1 / 15

จุดแข็ง (Strength) ของจังหวัดตาก

การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป. จุดแข็ง (Strength) ของจังหวัดตาก 1. มีฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมีแนวโน้มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 2. มีศักยภาพในการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานสูง

ollie
Télécharger la présentation

จุดแข็ง (Strength) ของจังหวัดตาก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป จุดแข็ง (Strength) ของจังหวัดตาก 1. มีฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมีแนวโน้มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 2. มีศักยภาพในการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานสูง (LaborIntensive) ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก 3. มีศักยภาพในการส่งเสริมการปลูกพืช ผัก ผลไม้เมืองหนาว /การเกษตรบนพื้นที่สูง 4. มีพื้นที่ชายแดนที่เป็นฐานการค้าชายแดนและการพัฒนาการประกอบการร่วมกัน (Co-Production Area) กับประเทศพม่า

  2. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป 5. มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนที่สามารถนำมาขยายผลด้านการ ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ 6.มีแหล่งท่องเที่ยว (น้ำตกทีลอซู) และเส้นทางการท่องเที่ยว (แม่สอด-แม่สะเรียง) ที่ สามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่ / เส้นทางแม่เหล็กด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 7.มีพื้นฐานความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถนำมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม 8.มีกองกำลังประจำถิ่นที่มีความพร้อมในการเข้าไปจัดการปัญหาความมั่นคงในทุก รูปแบบ

  3. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป 2. จุดอ่อน (Weakness) ของจังหวัดตาก 1. มีปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะราษฎร ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร 2.ภาคการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดยังเป็นภาคเกษตรที่ สร้างมูลค่าต่ำและมีลักษณะการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของดิน ตลอดจนยังใช้ การเพิ่ม ผลผลิตด้วยการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการใช้ปุ๋ย/สารเคมี 3. ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อใช้ทางการเกษตร 4. เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ในระดับสูง 5. มีปัญหาด้านการกระจายรายได้/กระจายความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรม 6. มีสัดส่วนคนยากจน/ครัวเรือนที่ยากจนสูง

  4. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป 7. สภาพภูมิศาสตร์และที่ตั้งของจังหวัดทำให้มีโอกาสสูงที่จะรองรับกับปัญหาด้านต่างๆจาก ภายนอก และมีความยากลำบากต่อการเข้าไปควบคุมจำกัดปัญหา ตลอดจนทำให้มี สัดส่วนคดียาเสพติดอยู่ในระดับสูง 8. ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารทำความเข้าใจ 9. ลักษณะเส้นทางสายแม่สอด-ตาก ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดไม่ เอื้ออำนวยต่อระบบการขนส่งด้วยรถยนต์ขนาดใหญ่ 10.ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้ ยากต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ 11.ในพื้นที่อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตากที่อยู่สองข้างทางแม่น้ำวังมีโอกาสสูงที่จะ ประสบปัญหาอุทกภัย

  5. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป 3. โอกาส (Opportunity) ของจังหวัดตาก 1.มีโอกาสสูงที่จะได้รับการสนับสนุนงานประมาณเพื่อการพัฒนาด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลมีแนวโน้มสูงที่จะให้ความสำคัญต่องานเรื่องการ จัดสวัสดิการสังคมเพื่อดูแลผู้ยากจนและด้อยโอกาส และการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน 2. มีโอกาสสูงด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนและการพัฒนาภาคบริการต่อเนื่องโดยมี แนวนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ชัดเจนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในด้าน นี้ของจังหวัด 3. มีโอกาสสูงที่จะเป็นฐานรองรับการย้ายฐานการลงทุนด้านอุตสาหกรรม ประเภทใช้แรงงานสูง (พื้นที่ลงทุนใหม่) ตามนโยบายการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการ พัฒนาการประกอบการร่วมกัน (Co-Production Area) กับประเทศพม่า 4. มีโอกาสได้รับผลการพัฒนาจากการเป็นพื้นที่จุดตัดระหว่างเส้นทางการพัฒนาแนว EWEC และ NSEC

  6. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไปการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากในระยะต่อไป 4. ข้อจำกัด (Threat) ของจังหวัด 1. มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากปัญหาภายในของประเทศพม่า และแนวโน้ม นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน / การพัฒนาประชาธิปไตย ของกลุ่มประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศพม่า 2. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นการบริโภคอาหารปลอดภัย (SafetyFood) และข้อกำหนดด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) จะสร้างผลกระทบต่อสินค้าทาง การเกษตรของจังหวัด 3. การค้าขายกับประเทศพม่าเริ่มได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากประเทศจีนส่งมาขายใน ประเทศพม่า 4. มีความล่าช้าในการดำเนินการตามนโยบายเขตเศรษฐกิจชายแดน เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นใน ประเทศไทยและระหว่างชายแดนพม่ากับจีน และผลจากความล่าช้าอาจจะทำให้จังหวัดตากเสียโอกาส ทางการพัฒนาในระยะยาวได้ 5. การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตรเพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนอาจสร้างปัญหา การทำลายพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น

  7. วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดตากวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดตาก “เมืองน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน”

  8. ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตากมี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และแก้ไขปัญหาความยากจน 2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร 4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวสินค้า OTOP และการค้าชายแดน 5. การรักษาความมั่นคงชายแดน และความสงบเรียบร้อย 6. การบริหารจัดการที่ดี

  9. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและแก้ไข ปัญหาความยากจน กลยุทธ์ พัฒนาระบบสุขภาพ การศึกษา ชีวิตการงาน รายได้ ที่อยู่อาศัย ครอบครัวและชุมชน การคมนาคม

  10. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่1 บูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ แหล่งน้ำ กลยุทธ์ที่2 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยการลด ความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ อย่างเป็นระบบ

  11. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร กลยุทธ์ที่1 ส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน อาทิ การเกษตรที่ดี และเหมาะสม เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎี ใหม่ บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่2 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

  12. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม สินค้าOTOP และการค้าชายแดน กลยุทธ์ที่1 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่2 พัฒนาคุณภาพและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย สินค้า OTOP กลยุทธ์ที่3 ส่งเสริมการค้าชายแดน

  13. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การรักษาความมั่นคงชายแดน และความสงบเรียบร้อย กลยุทธ์ที่1 สร้างขีดความสามารถในการรักษาความ สงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน กลยุทธ์ที่2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน

  14. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี กลยุทธ์ที่1 พัฒนาระบบให้บริการ สิ่งอำนวยความ สะดวกประชาชน และข้าราชการ กลยุทธ์ที่2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การบริหารจัดการภาครัฐ

More Related