1 / 28

แทรก

แทรก. ตั๋วแลกเงินทุกฉบับสามารถโอนได้ แม้ว่าจะมิใช่ตั๋วที่สั่ง จ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ ตาม มาตรา ๙๑๗ ว. ๑ “อัน ตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อ เขาสั่งก็ ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่ง มอบ ”

Télécharger la présentation

แทรก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แทรก • ตั๋วแลกเงินทุกฉบับสามารถโอนได้ แม้ว่าจะมิใช่ตั๋วที่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม • มาตรา ๙๑๗ ว. ๑ “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ” • ตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งได้แก่ ตั๋วที่ให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน หรือตามที่ผู้รับเงินจะมีคำสั่งให้จ่ายให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง • โปรดจ่าย......นาย...ก.........หรือตามคำสั่ง • ตั๋วที่มิได้สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ได้แก่ ตั๋วที่สั่งให้จ่ายแก่ผู้รับเงินเฉพาะเจาะจง • โปรดจ่าย......นาย...ก............

  2. ผู้รับสลักหลังจะเป็นบุคคลใดก็ได้ แม้จะมีฐานเป็นคู่สัญญาในตั๋วอยู่ก่อนก็ตาม และไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาตั๋วเงินระงับเพราะเหตุดังกล่าว • มาตรา ๙๑๗ ว. ๓ “อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้” • มาตรา ๓๕๓ “ ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา ๙๑๗ วรรค ๓”

  3. การเป็นเจ้าหนี้ในตั๋วเงินการเป็นเจ้าหนี้ในตั๋วเงิน เจ้าหนี้ในตั๋วเงินได้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ทรง ตาม ม. 904 2. ผู้เข้าใช้เงินตามตั๋วเงิน ม.967 ว.3 3. ผู้สืบสิทธิจากบุคคลในข้อ 1. หรือ 2. ได้แก่ ทายาท ตามกฎหมายมรดก

  4. เจ้าหนี้ในฐานะเป็นผู้ทรงเจ้าหนี้ในฐานะเป็นผู้ทรง 1. ต้องมีตั๋วเงินในความครอบครอง 2. ในฐานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้ • ผู้รับเงิน • ผู้ถือในตั๋วผู้ถือ • ผู้รับสลักหลัง (ไม่ขาดสาย)

  5. เจ้าหนี้ในฐานะผู้ทรง • มาตรา ๙๐๔ “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน” • องค์ประกอบการเป็นผู้ทรง • มีตั๋วในความครอบครอง • ในฐานะเป็น • ผู้รับเงิน • ผู้รับสลักหลังตั๋ว • ผู้ถือในตั๋วผู้ถือ

  6. การพิสูจน์การเป็นผู้ทรงการพิสูจน์การเป็นผู้ทรง • มาตรา ๓๑๐ “ในมูลหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ลูกหนี้มีสิทธิที่จะสอบสวนถึงตัวผู้ทรงตราสาร หรือสอบสวนความถูกต้องแท้จริงแห่งลายมือชื่อหรือดวงตราของผู้ทรงได้ แต่ก็หามีความผูกพันที่จะต้องทำถึงเพียงนั้นไม่ แต่ถ้าลูกหนี้ทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไซร้ การชำระหนี้นั้นก็ไม่เป็นอันสมบูรณ์” • การพิสูจน์การเป็นผู้ทรงในฐานการเป็นผู้รับเงิน • ...................................................................................................................................................................................................................................................................... • การพิสูจน์การเป็นผู้ทรงในฐานการเป็นผู้ถือ • ......................................................................................................................................................................................................................................................................

  7. มาตรา ๙๐๕ ว.๑ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย”

  8. การพิสูจน์การเป็นผู้ทรง ในฐานเป็นผู้รับสลักหลัง • การเป็นผู้ทรงในฐานะเป็นผู้รับสลักหลังตั๋วเงิน กฎหมายกำหนดไว้ว่า จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการสลักหลังตั๋วเงินมาโดย ไม่ขาดสาย • หมายถึง สามารถสืบการสลักหลังตั๋วเงินจากตนเอง ถึงผู้รับเงินคนแรกได้โดยต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน

  9. วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน10,000 บาท ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ง. จ. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ใน ความ ครอบ ครองของ จ. ไม่ขาดสาย

  10. วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน10,000 บาท ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ง. จ. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ใน ความ ครอบ ครองของ ฉ. ขาดสาย

  11. ปัญหา • กฎหมายมิได้บังคับว่าการสลักหลังตั๋วเงินจะต้องเป็นการสลักหลังตั๋วเฉพาะเท่านั้น การสลักหลังยังสามารถสลักหลังลอยได้ด้วย ตามมาตรา 919 ว.2 มาตรา 920 ว.2 • ดังนั้น จะพิสูจน์ว่ามีการสลักหลังไม่ขาดสายได้อย่างไร ?

  12. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ ฉ.

  13. วิธีการพิสูจน์การเป็นผู้ทรงกรณีที่ตั๋วมีการสลักหลังลอยวิธีการพิสูจน์การเป็นผู้ทรงกรณีที่ตั๋วมีการสลักหลังลอย • (1) ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้น มีการสลักหลังตั๋ว และการสลักหลังตั๋วในครั้งสุดท้าย เป็นการสลักหลังลอย กฎหมายให้ถือว่า ตั๋วเงินอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นคือผู้ที่ได้รับไปซึ่งการสลักหลังลอยนั้น • มาตรา ๙๐๕ ว.๑ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย............................”

  14. ลงชื่อ ค. 7 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ ฉ.

  15. ง. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ ฉ.

  16. (2) ในกรณีที่ตั๋วเงินมีการสลักหลังลอย และมีการสลักหลังต่อจากการสลักหลังลอยนั้นไปอีก(ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะหรือลอย) • กฎหมายให้ถือว่า บุคคลซึ่งสลักหลังตั๋วต่อจากการสลักหลังลอยครั้งนั้น(ครั้งที่พิจารณา)เป็นผู้ได้ไปซึ่งการสลักหลังลอยดังกล่าว • มาตรา ๙๐๕ ว.๑ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ..................เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย...........................”

  17. จ. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ จ. ขาดสายหรือไม่

  18. จ. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ ฉ. ขาดสายหรือไม่

  19. จ. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. ลงชื่อ ฉ. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ ฮ. ขาดสายหรือไม่

  20. ลงชื่อ ค. ลงชื่อ ง. ลงชื่อ ช. 7 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 10 พ.ย. 49 ตั๋วอยู่ในความครอบครองของ อ. ขาดสายหรือไม่

  21. การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายการเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย(เจ้าหนี้) จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ • 1. ครอบครองตั๋วเงิน • 2. ในฐานะ • 2.1 ผู้รับเงิน • 2.2 ผู้ถือ • 2.3 ผู้รับสลักหลัง(โดยไม่ขาดสาย) • 3. ได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริต กล่าวคือ • 3.1 ได้รับตั๋วเงินมาโดยมีมูลหนี้ • 3.2 ปราศจากกลฉ้อฉล(ไม่สุจริต) • 3.3 ปราศจากการประมาทเลินเล่อ

  22. ได้ตั๋วมาโดยไม่มีมูลหนี้ได้ตั๋วมาโดยไม่มีมูลหนี้ ข ใช้เงิน ค. หรือ ผู้ถือ ง ก ไล่เบี้ยไม่ได้ หาย เก็บได้

  23. ได้ตั๋วมาโดยไม่สุจริตได้ตั๋วมาโดยไม่สุจริต ข โอน ค. หรือ ผู้ถือ ง จ ก รับโอนโดยรู้ว่า ง. เก็บตั๋วได้ หาย เก็บได้

  24. ได้ตั๋วมาโดยประมาทเลินเล่อได้ตั๋วมาโดยประมาทเลินเล่อ ข โอน ค. หรือ ผู้ถือ ง จ ก ตั๋วเงินมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นที่น่าสงสัย,ผู้โอนตั๋วไม่น่าจะได้ตั๋วมาโดยชอบด้วยกฎหมาย

  25. บุคคลซึ่งมีลักษณะดังกล่าว แม้จะปรากฏว่าได้รับตั๋วมาจากบุคคลซึ่งมิได้เป็นเจ้าของตั๋วอันแท้จริง(ไม่มีสิทธิในตั๋ว) กฎหมายก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิในตั๋วเงิน(เจ้าหนี้ในตั๋ว) ซึ่งจะมีผลดังต่อไปนี้ • (1) มีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินได้ • (2) ไม่ต้องคืนตั๋วให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของตั๋วอันแท้จริง (เว้นแต่เมื่อ ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอม)

  26. มาตรา ๙๐๕ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่ง ข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

  27. สรุป การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย(เจ้าหนี้) จะต้องประกอบไปด้วย ลักษณะดังต่อไปนี้ • 1. ครอบครองตั๋วเงิน • 2. ในฐานะ • 2.1 ผู้รับเงิน • 2.2 ผู้ถือ • 2.3 ผู้รับสลักหลัง(โดยไม่ขาดสาย) • 3. ได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริต • 3.1 ได้รับตั๋วเงินมาโดยมีมูลหนี้ • 3.2 ปราศจากกลฉ้อฉล(ไม่สุจริต) • 3.3 ปราศจากการประมาทเลินเล่อ

  28. จบ

More Related