1 / 21

ภาษีศุลกากร

ภาษีศุลกากร.

Télécharger la présentation

ภาษีศุลกากร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีศุลกากร

  2. เป็นภาษีทางอ้อมซึ่งจัดเก็บจากสินค้าที่มีการนำเข้าต่างประเทศวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีศุลกากรในอดีตก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศโดยมีการกำหนดอัตราอากรขาเข้าในอัตราที่สูงสำหรับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตของประเทศที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้เป็นภาษีทางอ้อมซึ่งจัดเก็บจากสินค้าที่มีการนำเข้าต่างประเทศวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีศุลกากรในอดีตก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศโดยมีการกำหนดอัตราอากรขาเข้าในอัตราที่สูงสำหรับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตของประเทศที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ • แต่ในสภาวการณ์กระแสโลกาภิวัฒน์  (Globalization)  ปัจจุบันส่งผลให้แต่ละประเทศมีการเปิดประเทศเพื่อค้าขายกันมากขึ้นดังนั้นบทบาทของภาษีศุลกากรเพื่อใช้เป็นวัตถุประสงค์ในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ

  3. การเก็บภาษีของรัฐจุดมุ่งหมายของรัฐโดยทั่วไปก็คือการหารายได้เข้ารัฐ แต่จุดมุ่งหมายรองๆลงมาก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษี การเก็บภาษีศุลกากร นอกจากจะเป็นเหตุผลในการหารายได้แล้ว ความมุ่งหมายหลักก็คือ เพื่อการคุ้มกันการค้าของประเทศ เพราะสินค้านำเข้าเมื่อต้องเสียภาษีศุลกากรก็จะมีราคาแพงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตามนโยบายในการกีดกันทางการค้าด้วยภาษีนี้ เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างละเอียดว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

  4. โครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร • ปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าจะอยู่ระหว่างร้อยละ  0-80  อัตราอากรเฉลี่ยณวันที่ 28 มกราคม 2548เท่ากับร้อยละ  10.71โดยอัตราอากรขาเข้าแบ่งออกเป็น • 1) อัตราอากรขาเข้าตามกรอบปกติ (General Rate) ซึ่งใช้เป็นการทั่วไปกับทุกประเทศ • 2) อัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบการปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก  (WTO)  และความตกลงการค้าพหุภาคีอื่นที่ผนวกท้ายความตกลงดังกล่าวซึ่งการขอรับสิทธิเพื่อใช้อัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบ  WTO นี้ผู้นำเข้าต้องยื่น  Form  A  เพื่อแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้าจากประเทศที่เป็นภาคีของความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก

  5. 3) อัตราอากรขาเข้าเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันในการให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน  (Agreement  on  the  Common  Effective  Preferential  Tariff  (CEPT)  Scheme  for  the  ASEAN  Free  Trade  Area  (AFTA))  และพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน  (Protocol  to  Amend  the  Agreement  on  the  Common  Effective  Preferential  Tariff  (CEPT)  Scheme  for  the  ASEAN  Free  Trade  Area  (AFTA)  ในการขอรับสิทธิเพื่อใช้อัตรา  CEPT  ภายใต้กรอบ  AFTA  นั้นผู้นำเข้าต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า  (Form  D)  ที่ออกตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนและข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ออกตามความในกฎดังกล่าว

  6. ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากร ประจำเดือนสิงหาคม 2541 หน่วย:ล้านบาท

  7. ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากร ประจำเดือนมิถุนายน 2542 หน่วย : ล้านบาท

  8. จากข้อมูลผลการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรข้างต้นจะเห็นได้ว่าในปีแรกๆกรมศุลกากรสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นในปีที่ถัดมา และข้อมูลที่น่าสนใจคือตั้งแต่ปี2547นั้นเราจะเห็นว่ากรมศุลกากรจัดเก็บภาษีได้น้อยลงทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรัฐบาลได้เปิดการทำการค้าเสรี(FTA)กับประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นผลให้กรมศุลกากรเก็บได้น้อยลง และส่งผลให้รายได้โดยรวมของรัฐบาลลดลงด้วย

  9. การวิเคราะห์การใช้เครื่องมือจากภาษีศุลกากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ การใช้เครื่องมือรายรับจากภาษีศุลกากรนั้น รัฐบาลสามารถทำได้โดยการเพิ่มภาษีอัตราของสินค้านำเข้าและลดอัตราภาษีของสิ้นค้าส่งออก เพราะว่าถ้าเราเพิ่มภาษีนำเข้าแล้วจะทำให้สินค้าที่สั่งเข้ามามีราคาแพงส่งผลให้คนนิยมซื้อลดลง(ในกรณีสินค้าปกติ)การนำเข้าก็น้อยลงด้วยเงินตราของไทยก็ไม่ไหลออกนอกประเทศมาก ส่วนในด้านการลดภาษีของสินค้าส่งออกนั้นจะเป็นการส่งเสริมผู้ผลิตให้สามารถส่งสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลงทำให้แข่งขันกับสินค้าที่มาจากประเทศอื่นๆได้ และท้ายสุดก็จะดึงเงินตราจากต่างประเทศให้เข้าสู่ไทยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

  10. และจากความรู้เรื่องรายได้ประชาชาติเราจะเห็นได้ว่า Y = C + I +G + ( X - M )

  11. ถ้าเรากำหนดให้ C , I , G คงที่แล้วจะเห็นว่าการที่เราขึ้นภาษีนำเข้าจะทำให้Mมีค่าลดลง ในขณะที่เราลดภาษีส่งออกจะทำให้Xมีค่ามากขึ้น เมื่อ X-M มีค่าเป็นบวกมากๆจะทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มดังสมการ

  12. แต่เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันไทยได้เปิดประเทศทำการค้าเสรีกับหลายประเทศซึ่งการทำการค้าระหว่างกันนั้นจะไม่เก็บภาษีทำให้บทบาทของภาษีศุลกากรลดลง ส่งผลให้รายได้รัฐบาลจากส่วนนี้ลดลงด้วยดังเราจะเห็นได้ว่าการเก็บภาษีของกรมศุลกากรในระยะหลังๆนั้นลดลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการเปิดการค้าเสรีจึงเป็นเรื่องที่เราควรจะติดตามว่าจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจของบ้านเรา

  13. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีศุลกากร เป็นดังนี้ 1.ปริมาณสินค้าที่นำเข้า คือถ้ามีปริมาณมากกรมศุลกากร มีหน้าที่ต้องกำหนดอัตราภาษีให้ค่าสูงขึ้นเพราะว่าสินค้าเหล่านั้นอาจเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดของผู้ผลิตในประเทศได้ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเอง อย่างตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนคือผลผลิตทางการเกษตรของจีนที่เข้ามาตีตลาดในบ้านเราส่งผลให้เกษตรกรทางภาคเหนือต้องเดือดร้อน

  14. 2.ปริมาณสินค้าส่งออก คือถ้าผู้ผลิตภายในประเทศสามารุส่งออกสินค้าได้น้อย รัฐบาลและกรมศุลกากรควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนโดยการลดภาษีการส่งออก ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตของเราสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นและสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ในตลาดโลก เพราะว่าถ้าเราเก็บภาษีส่งออกลดลงจะทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนที่ถูกลงซึ่งจะเป็นผลดีในการขายสินค้า

  15. 3.ประเภทของสินค้า คือถ้าเป็นสินค้ามีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือเป็นสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้ในไทย กรมศุลกากรก็ควรกำหนดอัตราภาษีที่ต่างกันไปตามแต่ละประเภท • 4.ราคาสินค้าชนิดเดียวกันกับของต่างประเทศ ก็คือ เพื่อให้สินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ก็ควรกำหนดอัตราภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออก(ข้อนี้จะคล้ายๆกับข้อที่2) • 5.นโยบายของรัฐบาล จะเห็นได้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ของเศรษฐกิจไทยข้อนี้จะมีบทบาทมาก ทั้งนี้เพราะได้มีนโยบาลการทำการค้าเสรีระหว่างประเทศขึ้น การจัดเก็บภาษีก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและลดบทบาทลง

  16. สมาชิก • 1.นางสาวดารุณี ดีพันธุ์ 483230040-0 • 2.นางสาวรพีพร บุญทา 483230095-5 • 3.นางสาวรัชติกาล บุญเมือง 483230096-3 • 4.นางสาวสุรีรัตน์ โพธิ์แก้ว 483230145-6 สาขาเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่2

More Related