html5-img
1 / 22

บทที่ 1

บทที่ 1. ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม. ปัญหาสิ่งแวดล้อม อยู่ใกล้กว่าที่คิด. โฆษณา EGCO กับเหตุผลที่มาสายเพราะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม http ://www.youtube.com/watch?v=Lcx_H4juVQ0&feature=player_embedded. ปัญหาสิ่งแวดล้อม อยู่ใกล้กว่าที่คิด. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม.

reilly
Télécharger la présentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

  2. ปัญหาสิ่งแวดล้อม • อยู่ใกล้กว่าที่คิด

  3. โฆษณา EGCOกับเหตุผลที่มาสายเพราะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม http://www.youtube.com/watch?v=Lcx_H4juVQ0&feature=player_embedded • ปัญหาสิ่งแวดล้อม • อยู่ใกล้กว่าที่คิด

  4. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม • ในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก • ผู้คนในยุคต้นๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ • ในทศวรรษที่ผ่านมา(ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา • เกิดปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

  5. สิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบ แผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วน หนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ คือ

  6. 1. วิทยาศาสตร์กับการศึกษาสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือก. วิทยาศาสตร์ทางกายภาพ (Physical Science) ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ธรณีวิทยา เป็นต้นข. วิทยาศาสตร์ทางชีวภาพ (Biological Science) ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น พฤกษศาสตร์ (Botany) และสัตวศาสตร์ (Zoology) เป็นต้น

  7. ตรรกวิทยา เชิงแบบแผน คณิตศาสตร์ • ฟิสิกส์ • เคมี วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา • ชีววิทยา • จิตวิทยาบุคคล • เชิงข้อเท็จจริง จิตวิทยาสังคม • สังคมศาสตร์ • รัฐศาสตร์ วัฒนธรรมวิทยา • ประวัติของวัตถุ • ประวัติของแนวความคิด

  8. 2. วิทยาศาสตร์สังคม (Social Sciences) เป็นวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับทางสังคมต่าง ๆ หรือเรื่องราวของการสังคมในมวลมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 จิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ (Psychology and Behavioral Science)       2.2 เศรษฐศาสตร์(Economics)     2.3 รัฐศาสตร์ (Political Science)       2.4 ศึกษาศาสตร์ (Education)       2.5 สังคมวิทยา (Sociology) เป็นต้น

  9. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้กับงานสิ่งแวดล้อมวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้กับงานสิ่งแวดล้อม วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้              1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษาและ   กำหนดขอบเขตของปัญหา               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็นหรือการคาดเดาคำตอบที่จะได้รับ               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล  เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

  10. วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ การพิสูจน์หรือหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างสาขากันสามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมีฟิสิกส์) มักจะใช้วิธีการทดลองแล้วจึงเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข จากนั้นจึงนำมาประมวลเป็นข้อสรุปซึ่งแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่นมานุษวิทยา ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต หรือสัมภาษณ์ กรณี วิทยาศาสตร์กายภาพ ข้อมูลจากการทดลองซึ่งเป็นตัวเลขถูกนำมาประมวลสร้างเป็น ตาราง หรือกราฟ หรือสมการ ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ใช้วิธีบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ หรือการสังเกต แล้วนำมาประมวลสรุปผลในรูปของการพรรณนา หรือการอนุมาณ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงว่าเขากำลังทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเรื่องใดด้วยวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถเข้าถึงความจริงได้ตามวัตถุประสงค์

  11. ประเภทของสิ่งแวดล้อม 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต          1.1สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้          1.1.1บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย 9 ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ          1.1.2อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ        1.1.3ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน      1.2สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

  12. 2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment) แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้ 2.1สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด       2.2สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

  13. สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นเรื่องที่มองอย่างผิวเผิน แล้วเราอาจคิดว่า เป็นอะไร ก็ได้ทั้งนั้น แต่ความจริงแล้ว ถ้าแยกแยะให้ดี สิ่งแวดล้อมนั้นสามารถมี ความแตกต่างทางคุณสมบัติ เฉพาะตัวของมันเอง ได้หลายอย่าง • สมบัติเฉพาะ • ของสิ่งแวดล้อม

  14. โครงสร้าง (Structure) บทบาท/หน้าที่ (Functions) • ให้ไม้ • ให้ผล • ให้ดอก • อื่นๆ

  15. 1. มีเอกลักษณ์เฉพาะ 2. ไม่อยู่โดดเดี่ยว 3. ต้องการสิ่งอื่นเสมอ 4. มีความเกี่ยวเนื่องกันกับสิ่งอื่นที่หลากหลาย 5. มีความเปราะบาง-ทนทานต่างกันทั้งเวลา อายุ สถานที่ 6. อยู่เป็นร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนเป็นระบบนิเวศหรือระบบสิ่งแวดล้อมที่มีสมบัติและพฤติกรรมเฉพาะตัว 7. เปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่งเสมอ

  16. 1. เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือลักษณะที่เป็นกายภาพและชีวภาพ หรือเป็นสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น 2. เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ 3. สามารถอำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย 4. ทุกสิ่งจะมีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ หรือมีอิทธิพลต่อกัน สิ่งแวดล้อมมีลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่อาจสรุปได้ดังนี้

  17. ปัญหาสิ่งแวดล้อมกับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมกับการจัดการ วิธีการศึกษาในมิติสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 คือ 1. มิติทรัพยากร (ธรรมชาติ) 2. มิติทางเทคโนโลยี 3. มิติของของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม 4. มิติทางเศรษฐสังคม

  18. มิติที่1มิติทรัพยากร ทรัพยากรธรรมชาติ&สิ่งแวดล้อม • สิ่งแวดล้อมพิจารณาถึงทุกๆ สิ่ง แต่ทรัพยากรธรรมชาติมักหมายถึง สิ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ • ดังนั้น ทรัพยากรธรรมชาติจึง..........................สิ่งแวดล้อม • เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ หากเป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อมนุษย์จะไม่จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติ

  19. มิติที่2มิติทางเทคโนโลยีมิติที่2มิติทางเทคโนโลยี • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเชื่อมโยงและใช้ควบคู่กัน โดยวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งได้มาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ส่วน เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งทั้งสองวิชานี้ต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน

  20. มิติที่3มิติของของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมมิติที่3มิติของของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใดๆ ด้วยเทคโนโลยี ย่อมมีของเสียเกิดขึ้น - ของแข็ง - ของเหลว - ก๊าซ - กลุ่มมลพิษทางฟิสิกส์ มิติของของเสีย จึงเป็นมิติที่แสดงให้เห็นถึงผลของการใช้ทรัพยากรซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้

  21. มิติที่4มิติเศรษฐสังคมมิติที่4มิติเศรษฐสังคม บางครั้งอาจเรียกมิตินี้ว่า มิติมนุษย์ ซึ่งก็คือ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์นั่นเอง มนุษย์นั้นเป็นทั้งผู้ใช้ ผู้ทำลาย ผู้รักษา ผู้ซ่อมแซม และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของตนเองมากที่สุด

More Related