1 / 37

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์. ผศ.สมพงษ์ มหิงสพันธุ์. เศรษฐศาสตร์คืออะไร.

renee
Télécharger la présentation

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ผศ.สมพงษ์ มหิงสพันธุ์

  2. เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีกำเนิดตั้งแต่สมัยอริสโตเติล แต่มาผสมผสานกับจริยธรรมในสมัยกลาง อดัมสมิธ ได้แยกเศรษฐศาสตร์ออกจากจริยธรรม และ วัลรัสนำคณิตศาสตร์มาประกอบ อัลเฟรด มาร์แชล ได้ทำให้มีความกระชับในเนื้อหา เคนส์จัดให้เข้ารูป รอบบินส์ขยายให้กว้างขวางออกไปอีก แซมมวลสัน ปรับปรุงให้มีลักษณะเป็นพลวัต ศาสตร์สมัยใหม่ทำให้เศรษฐศาสตร์มีระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น กำหนดขอบเขตในการศึกษาวิเคราะห์ได้และสามารถตรวจนับได้ โดยใช้สถิติ

  3. ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics is the study of how people and society end up choosing with or without the use of money, to employ scarce productive resources that could have alternative uses, to produce various commodities anddistribute them for consumption now or in the future among various persons and groups in society. เศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษามนุษย์และสังคมว่าจะตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เพื่อการผลิตสินค้าต่าง ๆ และจำแนกแจกจ่ายสินค้าเหล่านั้นไปยังกลุ่มคนต่าง ๆ เพื่อการบริโภคในปัจจุบันและอนาคต นิยามนี้จะประกอบด้วยคำที่สำคัญ 5 คำ คือ ทรัพยากร การผลิต สินค้า จำแนกแจกจ่ายและการบริโภค

  4. ทรัพยากร (Resources) ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ทรัพยากรอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ (Non-human Resources) ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Resources) เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ โรงงาน อุปกรณ์การผลิตหรือที่เรียกว่าสินค้าทุน (Capital goods) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)

  5. การผลิต (Production) อรรถประโยชน์เกี่ยวกับรูปแบบ (Form Utility) อรรถประโยชน์เกี่ยวกับกาลเวลา (Time Utility) อรรถประโยชน์เกี่ยวกับสถานที่ (Place Utility) อรรถประโยชน์ในการเป็นเจ้าของ (Ownership Utility) หมายถึง การสร้างอรรถประโยชน์ (Production is the creation of utilities) อรรถประโยชน์ คือ พลังของสินค้าที่จะสร้างความพอใจให้กับผู้ใช้หรือผู้บริโภค อรรถประโยชน์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ลักษณะคือ

  6. โดยทั่วไปกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ที่มีส่วนแปลงสินค้าขั้นปฐม (Primary Goods) หรือวัตถุดิบ (Raw Material) ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ ที่ดิน (Land)เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่มีอยู่จำกัด แรงงาน (Labor)เป็นทรัพยากรมนุษย์ ทุน (Capital)เป็นทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อผลิตสินค้าอื่นต่อไป การประกอบการ (Entrepreneur)คือการนำเอาปัจจัยทั้ง 3 มาประสานกันและใช้ร่วมกันโดยการจัดตั้งองค์การผลิต การดำเนินการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนหน้าที่ของผู้ประกอบการก็คือ เป็นผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) และเป็นผู้รับสภาพการเสี่ยง (Risk Taker)

  7. หมายถึงสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นเป็นทั้งสินค้าและการบริการทั้งหลาย หมายถึงสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นเป็นทั้งสินค้าและการบริการทั้งหลาย (Goods and Services) ซึ่งมีพลังในการสนองความต้องการ ความสามารถของ สินค้าที่จะสนองความต้องการนี้เรียกว่า อรรถประโยชน์ (Utility) สินค้า (Commodities)

  8. แบ่งตามลักษณะการมีอยู่และความต้องการใช้แบ่งตามลักษณะการมีอยู่และความต้องการใช้ ทรัพย์เสรี (Free Goods) เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) แบ่งตามกลไกการจัดสรร สินค้าสาธารณะ (Public Goods) สินค้าเอกชน (Private Goods) การแบ่งประเภทสินค้า

  9. หมายถึง การแบ่งสรรรายได้ในระหว่างเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกประเภท (Distribution is the allocation of income among the factors of production) คำว่าการกระจายในที่นี้จึงหมายถึงการกระจายรายได้ในรูป ค่าเช่า (Rent) ค่าจ้าง (Wage) ดอกเบี้ย (Interest) และกำไร (Profit) การกระจาย (Distribution)

  10. การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง เปลี่ยนความเป็นเจ้าของ (Exchange is the transfer of title or ownership) ในสังคมดั้งเดิมเคยใช้การแลกเปลี่ยนโดยตรง ที่เรียกว่าการแลกของโดยของ (Barter) แต่ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยผ่านสื่อกลาง อันได้แก่ เงิน เช็ค เครดิต เป็นต้น

  11. การบริโภค (Consumption) หมายถึง การใช้เศรษฐทรัพย์ เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ (Consumption is the use of economic goods in satisfying human wants) การบริโภคจึงเป็นเป้าหมายสุดท้ายของกระบวนการในทางเศรษฐกิจทั้งปวง ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) ซึ่ง อดัมสมิธ นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคได้ระบุไว้ในหนังสือของเขาว่าการบริโภคเป็นจุดหมายสุดท้ายและเป้าหมายของการผลิตทั้งปวง (Consumption is the sole end and purpose of all production)

  12. ความต้องการ (Wants) ความต้องการเอกชน (Private Wants) ความต้องการสาธารณะ (Public Wants) ความต้องการสังคม (Social Wants) ความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์ในสังคม (Merit Wants) ความต้องการผสม (Mixed Wants) ลักษณะของความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ

  13. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์ ความขาดแคลนและการเลือก คูหนังสือหน้า 8

  14. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics) หมายถึง สาขา เศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยทีละหน่วยในระยะเวลาหนึ่งเช่นพฤติกรรมของผู้ผลิต พฤติกรรมของผู้บริโภค ราคาของสินค้า การซื้อปัจจัยการผลิต การผสมปัจจัยการผลิต การกำหนดราคาสินค้าในตลาดต่าง ๆ เป็นต้น

  15. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economics) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economics) หมายถึง สาขาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในระดับส่วนรวมของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง เช่น รายได้ประชาชาติ รายจ่ายประชาชาติ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด ระดับการจ้างงาน การบริโภครวม รายจ่ายของรัฐบาล สินค้าออก สินค้าเข้า ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น

  16. ความขัดแย้งระหว่างส่วนใหญ่กับส่วนย่อย (Fallacy of Composition) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์บางครั้งมีความถูกต้องและเป็นจริงใช้ในระดับหนึ่งถ้านำไปใช้ในขอบเขตหนึ่งแต่บางครั้งก็ผิดพลาดถ้านำไปใช้ในอีกขอบเขตหนึ่ง ทั้งนี้เพราะบางสิ่งบางอย่างเมื่อเกิดกับส่วนย่อยหรือหน่วยย่อยจะเกิดผลอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเกิดกับส่วนรวมหรือหน่วยใหญ่จะเกิดผลอย่างหนึ่ง (ดูตัวอย่างหน้า 10)

  17. กฎเศรษฐศาสตร์ (Economic Law) การสร้างกฎในทางเศรษฐศาสตร์มักเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วรวบรวมพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกันนำมาตั้งเป็นสมมติฐาน (Hypothesis) ทดสอบสมมติฐานและหาข้อยุติ ข้อยุติที่ได้ก็คือกฎ กฎจึงเป็นข้อสมมติฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และมีประจักษ์พยาน หรือหลักฐานที่พิสูจน์และทดสอบซ้ำหลาย ๆ ครั้งว่าเป็นจริง เมื่อรวมกฎต่าง ๆ เข้าด้วยกันก็จะได้ทฤษฎีเฉพาะเรื่องนั้น ๆ

  18. ข้อสมมติทางเศรษฐศาสตร์ (Economic assumption) 1.ข้อสมมติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ Economic Rationality คือ การสมมติว่าทุกคนมักกระทำการโดยมีเหตุผลเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด 2.ข้อสมมติเกี่ยวกับโครงสร้างของโลก Ceteris Paribus Other Things Being Equal

  19. ระเบียบวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Methodology of Economic Analysis) เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจรอบ ๆ ตัว 2. เพื่อควบคุมสถานการณ์เศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการวางนโยบายเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์สำคัญของการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์มี 2 ประการคือ

  20. เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี (Positive Economics) เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เคยเป็นมาในอดีต (What was) สิ่งที่เป็นอยู่ (What is) และสิ่งที่กำลังจะเป็น (What will be) การวิเคราะห์แบบนี้อาศัยเหตุผลหรือตรรกวิทยา ซึ่งกระทำได้ 2 แบบ คือ 1.1 วิธีหาเหตุจากผล (Inductive Method) วิธีนี้เริ่มจากเรื่องเฉพาะสู่เรื่องทั่ว ๆ ไปหรือเริ่มจากการรวบรวมสิ่งที่รู้หรือเป็นจริง (Facts) ของปรากฏการณ์เฉพาะเรื่อง และวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อสรุปเป็นกฎหรือทฤษฎี (Theory) ต่อไป 1.2 วิธีหาผลจากเหตุ (Deductive Method) วิธีนี้เริ่มจากเรื่องทั่ว ๆ ไปสู่เรื่องเฉพาะหรือเริ่มจากการศึกษาสิ่งที่ไม่รู้หรือสิ่งที่สมมติให้กลายเป็นสิ่งที่รู้หรือเป็นจริง อันได้แก่ การตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการหาข้อยุติ

  21. เศรษฐศาสตร์นโยบาย (Normative Economics) เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ควรจะเป็น (What ought be) เป็นการตีความว่า “ควรจะเป็น” หรือ น่าจะเป็น” ส่วนที่จะเป็นจริง หรือไม่นั้นไม่แน่นอน การวิเคราะห์แบบนี้จึงไม่สามารถอ้างอิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะเกี่ยวพันกับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ตัวแปรอื่น และยังเกี่ยวข้องกับทัศนคติของแต่ละบุคคล

  22. ทฤษฎีและองค์ประกอบของทฤษฎีทฤษฎีและองค์ประกอบของทฤษฎี ทฤษฎีหมายถึง ข้อเสนอที่พยายามอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการมีทฤษฎีจะช่วยให้เราสามารถทำนายเหตุการณ์ที่ยังไม่ปรากฏขึ้นได้ด้วย เช่น ทฤษฎีการบริโภคทำนายว่า ถ้าประชาชนมีรายได้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจะเพิ่มขึ้นด้วย ทฤษฎีประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ (1) คำนิยาม (Definitions) (2) ข้อสมมติ (Assumption) (3) สมมติฐาน (Hypothesis) (4) คำทำนาย (Prediction)

  23. กระบวนการในการสร้างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ คำจำกัดความหรือนิยาม( Definitions) และ ข้อสมมุติ ( Assumption ) กระบวนการการใช้เหตุและผล ( Process of Logical Deduction) ข้อความสั้นๆที่สรุปได้ ( Conclusion or Implication) กระบวนการทดสอบด้วยข้อเท็จจริง ( Process of Actual Opservation ) ข้อสรุปเป็นทฤษฎี เมื่อสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ข้อสรุปไม่เป็นทฤษฎี เมื่อถูกหักล้างด้วยข้อเท็จจริง

  24. ฟังก์ชัน ( Function) และตัวแปร ( Variable ) ฟังก์ชัน ( Function ) เป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร การเขียนฟังก์ชันโดยทั่วไปใช้พยัญชนะ F หรือ f ในภาษาอังกฤษ เช่น C = f ( Yd) ตัวแปร ( Variable ) หมายถึงส่วนประกอบของฟังก์ชัน อาจจะเป็นจำนวนใดจำนวนหนึ่งที่มีค่าใด ๆ ก็ได้ เช่น การบริโภค การลงทุน การใช้จ่าย รายได้ การออม ปริมาณเงิน ราคา ดอกเบี้ย เงินโอน สินค้าเข้า สินค้าออก ฯลฯ

  25. ตัวแปร อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ( 1 ) ตัวแปรโฟล ( Flow variable )คือ จำนวนที่สามารถวัดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เป็นการวัดที่สัมพันธ์กับช่วงเวลา ( period of time ) ( 2 ) ตัวแปรสต๊อก ( Stock variable ) คือ จำนวนที่สามารถวัดได้ ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา

  26. ตาราง (Table) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอีกแบบหนึ่ง คือการใช้ตารางในการอธิบายค่าของตัวแปรที่ต้องการแสดงความสัมพันธ์ ตารางที่ 1 แสดงค่าตัวแปรในรูปคอลัมน์ ตารางที่ 2 แสดงค่าตัวแปรในรูปแถว

  27. Y +Y I II X X +X –X IV III –Y Y กราฟ (Graph) ก. การกำหนดแกนวิธีกราฟจะเริ่มต้นที่การลากเส้นแกน (axis) 2 เส้นแกนตั้งเรียกว่า แกน Y (y – axis) แกนนอนเรียกว่าแกน X (x – axis) ทุกแกนจะเริ่มที่ศูนย์เรียกว่า จุดกำเนิด (origin) ดังแสดง

  28. ราคาปากกา A 10  B 8  C 6  D 4  2 ปริมาณปากกา (ต่อเดือน) 0 2 4 6 8 ข. กำหนดมาตราส่วนของตัวแปรบนแกนตั้งและแกนนอน

  29. ต้นทุน ต้นทุน ราคา 0 0 0 ปริมาณสินค้า ปริมาณสินค้า ปริมาณสินค้า (a) positive constant slope (b) positive increasing slope (c) positive decreasing slope ค. ความชัน เป็นการอธิบายถึงทิศทางและขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบนกราฟ ความสัมพันธ์ทางบวก ลักษณะเส้นกราฟจะลาดขึ้นจากซ้ายไปขวา (upward slope)

  30. ความสัมพันธ์ทางลบ ลักษณะเส้นกราฟจะลาดลงจากซ้ายไปขวา (downward slope) ราคา น้ำอัดลม อาหาร 0 0 0 ปริมาณสินค้า กาแฟผ้า (a) negative constant slope (b) negative decreasing slope ( c ) negative increasing slope

  31. Y X ง. การหาค่าความชัน (slope) ของเส้น ความชัน คือ อัตราส่วนระหว่างส่วนเปลี่ยนแปลงของ Y ( y)และ ส่วนเปลี่ยนแปลงของ X ( x ) ซึ่งเขียนได้ว่า slope = หรือ slope = ค่าtangentของมุมซึ่งอยู่ระหว่างเส้นที่ต้องการหาความชันกับเส้นที่ขนานกับแกนนอน

  32. Y X Y X 3 4 3 4 Y Y (a) (b) Slope = - 3/4 Slope = 3/4 8 8 7 7   6 6 5 5 Y= 3 Y = 3 4 4     3 3 X = 4 X = 4 2 2 1 1 X X 0 0 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 จากรูป (a) ค่าความชัน = = หรือความชัน = ค่า tangent ของมุม นั่นเอง ส่วนรูป (b) ความชัน = =-

  33. Y Y 3 4 (a) (b) 7 7 6 6 5 5 B 4 4  A 3 3  Y=1.5  C 2  2 X=2 1 1 0 0 X X 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 รูป (a) แสดงค่าความชันที่จุด A โดยการลากเส้นตรงให้สัมผัสกับเส้นโค้งที่จุด A ค่าความชันที่จุด A ของเส้นโค้ง ก็คือค่าความชันของเส้นตรงนั่นเอง ซึ่งเท่ากับ - = - = - 6 8 3 4 Y X ส่วนรูป (b) แสดงค่าความชันที่ช่วง BC โดยการลากเส้นตรงเชื่อมจุด B และจุด C แล้วหาค่าความชันของเส้นตรง BC ค่าความชัน = - = - = - 1.5 2 Y X

  34. จ. ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าหน่วยท้ายสุด (Total Value , Average Value and Marginal Value) ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เรามักจะใช้ค่ารวมค่าเฉลี่ยและค่าหน่วยท้ายสุด มาอธิบายวิเคราะห์ปัญหาต่างๆดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจถึงความหมายและความสัมพันธ์ของค่าทั้ง 3 แบบนี้ คือ 1. ค่ารวมคือ ค่าทั้งหมดของตัวแปรที่กำลังศึกษาเช่นอายุรวมทั้งหมดของนักศึกษา ต้นทุนรวม รายได้รวม เป็นต้น 2. ค่าเฉลี่ย คือ ค่ารวมเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยของตัวแปรเช่นอายุเฉลี่ยต่อนักศึกษา 1 คน ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยผลผลิต เป็นต้น 3. ค่าหน่วยท้ายสุด คือ ค่าของตัวแปรตามที่เปลี่ยนแปลงเมื่อค่าของตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย ในแต่ละขั้นลำดับ

  35. หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ต้องเผชิญกับภาวะแลกได้แลกเสีย (Trade Off) อยู่เสมอ ต้นทุนของการได้มาซึ่งสิ่งหนึ่ง คือการที่ต้องเสียสิ่งอื่นไป หรือเรียกว่าค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นจริงและเกิดขึ้นกับมนุษย์อยู่ตลอดเวลา มนุษย์มีพฤติกรรมอย่างมีเหตุผล (Rational Man) มีการเปรียบเทียบส่วนที่ได้เพิ่มขึ้น กับส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้น หรือตัดสินใจเลือกสิ่งที่ได้มากกว่าเสีย นั่นคือการคำนึงถึง แนวคิดเกี่ยวกับหน่วยท้ายสุด (Marginal Concept)

  36. หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ 4. มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบรับกับสิ่งจูงใจเสมอ คือทำในสิ่งที่ตนพอใจหรือได้ประโยชน์มากที่สุด 5. การค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น 6. ระบบตลาดที่ประกอบด้วย ฝ่ายอุปสงค์ และฝ่ายอุปทานทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปได้คล้ายกับมีมือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand) ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อน 7. ในกรณีที่ระบบตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปัญหา การเอารัดเอาเปรียบกัน ปัญหาการผูกขาด รัฐบาลสามารถเข้าไปแทรกแซง หรือทำให้ปัญหานั้น ๆ ทุเลาเบาบางได้ โดยวิธีการทางด้านกฎหมาย หรือการใช้นโยบายที่เป็นสากล เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง

  37. หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์หลักพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ มาตรฐานการครองชีพของประชากร ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิต หรือผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศนั้นเป็นสำคัญ เมื่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนในประเทศ มีมากกว่าปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผลิตได้ ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ทำให้ราคาสูงขึ้น และถ้าราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดปัญหาสำคัญคือ ภาวะเงินเฟ้อ(Inflation) เงินเฟ้อและการว่างงาน มีความสัมพันธ์ที่สวนทางกัน กล่าวคือ ถ้าจะควบคุมเงินเฟ้อ ต้องควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และการใช้จ่ายของเอกชน (C) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ ถ้าระดับการใช้จ่ายดังกล่าว ต่ำเกินไปจะเกิดปัญหา คือ ทำให้การว่างงานสูง หรือที่อธิบายด้วย เส้นโค้ง ฟิลลิปส์(Phillip’s Curve)

More Related