุจริตบัตร ATM • ยักยอกบัตรและรหัส ATM ที่ลูกค้ายังไม่มารับไปถอนเงิน • การควบคุมภายใน • ทำลายบัตรและรหัส ATM ที่ลูกค้ายังไม่มารับนานเกินสามเดือน • แยกผู้รับผิดชอบเก็บรักษา และผู้จ่ายบัตรและรหัส ATM • แยกผู้รับผิดชอบเก็บรักษาบัตรและรหัส ATM ไม่เก็บรวมที่เดียวกัน • ตรวจนับบัตรและรหัส ATM เทียบกับทะเบียนการจ่ายออกทุกสัปดาห์ • การอายัดบัตร ATM ของลูกค้าต้องทำทันทีที่ได้รับแจ้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  28. 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจรายงาน Daily Debit/Credit Tran Over 100000 • ผู้ทุจริตใช้วิธีการถอนเงินจากลูกค้ารายใหญ่ที่ไม่ค่อยมาติดต่อธนาคาร และผู้จัดการไม่สนใจสอบถามลูกค้าว่าถอนเงินจากบัญชีจำนวนสูงๆ ไปทำอะไร • ผู้ช่วยจัดการสาขาขึ้นไปต้องควบคุมดูแลการฝากถอนที่มีจำนวนเงินสูงๆ โดยต้องตรวจดูรายงาน Daily Debit/Credit Tran Over 100000 ทุกวัน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  29. 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจรายงาน Daily Tran Miscellaneous • รายงาน Daily Tran Miscellaneous เป็นรายงานที่สำคัญมากเพราะรวมเอารายการเบ็ดเตล็ดทุกอย่างเอาไว้ เช่น การตั้ง/ยกเลิกวงเงิน การกัน/ยกเลิกเงินฝาก การแก้ไขเมื่อ Key ผิด การใส่ Message ต่างๆ การปรับปรุงดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งหากละเลยไม่มีการตรวจรายการเหล่านี้ ทุกรายการสามารถกระทำการทุจริตได้ • ผู้ช่วยจัดการสาขาขึ้นไปต้องควบคุมดูแล รายการเบ็ดเตล็ด โดยต้องตรวจดูรายงาน Daily Tran Miscellaneous ทุกวัน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  30. 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่ทำการเย็บสลิปให้เสร็จทันในแต่ละวัน • เพื่อเป็นการ Double Check โดยผู้จัดการสาขา/ผู้ช่วยจัดการสาขาว่า สลิปประจำวันอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ และเป็นการป้องกันสลิปที่แปลกปลอมหรือถูกขโมยออกไปเพื่อทำการทุจริต • ผู้จัดการสาขาต้องให้ความสำคัญในการดูแลการเย็บสลิปให้เสร็จทันในแต่ละวัน และการจัดเก็บรักษา โดยจะต้องเก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงทุกวัน และต้องผ่านการตรวจนับสลิปและลงนามโดยผู้ตรวจนับ โดยผู้จัดการสาขาต้องให้ความสนใจกับสลิปที่มีการฝาก/ถอนเงินจำนวนสูงๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  31. 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดรายการคงเหลือของบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีเช็คธนาคาร บัญชีพัก บัญชีภาระต่างๆ • ผู้ทุจริตใช้วิธีการโอนบัญชีลอย โดยการตั้งบัญชีพัก การออกเช็คธนาคาร การ Pass Slip โดยยันกับคู่กรณีปลอม ซึ่งผู้จัดการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจ อาจเนื่องจากไว้วางใจพนักงานที่กระทำการทุจริต เช่นเห็นว่าเป็นคนขยันทำงานดี • ผู้จัดการสาขาต้องตรวจสอบรายละเอียดรายการคงเหลือ (Outstanding) ในหัวบัญชีสำคัญๆ เช่น บัญชีเช็คธนาคาร บัญชีพัก บัญชีภาระ รายการงบกระทบยอด (Reconcile) รายการค้างนาน และจะต้องตรวจเงินสดคงเหลือให้ตรงกับยอดทางบัญชีอย่างน้อยเดือนละครั้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  32. 7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน • มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว ให้เพื่อนร่วมงานกู้ยืมเงินหรือชอบเลี้ยงเพื่อนพนักงานด้วยกันเพื่อสร้างบารมีให้ทุกคนรักใคร่ เกรงใจ • เกิดความเดือดร้อนจากความเจ็บป่วยของครอบครัว และไม่มีเงินสำรองใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ยืมเงินเล็กน้อยจากเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ • ชอบรับโทรศัพท์บ่อยหรือโทรศัพท์หาคนอื่นเป็นประจำ ชอบดูกีฬาที่เล่นพนันได้ ชอบติดตามหุ้น ชอบสังคมเกินตัว • ไม่เคยขาดลามาสาย ไม่ยอมโยกย้ายไปหน่วยงานอื่นหรือทำหน้าที่อื่น ปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่ง • ไม่ยอมให้สมุดบันทึกห่างตัว ทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ และมักคัดลอกบันทึกต่างๆ ใหม่โดยอ้างว่าเพื่อความสวยงาม ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  33. 7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน • โอ้อวดความมั่งมี มีเงินฝากหรือซื้อขายหุ้นจำนวนมาก และมักชี้แจงว่าได้เงินจากมรดกหรือการเสี่ยงโชค • แสดงความรำคาญเมื่อได้รับการสอบถาม และมักอธิบายหรือตอบคำถามของผู้ตรวจสอบอย่างไม่มีเหตุผล • วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างขาดความเป็นธรรม หรือมีอคติ เพื่อเบนความสงสัยไปยังผู้อื่น • มีบัตรเครดิตหลายใบและใช้วงเงินสม่ำเสมอ มีการทำรายการ Cash Advance บัตรเครดิตของพนักงานติดต่อกัน • มีการมอบหมายงานให้พนักงานที่ไม่มีอำนาจ หรือให้ทำรายการต่างๆ เสร็จสิ้นทุกกระบวนการได้โดยพนักงานคนเดียว ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  34. สรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาดสรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาด • การใช้วงเงินและการติดต่อทางการบัญชี • จำนวนรายการและจำนวนเงินเข้าออกบัญชี • ระดับการใช้วงเงิน Over Limit / Over Night พร้อมเหตุผลชี้แจง • การใช้เงิน Effect Not Cleared พร้อมเหตุผลชี้แจง • เบิกเงินสด/หักบัญชี บ่อยครั้งหรือเป็นจำนวนสูงๆ มีเงินโอน/เช็คเข้าบัญชี/ใช้เช็ค มากเกินความจำเป็นหรือผิดลักษณะธุรกิจ • มีเช็คคืนมาก ทั้งของตัวลูกค้าเองและเช็คที่ลูกค้านำมาเข้าบัญชี • นำเช็คที่ไม่เกี่ยวกับการค้ามาขายลด ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  35. สรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาดสรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาด • พฤติกรรมของพนักงาน • ให้กู้ยืม/ทำรายการ โดยกระจายวงเงินให้อยู่ในอำนาจของตนเอง • ให้กู้ยืม/เพิ่มวงเงิน โดยประเมินหลักประกันเพิ่มขึ้น/สูง เกินจริง • ปล่อย Effect Not Cleared ให้ลูกค้า ลักษณะหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นประจำ • ปล่อย Over Limit / Over Night จำนวนสูง • ให้สินเชื่อ Packing Stock โดยไม่มีสินค้า • ปลดจำนอง/ไถ่ถอนหลักประกันให้ลูกค้าโดยไม่ชำระหนี้ หรือให้ไถ่ถอน หลักประกันที่มีคุณภาพ/มูลค่าดีไปก่อน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

  36. Thank YouQ&A บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัดบริษัท ทิสโก้ ลีสซิ่ง จำกัด • ยินดีให้นำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำเพื่อปรับปรุง กรุณาแจ้งที่ 0.2633.6051 หรือ 0.1903.1457 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์

More Related