1 / 126

บทที่ 6

รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง. บทที่ 6. ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. หัวข้อ. นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน เป้าหมายนโยบายการเงิน

pancho
Télécharger la présentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง บทที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

  2. หัวข้อ • นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน • เป้าหมายนโยบายการเงิน • ประสิทธิภาพนโยบายการเงินและการใช้นโยบายการเงิน • ผลกระทบของนโยบายการเงิน • ประสิทธิภาพนโยบายการคลังและการใช้นโยบายการคลัง • การใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังร่วมกัน • การวิเคราะห์การใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเชิงตัวแบบ • ความล่าช้าของการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

  3. นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงินนโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน

  4. นโยบายการเงิน คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น การรักษาเสถียรภาพของราคา ส่งเสริมการจ้างงาน การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม • รัฐบาลมักใช้นโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเสถียรภาพของระดับราคา และอัตราแลกเปลี่ยน และสนับสนุนการเติบโตมากกว่าเป้าหมายอื่น ตัวอย่างเช่น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2541 เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนหรือควบคุมระดับเงินเฟ้อจะมีผลต่อการกระจายรายได้ กล่าวคือ จะทำให้ผู้ที่เป็นหนี้มีภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

  5. นโยบายการเงินทำงานอย่างไรนโยบายการเงินทำงานอย่างไร

  6. ช่องทางต่าง ๆ ของกลไกการทำงานของนโยบายการเงิน

  7. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบจํ าลอง การคาดการณ์เศรษฐกิจ และ การตัดสินใจนโยบายการเงิน

  8. ประเภทของนโยบายการเงินประเภทของนโยบายการเงิน • แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ • 1. นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary Monetary Policy) เป็นนโยบายการเงินที่ต้องการทำให้สภาพคล่องทางการเงิน (liquidity) เพิ่มขึ้นซึ่งทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินในการที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น นโยบายการเงินในลักษณะนี้จะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น รัฐบาลมักจะใช้นโยบายการเงินลักษณะนี้เมื่อต้องการสนับสนุนการเติบโต ดังที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ในขณะนี้ (พ.ศ. 2543)

  9. 2. นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction or tight monetary policy) เป็นนโยบายการเงินที่ต้องการทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง และทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทั้งนี้กระทำได้โดยใช้เครื่องมือทางการเงินไปในทิศทางที่จะลดปริมาณเงินลง นโยบายลักษณะนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเช่น ควบคุมไม่ให้อุปสงค์รวมสูงเกินไป อันจะทำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ หรือช่วยรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท เป็นต้น นโยบายการเงินแบบหดตัวนี้ รัฐบาลได้นำใช้หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใหม่ๆ ( 2540 – 2541) ดังที่ปรากฏในจดหมายแสดงเจตจำนงที่ยื่นต่อ IMF ฉบับที่ 1

  10. เครื่องมือนโยบายการเงินเครื่องมือนโยบายการเงิน • ธนาคารชาติจะใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดโดยเครื่องมือที่ใช้มีวัตถึประสงค์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณเงิน (money supply) และอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเมื่อปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของภาคธุรกิจแอละครัวเรือนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปยังภาคที่แท้จริงหรือภาคการผลิตและการจ้างงาน

  11. นโยบายการเงิน (Monetary Policy) เครื่องมือทางการเงิน (monetary instrument) ตลาดเงิน ปริมาณเงิน/อัตราดอกเบี้ย ภาคที่แท้จริง (Real sector) ปัญหาหรือเป้าหมายทางเศรษฐศาสตร์

  12. เครื่องมือทางการเงินที่จะใช้ควบคุมระดับปริมาณเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่สำคัญมีดังนี้เครื่องมือทางการเงินที่จะใช้ควบคุมระดับปริมาณเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่สำคัญมีดังนี้ • การซื้อขายพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า Open Market Operationเป็นเครื่องมือที่ธนาคารชาติใช้ในการควบคุมปริมาณเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกพันธบัตรอายุไถ่ถอนระยะเวลาต่างๆกันซึ่งส่วนใหญ่เป็นระยะเวลาสั้นเช่น 1เดือน 3เดือนและ 6เดือนเป็นต้นเมื่อธนาคารชาติต้องการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงในทางปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยจะซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าเรียกว่า “Primary Dealers” ซึ่งได้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนบางแห่งซึ่ง primary dealers เหล่านี้อาจไปซื้อขายต่อกับสถาบันการเงินหรือนักลงทุนอื่นๆ

  13. ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Market)ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งตลาดซื้อคืนพันธบัตรในเดือนเมษายน 2522 เพื่อให้สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องมากู้ยืมเงินโดยนำพันธบัตรมาขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนในภายหลังขณะที่สถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องสูงก็จะมาซื้อพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำตัวเป็นผู้ซื้อและขายรายหนึ่งโดยเข้ามาขายหรือซื้อแล้วแต่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มหรือลดสภาพคล่องนี้จะมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเช่น 1วัน 3วันหรือ7วัน • การให้กู้ยืมผ่านหน้าต่างเงินกู้ (Loans Windows)หน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทยประการหนึ่งคือจะเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่สถาบันการเงิน (Lender of Last Resort) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารชาติคิดเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate)

  14. การกำหนดอัตรารับช่วงซื้อลด (rediscount rate)ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดอัตราดอกดเบี้ยในการรับซื้อตราสารทางการเงินตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินหรือที่เรียกว่า “อัตรารับช่วงซื้อลด” ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการที่ให้ปริมาณเงินขยายตัวก็กระทำได้โดยกำหนดอัตรารับช่วสงซื้อลดให้ลดลงเพื่อจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการรับซื้อตั๋วเงินที่ออกโดยธุรกิจมากขึ้น • เงินสดสำรองตามกฎหมาย (legal reserve requirement)ธนาคารกลางในต่างประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินสดไว้ที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมาย 6% โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงไว้ด้วยการฝากเงินสดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1% และเงินสดที่กันไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ 2.5% ที่เหลืออีก 2.5%เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดภาระผูกผันแต่ในส่วนของเงินสดที่กันไว้ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้พันธบัตรกันสำรองทดแทนได้

  15. เครื่องมือนโยบายการเงินภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) • ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินจะส่งสัญญาณทางการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา และเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

  16. ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดการเงิน เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงิน ที่สำคัญคือ 1. การซื้อ/ขายพันธบัตรในตลาดซื้อคืนพันธบัตร และ 2. การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Swap) • การเปลี่ยนแปลงจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเมื่อกลางปี 2540 ทำให้ธปท.สามารถดำเนินนโยบายการเงินภายในประเทศอย่างมีอิสระ มากขึ้น โดยธปท.ไม่จำเป็นต้องรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ณ อัตราที่กำหนด ดังนั้น การเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงของธปท.จึงลดลง

  17. ในการประเมินผลกระทบของธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เพื่อที่จะตัดสินใจว่าควรมีการ ชดเชย (sterilize) ผลกระทบทางการเงินนั้นหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับการประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องโดยรวม และการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ซึ่งปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินคงคลังของภาครัฐ ฐานะการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ และภาระผูกพันที่ครบกำหนดกับธปท. • ในฐานะที่ธปท.เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธปท.จึงมีหน้าที่ในการออกจำหน่าย และเก็บรักษาพันธบัตรรัฐบาล โดยขณะนี้ ธปท.ได้จัดตั้งระบบ “Primary Dealership” เพื่อคัดเลือกสถาบันการเงินที่มีความพร้อมเป็นคู่ค้าหลักของธปท. ซึ่งสถาบันการเงินดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการประมูลและจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล คู่ค้าหลักของ ธปท. ยังมีหน้าที่จัดการ สภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้

  18. เป้าหมายนโยบายการเงินเป้าหมายนโยบายการเงิน

  19. ในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารชาติของประเทศต่างๆทั่วโลกมีเป้าหมายสุดท้าย (ultimate target) ที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (economic stability) ในขณะที่เศรษฐกิจมีการเติบโตหรือกล่าวในนัยที่กว้างขึ้นคือธนาคารชาติทุกประเทศมีเป้าหมายในการที่จะให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ • ในการใช้มาตรการหรือเครื่องมือทางการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐบาลจะต้องมีตัวแปรหลักที่จะควบคุมดูแลหรืออาจเรียกว่าเป้าหมายขั้นกลาง (intermediate target) ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลเชื่อว่าถ้าสามารถดูแลเป้าหมายขั้นกลางได้ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้ • เป้าหมายขั้นกลางที่รัฐบาลใช้เป็นหลักมีหลายตัวเช่นฐานเงิน (Monetary base) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหรือปริมาณเงิน (money supply) เป็นต้น

  20. การที่จะใช้ตัวแปรใดเป็นเป้าหมายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศทั้งนี้มีความเชื่อว่าเป้าหมายขั้นกลางนี้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมายขั้นสูงสุด (ultimate target) คือเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ • สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้มีการนำเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting ) มาใช้ • เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงสะท้อนออกมาจากแนวคิดของธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปได้ดังนี้ ประการแรกภายใต้สภาพแวดล้อมและนโยบายเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการในปี 2540 ทำให้นโยบายการเงินมีอิสระมากยิ่งขึ้นประกอบกับโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระดับราคาเปลี่ยนไปจากเดิมคือยืดหยุ่นไปตามอัตราแลกเปลี่ยน

  21. จึงมีความจำเป็นต้องมีกลไกใหม่ในการรักษาเสถียรภาพของราคาประการที่สองเป้าหมายนโยบายการเงินเดิมที่ใช้ฐานเงินหรือปริมาณเงิน (Monetary Targeting) ประสบปัญหาเนื่องจากความต้องการเงินในระบบซึ่งสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการทางการเงินทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง และ ประการสุดท้ายเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่าเป้าหมายทางการเงินเนื่องมาจากเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศมีความโปร่งใส (transparency) สาธารณชนสามารถตรวจสอบได้ว่าธนาคารชาติสามารถรักษาเงินเฟ้อได้ตามที่ประกาศหรือไม่จึงเป็นกรอบนโยบายที่เอื้อต่อการสร้างความน่าเชื่อถือต่อการสร้างความน่าเชื่อถือ (creditability) และเน้นย้ำความรับผิดชอบของธนาคารชาติ (accountability) ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการจากธนาคารชาติ

  22. เครื่องมือทางการเงิน เป้าหมายขั้นกลาง เป้าหมายขั้นสุดท้าย

  23. เป้าหมายของนโยบายการเงินเป้าหมายของนโยบายการเงิน • เป้าหมายปริมาณเงิน (Money targeting : M) • เป้าหมายอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate targeting : r) • เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation targeting : p) William poole ได้เสนอกรอบแนวคิดในการเลือกเป้าหมายระหว่างปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย โดยหลักการแล้วธนาคารกลางจะเลือกควบคุมเป้าหมายด้านปริมาณเงินหรือเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย (ในที่นี้วัดความมีเสถียรภาพทางรายได้ให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด) ขึ้นอยู่กับที่มา (Source) ของความไม่มีเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจว่ามาจากตลาดการเงิน (การเปลี่ยนแปลงเส้น LM) หรือมาจากตลาดผลผลิต (การเปลี่ยนแปลงเส้น IS)

  24. การควบคุมปริมาณเงินและการควบคุมอัตราดอกเบี้ยการควบคุมปริมาณเงินและการควบคุมอัตราดอกเบี้ย r MS1 MS0 ธนาคารกลางไม่สามารถกำหนดเป้าหมายควบคุมปริมาณเงินและควบคุมอัตราดอกเบี้ยไปพร้อมๆกันได้ E1 r1 E2 r0 E0 MD1 MD0 -ถ้าควบคุมปริมาณเงิน MS0อุปทานของเงินแท้จริงเท่ากับ ดุลยภาพที่จุด E0 ธนาคารกลางต้องยอมรับอัตราดอกเบี้ย r0- ถ้าควบคุมอัตราดอกเบี้ย r1ธนาคารกลางต้องยอมรับปริมาณเงิน MS1 ดุลยภาพที่จุด E1อย่างไรก็ตามปริมาณเงินอาจเป็น MS0ได้ ถ้าความต้องการถือเงินเพิ่มเป็น MD1ดุลยภาพที่จุด E2

  25. r r LM2(M0) LM0(M) LM0(M0) LM1(M0) E2 E2 r2 r2 E3 E* E4 E* r* r* LM(r) LM(r) E1 E1 r1 r1 IS2 IS0 IS0 IS1 Y Y Y3 Y1 Y* Y2 Y4 Y2 Y* Y1 เป้าหมายระหว่างปริมาณเงิน (M) กับ อัตราดอกเบี้ย (r) ความไม่มีเสถียรภาพเกิดจากตลาดการเงิน(การเปลี่ยนแปลงเส้น LM) เช่น ความต้องการถือเงินเปลี่ยนแปลง ความไม่มีเสถียรภาพเกิดจากตลาดผลผลิต(การเปลี่ยนแปลงเส้น IS) เช่น การลงทุนเปลี่ยนแปลง

  26. การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ข้อกำหนดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน • (1) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบาย • (2) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5 • (3) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมาย

  27. (1) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบาย • คณะกรรมการฯ มีมติให้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกจากอัตราเงินเฟ้อ (Headline Inflation) ที่ใช้กันอยู่ปกติในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากราคาสินค้าในกลุ่มดังกล่าว อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ค่าไฟฟ้า หรือราคาน้ำมัน มีความผันผวนระยะสั้นสูง ราคาอาหารสดขึ้นกับสภาพอากาศ และราคาน้ำมันขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ หากยังคงรวมอยู่ในเป้าหมายอาจจะทำให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายในทางที่ไม่ถูกต้อง • ในระยะสั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด

  28. ตัวอย่างเช่น กรณีที่ราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานสูงขึ้น จะกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนอยู่แล้ว ยิ่งหากดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อชะลออุปสงค์รวม ก็จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ถึงแม้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวก็ยังสูงอยู่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 81 ของข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) และจากการเปรียบเทียบข้อมูลในอดีต • ในระยะสั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด

  29. (2) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5 • จากการที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งสำคัญของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ในช่วงปี 2543-2544 การรักษาอัตราเงินเฟ้อของไทยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในการส่งออกได้ และเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท • ช่วงเป้าหมายที่กว้างประมาณร้อยละ 3.5 (ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของประเทศนิวซีแลนด์) จะช่วยรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ (Temporary Economic Shocks) ลดความจำเป็นที่คณะกรรมการฯ จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินบ่อยครั้ง และช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง ส่งผลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ

  30. (3) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมาย • โดยเหตุที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนยังมีความผันผวน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็น เป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะสอดคล้องกับประมาณการจากแบบจำลองเศรษฐกิจ-มหภาครายไตรมาสที่คณะกรรมการฯ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการกำหนดนโยบาย

  31. การใช้นโยบายการเงินและประสิทธิภาพนโยบายการเงินการใช้นโยบายการเงินและประสิทธิภาพนโยบายการเงิน

  32. การใช้นโยบายการเงิน

  33. - การเปลี่ยนแปลงของเส้น LM (1) การเปลี่ยนแปลงของอุปทานของเงิน >> อุปทานของเงินแท้จริง ( ) (1.1) ผลของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน ( ) - LM shift ขวา - LM shift ซ้าย (1.2) ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับราคา ( ) - LM shift ซ้าย - LM shift ขวา

  34. กรณี (ค) r (ก) r LM LM/ r2 r1 r2 r1 Ms=f(r) 0 Ms2 Ms1 Ms 0 y1 y2 y3 y Mt Mt ( )/ Mt2/ Mt1/ =Mt2 Mt1 Mt2/ Mt1/= Mt2 Mt1 Mt=k(y) 450 Ms 0 Ms2 Ms1 0 y1 y2 y3 y (ข) (ง)

  35. (2) การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ต่อเงิน >> ( MD) (2.1) ผลของการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อเงินเพื่อใช้สอยและเหตุฉุกเฉิน ( Mt ) - Mt LM shift ซ้าย(เลื่อนซ้าย หรือเลื่อนขึ้นบน โดยความชันของเส้น LM ชันขึ้นไม่ขนานกับเส้นเดิม) - Mt LM shift ขวา(เลื่อนขวา หรือเลื่อนลงล่าง โดยความชันของเส้น LM ลาดมากขึ้นไม่ขนานกับเส้นเดิม)

  36. กรณี (ค) r (ก) r LM/ LM r2 r1 r2 r1 Ms=f(r) 0 Ms2 Ms1 Ms 0 y1/ y1 y2/ y2 y Mt Mt Mt=k/(y) Mt=k(y) Mt2 Mt1 Mt2 Mt1 450 Ms 0 Ms2 Ms1 0 y1/ y1 y2/ y2 y (ข) (ง)

  37. (ค) r (ก) r LM/ LM r2 r1 r2 r1 Ms/ Ms 0 Ms2 Ms2/ Ms1 Ms1/ Ms 0 y1/ y1 y2/ y2 y Mt Mt Mt=k(y) Mt2 Mt2/ Mt1 Mt1/ Mt2 Mt2/ Mt1 Mt1/ 450 Ms 0 0 y y1/ y1 y2/ y2 Ms2 Ms2/ Ms1 Ms1/ (ข) (ง) (2.2) ผลของการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อเงินเพื่อเก็งกำไร ( ) - (เมื่อ r คงที่) LM shift ซ้าย - LM shift ขวา

  38. ประสิทธิภาพนโยบายการเงินประสิทธิภาพนโยบายการเงิน

  39. ประสิทธิภาพนโยบายการเงิน (กรณีนโยบายการเงินแบบขยายตัว) กรณีที่มีความแตกต่างของความชันเส้น LM r LM0 LM1 r LM0 LM1 r0 r0 E0 E0 E1 r1 r1 E1 IS0 IS0 Y Y Y0 Y1 Y0 Y1 LM0 r r LM1 LM0 r0 r0 E0 E0 LM1 r1 E1 IS0 IS0 Y Y Y0Y1 Y0

  40. ประสิทธิภาพนโยบายการเงิน (กรณีนโยบายการเงินแบบขยายตัว) กรณีที่มีความแตกต่างของความชันเส้น IS IS0 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 E0 r0 r0 E1 r1 r1 E1 IS0 Y Y Y0 Y0 Y1 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 r0 E0 E1 r0 E1 IS0 r1 IS0 Y Y Y0 Y1 Y0 Y1

  41. สรุปประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงิน-การคลัง และความชันของเส้น IS และ LM กรณีการใช้นโยบายการเงิน

  42. ผลกระทบของนโยบายการเงินผลกระทบของนโยบายการเงิน

  43. r LM0 LM1 E0 r0 r1 E1 IS0 Y 0 Y0 Y1 กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว

  44. กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(ตึงตัว)กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(ตึงตัว) r LM1 LM0 E1 r1 r0 E0 IS0 Y 0 Y1 Y0

  45. r LM1 LM0 E1 r1 r0 E0 IS1 IS0 Y Y0 กรณีศึกษา: การใช้มาตรการสำรองเงินทุนไหลเข้า 30%เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท หมายเหตุ ระดับรายได้อาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลงของเส้น IS และ LM ส่วนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างเดียว -ภายหลังมาตรการดังกล่าว ทำให้-เงินทุนไหลออกนอกประเทศจาที่ขาดความมั่นใจ ทำให้ปริมาณเงินลดลง เส้น LM Shift ซ้าย-การที่เงินไหลออก และ/หรือเงินทุนไหลเข้าลดลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น การนำเข้าลดลง เส้น IS Shift ขวา

  46. การใช้นโยบายการคลังและประสิทธิภาพนโยบายการคลังการใช้นโยบายการคลังและประสิทธิภาพนโยบายการคลัง

  47. การใช้นโยบายการคลัง

  48. r LM0 E1 r1 r0 a E0 IS1 IS0 0 ผลของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว(Expansionary fiscal policy) ที่มีต่อระดับรายได้ประชาชาติและอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ Y0 Y1 Y2 Y

  49. G IS Shift ขวา (จาก IS0เป็น IS1) Y (จาก Y1เป็น Y2) MtMD MD > MS r (จากr0เป็นr1) I (เคลื่อนบนเส้น IS1จากจุด a ไปE2)Y (จากY2เป็นY1) การที่ r Msและการที่ Y Mt MD MD = MS ดุลยภาพใหม่อยู่ที่จุด E1ณ ระดับ r1และ Y1 สรุป ผลของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว( G ) จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว Y (จาก Y0เป็น Y1)และอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้น r (จาก r0เป็น r1 )

More Related