1 / 69

การกำหนดตัวแปร กรอบแนวคิดในการวจัย การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การกำหนดตัวแปร กรอบแนวคิดในการวจัย การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. อ. ดาว เวียงคำ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา วันที่ 17 กพ.2550. ตัวแปร.

overton
Télécharger la présentation

การกำหนดตัวแปร กรอบแนวคิดในการวจัย การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกำหนดตัวแปรกรอบแนวคิดในการวจัยการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างการกำหนดตัวแปรกรอบแนวคิดในการวจัยการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง อ. ดาว เวียงคำ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา วันที่ 17 กพ.2550

  2. ตัวแปร • สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่าทั้งที่เป็นคุณลักษณะ คุณสมบัติของสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาและสามารถวัดได้ • ลักษณะของสิ่งหรือประชากรที่ศึกษาที่ผู้วิจัยสนใจ สามารถวัดได้ นับได้ และลักษณะนั้นไม่คงที่สามารถแปรเปลี่ยนได้หลายค่า

  3. ตัวแปร (Variable) • คุณลักษณะที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา • สามารถสังเกตและวัดได้ • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหัวเรื่องที่วิจัย

  4. ชนิดของตัวแปร • แบ่งตามการวัด • ตัวแปรต่อเนื่อง • ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง • แบ่งตามลักษณะ • ตัวแปรต้น • ตัวแปรตาม • ตัวแปรแทรกซ้อน

  5. ตัวแปรต้นมีลักษณะ • เป็นตัวแปรต้นเหตุ • เป็นตัวแปรที่ต้องเกิดขึ้นก่อน • เป็นตัวแปรที่จัดกระทำขึ้น • มีลักษณะเป็นตัวทำนาย • เป็นตัวกระตุ้น • มีความคงที่

  6. ตัวแปรตามมีลักษณะ • เป็นตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้น • เกิดขึ้นภายหลัง • เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่สามารถจัดกระทำขึ้นได้ในการทดลอง • เป็นตัวถูกทำนาย • เป็นตัวตอบสนอง • มีการเปลี่ยนแปลง

  7. ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอก • ตัวแปรอื่นนอกเหนือจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามซึ่งเป็นสิ่งนอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการศึกษา

  8. การวัดตัวแปร • การวัดเป็นการกำหนดค่าให้กับตัวแปรที่ต้องการวัด • ระดับของการวัด • การวัดระดับนามบัญญัติ (norminal scale) • การวัดระดับแบจัดอันดับ (Ordinal scale) • การวัดระดับอัตรภาคหรือระดับช่วง (interval scale) • การวัดระดับอัตราส่วน (ratio scale)

  9. การนิยามคำ • การให้ความหมายของคำ วลี หรือแนวคิดที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง  มีขอบเขต และอาจจะไม่เหมือนความหมายโดยทั่วไป • ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำที่ใช้ 

  10. กรอบแนวคิดในการวิจัย • อธิบายความสำคัญของกรอบแนวคิดต่อการวิจัยได้ • วิเคราะห์ถึงลักษณะการเขียนกรอบแนวคิดในแบบต่างๆ วัตถุประสงค์ของการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถ

  11. กรอบการวิจัย • การกำหนดกรอบการวิจัยคือการประมวลความคิดรวบยอดว่างานวิจัยที่ทำอยู่ประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้างและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

  12. กรอบการวิจัย • กรอบเป็นโครงสร้างที่มีเหตุมีผลและเป็นนามธรรมของความหมายที่จะช่วยพัฒนางานวิจัย ทำให้นักวิจัยเชื่อมโยงผลการวิจัยสู่การสร้างความรู้ได้ • กรอบการวิจัยอาจมาจากองค์ความรู้ซึ่งเป็นทฤษฎีหรือมโนทัศน์ เรียกว่า กรอบทฤษฎี (theoretical framework) • กรอบการวิจัยมาจากผลการวิจัยหลายเรื่องหรือประสบการณ์ที่มีข้อมูลสนับสนุน เรียกว่ากรอบแนวคิด (conceptual framework)

  13. ความสำคัญของกรอบแนวคิดความสำคัญของกรอบแนวคิด • สร้างความชัดเจนในแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา • เสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา • ให้แนวทางในการแปลผลการวิจัย

  14. การเขียนกรอบแนวคิด • การพรรณนา บรรยายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร • แสดงด้วยสัญลักษณ์ สมการหรือแบบจำลอง • แผนภาพ • แบบผสมผสาน

  15. การแสดงด้วยแผนภาพ การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดูสุขภาพตนเองของเด็กนักเรียน ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลตนเองทั่วไป การดูแลในระยะพํฒนาการ การดูแลตนเองตามเบี่ยงเบน ภาวะสุขภาพ องค์ประกอบด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล โครงสร้างครอบครัว ได้แก่การอยู่ร่วมกันของบิดามารดา จำนวนสมาชิกในครอบครัว สภาพแวดล้อมในโรงเรียน

  16. ข้อตกลงเบื้องต้น  • ส่วนใหญ่นักวิจัยทั้งหลายชอบมองข้าม • เป็นการยอมรับว่าจริงบนพื้นฐานของเหตุและผลที่ไม่ได้พิสูจน์

  17. ข้อจำกัด/การลดข้อจำกัด ข้อจำกัด/การลดข้อจำกัด  • พูดถึงสิ่งที่นักวิจัยไม่ได้ทำ • ข้อจำกัดและขอบเขตของปัญหา • เมื่อแปลผลที่ค้นพบให้คำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆด้วย 

  18. การเลือกประชากรและ กลุ่มตัวอย่าง

  19. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • อธิบายความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้ • กำหนดขนาดของตัวอย่างได้ • เลือกตัวอย่างได้

  20. ความหมาย ประชากร(Population): ทุกหน่วยของสิ่งที่จะศึกษา • ศึกษาน้ำหนักทารกแรกคลอดก่อนกำหนด จากมารดาวัยรุ่น • ศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อวัณโรคในเสมหะของสัตว์ ที่เป็นโรคเอดส์

  21. ประชากร คือ ทารกแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดาวัยรุ่นทุกคน ประชากร คือ เสมหะของสัตว์ที่เป็นโรคเอดส์ทุกตัว สรุปประชากร คือ ทุกหน่วยที่ต้องการศึกษาทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สารที่สร้างหรือขับออกจากร่างกาย เช่น เสมหะ เลือด อุจจาระ เป็นต้น

  22. ประชากรเป้าหมาย(Target population): กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยต้องการสรุปไปถึงหรือประชากรที่ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตชัดเจน • น้ำหนักทารกแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดาวัยรุ่น คลอดที่โรงพยาบาลราชวิถี เป็นต้น

  23. ประชากรตัวอย่าง(population sample or accessible population): กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยกำหนดจะศึกษา เป็นแหล่งที่จะเลือกตัวอย่างออกมาจึงมีการกำหนดขอบเขตให้เฉพาะเจาะจงชัดเจนยิ่งขึ้น • มารดาวัยรุ่นที่คลอดในโรงพยาบาลราชวิถีระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2544 เป็นต้น การกำหนดประชากรตัวอย่างนี้ต้องมีคุณสมบัติเหมือนประชากรเป้าหมาย เพื่อป้องกันการเกิดอคติในการเลือกตัวอย่าง

  24. ตัวอย่าง (Sample):หน่วยที่ถูกเลือกออกจาก ประชากรตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร ข้อมูล ที่ได้จากตัวอย่าง สามารถสรุปไปถึงกลุ่มประชากร เป้าหมายได้ • ประชากรต่อเด็กแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดา วัยรุ่นที่คลอดในโรงพยาบาลราชวิถีจำนวน 1,000 คน ตัวอย่าง คือ บางส่วนของ 1,000 คน ที่เลือกมาศึกษา

  25. การกำหนดขนาดตัวอย่าง

  26. สิ่งที่ควรพิจารณา • งบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัย • ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ระยะเวลาสั้นหรือยาว • ความเชื่อมั่น ระดับความเชื่อมั่น 95 % ความเชื่อมั่น 99 %,

  27. สิ่งที่ควรพิจารณา • ความคลาดเคลื่อน หมายถึง ความแตกต่างระหว่างค่าสถิติ (statistics) กับค่าพารามิเตอร์ (parameters) ยอมให้มีค่าคลาดเคลื่อน (error) ± 1, ± 2 หรือมากกว่า • ขนาดของประชากร และความหลากหลายของประชากร ถ้ามีความหลากหลายมากก็ควรสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น

  28. ถ้าตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้นถ้าตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น • ความคลาดเคลื่อนน้อยลง • ความเชื่อมั่นสูงขึ้น • ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างจะน้อยลง • อย่างไรก็ตามถ้ายิ่งเพิ่มขนาดตัวอย่างใหญ่ขึ้นๆ ถึงจุดหนึ่ง อาจจะมีผลในทางกลับลงมาก็ได้ รวมทั้งการสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มักจะมีปัญหาอันเนื่องมาจากกระบวนการบริหาร

  29. วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่าง ตารางสำเร็จรูป • เครซีและมอร์แกน (Krejeic of Morgan, 1970) เป็นตารางสำเร็จรูปที่แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างไว้ให้ผู้วิจัยสามารถเลือกได้ทันที ขนาดความคลาดเคลื่อน ไม่เกินร้อยละ 5 • ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Yamane

  30. การกำหนดขนาดของตัวอย่างตามแนวคิดของ Yamane ใช้กับข้อมูล Interval scale, Ratio scale • ตารางของ Yamaneจะมีอยู่ 2 ตาราง คือ ตารางกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % และ 99 % • การใช้ตารางทั้ง 2 นี้ ควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้คือ ก. พิจารณาว่าจะให้ความเชื่อมั่นเป็น 95 % หรือ 99 % ข. ต้องสามารถประมาณขนาดของประชากร (N) ได้ ค. กำหนดความคลาดเคลื่อนที่ผู้วิจัยยอมรับได้

  31. ใช้สูตรของ Yamane (1973:725) e = ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่าง (0.05 หรือ 0.01) N =  ขนาดของประชากร n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

  32. ตัวอย่าง การวางแผนสำรวจภาวะสุขภาพตามสุขบัญญัติกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เขต เทศบาลเมืองราชบุรี โดยการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีสัดส่วนประชากรไม่เกิน 0.35 ในระดับความเชื่อมั่น 95 % ซึ่งมีค่าผลคูณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (d) = 0.05 Z = 1.96,  p = .35,  q = .65,  d = .05 การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Daniel, 1995)

  33. ข้อเสนอแนะ: ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง • ถ้าขนาดกลุ่มประชากรมีเป็น “จำนวนร้อย” ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 25 • ถ้าประชากรเป็น “จำนวนพัน” ใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 10 • ถ้าประชากรเป็น “จำนวนหมื่น” ใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 1 

  34. การเลือกตัวอย่าง

  35. แบ่งเป็น 2 วิธี • เลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็นเป็นการเลือกที่ทราบโอกาสว่าแต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกเป็นตัวอย่างมีเท่าใด แบ่งเป็น 2 กรณี 1. กรณีประชากรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogeneous) 2. กรณีประชากรมีลักษณะต่าง ๆ กัน (Heterogeneous) • เลือกโดยไม่คำนึงถึงโอกาสที่ถูกเลือก, ไม่อาศัยความน่าจะเป็น

  36. เลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็นเลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็น 1. ประชากรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน Ωการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple random sampling)เป็นการเลือกที่ทุกๆ หน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน แบ่งเป็น การจับฉลาก และการใช้ ตารางเลขสุ่ม

  37. การจับฉลาก • เขียนกรอบบัญชีรายชื่อ: รวบรวมทุกหน่วยของประชากรมาอยู่ในรายการและให้หมายเลขกำกับ • ทำฉลากหมายเลขเท่าประชากรเป้าหมายที่อยู่ในกรอบบัญชีรายชื่อ • นำฉลากมาเคล้าปนกันให้ทั่ว • จับฉลากขึ้นมาครั้งละ 1 ใบ ให้ครบจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ - แบบไม่มีการแทนที่ - แบบมีการแทนที่: ไม่นิยมวิธีการแทนที่ยกเว้นผู้วิจัยออกแบบการวิจัยไว้เช่นนั้น

  38. การใช้ตารางเลขสุ่ม • เป็นตารางที่ประกอบด้วยตัวเลขที่ถูกจัดเรียงลำดับด้วยการสุ่มไว้แล้วมีจำนวนเลขคู่และเลขคี่เท่า ๆ กัน ปกติจะมีจำนวนเลข 0 ถึง 9 เท่า ๆ กัน มีทั้งหมดเลขละ 1,000 ตัว แบ่งเป็น 100 สดมภ์ (Column) และ 100 แถว (Row) เลขแต่ละกลุ่มจะมีตัวเลข 5 ตัว หรือ 5 หลัก เพื่อสะดวกแก่การใช้ • กำหนดกรอบตัวอย่าง กรณีการวิจัยที่ไม่สามารถกำหนดหรือสร้างกรอบตัวอย่างได้ต้องใช้การสุ่มวิธีอื่น • กำหนดขนาดตัวอย่างที่ต้องการสุ่ม (n)

  39. กำหนดจำนวนหลักตัวเลขที่จะสุ่ม • กำหนดทิศทางการอ่านให้แน่ว่าจะอ่านจากขวาไปซ้าย บนมาล่าง • หาเลขเริ่มต้นโดยการสุ่ม: ใช้ดินสอจิ้มตัวเลขในตาราง ได้ตัวใดตัวนั้นคือเลขเริ่มต้น • อ่านเลขตามจำนวนหลักที่ต้องการ อ่านตามทิศทางที่กำหนด ถ้าอ่านแบบเลขซ้ำกันให้ข้ามไป หรือเลขสุ่มนั้นมีค่าเกินกว่าจำนวนหลักของประชากรให้อ่านข้ามไป หรือตัดทิ้ง • เรียกเลขสุ่มจนครบตามจำนวนตัวอย่างจึงหยุด แต่ถ้าอ่านครบตารางแล้วยังไม่พอให้เริ่มต้นสุ่มตัวแรกใหม่

  40. Ωแบบมีระบบ(Systemic random sampling) • สุ่มหน่วยเริ่มต้น • คำนวณระยะห่างของหน่วยต่อไปโดยใช้สูตร I = N/n I = ระยะห่าง N = จำนวนประชากร n = จำนวนตัวอย่างที่ต้องการ

  41. นับระยะห่างเท่าๆ กัน • กำหนดหมายเลขตัวอย่าง: เลขเริ่มต้น, เลขเริ่มต้น + I, เลขเริ่มต้น + 2I, เลขเริ่มต้น +3I, ...เลขเริ่มต้น + (n-1)I มีประชากร (N) 600 จำนวน ต้องการตัวอย่าง (n) 80 จำนวน คำนวณระยะห่าง = 600/80 = 7.5 ประมาณ 8 สุ่มเลขเริ่มต้น-จับฉลากก็ได้ใน 600 จำนวน สมมุติได้เลข 5 ดังนั้น ตัวอย่างหมายเลขแรกคือ 5 ตัวอย่างตัวต่อๆ ไป คือ 5 + 8 , 5 + 2 (8) , 5 + 3 (8) …… 5 + (80 -1) (8)

  42. 2. ประชากรมีลักษณะต่างๆ กัน Ωแบบแบ่งพวก/แบ่งชั้น (Stratified random sampling)เหมาะสำหรับประชากรที่มีหลายลักษณะรวมกัน • คำนวณ/เปิดตารางหาจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ • คำนวณตัวอย่างแต่ละกลุ่ม

  43. 2. ประชากรมีลักษณะต่างๆ กัน • ทำให้ภายในกลุ่มมีความคล้ายกันมากที่สุด แต่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมาก ๆ โดยการแบ่งหน่วยในประชากรออกเป็นพวกหรือกลุ่ม • สุ่มตัวอย่างออกมาจากแต่ละกลุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบง่ายหรือสุ่มแบบมีระบบให้ได้จำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร • ทำกรอบบัญชีรายชื่อทั้งหมดทุกลุ่ม แล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มออกมาตามจำนวนตัวอย่างที่คำนวณได้

More Related