1 / 26

ความน่าจะเป็น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์

ความน่าจะเป็น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์.

Télécharger la présentation

ความน่าจะเป็น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความน่าจะเป็น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์

  2. ชีวิตความเป็นอยู่ทุกวันนี้โดยทั่วไปเรามักจะพบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นเช่นถ้าเราซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเราก็มีโอกาสจะถูกรางวัลหรือไม่ถูกรางวัลก็ได้หรือการโยนเหรียญ 1 อัน 1 ครั้งมีโอกาสขึ้นหัวหรือก้อยได้เท่า ๆ กันหรือจากการหยิบไพ่ 1 ใบจากสำรับที่มี 52 ใบมีโอกาสที่จะได้ควีน โพดำหรือไม่ได้ควีนโพดำก็ได้หรือถ้ามีลูกแก้วสีดำสีแดงสีขาวอย่างละ 1 ลูกอยู่ในกล่องต้องการหยิบ 1 ครั้งให้ได้ลูกแก้วสีแดงก็มีโอกาสที่จะหยิบได้หรืออาจจะไม่ได้ก็ได้เหล่านี้เป็นต้นโอกาสหรือความน่าจะเป็นจึงเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่สนใจที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นการทดลองสุ่มดังนั้นก่อนที่จะหาค่าความน่าจะเป็นได้จึงจำเป็นต้องรู้จักคำที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คำ คือ การทดลองสุ่มแซมเปิลสเปซและเหตุการณ์ 1

  3. การทดลองสุ่ม นิยามการทดลองสุ่ม (random experiment) หมายถึงการทดลองใด ๆ ที่ทราบผลของการทดลอง ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างจากการทดลองนั้น ๆ แต่ไม่สามารถบอกหรือกำหนดได้แน่นอนว่าการทดลองครั้งนั้นได้ผลเป็นอะไรแน่ ตัวอย่างการทดลองสุ่ม 1. การโยนเหรียญ 1 อัน 1 ครั้ง 2. การโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง 3. การโยนเหรียญ 3 อัน 1 ครั้ง การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง การหยิบไพ่จากสำรับ 1 ใบ 1 ครั้ง การจับสลาก 1 ใบ จากสลากที่ทำไว้ 10 ใบ 1 ครั้ง การหยิบครั้งที่ 1 ให้ได้ลูกแก้วสีแดงจากกล่องที่มีลูกแก้ว ดำแดงขาว อย่างละ 1 ลูก 2

  4. แซมเปิลสเปซ นิยามแซมเปิลสเปซ (sample space) หมายถึงเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกหรือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่มนิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ S 3

  5. ตารางการทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซตารางการทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซ S1 = S2 = S3 = S4 = S7 = 4

  6. สมาชิกแต่ละสมาชิกที่อยู่ในแซมเปิลสเปซเรียกว่า จุดตัวอย่าง (sample point) ดังตัวอย่างข้างต้นแล้ว ในการทดลองครั้งหนึ่ง ๆ อาจมีแซมเปิลสเปซได้มากกว่า 1 แซมเปิลสเปซได้ เช่น จากการโยนเหรียญ 3 อัน 1 ครั้ง ได้ผลลัพธ์เป็น S1 = n(S1) = 8 เมื่อต้องการรู้ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือ S2 = n(S2) = 4 เมื่อต้องการรู้จำนวนหัวที่เกิดขึ้นจากการโยนเหรียญ 3 อัน 5

  7. การหาผลลัพธ์จากการทดลองบางอย่าง เช่น จากการโยนเหรียญ 3 อันอาจเขียนเป็นแผนภาพต้นไม้ (tree diagram) เพื่อทำให้สามารถหาสมาชิกหรือผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้นดังนี้ ผลจากการ โยนเหรียญทั้ง 3 อัน ผลจากการ โยนเหรียญอันที่ 2 ผลจากการ โยนเหรียญอันที่ 3 ผลจากการ โยนเหรียญอันที่ 1 HHH H H HHT T H HTH H T T HTT H THH H T THT T H TTH T T TTT 6

  8. ข้อสังเกต 1. การโยนเหรียญ 1 เหรียญ n ครั้งหรือโยนเหรียญ n เหรียญ 1 ครั้งจะได้จำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซเท่ากับ 2nดังนั้นการหาจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซใด ๆ ที่ได้ผลลัพธ์จากการทดลองแต่ละครั้งที่เป็นไปได้ 2 อย่างจะได้ผลลัพธ์ของ n(s) = 2n 2. การทดลองทอดลูกเต๋า n ลูก 1 ครั้งถ้าสนใจผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนแต้มที่หงายของลูกเต๋าแต่ละลูกจะได้จำนวนสมาชิกทั้งหมดของแซมเปิลสเปซเท่ากับ 6n 7

  9. เหตุการณ์ นิยามเหตุการณ์ (event) คือเซตย่อยหรือสับเซตของแซมเปิลสเปซถ้าเหตุการณ์นั้นมีสมาชิก 1 ตัวเรียกว่าเหตุการณ์เชิงเดี่ยว (simple event) แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นมีสมาชิกมากกว่า 1 ตัวเรียกว่าเหตุการณ์เชิงประกอบ (compound event) การหาเซตของเหตุการณ์ใด ๆ จำเป็นต้องรู้ว่าเกิดจากการทดลองสุ่มอะไรและรู้ว่าแซมเปิลสเปซประกอบด้วยอะไรบ้างจึงจะหาเหตุการณ์ที่สนใจได้ดังนี้ จากการทดลองสุ่มโยนเหรียญ 3 อัน 1 ครั้งสนใจหน้าที่เกิด จาก S = ; n(S) = 8 A = เหตุการณ์ที่เกิดหัวอย่างน้อย 2 อัน A = ; n(A) = 4 B = เหตุการณ์ที่เกิดก้อยอย่างมาก 2 อัน B = ; n(B) = 7 C = เหตุการณ์ที่เกิดก้อยมากกว่า 1 อัน C = ; n(C) = 4 D = เหตุการณ์ที่เกิดหัว 2 อัน D = ; n(D) = 3 8

  10. การหาค่าความน่าจะเป็น การหาค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด ๆ (probability) คือการหาค่าที่แสดงถึงโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ว่ามีได้มากน้อยเพียงใดซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการหาค่าความน่าจะเป็น 2 วิธีคือการหาค่าความน่าจะเป็นวิธีตัวแบบคณิตศาสตร์หรือวิธีอมตะและการหาค่าความน่าจะเป็นโดยการใช้ความถี่สัมพัทธ์ 1. การหาค่าความน่าจะเป็นด้วยวิธีอมตะ (classical method) นิยาม ถ้าการทดลองสุ่มมีผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น n(S)อย่างผลลัพธ์แต่ละอย่างมีโอกาสเกิดได้เท่า ๆ กันและจะเกิดได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นถ้า n(A) คือจำนวนเหตุการณ์ A ที่เกิดขึ้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A คือ P (A) นั่นคือ P(A) = เมื่อ P(A) แทนความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A n(A) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ A n(S) แทนจำนวนสมาชิกทั้งหมดในแซมเปิลสเปซ ข้อสังเกตการหาความน่าจะเป็นด้วยวิธีอมตะนี้ จำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซและเหตุการณ์จะต้องนับได้และมีจำนวนจำกัด 9

  11. ตัวอย่างที่ 1 ถ้าสุ่มครอบครัวที่มีบุตร 3 คนมาครอบครัวหนึ่งจงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ของบุตรทั้ง 3 ต่อไปนี้ 1) มีบุตรชายอย่างน้อย 2 คน 2) มีบุตรหญิงอย่างมาก 2 คน 3) มีบุตรหญิง 2 คน 4) มีบุตรคนแรกเป็นหญิง 5) มีบุตรคนแรกเป็นชายคนที่สองเป็นหญิง 6) มีบุตรหญิงมากกว่า 1 คน 7) ไม่มีบุตรหญิงเลย 8) มีบุตรชาย 2 คนบุตรหญิง 2 คน 10

  12. วิธีทำเขียนแผนภาพต้นไม้เพื่อหาสมาชิกของแซมเปิลสเปซโดยให้ช แทนชายและญ แทน หญิง ผลที่ได้ บุตรคนแรก บุตรคนที่สอง บุตรคนที่สาม ชชช ช ช ชชญ ญ ช ช ชญช ญ ญ ชญญ ช ญชช ช ญ ญชญ ช ญญช ญ ญ ญญญ ญ รูปแสดงแซมเปิลสเปซของครอบครัวที่มีบุตร 3 คน 11

  13. S = ชชช , ชชญ , ชญช , ชญญ , ญชช , ญชญ , ญญช , ญญญ ; n(S) = 8 1) ให้ E1แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรชายอย่างน้อย 2 คน E1 = ชชช , ชชญ , ชญช, ญชช n(E1) = 4 P(E1) = = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรชายอย่างน้อย 2 คนเท่ากับ 2) ให้ E2แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิงอย่างมาก 2 คน E2 = ชชช , ชชญ , ชญช, ชญญ , ญชช , ญชญ , ญญช n(E2) = 7 P(E2) = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิงอย่างมาก 2 คน เท่ากับ 12

  14. 3) ให้ E3แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิง 2 คน E3 = ชญญ , ญชญ , ญญช n(E3) = 3 P(E3) = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิง 2 คนเท่ากับ 4) ให้ E4 แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรคนแรกเป็นหญิง E4 = ญชช , ญชญ , ญญช , ญญญ n(E4) = 4 P(E4) = = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรคนแรกเป็นหญิงเท่ากับ 13

  15. 5) ให้ E5 แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรคนแรกเป็นชายคนที่สองเป็นหญิง E5 = ชญช, ชญญ n(E5) = 2 P(E5) = = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรคนแรกเป็นชายคนที่สองเป็นหญิงเท่ากับ • ให้ E6 แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิงมากกว่า 1 คน E6 = ชญญ , ญชญ , ญญช , ญญญ n(E6) = 4 P(E6) = = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรหญิงมากกว่า 1 คนเท่ากับ 14

  16. 7) ให้ E7 แทนเหตุการณ์ที่ไม่มีบุตรหญิงเลย E7 = ชชช n(E7) = 1 P(E7) = = ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ไม่มีบุตรหญิงเลย เท่ากับ 8) ให้ E8 แทนเหตุการณ์ที่มีบุตรชาย 2 คนบุตรหญิง 2 คน E8 = =  n(E8) = 0 P(E8) = = = 0 ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มีบุตรชาย 2 คน บุตรหญิง 2 คนเท่ากับ 0 15

  17. ตัวอย่างที่ 2ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้งจงหา 1) แซมเปิลสเปซ 2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มที่ขึ้นเท่ากับ 8 3) เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มที่ขึ้นหารด้วย 4 ลงตัว 4) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน 5) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าลูกแรกขึ้นแต้มเป็น 4 6) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าลูกแรกขึ้นแต้ม 2 และหารลูกที่สอง ได้ลงตัว 7) ความน่าจะเป็นของข้อ 2 และข้อ 3 วิธีทำ 1) S =  (1,1) , (1,2) , (1,3) , (1,4) , (1,5) , (1,6) (2,1) , (2,2) , (2,3) , (2,4) , (2,5) , (2,6) (3,1) , (3,2) , (3,3) , (3,4) , (3,5) , (3,6) (4,1) , (4,2) , (4,3) , (4,4) , (4,5) , (4,6) (5,1) , (5,2) , (5,3) , (5,4) , (5,5) , (5,6) (6,1) , (6,2) , (6,3) , (6,4) , (6,5) , (6,6)  n(S) = 36 16

  18. 2) ให้ A แทนเหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเท่ากับ 8 A = (2,6) , (6,2) , (3,5) , (5,3) , (4,4) n(A) = 5 3) ให้ B แทนเหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มที่ขึ้นหารด้วย 4 ลงตัว B = (1,3) , (3,1) , (2,2) , (2,6) , (6,2) , (3,5) , (5,3) , (4,4) , (6,6) n(B) = 9 4 ) ให้ C แทนเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน C = (1,1) , (2,2) , (3,3) , (4,4) , (5,5) , (6,6) ; n(C) = 6 = = = 17

  19. 5) ให้ D แทนเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าลูกแรกขึ้นแต้ม 4 D = (4,1) , (4,2) , (4,3) , (4,4) , (4,5) , (4,6) ; n(D) = 6 = = = 6) ให้ E เป็นเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าลูกแรกขึ้นแต้ม 2 และหารลูกที่สองได้ลงตัว E = (2,2) , (2,4) , (2,6) ; n(E) = 3 = = = 7) = = = = = 18

  20. การหาค่าความน่าจะเป็นด้วยวิธีการใช้ความถี่สัมพัทธ์ (relative frequency method) นิยามถ้ามีการทดลองซ้ำ ๆ กัน n ครั้งเกิดเหตุการณ์ A ขึ้น f ครั้ง ความถี่สัมพัทธ์ของเหตุการณ์ A คือหรือความน่าจะเป็นโดยใช้ความถี่สัมพัทธ์เกิดจากอัตราส่วนระหว่างความถี่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่สนใจกับความถี่ของเหตุการณ์ทั้งหมดนั่นคือ P(A) = ตัวอย่างที่ 3โยนเหรียญบาท 1 อัน 700 ครั้งปรากฏว่าขึ้นหัว 250 ครั้งจงหาความน่าจะเป็นของ การเกิดหัวจากการโยนเหรียญบาทนี้ วิธีทำให้ A เป็นเหตุการณ์ของการโยนที่เกิดหัว P(A) = = 0.3571 ดังนั้นความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญนี้ที่จะเกิดหัว เท่ากับ 0.3571 19

  21. ตัวอย่างที่ 4 บริษัทรับทำประกันอัคคีภัยแห่งหนึ่งกำลังเปิดทำประกันอัคคีภัยที่อำเภอหนึ่งและเพื่อเป็นการหาข้อมูลสำหรับการกำหนดอัตราการประกันจึงได้ทำการสำรวจคนในอำเภอนี้มา 10,000 คนพบว่ามีจำนวนผู้สนใจทำประกันอัคคีภัยอยู่ 1,750 คนจงหาความน่าจะเป็นที่คนในอำเภอนี้จะทำประกันอัคคีภัย วิธีทำความน่าจะเป็นที่คนในอำเภอนี้จะทำประกันอัคคีภัย= = = 0.175 20

  22. ตัวอย่างที่ 5ในภาคเรียนที่แล้วมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจจำแนกตามเพศ อายุและคณะเป็นดังนี้ • ถ้าสุ่มนักศึกษา 1 คนจากตารางนี้จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้ • เป็นนักศึกษาอายุ 20 – 23 ปี • เป็นนักศึกษาชายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • เป็นนักศึกษาหญิงที่อายุไม่เกิน 23 ปี • เป็นนักศึกษาชาย • เป็นนักศึกษาชายที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป • เป็นนักศึกษาหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี • เป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ 21

  23. วิธีทำ จากตารางหาผลรวมในแนวตั้งและแนวนอนได้ดังนี้ วิธีทำ จำนวนนักศึกษาทั้งหมด = 45 + 75 + 58 + 92 = 270 คน 1) ให้ A แทนนักศึกษาอายุ 20 – 23 ปี จำนวน 24 + 38 + 31 + 53 = 146 คน P(A) = 2) ให้ B แทนนักศึกษาชายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 45 คน P(B) = 22

  24. 3) ให้ C แทนนักศึกษาหญิงที่อายุไม่เกิน 23 ปีจำนวน 19+38+29+53 = 139 คน P(C) = 4) ให้ D แทนนักศึกษาชายจำนวน 45 + 58 = 103 คน P(D) = 5) ให้ E แทนนักศึกษาชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปจำนวน 24 + 10 + 31 + 12 = 77 คน P(E) = 6) ให้ F แทนนักศึกษาหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 19 + 29 = 48 คน P(F) = 7) ให้ G แทนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการจำนวน 58 + 92 = 150 คน P(G) = 23

  25. คุณสมบัติความน่าจะเป็นคุณสมบัติความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A ใด ๆ มีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 1 เท่านั้น นั่นคือ 0 P(A) 1 หรือ 0% P(A) 100 % กล่าวได้ว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เป็นเซตว่างจะมีค่าเท่ากับ 0 คือ P() = 0 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ความน่าจะเป็นของแซมเปิลสเปซมีค่าเท่ากับ 1 คือ P(s) = 1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน P(A) = 0.5 หมายถึง เหตุการณ์ A มีโอกาสเกิดหรือไม่เกิดได้เท่ากัน 24

  26. สรุป ความน่าจะเป็นเป็นค่าที่บอกถึงโอกาสหรือคำตอบที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการ ทดลองสุ่ม การทดลองสุ่มคือการทดลองใด ๆ ที่ไม่สามารถบอกผลลัพธ์ที่แน่นอนของการทดลองนั้นได้ ล่วงหน้าเพียงแต่รู้ว่าจะเกิดอะไรได้บ้างและสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ทั้งหมดของการทดลองนั้น ๆ เรียกว่าแซมเปิลสเปซแต่ถ้าเรานำผลลัพธ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากแซมเปิลสเปซ บางส่วนมาเราเรียกสิ่ง นั้นว่าเหตุการณ์เหตุการณ์จึงหมายถึงสับเซตหรือส่วนหนึ่งของแซมเปิลสเปซนั่นเอง การหาค่าความน่าจะเป็นด้วยวิธีอมตะหาได้จากอัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของ เหตุการณ์ที่สนใจกับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซคือ P(A) = แต่ถ้าเป็นการหาค่าความ น่าจะเป็นด้วยการใช้ความถี่สัมพัทธ์จะได้อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจกับจำนวน เหตุการณ์ทั้งหมดคือ P(A) = และค่าความน่าจะเป็นใด ๆ จะมีค่าอยู่ในช่วง 0  P(A)  1 หรือ 0%  P(A)  100%เท่านั้นโดยที่ ค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดมีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่าเหตุการณ์นั้นจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นถ้า ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 หมายความว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแน่นอนหรือถ้าค่าความน่าจะเป็นมีค่า เท่ากับ 0.5 หมายความว่าเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน 25

More Related