1 / 15

ระเบียบวิธีวิจัย

ระเบียบวิธีวิจัย. การทบทวนวรรณกรรม (Review literature) ดร. ลัดดา ปรีชาวีรกุล ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์. สาระที่สำคัญในการทบทวนวรรณกรรม. ความหมายของวรรณกรรม จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

nuru
Télécharger la présentation

ระเบียบวิธีวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบวิธีวิจัย การทบทวนวรรณกรรม(Review literature) ดร. ลัดดา ปรีชาวีรกุล ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์

  2. สาระที่สำคัญในการทบทวนวรรณกรรมสาระที่สำคัญในการทบทวนวรรณกรรม • ความหมายของวรรณกรรม • จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม • ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม • แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง Research Methodology

  3. ความหมายของวรรณกรรม • วรรณกรรม (Literature) หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบ เป็นประโยชน์ในการศึกษา โดยสิ่งพิมพ์ต้องเป็นที่น่าเชื่อถือได้ เช่น หนังสือ วารสาร จดหมายเหตุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ Encyclopedia เอกสารที่เกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้น Research Methodology

  4. การทบทวนวรรณกรรม (Review literature) • เพื่อจะอ้างอิงทฤษฎีผลการวิจัยที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาเพื่อการวิจัย • วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบของคำถามการวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 4 เรื่องใหญ่คือ • ทฤษฎี (Theory): ทฤษฎีหลัก (Grand Theory) และทฤษฎีที่ทดสอบกับสภาพจริงแล้ว (Grounded Theory) • รูปแบบ (Model): ถ้าไม่มีทฤษฎีรองรับ อาจหารูปแบบ (Model) มารองรับได้ • การวิจัยเริ่มแรก (Empirical research): นำผลสรุปจากการวิจัยมาเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • ความเกี่ยวข้องของทฤษฎีและการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท • Theory-then-Research • Research-then-Theory Research Methodology

  5. Theory-then-Research • ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ • มีโครงสร้างทฤษฎีหรือรูปแบบอยู่แล้ว อาจเป็น Grand theory หรือ Grounded theory โดยระบุทฤษฎีให้ชัดเจนว่ามีรายละเอียดอย่างไร • เลือกทดสอบว่าปรากฏการณ์ที่มีอยู่นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีหรือไม่ หากไม่สอดคล้องให้ระบุว่าอะไรแตกต่างออกไป (ผู้วิจัยอาจได้ข้อค้นพบใหม่) • การออกแบบการวิจัย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและเพื่อสรุปผล • ตรวจสอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธทฤษฎีนั้น พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ • ทำการพัฒนาทฤษฎีต่อไปด้วยกระบวนการวิจัย Research Methodology

  6. Research-then-Theory • ขั้นตอนมีดังนี้ • ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ หรือการสืบค้นเชิงธรรมชาติ • ทำการวัดและประเมินผลปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกระบวนการวิจัยตั้งแต่การกำหนดตัวแปร และออกแบบเครื่องมือชี้วัด • วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น • นำผลสรุปไปสร้างเป็นทฤษฎีต่อไป ซึ่งอาจเป็น Grounded theory แล้วพัฒนาเป็น Grand theory ในที่สุดก็ได้ Research Methodology

  7. จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรมจุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม • เพื่อให้ทราบว่ามีทฤษฎี แนวคิด Model และงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาของการวิจัยบ้าง มีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง • เป็นแนวทางให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดกรอบแนวคิด (Conceptual framework) หรือ กรอบทฤษฎี (Theory framework) ของการวิจัยได้ นำไปสู่การตั้งสมมติฐานต่อไป • เพื่อให้ทราบว่ามีใครทำวิจัยในเรื่องที่จะศึกษาอยู่บ้าง เพื่อป้องกันการทำซ้ำซ้อนกัน ทั้งวิธีการ กลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือ • เพื่อศึกษางานวิจัยของผู้อื่น จะได้ทราบวิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ วิธีการ รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำให้ผู้วิจัยได้แนวคิดมาประยุกต์ใช้กับการวิจัยที่จะจัดทำได้ • เพื่อช่วยในการอภิปรายผลได้มากขึ้น Research Methodology

  8. จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม (ต่อ) • เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคของการทำงานวิจัยของผู้อื่นที่ผ่านมา จะได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น • เพื่อให้ผู้วิจัยได้ข้อสรุปในการขยายแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้อ่านมาไปศึกษาเพิ่มเติม หรือศึกษาในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ Research Methodology

  9. ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรมประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม • ได้หัวข้อการวิจัยที่เหมาะสม ไม่ล้าสมัย เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม ของศาสตร์ที่กำลังศึกษา • ทำให้ได้หัวข้อไม่ซ้ำกับผู้วิจัยอื่นๆ • ทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการทำวิจัยที่มีประโยชน์ต่อศาสตร์ ต่อสังคมโดยรวม มีการเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎี งานวิจัย และจากศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน • ทำให้ผู้วิจัยได้แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการวิจัย ตั้งแต่เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล Research Methodology

  10. แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • เอกสารตำรา (Text book) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังวิจัย • บทความจากวารสารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ • รายงานการวิจัยจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ • สารานุกรมทางการวิจัย หนังสือรวบรวมบทคัดย่อการวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ • วิทยานิพนธ์ • CD-ROM และ Internet Research Methodology

  11. ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม • กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้กระชับเฉพาะหัวข้อที่ต้องการศึกษา โดยพิจารณาคำสำคัญ (Key word) • ค้นหาจากเอกสารที่ต้องการ ทั้งหนังสือ วารสาร พจนานุกรม Encyclopedia จากห้องสมุด CD-ROM Internet • หลักเกณฑ์การเลือกเอกสารดังนี้ • พิจารณาจากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น • พิจารณาความทันสมัย ต้องเป็นความรู้ใหม่ สาระใหม่ๆ ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย มีความเป็นปัจจุบัน • ประวัติผู้เขียนหรือผู้วิจัย Research Methodology

  12. ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม • สำนักพิมพ์ต้องเป็นสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้ มีการคัดผลงานที่จะพิมพ์ • ความน่าเชื่อถือของข้อมูล • การจดบันทึกรายละเอียดเพื่อป้องกันการลืม • กรณีเป็นหนังสือ: ชื่อ-สกุลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ วารสาร บทความ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ เล่มที่ เลขหน้า เลขหมู่หนังสือ/สถานที่ค้นหนังสือ • กรณีเป็นผลงานวิจัย: ชื่อหัวข้อการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ สรุปผลการวิจัย Research Methodology

  13. หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องหลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • การนำเสนอสาระในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มักนิยมจัดเป็นหมวดๆ ดังนี้ • ความหมายของคำสำคัญที่ปรากฏ โดยสรุปว่าใครกล่าวให้ความหมายไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน แล้วผู้วิจัยสรุปว่าในงานวิจัยนี้จะหมายความว่าอย่างไร • แนวคิดในเรื่องที่ทำการวิจัย เช่น กรอบแนวคิดอะไรบ้าง • ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการยืนยันทฤษฎีหรือไม่ ถ้าใช่จะยืนยันทฤษฎีอะไร หากมีหลายทฤษฎี ต้องสรุปว่าจะนำทฤษฎีอะไรมาสนับสนุนบ้าง ถ้าไม่มี ต้องมี Modelหรืองานวิจัยมาสนับสนุน • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานวิจัยในและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ทราบว่ามีงานวิจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย ข้อค้นพบของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ต้องสรุปให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน Research Methodology

  14. สรุปการทบทวนวรรณกรรม • เพื่อให้ได้หัวข้อการวิจัยที่เหมาะสม ไม่ซ้ำกับการวิจัยของผู้อื่น และทำให้เกิดแนวคิดที่เป็นกรอบสำหรับการวิจัย • ช่วยในการออกแบบการวิจัย สร้างเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผลของการวิจัย Research Methodology

  15. อ้างอิง • ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์“ระเบียบวิธีการวิจัย” พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด, 2547. Research Methodology

More Related