1 / 6

อัตราค่ารักษาพยาบาล

สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการ. อัตราค่ารักษาพยาบาล.

rane
Télécharger la présentation

อัตราค่ารักษาพยาบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการ • อัตราค่ารักษาพยาบาล • ค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ เบิกได้เต็มตามที่จ่ายจริงทั้งคนไข้ในและคนไข้นอก สำหรับในสถานพยาบาลของเอกชนเบิกได้เฉพาะกรณีที่มีอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน) หากเป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 4,000 บาท • กรณีคนไข้ใน ค่าเตียงสามัญ และค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 400 บาท กรณีอื่นเบิกได้ ไม่เกินวันละ 1,000 บาท และไม่เกิน 13 วัน • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

  2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • หลักเกณฑ์ • รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์นับจากวันเริ่มเข้ารับราชการถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอ ไม่น้อยกว่า 60 วัน • หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการและพนักงานราชการที่มีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แล้วส่งให้สำนักบริหารกลาง (กลุ่มสรรหาและทะเบียนประวัติ) ตรวจสอบและดำเนินการต่อไป • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

  3. การรักษาจรรยาข้าราชการการรักษาจรรยาข้าราชการ • ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ข้าราชการ พลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ • การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง • ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ • การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

  4. วินัยและการรักษาวินัยวินัยและการรักษาวินัย • ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดว่าการกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง • 1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต • 2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • 3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ • 4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • 5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง • 6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

  5. ความก้าวหน้าในสายงาน เคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี ระดับสูง 1 ปี หรือรวมอำนวยการแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ทรงคุณวุฒิ 1 ปี (เคยมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้อง) 2 ปี (เคยมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้อง) ระดับต้น 7 ปี 2 ปี (1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้อง) ระดับสูง เชี่ยวชาญ 1 ปี หรือรวม ชพ.แล้ว ไม่น้อยกว่า 4 ปี 1 ปี (1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้อง) 2 ปี 6 ปี ระดับต้น 4 ปี 3 ปี (1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้อง) 3 ปี ชำนาญการพิเศษ 4 ปี (โดยต้องมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป้าหมาย) 2-6 ปี ตามวุฒิการศึกษา (โดยต้องมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป้าหมาย) อาวุโส 6 ปี (โดยต้องมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป้าหมาย) 4-6 ปี ตามวุฒิการศึกษา (โดยต้องมีอย่างน้อย 1 ปี ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป้าหมาย) ชำนาญการ ชำนาญงาน ไม่มีจำนวนปีกำหนดเนื่องจากเดิมเป็นระดับชั้นงานเดียวกันมีจำนวนปีกำหนดขั้นต่ำ ปฏิบัติการ ปฏิบัติงาน ประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

  6. จริยธรรมข้าราชการพลเรือนจริยธรรมข้าราชการพลเรือน • ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดแนวทางให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติ รวม 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ • 1) ข้าราชการต้องยึดมั่นในจริยธรรม และยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรม • 2) ข้าราชการต้องมีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ • 3) ข้าราชการต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน • 4) ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ส่วนรวม • 5) ข้าราชการต้องเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา • 6) ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดี และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม • 7) ข้าราชการต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัดและรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดำเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง • 8) ข้าราชการต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพและมาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด • 9) ข้าราชการต้องยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • 10) ข้าราชการต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของราชการโดยรวม • รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ • http://www.m-culture.go.th/personnel/

More Related