1 / 77

สำนักงบประมาณ

สำนักงบประมาณ. สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี WWW.BB.GO.TH. ร ะบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ : องค์ประกอบที่สำคัญ. การประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF). มุ่งเน้นผลสำเร็จของงานตามผลผลิต ผลลัพธ์ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ เป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง

renate
Télécharger la présentation

สำนักงบประมาณ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรีWWW.BB.GO.TH สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

  2. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์:องค์ประกอบที่สำคัญระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์:องค์ประกอบที่สำคัญ • การประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF) • มุ่งเน้นผลสำเร็จของงานตามผลผลิต ผลลัพธ์ • เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ • เป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง • ผลผลิตและตัวชี้วัด • การมอบอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ • เน้นให้กระทรวงมีอำนาจในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จมากกว่าเน้นกฎระเบียบ • การเพิ่มขอบเขตความครอบคลุมของงบประมาณ • เน้นหลักการธรรมาภิบาล - การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละระดับ - มีระบบการติดตามประเมินผลและการรายงานผลการดำเนินงานที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ • ระบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี 2

  3. SPBB PART วางแผน(Planning) ผล(Results) กระทรวง ผลลัพธ์จริง (Actual Outcomes) เป้าหมายการให้บริการ(Service Delivery Target) ยุทธศาสตร์(Ministry Strategy) หมวด ก. หมวด จ. กรม ผลลัพธ์เบื้องต้น (Preliminary Outcomes) ผลผลิตจริง แผนกลยุทธ์ เป้าหมายการให้บริการ หมวด ข. หมวด ง. ผลผลิต / โครงการ งานสนับสนุน (เพื่อนำส่งผลผลิต) กิจกรรมหลัก กิจกรรม(สนับสนุน) หมวด ค. ค่าใช้จ่าย (Cost) ทางตรง(Direct) ทางอ้อม(Indirect)

  4. ศัพท์ของ SPBB ที่ควรทราบ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง: หมายถึงผลลัพธ์ที่กระทรวงต้องการให้เกิดขึ้นจากการให้บริการระดับกระทรวงทั้งนี้จะต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จากผลสำเร็จของผลผลิต และโครงการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน: หมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือเพื่อดำเนินการจัดทำผลผลิต/โครงการตามที่กำหนดไว้ของหน่วยงานระดับกรม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายการให้บริการกระทรวง ผลลัพธ์: หมายถึงผลประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มสังคมที่ได้รับบริการ ผลผลิต:หมายถึงผลของการดำเนินงานตามกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นผลผลิต Product หรือการให้บริการ Serviceที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

  5. ศัพท์ของ SPBB ที่ควรทราบ(ต่อ) ตัวชี้วัด -ตัวชี้วัดระดับผลผลิตเช่น สินค่าที่ได้ผลิต และบริการที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ สามารถเขียนตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 4 มิติ คือ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา และเชิงต้นทุน (QQTC) -ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถเขียนตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 5 มิติ คือ เชิงปริมาณ(Quantity) เชิงคุณภาพ (Quality) เชิงเวลา (Time) กลุ่มเป้าหมาย(Target Group) และสถานที่ (Place) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

  6. การเขียนเป้าหมายการให้บริการในระดับต่างๆการเขียนเป้าหมายการให้บริการในระดับต่างๆ • ระดับยุทธศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ สังคมในภาพรวมหรือพื้นที่ในภาพรวม หรือรัฐบาลในภาพรวม เช่น ประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศ รัฐบาล ฯลฯ • ระดับยุทธศาสตร์กระทรวง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มสังคมที่กระทรวงรับผิดชอบ หรือพื้นที่เฉพาะที่กระทรวงรับผิดชอบ หรือองค์กรบริหารของกระทรวง เช่น กลุ่มวัยแรงงาน ทรัพยากรน้ำ รายรับของรัฐบาล ฯลฯ • ระดับกลยุทธ์ของกรม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการที่กรมรับผิดชอบ หรือพื้นที่เฉพาะที่กรมรับผิดชอบ หรือองค์กรบริหารของกรม เช่น กลุ่มวัยแรงงานที่ไม่มีงานทำ เขตชลประทาน ฯลฯ

  7. วิธีทบทวนว่าเป้าหมายการให้บริการที่เขียนไว้ถูกต้องหรือไม่ตอบคำถามให้ได้ว่าวิธีทบทวนว่าเป้าหมายการให้บริการที่เขียนไว้ถูกต้องหรือไม่ตอบคำถามให้ได้ว่า • เป้าหมายการให้บริการในแต่ละระดับคือกลุ่มเป้าหมายใด • การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายนั้นคืออะไร • กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์อะไรจากการบริการ

  8. ผลผลิต หมายถึงผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นผลผลิต (Product)ประเภทสิ่งของหรือการให้บริการ (Service)ที่ดำเนินงานทั้งในรูปแบบการให้บริการโดยตรง หรือการใช้วัตถุสิ่งของและหรือสิ่งก่อสร้าง เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการองค์กรภายนอกหน่วยงานหรือประชาชน โดยมีตัวชี้วัดผลสำเร็จในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลา ค่าใช้จ่าย (Q Q T C)

  9. การกำหนดผลผลิต มีองค์ประกอบดังนี้ สินค้า สิ่งของ หรือบริการที่ได้จากการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งในรูปแบบการให้บริการโดยตรง หรือโดยการใช้วัตถุสิ่งของหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการต่อกลุ่มเป้าหมายภายนอกหน่วยงาน ต้องสอดคล้องและสัมพันธ์ กับเป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน ต้องสัมพันธ์กับพันธกิจ หรือภารกิจของหน่วยงานที่กำหนดตามกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือนโยบายรัฐบาลที่ได้รับมอบหมาย มีลักษณะเป็นรูปธรรมสามารถวัดผลการดำเนินงานได้ในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลาและค่าใช้จ่าย/ต้นทุน ตอบสนองกลยุทธ์หน่วยงานและเป็นผลผลิตสุดท้ายในกระบวนการผลิต หรือการให้บริการ

  10. ควรเขียนข้อความในลักษณะที่ถูกกระทำ (Passive Voice) โดยระบุสิ่งต่างๆหรือการบริการที่ต้องการให้มีขึ้น เช่น ผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ บัตรประจำตัวประชาชน ฯลฯ การเขียนผลผลิต

  11. การทดสอบคุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัดการทดสอบคุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัด 1. ความสมเหตุสมผลที่อธิบายได้ (Validity) 2. ความมีอยู่ของข้อมูล (Availability of Data) 3. ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability of Data) 4. ความเคลื่อนไหวของผลที่เกิดขึ้น (Sensitivity) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณ หรือคุณภาพของการดำเนินกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นเชิงบวกหรือลบได้

  12. การกำหนดตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการหน่วยงานการกำหนดตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน คือ การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ/ผลลัพธ์ของการดำเนินงานของหน่วยงาน ทั้งนี้ตัวชี้วัดควรแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ พื้นที่ที่ดำเนินการ และระยะเวลาในการบรรลุผลสำเร็จ ( 2 Q 2 T1 P )

  13. การเขียนตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ของกระทรวงและระดับกลยุทธ์ของหน่วยงาน( 5 มิติ 2Q 2 T 1 P ) - การวัดเชิงปริมาณ(Quantity) ใช้ตัวเลขที่เป็นอัตราส่วนมาตรา (RaitoScale) ช่วงมาตรา (Interval Scale)และลำดับมาตรา (OrdinalScale) เช่น “อัตราส่วนของเยาวชนที่ติดยาเสพติด ต่อเยาวชนทั้งหมดของประเทศ” “รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากบาทเป็นบาท” “สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก1 ใน 4เป็น 1 ใน 2 ” เป็นต้น - การวัดเชิงคุณภาพ(Quality) ใช้ตัวเลขที่เป็นนามมาตรา (Nominal Scale) เช่น“กฎหมายที่กำหนดให้ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส ต้องเปลี่ยนสกุลเป็นของสามีได้รับการยกเลิก” “หน่วยงานได้รับรางวัลองค์กรยอดเยี่ยมในด้านจากองค์กรระหว่างประเทศ”

  14. การวัดเชิงเวลา (Time) กำหนดได้ 2 ลักษณะ 1. กรณีต้องการวัดเมื่อสิ้นสุดเวลาของแผนระยะยาวหรือสิ้นสุดโครงการ เช่น “ ภายในสิ้นแผนบริหารราชการแผ่นดินปี” หรือ “ เมื่อสิ้นสุดปี” มักใช้กับกรณีผลการปฏิบัติงานไม่สามารถแสดงได้ในปีที่ 1 แต่จะมีผลเกิดขึ้นเต็มที่ในปีที่ 4 จึงต้องกำหนดว่าปีใด 2. กรณีที่ต้องการวัดเมื่อสิ้นสุด แต่ละรอบเวลาภายในเวลาของแผนระยะเวลา เช่น “เพิ่มขึ้นร้อยละต่อปี” หรือ “ลดลงร้อยละต่อปี” มักใช้วัดความสำเร็จของผลการปฏิบัติงานที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว

  15. การวัดเชิงกลุ่มเป้าหมาย(Target Group) การวัดเชิงสถานที่ (Place) ต้องเขียนให้ชัดเจนว่า จะวัดความสำเร็จของกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งใด เช่น ประชาชน พื้นที่ กลุ่มวัยแรงงาน ฯลฯ ต้องระบุในกรณีที่ดำเนินการในพื้นที่เฉพาะ เช่น “ในจังหวัด__” “ในเขตโครงการ” ส่วนกรณี “ทั่วประเทศ” ไม่จำเป็นต้องเขียนหากเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

  16. การเขียนตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Q Q C T) 1. เชิงปริมาณ (Quantity) ให้ระบุจำนวนของผลผลิต เช่น “จำนวนอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ” “จำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรม” 2. เชิงคุณภาพ (Quality) ให้ระบุมาตรฐานของผลผลิต เช่น “อาคารก่อสร้างตามแบบที่กำหนด” “ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์การทดสอบ” 3. เชิงต้นทุน (Cost) ให้ระบุต้นทุนของผลผลิต เช่น“ราคาต่อหน่วย(ภายในวงเงินที่กำหนด)” 4. เชิงเวลา (Time) ให้ระบุความรวดเร็วในการสั่งมอบผลผลิตเช่น “ไม่เกิน 30 นาทีต่อราย”

  17. ข้อควรระวัง - การจัดทำตัวชี้วัดต้องให้ตรงประเด็นและเป็นที่เข้าใจได้โดยบุคคลทั่วไป - ต้องกำหนดจำนวนตัวชี้วัดให้ได้น้อยที่สุด โดยเลือกตัวแปรเพียงตัวเดียวจากกลุ่มตัวแปรที่ใช้มาเป็นตัวชี้วัด หรือตัดทอนตัวแปรที่คล้ายคลึงกันออกไป - ต้องจัดทำตัวชี้วัดด้วยความประหยัดโดยการใช้ข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้แล้วตามปกติจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ก่อน หากจำเป็นแต่ไม่มีจึงค่อยจัดเก็บใหม่และดูความคุ้มค่าในการใช้งานด้วย

  18. ภาพรวมการบริหารองค์การภาพรวมการบริหารองค์การ วางแผนกลยุทธ์ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผู้มีส่วนได้เสีย และ เครือข่ายพหุภาคี มาตรฐานการผลิต และการบริการ ยุทธ์ศาสตร์ ผลกระทบ ค่าใช้จ่าย การจัดการความรู้ และสารสนเทศ ภาวะผู้นำ ยุทธศาสตร์กำลังคน บริหาร-พัฒนาบุคคล PART - ความคุ้มค่า HRscorecard PMQA คำรับรอง

  19. กฎหมาย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่ 5 พ.ศ.2545 พ.ร.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 • แผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี • แผนปฏิบัติราชการประจำปี ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 มติ ครม. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

  20. การประเมิน โดย PART • Performance Assessment Rating Tool • “การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ”

  21. คืออะไร : Performance Assessment Rating Tool เครื่องมือวิเคราะห์ความสำเร็จ ของการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณ

  22. แผนภูมิการนำ PARTไปใช้ในกระบวนการงบประมาณ ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำงบประมาณ กรม กำหนดนโยบายงบประมาณ สงป .แจ้งส่วนราชการฯให้จัดทำคำของบประมาณฯ สงป. ชุด ก,ขค,ง,จ ส่วนราชการ ฯ จัดทำคำของบประมาณ ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี สงป . จัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ขั้นตอนที่ 2 การอนุมัติงบประมาณ รัฐสภาพิจารณาอนุมัติร่าง พ.ร.บ. วาระที่ 1 , คณะกรรมาธิการ ,วาระที่ 2-3 ชุด ก,ข ค,ง,จ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี วุฒิสภา ขั้นตอนที่ 3 การบริหารงบประมาณ สงป .แจ้งส่วนราชการฯจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สงป. เห็นชอบแผน ปรับแผน โอนเปลี่ยนแปลง ชุด ง ส่วนราชการฯ จัดทำแผนปฏิบัติงานและดำเนินงานตามแผน ขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผล สงป.ติดตามประเมินผล รายไตรมาสและประจำปี การติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ทุกส่วนราชการฯรายงานผลตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ชุด จ ชุด จ

  23. Part ต้องการเอกสารยืนยันเป็นหลักการสำคัญ • แผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ที่แสดงโครงสร้างยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดจำแนกผลลัพธ์และผลผลิต(2Q2T1PและQQCT) แผนการประเมินผล หมวด ก.และหมวด ข. ที่ผ่านความรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของหน่วยงาน (หมวด ค.) • คำของบประมาณ รายผลผลิต (หมวด ค.) • แฟ้มรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงาน ได้แก่ แบบรายงานเสนอผลการติดตามผลรายเดือน แบบรายงานเสนอผลการจัดทำฐานข้อมูล รายงานการประชุมที่ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับปรับปรุงงาน หลักเกณฑ์การประเมินความคุ้มค่า รายงานการตรวจสอบของ สตง.และตัวอย่างแบบฟอร์มภาระงานรายบุคคลที่กรอกแล้ว (หมวด ง.) • รายงานการประเมินผลของผลผลิตที่วัดประสิทธิภาพของผลผลิต ประสิทธิผลของผลลัพธ์ และผลกระทบ ที่ประเมินผลโดยตนเองและโดยผู้ประเมินอิสระจากภายนอก (หมวด จ.) • เอกสารสำคัญอื่นๆ

  24. ประโยชน์จาก PART • : กำหนดนโยบายและปรับทิศทางการทำงาน • : ตรวจสอบตนเอง/ทบทวนเป้าหมายผลผลิต/เป้าหมายการ ให้บริการ/พร้อมตัวชี้วัด • : ปรับปรุงพัฒนาตนเอง • : มีความพร้อมในการประเมินจากภายนอก • : เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล • : แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน ส่วนราชการ • : จัดสรรงบประมาณให้ตามแผน • : ทางเลือกและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ • : เพื่อปรับปรุงการวางแผน การบริหาร และ • การติดตาม ประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ สำนักงบประมาณ • : ประกอบการตัดสินใจในกระบวนการงบประมาณของรัฐสภา นิติบัญญัติ • : การใช้จ่ายงบประมาณก่อให้เกิดผลงานตาม • นโยบายรัฐบาล รัฐบาล

  25. PART กับความเชื่อมโยงกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • PART เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้ส่วนราชการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 พระราชกฤษฎีกาฯPART • เกี่ยวข้อง 6 หมวด 12 มาตรา จาก 9 หมวด 53 มาตรา • หมวด 1 มาตรา 6 ข้อ ก-3 ง-3 ง-5 จ-1-4 • หมวด 2 มาตรา 8 ข้อ ก-3 ก-4 • หมวด 3 มาตรา 9 , 14 ,16 ข้อ ข-1 ข-2 ข-6 ค-3 ค-2 ง-1 จ-1-4 • หมวด 4 มาตรา 20 ,21, 22 ข้อ ค-1 ค-4 ง-1 ง-3 ง-5 • หมวด 6 มาตรา 33 ,35 ข้อ ก-6 ง-3 • หมวด 8 มาตรา 45, 47 ข้อ ง-5 ง-7 จ-3 จ-5

  26. Performance Assessment Rating Tool (PART) ก. จุดมุ่งหมายและรูปแบบ ชัดเจน ชี้แจง / อธิบายได้ 6 ข้อ ข. การวางแผนกลยุทธ์ เป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน รายละเอียดแผนกลยุทธ์ 7 ข้อ จ. ผลผลิต/ ผลลัพธ์ เปรียบเทียบแผนกับผล - การเพิ่มประสิทธิภาพ 5 ข้อ - การใช้เงินอย่างคุ้มค่า รวม 30 ข้อ ง. การบริหารจัดการ - การบริหารหน่วยงาน - การบริหารการเงิน 7 ข้อ - การเพิ่มขีดความสามารถ - การเก็บรวบรวมข้อมูล ค. การเชื่อมโยงงบประมาณ เป้าหมายประจำปีที่ชัดเจน รายละเอียดแผนกลยุทธ์ ต้นทุนแท้จริง 5 ข้อ พิจารณาจากเอกสารประกอบเป็นหลัก

  27. ใครเป็นผู้ที่ตอบคำถาม PART • ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานตอบ หมวด ก. (ร่างโดยคณะทำงานจัดทำคำของบประมาณ) • ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์และด้านประเมินผล ตอบ หมวด ข. (ร่างโดยคณะทำงานจัดทำคำของบประมาณ แผนยุทธศาสตร์ และรายงานการประเมินผล) • ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการตอบ หมวด ค. (ร่างโดยคณะทำงานจัดทำคำของบประมาณ และแผนปฏิบัติการ) • หน่วยปฏิบัตินำส่งผลผลิต ตอบ หมวด ง. (ร่างโดยคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการ และหัวหน้าทีมงานในกระบวนการผลิตและให้บริการ) • ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์และด้านประเมินผล ตอบ หมวด จ. (ร่างโดยคณะทำงานจัดทำคำของบประมาณ แผนยุทธศาสตร์ และรายงานการประเมินผล)

  28. หมวด ก. จุดมุ่งหมาย และ รูปแบบ ผู้บริหาร ของหน่วยงานต้องสามารถ อธิบายหรือแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ของเป้า หมายการให้บริการของหน่วยงานกับเป้าหมายชาติ มี กระบวนการการกำหนดความต้องการ มี ผลผลิตที่กำหนดขึ้นจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และ หน่วยงานต้องคำนึงถึง อุปสรรคและข้อจำกัดที่มีต่อการนำส่ง ผลผลิต

  29. ประ เมิน ผล (เหลือง) • ข. การวางแผนกลยุทธ์ • เป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน • รายละเอียดแผนกลยุทธ์ • หน่วยงานต้องมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่แสดงความเชื่อมโยงและถ่ายทอดภารกิจจากเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์มายังผลลัพธ์ ผลผลิต กิจกรรมได้ตามลำดับ มี การกำหนดเป้าหมายผลผลิตระยะยาว สามารถ จำแนกผลผลิตเป็นรายปี มี การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มี แผนการประเมินผล กำหนดให้มี กระบวนการการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง

  30. หมวด ค. การเชื่อมโยงงบประมาณ หน่วยงานต้องแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายผลผลิต โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี มี การกำหนดกิจกรรมหลักที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรที่ต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายผลผลิต มี ตัวชี้วัดความก้าวหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดทุกกิจกรรม มี กิจกรรมเพื่อคำนวนต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต มี การทบทวนผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา

  31. หมวด ง. การบริหารจัดการ ต้องให้ความสำคัญ กับหน่วยนำส่งผลผลิต • หน่วยนำส่งผลผลิต มี การจัดทำและบริหารแผนการปฏิบัติงาน • และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ มี การจัดทำระบบรายงานข้อมูลย้อนกลับ • มี การนำข้อมูลย้อนกลับไปใช้ในการบริหารจัดการ และการปรับปรุงงาน • มี การนำต้นทุนต่อหน่วยไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการมี การวัดผล • การดำเนินงาน วัดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า มี รายงานผลการตรวจ • สอบทางการเงิน และมี การประเมินบุคคลผู้รับผิดชอบผลผลิต

  32. หมวด จ. • ผลผลิต / ผลลัพธ์ มี การเปรียบเทียบผลลัพธ์กับ เป้าหมายระยะยาว มีการเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้กับเป้าหมายประจำปี มี การเปรียบเทียบผลผลิตและเป้าหมาย ผลผลิตกับหน่วยงานภายนอกที่คล้ายคลึงกัน มี ผลของการประเมินของผู้ประเมินอิสระที่แสดงให้เห็นถึงการบรรลุผลสำเร็จ

  33. ข้อสรุป PART เป็น Self – Assessment แข่งขันกับตัวเอง ทำด้วยตนเอง ยอมรับความจริง สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็ทำให้มี สิ่งใดที่มีปัญหา ก็ต้องแก้ไข สิ่งใดที่ทำดีแล้ว ก็พัฒนาให้เป็นมาตรฐาน คะแนนเป็นเพียงภาพสะท้อน เราอยู่ในระดับไหนจะพัฒนาหรือไม่

  34. การใช้ PART ประเมินผลในแต่ละด้าน PART สามารถใช้ประเมินได้ทุกภาระกิจของรัฐ โดยใช้หลักการเดียวกัน แต่การตอบคำถามหรือเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงอาจแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะภาระกิจภาครัฐในแต่ละด้าน 1. ด้านเศรษฐกิจ 5. ด้านสิ่งแวดล้อม 4. ด้านการบริหารทั่วไปของรัฐ 2. บริหารชุมชนและสังคม 3. ด้านมั่นคง

  35. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ หน่วยงานท่านมี การจัดทำสิ่งเหล่านี้ หรือไม่ 1 . การจัดทำแผนกลยุทธ์ 2. การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี 3. การจัดระบบประเมินของหน่วยงาน 4. การจัดระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานนำส่ง ผลผลิต 5. การจัดทำเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน

  36. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ 1.การจัดทำ แผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย: ดูความต้องการของ ประชาชนผู้รับบริการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายใน ภายนอก ภายใน:ดูโครงสร้างองค์การ การบริหารบุคคล ประสิทธิภาพทางการเงิน การบริหารพัสดุ การบริหาร จัดการ ภายนอก:ปัจจัยเอื้อหรืออุปสรรคด้านสังคม วัฒนธรรม กฏหมาย เศรษฐกิจ เทคโนโลยี นโยบายรัฐบาล

  37. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ 1.การจัดทำ แผนกลยุทธ์ (ต่อ) • การวางทิศทางขององค์กร: ได้แก่วิสัยทัศน์ • พันธกิจ เป้าประสงค์หลักของหน่วยงานที่ระบุกลุ่ม • กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้า • หมายจะได้รับ มียุทธศาสตร์ กลยุทธ์และผลผลิต ของหน่วยงาน ยุทธศาสตร์กระทรวงและกลยุทธ์ของกรมต้องมีเป้าหมายเฉพาะด้านที่ชัดเจนมี ตัวชี้วัด 2Q2T1P(Quantity Quality Time Target Group Place) และแผนกลยุทธ์จะต้องระบุ ผลผลิตที่มีตัวชี้วัดเชิงรูปธรรมเป็นรายปี ครบ 4 มิติ QQCT

  38. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ 2. การจัดทำ แผน ปฏิบัติราชการ 4 ปี มีผลผลิตที่จำแนกกิจกรรมหลักในแต่ผลผลิต มีการกำหนดเป้าหมายผลผลิตประจำปี มีตัวชี้วัดผลผลิตครบ 4 มิติ มีแผนการประเมินผลของหน่วยงานเอง มีแผนการประเมินผลของหน่วยงานภายนอก -มีรายงานการประเมินผลผลิตและ ผลลัพธ์ มีการประเมินผลโดยหน่วยงานภายนอกเช่นหน่วย งานกลาง หรือผู้ประเมินอิสระ 3. การจัดระบบ การ ประเมินผล ของหน่วยงาน

  39. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ 4.การจัด ระบบการบริหาร จัดการของ หน่วยนำส่ง ผลผลิต มี แผนการปฏิบัติการประจำปีที่แสดงแผนการปฏิบัติ งานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี -มีระบบข้อมูลพื้นฐานและระบบสารสนเทศ -มีหน่วยนำส่งผลผลิตที่มีการรายงานผลการปฏิบัติการ และมีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน -มีการใช้ต้นทุนผลผลิตต่อหน่วย มี การตรวจสอบทางการเงินทั้งฝ่ายตรวจสอบภายในและภายนอก - มี มีการประเมินบุคคลที่สัมพันธ์กับการนำส่งผลผลิต

  40. ข้อเสนอแนะหน่วยงานในการนำ PARTไปใช้ หน่วยงานท่านเก็บไว้บ้างหรือเปล่า????? 5. เอกสาร อื่นที่เกี่ยวข้อง ของหน่วยงาน รายงานเกี่ยวกับนโยบายของหน่วยงานเช่นสำรวจความต้องการ การศึกษาปัญหา การวิจัย รายงานการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ฐานข้อมูล บันทึกการประชุมต่างๆ วาระการพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา หรือการประชุมเรื่องการทบทวนกลยุทธ์ หรือข้อตกลงในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น

  41. ชุดคำถาม • ก.จุดมุ่งหมายและรูปแบบ มี 6 คำถาม • ข.การวางแผนกลยุทธ์ มี 7 คำถาม • ค.ความเชื่อมโยงงบประมาณ มี 5 คำถาม • ง. การบริหารจัดการ มี 7 คำถาม • จ. การประเมินผลผลิต/ผลลัพธ์ มี 5 คำถาม

  42. ก-1 ท่านมีความเข้าใจเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายการให้บริการของกระทรวงและยุทธศาสตร์กระทรวง ที่หน่วยงานของท่านต้องรับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 หรือไม่ อย่างไร • เอกสารที่แสดงข้อความพันธกิจ (Mission Statement) และข้อความเป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน (Objective Statement) ของยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญและคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา • เอกสารแสดงความเชื่อมโยงกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการให้บริการของกระทรวง กฎกระทรวง และยุทธศาสตร์กระทรวง) • เอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี ระบุเป้าหมายการให้บริการของกระทรวง และยุทธศาสตร์กระทรวง ที่แสดงความสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  43. ก-2 เป้าหมายการให้บริการของหน่วยงานที่ท่านกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อการนำส่งเป้าหมายระดับกระทรวงและเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ หรือไม่ อย่างไร • เอกสารแสดงความเชื่อมโยงเป้าหมายของหน่วยงานกับเป้าหมายของชาติ พร้อมแผนภูมิ (เช่น Road map) ณ วันที่ประเมิน • รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่หน่วยงานของท่านเป็นเจ้าภาพหรือเจ้าภาพร่วม เพื่อกำหนดเป้าหมายของหน่วยงานที่แสดงความเชื่อมโยงกับเป้าหมายระดับประเทศ • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  44. ก-3 หน่วยงานของท่านกำหนดความต้องการ ปัญหาหรือเรื่องที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ.2554 หรือไม่ อย่างไร • เอกสารการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน (SWOT) • รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่มีผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เข้าร่วม • เอกสารสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ (Customer Demand) • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  45. ก-4 ผลผลิตที่กำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 เป็นส่วนสำคัญที่ตอบสนองความต้องการ ปัญหาหรือเรื่องที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายระดับกระทรวง/เป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติหรือไม่ อย่างไร • ข้อความในเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ระบุความสัมพันธ์ของผลผลิตกับความต้องการ ปัญหาหรือเรื่องที่สนใจของกลุ่มเป้าหมาย • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  46. ก-5 การกำหนดผลผลิตของหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 มีการพิจารณาความซ้ำซ้อนของผลผลิตของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหรือไม่ กรณีที่หน่วยงานมีความซ้ำซ้อนกับผลผลิตของหน่วยงานอื่น สามารถจำแนกลักษณะผลผลิตที่แตกต่างกันได้หรือไม่อย่างไร • แผนภูมิโครงสร้างความสัมพันธ์ของผลผลิตอื่นๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศ หรือนโยบายรัฐบาลในเรื่องเดียวกันที่ดำเนินงาน ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างหรือลักษณะของงานที่แตกต่างกันได้ (เช่น ถนน หรือแหล่งน้ำ ฯลฯ) หรือมีความจำเป็นต้องซ้ำซ้อนอย่างใด (เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ) • แผนภูมิโครงสร้างความสัมพันธ์ของผลผลิตกับปัญหาเรื่องเดียวกันที่ภาคเอกชนกำลังทำอยู่ ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างหรือลักษณะของงานที่แตกต่างกันได้ • เอกสารบรรยายลักษณะของผลผลิต (Output Specification, Output Description) • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  47. ก-6 หน่วยงานได้คำนึงถึงอุปสรรคและข้อจำกัด(อาทิ ด้านกฎหมาย ระเบียบ โครงสร้างส่วนราชการ และปัจจัยในกระบวนการปฏิบัติงาน)ที่มีต่อการนำส่งผลผลิตในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 หรือไม่ อย่างไร • เอกสารแสดงมาตรฐานการปฏิบัติงาน เช่น PSO, ISO, HA, TQM พร้อมคู่มือ • แผนการแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานที่ปรากฏในคำรับรองการปฏิบัติงาน (ตามที่ กพร.กำหนด) • แผนการปรับโครงสร้างภายในของหน่วยงานที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงานและลดข้อบกพร่องที่คาดการณ์ได้ เฉพาะกรณีที่ต้องดำเนินการเรื่องนี้ • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  48. ข-1 หน่วยงานจัดทำแผนกลยุทธ์ที่แสดงความเชื่อมโยงและถ่ายทอดภารกิจจากจุดมุ่งหมายของรัฐบาล(เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ชาติ)มายังผลลัพธ์ ผลผลิตและกิจกรรมหรือในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ตามลำดับหรือไม่ อย่างไร • เอกสารที่แสดงความเชื่อมโยงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ชาติ ลงมายังเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง กลยุทธ์ระดับหน่วยงาน ผลผลิตระดับหน่วยงาน และกิจกรรมหลักของหน่วยงาน เช่น Strategic map • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

  49. ข-2 แผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน กำหนดเป้าหมาย / ตัวชี้วัดระยะยาวที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผลลัพธ์(เป้าหมายการให้บริการของกระทรวง)ที่ท้าทาย (มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) หรือไม่ อย่างไร • เอกสารที่ระบุข้อความ “ผลผลิต” และตัวชี้วัดเชิงรูปธรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง และเป้าหมายระดับกรม • เอกสารที่ระบุข้อความตัวชี้วัด “ประสิทธิภาพ” ในคำรับรองการปฏิบัติราชการ (กพร.) • เอกสารที่ระบุข้อความตัวชี้วัด “ผลผลิต” ในแบบคำของบประมาณที่แสดงผลผลิตระยะยาว • อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

More Related