1 / 90

การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2550

การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2550. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “ การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยมหิดล ” วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2550 ณ ห้อง K102 เวลา 0900-1100 น.

paul
Télécharger la présentation

การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2550 เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยมหิดล” วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2550 ณ ห้อง K102 เวลา 0900-1100 น. (ข้อมูลจัดเตรียมสำหรับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์)

  2. ตำแหน่งทางวิชาการเป็นตำแหน่งที่แสดงถึงตำแหน่งทางวิชาการเป็นตำแหน่งที่แสดงถึง ความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณธรรมและมีจรรยาบรรณ ในการสอน การวิจัย และวิชาการ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  3. ตำแหน่งทางวิชาการ สามารถใช้เป็นอภิไธยนำหน้านามได้เสมือนยศ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ.2536 (ภาคผนวก 3) และหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 1305/4481 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  4. เนื้อหาในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2549 - กำหนดให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และให้สภามหาวิทยาลัยกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการสอน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 - กำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ (ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน โดยคัดสรรจากบัญชีผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 10 คน การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 - กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เพื่อให้สถาบัน อุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

  5. การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ • ก.พ.อ. ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 • สภามหาวิทยาลัยมหิดล พิจารณาตำแหน่ง - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ - รองศาสตราจารย์ - ศาสตราจารย์ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  6. รายนามคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต.กำจร มนุญปิจุ รน. ประธาน • ศาสตราจารย์เกียรติคุณกำแหง จาตุรจินดา กรรมการ • ศาสตราจารย์เกียรติคุณทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ กรรมการ • ศาสตราจารย์เกียรติคุณมนตรี ตู้จินดา กรรมการ • ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิสุทธิ์ ใบไม้ กรรมการ • ศาสตราจารย์สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ กรรมการ • รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาวิชาการฯ เลขานุการ • ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยเลขานุการ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  7. ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยมหิดลข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยมหิดล • ว่าด้วย ตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 • ว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอนในการขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  8. ประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล • เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 • ว่าด้วยคำนิยาม ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ รูปแบบ ลักษณะการเผยแพร่ เกณฑ์ระดับคุณภาพ ของผลการสอนและผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 • เรื่อง แบบคำขอแต่งตั้ง แบบหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ และแบบอื่นที่จำเป็นในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ และแบบการประเมินผลการสอน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

  9. นิยาม “อาจารย์” • อาจารย์ประจำ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัย ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการตามมาตรา 18(ก) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2527 และพนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินอุดหนุน พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินรายได้ และพนักงานของหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ผู้ทำหน้าที่สอน วิจัย บริการวิชาการ และทำงานประจำแบบเต็มเวลาอยู่ในมหาวิทยาลัย • อาจารย์พิเศษ หมายถึง ผู้ที่มิได้เป็นอาจารย์ประจำ แต่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยให้ทำหน้าที่สอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันสมทบ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  10. การพิจารณาแต่งตั้ง • ผู้ขอแต่งตั้งเสนอประวัติและรายการผลงานตามแบบการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการพร้อมแผ่นดิสค์เกต/ซีดีหรือ ในกรณีอาจารย์ประจำ ผู้บังคับบัญชาระดับคณบดีอาจเสนอขอแต่งตั้งด้วยความยินยอมของอาจารย์ผู้นั้น งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  11. ดัชนีและเกณฑ์ในการพิจารณาดัชนีและเกณฑ์ในการพิจารณา • มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและปฏิบัติภาระงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งได้ครบถ้วนทั้งปริมาณและคุณภาพ • ผลการสอนเป็นไปตามเกณฑ์ทั้งปริมาณและคุณภาพ • ผลงานทางวิชาการ เป็นตามเกณฑ์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ • มีจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  12. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ 2. ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า 3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการ จนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  13. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ (ต่อ) 4. ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัวหรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อความที่ค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ 5. ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  14. การอุทธรณ์ • ต้องดำเนินการภายใน 90 วันนับแต่วันที่รับทราบมติ และให้สภามหาวิทยาลัยส่งให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาคำอุทธรณ์ เมื่อมีความเห็นเป็นประการใด ให้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยและให้คำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัยถือเป็นสิ้นสุด • ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและไม่สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 90 วัน ผู้ขออุทธรณ์สามารถขอขยายเวลาอุทธรณ์ออกไปได้อีกไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันครบกำหนดให้อุทธรณ์ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นความจำนงพร้อมแสดงเหตุอันจำเป็นนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการอนุญาตแล้ว จึงยื่นอุทธรณ์ต่อสภามหาวิทยาลัย งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  15. คุณสมบัติของผู้ขอแต่งตั้งคุณสมบัติของผู้ขอแต่งตั้ง

  16. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  17. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ต่อ) • กรณีที่ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น ให้นับเวลาการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาการปฏิบัติหน้าที่หลังได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนด • ไม่ให้นับเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาหรือฝึกอบรมรวมเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ประจำ • หมายเหตุ: มีรายละเอียดการเทียบเวลาการปฏิบัติหน้าที่สำหรับผู้ที่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยมหิดล งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  18. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งรองศาสตราจารย์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งรองศาสตราจารย์ • ต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  19. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งศาสตราจารย์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งศาสตราจารย์ • ต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  20. การเขียนแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ.03 ปรับปรุง/1) งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  21. ส่วนที่ 1 แบบประวัติส่วนตัวและผลงานทางวิชาการ ให้ตัดข้อความที่ไม่ต้องการ ในแบบ ก.พ.อ.03 ปรับปรุง/1 ออก (เป็นคำอธิบาย/แนะนำในการกรอกข้อมูล) 1. ประวัติส่วนตัว 2. ประวัติการรับราชการ/การทำงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ตำแหน่งอื่นๆ ให้บ่งเฉพาะตำแหน่งบริหารระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น 3. ภาระงาน ให้เขียนเฉพาะ 3 ปีย้อนหลัง ได้แก่ งานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานกิจกรรมนักศึกษา งานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานบริหาร งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างาน และ ให้เฉลี่ยปริมาณงานที่ทำ/ปี มาด้วย (รวมภาระงานเฉลี่ยทั้ง 3 ปีที่รวมชั่วโมงทำการของภาระงานสอนแล้ว ไม่น้อยกว่า 1,380 ชั่วโมงทำการ - ดูการคำนวณชั่วโมงทำการ slides 67-71) งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  22. 4. ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ - ใส่เฉพาะตำแหน่งที่ขอ) ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยใช้ขอตำแหน่งที่ต่ำกว่า และต้องมีผลงานเพิ่มขึ้น โดยให้ใส่ *ไว้หน้าผลงานนั้น พร้อมหลักฐานรับรองสัดส่วนในผลงาน ตามแบบ ม.ม.003/1 ให้เขียนตามระบบ Vancouver (ดูตัวอย่างได้จาก website ต่างๆ)ให้เรียงรายการผลงานโดยนำผลงานปีล่าสุดขึ้นก่อน

  23. VANCOUVER STYLE • บทความในวารสารวิชาการ Russell FD, Coppell AL, Davenport AP. In vitro enzymatic processing of radiolabelled big ET-1 in human kidney as a food ingredient. Biochem Pharmacol 1998; 55: 697-701. เมื่อมีผู้นิพนธ์ 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน เมื่อมี 7 คนหรือมากกว่า ให้ใส่เพียง 3 คน ตามด้วย et al. • หนังสือมีผู้นิพนธ์คนเดียว Mayberry M. Consent in clinical practice. Abingdon: Racliffe Medical; 2003. มีผู้นิพนธ์ 2 คนหรือมากกว่า Bond J, Bond S. Sociology and health care: an introduction for nurses and other health care professionals. 2nd ed. London: Churchill Livington; 1986. แบบมีบรรณาธิการ PaceN, McLean A, editors. Ethics and the law in intensive care. Oxford: OUP; 1996. • จากบท (Chapter) ในหนังสือ Knight S. Airway foreign object removal. In: Proehl J, editor. Emergency nursing procedures. 2nd ed. London: Saunders; 1999. p. 9-13.

  24. VANCOUVER STYLE • รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ รายงานการประชุมวิชาการที่ตีพิมพ์ มีผู้นิพนธ์/บรรณาธิการ Banks S, Goodyear P, Hodgson V, ones C, Lally V, Mcconell D, et al.Networked Lifelong Learning: a research-based conference on networked learning in higher education and lifelong learning. Proceedings of the International Conference; 2004; Apr 5-6; Lancaster University. Sheffield,: University of Sheffield; 2004. ถ้าไม่มีผู้นิพนธ์/บรรณาธิการ ให้ใส่ชื่อ conference โดยขีดเส้นใต้ชื่อ conference หรือใช้ตัวอักษรเอน งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  25. และหากมีผลงานทางวิชาการหลายเรื่องในปีเดียวกัน ให้นำเรื่องที่เป็น first หรือ corresponding author ขึ้นก่อน (ดูรายละเอียดข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องกรอก ในแบบ ก.พ.อ.03 ปรับปรุง/1) 5. ผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ 6. เอกสารการสอนที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้เอกสารประกอบการสอน รองศาสตราจารย์ ใช้เอกสารคำสอน • เจ้าของประวัติรับรองข้อความว่าเป็นความจริง พร้อมแจ้งความประสงค์ต้องการทราบ/ไม่ต้องการทราบชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

  26. ส่วนที่ 2 แบบประเมินคุณสมบัติโดยผู้บังคับบัญชา • ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่า • ความเห็นผู้บังคับบัญชาระดับคณบดีหรือเทียบเท่า งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  27. คำรับรองและการตรวจสอบของหัวหน้าภาควิชาและคณบดีคำรับรองและการตรวจสอบของหัวหน้าภาควิชาและคณบดี • หัวหน้าภาควิชารับรองว่า ผู้ขอตำแหน่งมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้ง • ปฏิบัติภาระงานตามที่กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งครบถ้วน • มีคุณธรรมและประพฤติตามจรรยาบรรณของอาจารย์ • แบบคำขอแต่งตั้งและผลงานที่เสนอ ถูกต้อง • คณบดีลงนามรับรองความถูกต้องของแบบคำขอและผลงานทั้งหมด และลงความเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเข้าข่าย/ไม่เข้าข่าย ก่อนส่งให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการต่อ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  28. เอกสารที่ใช้ประเมินผลการสอนเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกสารที่ใช้ประเมินผลการสอนเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง • เอกสารประกอบการสอน (เฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เท่านั้น) ประกอบด้วย -แผนการสอน -หัวข้อบรรยายที่มีรายละเอียดประกอบพอสมควร -อาจเพิ่มรายชื่อบทความ หนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) หรือภาพเลื่อน (slide) • เอกสารคำสอน (เฉพาะตำแหน่งรองศาสตราจารย์เท่านั้น) ประกอบด้วย -แผนการสอน -หัวข้อบรรยายที่มีรายละเอียดประกอบพอสมควร -รายชื่อบทความหรือหนังสืออ่านประกอบ และ/หรือบทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง และ/หรือ แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) หรือภาพเลื่อน (slide) และ/หรือตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ใช้ประกอบการอธิบายภาพ -แบบฝึกปฏิบัติ -การอ้างอิงเพื่อขยายความที่มาและสาระของข้อมูล -บรรณานุกรมที่ทันสมัย หมายเหตุ เก็บเอกสารที่ใช้ประเมินทั้งหมดไว้ที่ภาควิชา เพื่อมหาวิทยาลัยขอตรวจสอบในภายหลังได้

  29. คำนิยามเอกสารการสอน รูปแบบ ลักษณะการ เผยแพร่ และเกณฑ์ระดับคุณภาพ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  30. เอกสารการสอน • เอกสารประกอบการสอน (ใช้สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เท่านั้น) • เอกสารคำสอน (ใช้สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์เท่านั้น) งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  31. เอกสารประกอบการสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน ประกอบด้วยแผนการสอน หัวข้อบรรยาย และอื่นๆ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  32. รูปแบบเอกสารประกอบการสอนรูปแบบเอกสารประกอบการสอน • แผนการสอน ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่องที่สอนในชั่วโมงนั้นหรือคาบเวลานั้น 2. ชื่ออาจารย์ผู้สอน วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ และช่องทางติดต่อ 3. ชื่อรายวิชาและรหัส 4. ชื่อหลักสูตร 5. วัน เดือน ปี และเวลาที่สอน 6. วัตถุประสงค์การศึกษา (วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม) ของเรื่องที่สอนในชั่วโมงนั้นหรือคาบเวลานั้น 7. เนื้อหาของเรื่องที่สอนโดยสังเขป 8. วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 9. สื่อการเรียนรู้ 10. การวัดผลการเรียนรู้ ได้แก่ ตัวชี้วัด เกณฑ์ และวิธีการ 11. หากมีการแก้ไข ให้ระบุวันเดือนปีที่แก้ไข • หัวข้อบรรยาย ที่มีรายละเอียดประกอบพอสมควร • อาจมีเพิ่ม เช่น รายชื่อบทความ หนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง chart, tape หรือ slide งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  33. เอกสารคำสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนรายวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอน และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอนจนมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเองหรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียนในวิชานั้นๆ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  34. รูปแบบเอกสารคำสอน • แผนการสอน ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่องที่สอนในชั่วโมงนั้นหรือคาบเวลานั้น 2. ชื่ออาจารย์ผู้สอน วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ และช่องทางติดต่อ 3. ชื่อรายวิชาและรหัส 4. ชื่อหลักสูตร 5. วัน เดือน ปี และเวลาที่สอน 6. วัตถุประสงค์การศึกษา (วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม) ของเรื่องที่สอนในชั่วโมงนั้นหรือคาบเวลานั้น 7. เนื้อหาของเรื่องที่สอนโดยสังเขป 8. วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 9. สื่อการเรียนรู้ 10. การวัดผลการเรียนรู้ ได้แก่ ตัวชี้วัด เกณฑ์ และวิธีการ 11. หากมีการแก้ไข ให้ระบุวันเดือนปีที่แก้ไข • หัวข้อบรรยาย ที่มีรายละเอียดประกอบพอสมควร • มีรายชื่อบทความ หนังสืออ่านประกอบ และ/หรือบทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง chart, tape หรือ slide และ/หรือตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ใช้ประกอบการอธิบายภาพ • แบบฝึกปฏิบัติ • การอ้างอิงเพื่อขยายความที่มาและสาระของข้อมูล • บรรณานุกรมที่ทันสมัย

  35. เกณฑ์ระดับคุณภาพของเอกสารการสอน มี 4 ระดับ ต่ำกว่าดี - คุณภาพไม่ถึงระดับดี • ดี - แผนการสอน ถูกต้อง ครบถ้วน (ในระดับ ดี) มีองค์ประกอบอื่นครบถ้วนตามที่กำหนดในรูปแบบ เนื้อหาวิชาถูกต้อง ทันสมัย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ นำเสนอเป็นระบบ เข้าใจง่าย ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามหลักภาษา • ดีมาก - ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี และมีการประยุกต์ความรู้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีการเสนอแนะประเด็นที่ยังต้องการการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม • ควรปรับปรุง - คุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้ง แต่หากมีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของกรรมการผู้ประเมิน ก็อาจ มีคุณภาพถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้งนั้น งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  36. ดัชนีคุณภาพของการสอน (ในแบบ ม.ม.008/1)สำหรับทุกตำแหน่ง 1. มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผลการสอนเป็นตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2. มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ในวิชาที่สอน 3. มีความสามารถในการใช้เทคนิควิธีสอนต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และติดตามการสอนตลอดเวลา เช่น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่าง สอดแทรกประสบการณ์ ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและตอบคำถามให้เข้าใจได้ชัดเจน* 4. มีความสามารถให้ผู้เรียนมองหาความสัมพันธ์ของวิชาที่เรียนกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. มีความสามารถให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม* งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  37. 6.มีความสามารถจัดให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามความเหมาะสม* 7. มีความสามารถในการใช้สื่อการสอน และอุปกรณ์ช่วยสอนที่เหมาะสมเป็นอย่างดี* 8. มีความสามารถในการประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียนในวิชาที่สอน โดยต้องแสดงวิธีวัดผลที่ถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน 9. มีความสามารถในการพัฒนาแผนการสอนตามข้อ 1 10. เป็นตัวอย่างในด้านคุณธรรมและจริยธรรม* *ใช้ความเห็นของนักศึกษาประกอบด้วย

  38. เกณฑ์ระดับคุณภาพของการสอน มี 5 ระดับ • ต่ำกว่าชำนาญ - คุณภาพของการสอนไม่ถึงระดับชำนาญ • ชำนาญ - มีแผนการสอนที่ถูกต้อง ครบถ้วน จัดการเรียนการสอนได้ตามแผนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างถูกต้องตามหลักการวัดผล เป็นผู้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ มีความสุภาพทั้งบุคลิก วาจา และการแต่งกาย • ชำนาญพิเศษ - มีแผนการสอนที่ถูกต้อง ครบถ้วน จัดการเรียนการสอนได้ตามแผนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ใช้เทคนิควิธีสอนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างถูกต้องตามหลัก การวัดผลและปรับปรุงแก้ไขได้เหมาะสม พัฒนาการสอนให้ทันสมัยอยู่เสมอ เป็นผู้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ มีความสุภาพทั้งบุคลิก วาจา และการแต่งกาย งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  39. เชี่ยวชาญ - มีแผนการสอนที่ถูกต้อง ครบถ้วน จัดการเรียนการสอนได้ตามแผนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ใช้เทคนิควิธีสอนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างถูกต้องตามหลักการวัดผลและปรับปรุงแก้ไขได้เหมาะสม พัฒนาการสอนให้ทันสมัยอยู่เสมอ เป็นผู้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ มีความสุภาพทั้งบุคลิก วาจา และการแต่งกาย • ควรปรับปรุง - หมายถึงคุณภาพการสอนไม่ถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่หากมีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของกรรมการผู้ประเมิน ก็อาจมีคุณภาพถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้งนั้น งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  40. คำนิยามของผลงานทางวิชาการ รูปแบบ ลักษณะการเผยแพร่ และเกณฑ์ระดับคุณภาพ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  41. นิยาม บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจนด้วย งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  42. รูปแบบ บทความทางวิชาการ เป็นบทความที่มีความยาวไม่มากนัก ประกอบด้วย • การนำความที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ • กระบวนอธิบายหรือวิเคราะห์ • บทสรุป • การอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  43. การเผยแพร่ บทความทางวิชาการ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ • ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอน ชัดเจน • ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีกองบรรณาธิการ ประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ในหนังสือนั้น • ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่มีกองบรรณาธิการ ประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นำเสนอนั้น เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ“บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนำ “บทความทางวิชาการ” นั้นมาแก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอแต่งตั้งตำแหน่งวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่ง จะกระทำมิได้

  44. เกณฑ์ระดับคุณภาพ บทความทางวิชาการ มี 4 ระดับ • ต่ำกว่าดี - คุณภาพไม่ถึงระดับดี • ดี - เป็นบทความทางวิชาการที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ • ดีมาก - ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้ 1. มีการวิเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ 2. สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ • ดีเด่น - ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้ 1. มีลักษณะ เป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์จนถึงระดับที่สร้างองค์ความรู้ ใหม่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและการค้นคว้าต่อเนื่อง 3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  45. นิยาม ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการเรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือ ของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในการเรียนการสอนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย ทั้งนี้ จะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอแต่งตั้งด้วย ผลงานทางวิชาที่เป็นตำรานี้ อาจพัฒนามาจากเอกสารคำสอนจนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  46. รูปแบบ ตำรา • เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ -สารบัญ -เนื้อเรื่อง การอธิบายหรือการวิเคราะห์ -การสรุป -การอ้างอิงและบรรณานุกรมที่เขียนตามระบบสากล ทั้งนี้อาจมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และครบถ้วน สมบูรณ์ -ดัชนีค้นคำ/ข้อความ • การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบ จนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  47. การเผยแพร่ ตำรา • เผยแพร่เป็นรูปเล่ม ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ หรือสำนักพิมพ์ หรือโดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่มหรือทำในรูปแบบอื่นๆ • การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่น ซีดีรอม การเผยแพร่ดังกล่าว จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางของการเผยแพร่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจสอบและการรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย / คณะ และต้องใช้ในการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา เมื่อได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “ตำรา” ไปแล้ว การนำ “ตำรา” นั้นไปแก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติม เนื้อหาใน “ตำรา”เพื่อนำมาเสนอขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “ตำรา” นั้นอีกครั้งหนึ่ง อาจจะกระทำได้ แต่จะต้องทำการเผยแพร่ “ตำรา” นั้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  48. เกณฑ์ระดับคุณภาพ ตำรามี 5 ระดับ • ต่ำกว่าดี - คุณภาพไม่ถึงระดับดี • ดี - เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา • ดีมาก - ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี และต้อง 1. มีการวิเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ 2. มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยของผู้เขียนที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 3. สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ • ดีเด่น - ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก และต้อง 1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์จนถึงระดับที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและการค้นคว้าต่อเนื่อง 3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ • ควรปรับปรุง - คุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้ง แต่หากมีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของกรรมการผู้ประเมิน ก็อาจมีคุณภาพถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับตำแหน่งที่ขอแต่งตั้งนั้น งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  49. นิยาม หนังสือ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐาน ทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเนื้อหาและครอบคลุม โดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันจัดพิมพ์ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

  50. รูปแบบ หนังสือ • เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย -คำนำ -สารบัญ -เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ -การสรุป -การอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่เขียนตามระบบสากล ทั้งนี้อาจมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วน สมบูรณ์ -ดัชนีค้นคำ/ข้อความ • การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบ จนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ งานนโยบายและแผนและพัฒนาคุณภาพ

More Related