1 / 47

ความรู้และความปลอดภัยกับก๊าซหุงต้ม ปตท.

ความรู้และความปลอดภัยกับก๊าซหุงต้ม ปตท. ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ . หัวข้อในการนำเสนอ. 1. ก๊าซหุงต้มคืออะไร 2. ที่มาของก๊าซหุงต้ม 3. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม 4. การนำก๊าซหุงต้มไปใช้งาน 5. ประเภทภาชนะบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ต่อเนื่องของก๊าซหุงต้ม

minda
Télécharger la présentation

ความรู้และความปลอดภัยกับก๊าซหุงต้ม ปตท.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้และความปลอดภัยกับก๊าซหุงต้ม ปตท. ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  2. หัวข้อในการนำเสนอ • 1. ก๊าซหุงต้มคืออะไร • 2. ที่มาของก๊าซหุงต้ม • 3. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม • 4. การนำก๊าซหุงต้มไปใช้งาน • 5. ประเภทภาชนะบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ต่อเนื่องของก๊าซหุงต้ม • 6. การเลือกใช้ถังก๊าซหุงต้ม วาล์วที่ถังก๊าซฯ หัวปรับความดันก๊าซฯ สายยางท่อก๊าซ และเข็มขัดรัดสายยางฯที่ถูกต้องและปลอดภัย • 7. การตรวจรับถังก๊าซฯจากร้านค้าก๊าซหุงต้ม ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  3. หัวข้อในการนำเสนอ (ต่อ) • 8. การติดตั้งถังก๊าซหุงต้มที่ถูกต้องและปลอดภัย • 9. การใช้ก๊าซหุงต้มที่ถูกต้องและปลอดภัย • 10. วิธีช่วยประหยัดการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างง่าย • 11. การตรวจสอบหารอยรั่วของก๊าซหุงต้ม • 12. วิธีการปฏิบัติเมื่อก๊าซหุงต้มรั่ว • 13. การป้องกันและระงับอัคคีภัย ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  4. ก๊าซหุงต้มคืออะไร • ชื่อทางราชการ : “ก๊าซปิโตรเลียมเหลว” • ชื่อภาษาอังกฤษ: LIQUIDFIELD PETROLEUM GAS • หรือ LPG • ชื่อทั่วไปที่ผู้บริโภค: แก๊ส หรือ ก๊าซหุงต้ม • ส่วนประกอบหลักๆของก๊าซหุงต้ม : • - โปรเพน ( PROPANE ) : C3H8 • - บิวเทน ( BUTANE ) : C4H10 • ก๊าซหุงต้มใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และ • ในอุตสาหกรรม ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  5. แหล่งที่มาของก๊าซหุงต้มแหล่งที่มาของก๊าซหุงต้ม • ก๊าซหุงต้มที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ (โรงกลั่น) • - โปรเพน ~20% • - บิวเทน ~80% • ก๊าซหุงต้มที่ได้จากกระบวนการการแยกก๊าซธรรมชาติ • (โรงแยกก๊าซฯ ปตท.) • - โปรเพน ~60% • - บิวเทน ~40% ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  6. ที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว : โรงกลั่นน้ำมัน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  7. ที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว :โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  8. คลังก๊าซหุงต้มของ ปตท. - 1. คลังปิโตรเลียมบางจาก - 2. คลังปิโตรเลียมนครสวรรค์ - 3. คลังปิโตรเลียมลำปาง - 4. คลังปิโตรเลียมขอนแก่น - 5. คลังปิโตรเลียมสุราษฏร์ธานี - 6. คลังปิโตรเลียมสงขลา - 7. คลังก๊าซฯบ้านโรงโป๊ะ ชลบุรี - 8. คลังปิโตรเลียมศรีราชา ชลบุรี (นำเข้า/ส่งออก LPG) ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  9. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้มหรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 1. จุดเดือดต่ำประมาณ –17 องศาเซลเซียส (1 atm, 14.7 psi) - โปรเพน : - 42.07 C - บิวเทน : - 11.73 C - เมื่อออกสู่บรรยากาศภายนอกจะระเหยกลายเป็นไอทันที - เมื่อก๊าซรั่วไหลจะเห็นเป็นหมอก หรือ ควันสีขาวและเกล็ดน้ำแข็ง เนื่องจากความชื้นรอบๆ บริเวณได้รับความเย็นจัดขณะก๊าซระเหย 0 0 ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  10. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม (ต่อ) 2. ความดันไออิ่มตัวในถังเก็บ • โปรเพน : 113 psi. ที่อุณหภูมิ 20 C • บิวเทน : 41.89 psi. ที่อุณหภูมิ 20 C • ประมาณ 60 – 120 psi. (ปอนด์/ตารางนิ้ว) ความดันจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ,ปริมาณและส่วนผสม 0 0 ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  11. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม (ต่อ) 3. การจุดติดไฟ • เป็นก๊าซที่ไวไฟและติดไฟง่าย • สัดส่วนก๊าซต่ออากาศ ประมาณ 2-9% โดยปริมาตร (โปรเพน 2.4-9.5% ; บิวเทน 1.8-8.4%) • ติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟหรือแหล่งความร้อนที่อุณหภูมิ ประมาณ 500 C • น้ำมันเบนซินที่อุณหภูมิ 280-430 C และ น้ำมันดีเซล 250-340 C 0 0 0 ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  12. องค์ประกอบการเกิดไฟ ความร้อน ( ประกายไฟ ) ออกซิเจน ( อากาศ ) เชื้อเพลิง ( ก๊าซหุงต้ม ) ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  13. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม (ต่อ) 4. น้ำหนักเบากว่าน้ำและหนักกว่าอากาศ • เบากว่าน้ำประมาณ 0.5 เท่า (ถพ. ประมาณ 0.522-0.534) • หนักกว่าอากาศประมาณ 1.5-2 เท่า ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  14. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม (ต่อ) 5. อุณหภูมิเปลวไฟประมาณ 1,900-2,000 องศาเซลเซียส • ใช้กับงานที่ต้องการความร้อนสูง และสะอาด • สามารถหลอมโลหะได้ • โปรเพน มีอุณหภูมิเปลวไฟในอากาศ 2,000 C • บิวเทน มีอุณหภูมิเปลวไฟในอากาศ 1,900 C 0 0 ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  15. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ)คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ) 6. อัตราการขยายตัวกลายเป็นไอสูงประมาณ 250 เท่าของ ของเหลว • ก๊าซ LPG เหลว 1 ลิตร ขยายตัวเป็นไอได้ประมาณ 250 ลิตร • ควรบรรจุไม่เกิน 85 % ของภาชนะบรรจุ เพื่อให้มีที่ว่างในการ ขยายตัวของก๊าซ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  16. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ)คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ) 7. ค่าออกเทนนัมเบอร์ • มีค่าประมาณ 100-115 ซึ่งสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงสามารถใช้กับรถยนต์ได้ 8. ค่าความร้อนของการเผาไหม้ • 11,700 – 11,900 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม • 21,000 – 21,400 บีทียู/ปอนด์ • 44,000 – 45,000 บีทียู/กิโลกรัม ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  17. คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ)คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม(ต่อ) 9. ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น • แต่เติมสารประกอบซัลเฟอร์ (เอธิลเมอร์แคปแทน : C H SH) เพื่อให้ผู้ใช้รู้ หรือ ทราบเมื่อเกิดก๊าซรั่ว • ละลายยางธรรมชาติได้ดี • ใสกว่าน้ำประมาณ 10 เท่า 2 5 ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  18. การนำก๊าซหุงต้มไปใช้งาน • การใช้ก๊าซฯในครัวเรือน • ใช้หุงต้มอาหาร ใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อทำน้ำร้อน • ใช้ในด้านให้แสงสว่าง เช่น ตะเกียงเจ้าพายุ เป็นต้น • การใช้ก๊าซฯในเชิงพาณิชย์ • ใช้ในภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  19. การนำก๊าซหุงต้มไปใช้งาน (ต่อ) 3. การใช้ก๊าซฯ ในด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมแก้ว อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม ย้อมสีและอบผ้า อุตสาหกรรมอบสี อุตสาหกรรมหลอม โลหะตัด-เชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมเคมี-โพลิเมอร์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สเปรย์ อุตสาหกรรมกระดาษสิ่งพิมพ์ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  20. การนำก๊าซหุงต้มไปใช้งาน (ต่อ) 4. การใช้ก๊าซฯในด้านเกษตรกรรม การอบเมล็ดพืช บ่มใบยาสูบ ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 5. การใช้ก๊าซฯกับเครื่องยนต์ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ เรือยนต์ รถ Forklift ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  21. ภาชนะบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ของก๊าซหุงต้ม • ภาชนะบรรจุภัณฑ์ • - ถังก๊าซหุงต้ม • - วาล์วที่ถังก๊าซฯ หรือ ลิ้นสำหรับก๊าซหุงต้ม • อุปกรณ์ต่อเนื่องที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม • - หัวปรับความดันก๊าซ • - ท่อยางส่งก๊าซ หรือสายยางส่งก๊าซ • - เข็มขัดรัดท่อส่งก๊าซ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  22. ลักษณะของภาชนะบรรจุภัณฑ์ของก๊าซหุงต้ม • ปริมาณความจุก๊าซฯไม่เกิน 500 ลิตร(ประมาณ 250 กิโลกรัม) เรียกว่า “ถังก๊าซหุงต้ม” (Cylinder) • ปริมาณความจุก๊าซหุงต้มเกิน 500 ลิตร เรียกว่า “ถังเก็บและจ่ายก๊าซ” ( Bulkหรือ Bullet ) ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  23. ประเภทของถังก๊าซหุงต้ม • ประเภทถังฯ 2 ส่วน • - ถังฯขนาด 4 กก. • - ถังฯขนาด 7 กก. (กะปุ๊กลุก) • ถังฯขนาด 15 กก. • อื่นๆ (11.5 และ 13.5 กก.) • ประเภทถังฯ 3 ส่วน • - ถังฯขนาด 48 กก. ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  24. วิธีการเลือกใช้ถังก๊าซหุงต้มวิธีการเลือกใช้ถังก๊าซหุงต้ม • มีเครื่องหมายผู้ค้า ม.7 ที่บริเวณหูถังอย่างถาวร • และชัดเจน เช่น ปตท. เป็นต้น • มีตราเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานถังก๊าซ • ( มอก.) ของ สมอ. ประทับที่บริเวณหูถังอย่างถาวร • และชัดเจน (มาตรฐานถัง มอก. 27) • มี เดือน/ปี การทดสอบถังครั้งสุดท้าย ประทับที่บริเวณหูถัง • อย่างถาวรและชัดเจน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  25. วิธีการเลือกใช้ถังก๊าซหุงต้ม (ต่อ) • ชื่อผู้ผลิตถังประทับที่บริเวณหูถังอย่างถาวรและชัดเจน • มีชื่อบริษัทผู้ตรวจสอบที่บริเวณหูถังอย่างถาวรและชัดเจน • ถังไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรอยขีดข่วนเป็นรอยลึก ไม่เป็นสนิมผุกร่อน • ถังก๊าซต้องบอกน้ำหนักถังเปล่าและน้ำหนักบรรจุก๊าซอย่างชัดเจน • ซีลผนึกวาล์วที่หัวถัง สภาพสมบูรณ์เรียบร้อย มีชื่อบริษัทผู้ค้าก๊าซ • และ หมายเลขโรงบรรจุก๊าซชัดเจน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  26. ตัวอย่างข้อความที่ถังก๊าซหุงต้ม (ณ บริเวณโกร่งถัง) ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  27. วาล์วที่ถังก๊าซ (ลิ้นสำหรับก๊าซหุงต้มมอก. 915) • วาล์วที่ถังก๊าซแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ • - วาล์วมือหมุน (ลิ้นแบบมือหมุน) • - วาล์วจัมโบ้ / วาล์วกด (ลิ้นแบบกดล็อก) • ตัวเรือนของวาล์วทั้งสองต้องทำจากทองเหลือง • ชิ้นส่วนอื่นๆของวาล์วต้องทำจากยางสังเคราะห์ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  28. วาล์วที่ถังก๊าซ (ลิ้นสำหรับก๊าซหุงต้มมอก. 915) • ทำหน้าที่จ่ายและรับก๊าซมีกลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบาย • ( Safety Relief Valve ) • มีชื่อหรือเครื่องหมายบริษัทตรวจสอบ และเดือนปีที่ตรวจสอบ • ชัดเจนและถาวร • มีการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล เช่น UL., ISO เป็นต้น • มีเครื่องหมาย มอก. ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก สมอ. ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  29. หัวปรับความดันสำหรับก๊าซหุงต้ม • ประเภทของหัวปรับความดันก๊าซฯ • 1. ความดันสูง เกิน 500 mm.H2O(อัตราการไหลของก๊าซไม่เกิน 8 กก./ชม.) • - ลักษณะหัวปรับฯสามารถปรับความดันได้ • - ใช้งานในอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซฯมาก เช่น ร้านอาหาร เป็นต้น • 2. ความดันต่ำไม่เกิน 500mm. H2O (อัตราการไหลก๊าซฯไม่เกิน 4 กก./ชม.) • - หัวปรับฯจานบิน หรือ แบบเกลียว • -หัวปรับฯจัมโบ้ หรือแบบกด • - ใช้งานในครัวเรือน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  30. การเลือกใช้หัวปรับความดันก๊าซฯ • มีการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล เช่น UL., ISO เป็นต้น • มีเครื่องหมาย มอก. ที่ได้รับรองคุณภาพจาก สมอ. • ใช้กับก๊าซหุงต้มโดยเฉพาะ (ระบุคำว่าLPG) • ห้ามปรับแต่งเอง • ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 5 ปี โดยหัวปรับเก่าที่ชำรุด หรือหมดสภาพ ให้ดำเนินการทุบทำลายก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้นำกลับมาใช้งานอีก ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  31. สายยางท่อส่งก๊าซ และเข็มขัดรัดสายยางฯ • ท่อยางส่งก๊าซ หรือ สายยางส่งก๊าซ • สายยางต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้มโดยเฉพาะ (ระบุคำว่าLPG) • สายยางต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้มโดยเฉพาะ มีเส้นใยเสริม • เพื่อความแข็งแรง ไม่หักงอง่าย • ความยาวของสายยางฯประมาณ 1.5 - 2 เมตร • ควรเปลี่ยนสายยางท่อส่งก๊าซทุกๆ 3 ปี • เข็มขัดรัดสายยางส่งก๊าซ • เป็นโลหะที่มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิมง่าย • ควรเปลี่ยนทุก 3 ปี หรือตามสภาพการใช้งาน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  32. วิธีการตรวจรับถังก๊าซฯจากร้านค้าก๊าซฯ • ตรวจสอบว่า เป็นถังก๊าซฯตรงตามยี่ห้อ ประเภทวาล์ว และขนาดถังตามที่สั่ง • ตรวจสอบถังก๊าซฯจะต้องมีการปิดผนึกซีลให้เรียบร้อยทั้งวาล์วฯ • ตรวจสอบสภาพถังก๊าซฯอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่เอียง ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  33. การติดตั้งถังก๊าซหุงต้ม 1. ควรตั้งถังก๊าซฯให้ห่างจากเตาฯ ประมาณ 1.50 เมตร 2. ตั้งถังก๊าซบริเวณอากาศถ่ายเทได้ดี 3. ควรตั้งถังก๊าซบริเวณเคลื่อนย้ายเข้าออกสะดวก 4. ควรตั้งถังก๊าซบนพื้นราบและแข็ง ที่ไม่ทำให้ถังเอียงหรือล้มได้ง่าย ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  34. การติดตั้งถังก๊าซหุงต้ม (ต่อ) 5. ไม่ควรตั้งถังก๊าซในบริเวณที่เปียกชื้น เพราะทำให้ถังก๊าซเกิดสนิม และผุกร่อน ได้ง่าย 6. ไม่ควรตั้งถังก๊าซในห้องใต้ดิน หรือพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน เนื่องจากก๊าซหนักกว่าอากาศ หากเกิดการรั่วซึมจะสะสมอยู่ใน พื้นที่ต่ำ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  35. การใช้ก๊าซหุงต้มที่ถูกต้องการใช้ก๊าซหุงต้มที่ถูกต้อง 1. เปิดวาล์วที่ถังก๊าซหุงต้มหมุนไม่เกิน 2 รอบ 2. ให้จุดไฟรอที่เตาก่อน แล้วจึงเปิดวาล์วที่ถังก๊าซ แต่หากเตาก๊าซเป็นแบบจุดอัตโนมัติ อย่าเปิดซ้ำกัน หลายๆครั้ง เพราะทำให้เกิดการสะสมของก๊าซ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  36. การใช้ก๊าซหุงต้มที่ถูกต้อง (ต่อ) 3. ไม่เปิดก๊าซให้ไฟแรงเกินไปสูงท่วมภาชนะ (เปลืองก๊าซ) 4. หลังจากใช้งานแล้ว ต้องปิดวาล์วที่เตาและถังก๊าซฯให้สนิท 5. หมั่นทำความสะอาดเตาก๊าซและ ตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  37. วิธีช่วยประหยัดการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างง่ายๆวิธีช่วยประหยัดการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างง่ายๆ • 1. ไม่ควรจุดไฟทิ้งไว้ระหว่างเตรียมอาหาร • 2. ควรตั้งภาชนะประกอบอาหารตรงกึ่งกลางของเตาและ ใช้ภาชนะก้นแบน เพื่อให้เปลวไฟแผ่ทั่วภาชนะได้ดี • 3. ภาชนะที่ใช้ประกอบอาหารต้องสะอาด ไม่มีเขม่า หรือตะกรัน จับเกาะอยู่หนา เพราะทำให้อาหารสุดช้า • 4. ไม่ควรตั้งเตาในที่ลมพัดแรง หรือใช้พัดลมเป่าเข้าเตา เพราะ เปลวไฟจะไม่สัมผัสกับก้นภาชนะ ทำให้สิ้นเปลืองก๊าซ และ ใช้เวลามากขึ้นกว่าเดิม ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  38. วิธีช่วยประหยัดการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างง่ายๆ (ต่อ) • 5. ควรใช้ก๊าซผ่านหัวปรับความดัน ( ซึ่งทำหน้าที่ลดความดันให้ เหมาะสมกับการใช้งาน) โดยจะใช้ประหยัดก๊าซก๊าซ และปลอดภัย • 6. ปรับเปลวไฟที่เตาให้เป็นสีน้ำเงิน (เผาไหม้สมบูรณ์) จะทำให้ไม่ให้ เกิดคราบเขม่าเกาะติดที่ภาชนะประกอบอาหาร • 7. ควรถอดหัวเตาทำความสะอาดทุกๆ 2 เดือน ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  39. การป้องกันและระงับอัคคีภัยจากก๊าซหุงต้มการป้องกันและระงับอัคคีภัยจากก๊าซหุงต้ม • การตรวจสอบหารอยรั่ว • การปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว • การป้องกันและระงับอัคคีภัย ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  40. การตรวจสอบหารอยรั่วของก๊าซหุงต้มการตรวจสอบหารอยรั่วของก๊าซหุงต้ม • เปิดวาล์วที่ถังก๊าซฯ (วาล์วที่เตาก๊าซต้องอยู่ในตำแหน่งปิด) • ใช้น้ำสบู่ลูบไล้ตามจุดต่าง ๆ ดังนี้ • บริเวณวาล์วถังก๊าซ • บริเวณหัวปรับความดัน • บริเวณข้อต่อต่าง ๆ • บริเวณแกนลูกบิดสำหรับปิด / เปิด • สายอ่อนนำก๊าซ • หากมีฟองสบู่ปุดขึ้นมา แสดงว่า ก๊าซรั่ว ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  41. วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ววิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว • ห้ามเปิด – ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด • ห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ • ปิดวาล์วที่ถังก๊าซและเตาฯ • เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ หรือใช้พัดช่วยไล่ก๊าซ • รีบหาสาเหตุของการรั่ว ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  42. วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว(ต่อ)วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว(ต่อ) • รีบทำการแก้ไข หรือแจ้งร้านค้าก๊าซโดยด่วน • กรณีถังก๊าซรั่วให้ยกถังออกไปวางในที่โล่ง • พลิกถังให้จุดที่รั่วอยู่ด้านบน เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซ • นำผ้าชุบน้ำปิดบริเวณที่ก๊าซรั่ว ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  43. การป้องกันและระงับอัคคีภัยการป้องกันและระงับอัคคีภัย • ควรมีเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงที่เกิดจากก๊าซได้ และติดตั้งในที่ที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย • หมั่นตรวจสอบเครื่องดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ • กรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้ใช้เครื่องดับเพลิงดังกล่าวดับเพลิงทันที • ควรฝึกหัดวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงให้ชำนาญ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  44. ข้อห้ามในการใช้ก๊าซหุงต้มข้อห้ามในการใช้ก๊าซหุงต้ม • ห้ามกลิ้ง ห้ามกระแทกถัง • ห้ามนำไปเติมที่สถานีบริการ • ห้ามนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้แทนถังก๊าซรถยนต์ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  45. มั่นใจกับก๊าซหุงต้ม ปตท. • ปตท. เป็นผลิตก๊าซหุงต้มรายใหญ่ของประเทศ • มีคลังก๊าซหุงต้มกระจายอยู่ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 7 แห่ง • มีโรงบรรจุก๊าซอยู่ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 138 แห่งทั่วประเทศ • มีร้านค้าก๊าซหุงต้ม ปตท. ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ • ปตท. เป็นผู้นำตลาด และมีส่วนแบ่งการตลาดก๊าซหุงต้มสูงสุด (39.6 % ใน Retail Market ณ มิ.ย. 2547) • มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  46. มั่นใจกับก๊าซหุงต้ม ปตท. (ต่อ) • มีถังก๊าซหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ (4 กก. , 7 กก., 15 กก., และ 48 กก.) • ถังก๊าซ ปตท. มีการตรวจสภาพและบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน • ถังก๊าซฯ ปตท. มีสภาพดี สะอาด และไม่ชำรุด • ตราสินค้า ปตท. เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในด้านบริษัทที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือ • ผู้บริโภคยอมรับในมาตรฐานของถังก๊าซหุงต้ม ปตท. • มีภาพพจน์โดดเด่นในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานของถังก๊าซฯ ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

  47. การขอคำแนะนำและรายละเอียดเพิ่มเติมการขอคำแนะนำและรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนการตลาดก๊าซหุงต้ม โทร 0-2537-2361 ส่วนขายส่วนกลาง โทร 0-2537-2240 ส่วนขายส่วนภูมิภาค โทร 0-2537-2263 ฝ่ายตลาดก๊าซหุงต้ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) http:// www.pttplc.com ปลอดภัยทุกถัง พลังเต็มทุกใบ

More Related