1 / 36

นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์และบทบาท ของ วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ วิศวกรรมการผลิต ( Manufacturing Engineering). นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง. วิศวกรรม การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ วิ ศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพงานวิศวกรรม

roman
Télécharger la présentation

นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศาสตร์และบทบาท ของวิศวกรรมอุตสาหการ (IndustrialEngineering)และ วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing Engineering)

  2. นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้องนิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง • วิศวกรรม การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ • วิศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพงานวิศวกรรม • อุตสาหกรรม การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นกำไร การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก การประกอบกิจการโรงงานอุสาหกรรม • อุตสาหการ เกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม • วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกรและถือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

  3. ความหมาย วิศวกรรมอุตสาหการ • วิศวกรรมอุตสาหการ Industrial Engineering เป็นวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม วิจัยดำเนินงาน การบริหารจัดการและติดตามประเมินผลระบบโดยรวม ซึ่งครอบคลุมปัจจัยทุกๆด้าน ทั้งบุคคล ข้อมูล เครื่องจักรอุปกรณ์ วัสดุ พลังงาน การเงิน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด

  4. ความหมาย วิศวกรรมการผลิต • วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing Engineering) เป็นวิศวกรรมสาขาหนึ่ง ซึ่งเน้น การประยุกต์ใช้ ความรู้ด้าน วิศวกรรมศาสตร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านการจัดการเพื่อใช้ ในการวางแผน การดำเนินการและการควบคุม เน้นหนักในการเพิ่มผลิตผลทางอุตสาหกรรม ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล โดยให้ผลตอบแทนสูงสุดและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า

  5. ลักษณะเฉพาะทางวิศวกรรมลักษณะเฉพาะทางวิศวกรรม Industrial Engineering Manufacturing Engineering Mechanical Engineering Material Engineering จัดการภาพรวม เจาะลึกในรายละเอียด

  6. วิศวกรรมศาสตร์ vs. บริหารศาสตร์ Management of Technology Industrial Engineering Manufacturing Engineering Management Engineering

  7. ความเป็นมาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการความเป็นมาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ • พ.ศ.2485คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนสาขานี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพราะตลาดมีความต้องการวิศวกรไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สมัยนั้น(ตั้งแต่ปี 2480) มีการตั้งโรงงานมากขึ้น เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานทอผ้า ปูนซีเมนต์ กระดาษ สุรา เป็นต้น โรงงานต่างๆต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะในด้านการผลิตเป็นอย่างดี คือความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิต เครื่องจักรกล การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ ฯลฯ

  8. งานที่เกี่ยวข้องกับสาขางานที่เกี่ยวข้องกับสาขา • ถึงแม้คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ” จะถูกใช้เพื่อสื่อถึงงานทางด้านการผลิตในโรงงาน แต่ในปัจจุบันขอบข่ายของงานได้ครอบคลุมไปถึงงานด้านอื่นรวมถึง ธุรกิจการให้บริการ สาขาอื่นๆที่ใกล้เคียงกับวิศวกรรมอุตสาหการได้แก่ การวิจัยดำเนินงานการบริหารการจัดการวิศวกรรมระบบวิศวกรรมการผลิตวิศวกรรมคุณภาพ เออโกโนมิกส์ (วิศวกรรมปัจจัยมนุษย์) วิศวกรรมการบำรุงรักษา วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการวิศวกรรม

  9. สิ่งที่ลูกค้าต้องการ : QCD องค์ประกอบขั้นต่ำ 3 ประการที่ลูกค้าต้องการ • Q (Quality) - คุณภาพ • C (Cost) – ต้นทุน (ราคา) • D (Delivery) – การส่งมอบ (ระยะเวลา)

  10. 1 กำไร 2 ค่าวัสดุ 3 ราคาขาย ค่าแรง ต้นทุน ค่าโสหุ้ย ปริมาณการขาย สิ่งที่ผู้ผลิตต้องการ 1. ขึ้นราคา 2. เพิ่มปริมาณการขาย 3. ลดต้นทุน กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน

  11. Out Out Out Out In In In In การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม (Productivity) เพิ่มผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม ผลผลิตเท่าเดิม แต่ใช้ทรัพยากรลดลง การทำงานในอุตมคติ Out In เพิ่มผลผลิตและใช้ทรัพยากรลดลง ลดผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราที่สูงกว่า เพิ่มผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ต่ำกว่า

  12. วิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้างวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้าง • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิต เรียนทั้งวิชาทฤษฎี ปฏิบัติการ และกึ่งปฏิบัติการ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง • การศึกษาการทำงาน การหาเวลามาตรฐาน • กรรมวิธีการผลิต • การวางแผนและควบคุมการผลิต • การออกแบบโรงงาน • การดูแลซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล

  13. วิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้างวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้าง • การบริหารจัดการ/ การบริหารการผลิต • การควบคุมคุณภาพ/ คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต • ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม • กฎหมายอุตสาหกรรม • การวิจัยและดำเนินงาน/ การออกแบบเครื่องจักรกล • เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • การควบคุมอัตโนมัติในอุตสาหกรรม • คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ

  14. กลุ่มวิชาวิศวกรรมพื้นฐานของIE &MfE

  15. ลักษณะของบุคคลที่เหมาะกับวิชาชีพนี้ลักษณะของบุคคลที่เหมาะกับวิชาชีพนี้ • มีความรับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์ • มีทัศนคติที่ดีต่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง • มีใจเปิดกว้างต่อการรับฟังความเห็นผู้อื่น • ช่างสังเกต ไขว่รู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ • มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เชิงวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ • มีทักษะในการบริหารจัดการ • มีทักษะในการพิจารณาใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า

  16. ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน เป็นสาขาที่มีความสำคัญ ลักษณะงานที่รับผิดชอบต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ การทำงานอาจก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอันตรายต่อสาธารณะได้ วิชาชีพนี้จึงเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม 2505 1.งานออกแบบและคำนวณ: งานอสก.ของโรงงานที่ใช้ลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 50 -150 คน / สามัญวิศวกร 50 -300 คน ] หรือ ของโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ ห้าล้านบาทขึ้นไป(ไม่รวมที่มูลค่าที่ดิน) [ภาคีวิศวกร 5 -15 ล้าน / สามัญวิศวกร 5 -30ล้าน ] 2. งานควบคุมการสร้าง: การอำนวยการควบคุมดูแลการสร้างในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการให้เป็นไปถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบ รูป และข้อกำหนดสำหรับงานอสก.ตามข้อ1

  17. ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน 3. งานพิจารณาตรวจสอบ: การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ หรือการหาข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยในงานสาขานี้ 4. งานวางโครงการ : การวางแผนผัง หรือการวางแผนงานการสร้างหรือ การประกอบสิ่งใดๆ ในงานสาขานี้ สำหรับโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป[ภาคีวิศวกร 10 -20 ล้าน / สามัญวิศวกร 10-40ล้าน ] 5. งานควบคุมการผลิต : วัสดุสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูป งานหลอมโลหะ งานหล่อโลหะ งานรีดโลหะ งานเคลือบโลหะ งานอบชุบ งานชุบหรือแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับงานอุตสาหกรรมของโรงงานตามข้อ 1

  18. ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน 6. งานควบคุมการถลุงแร่ และงานทำโลหะให้บริสุทธิ์: สำหรับปริมาณการผลิตดังนี้ ดีบุก วันละ 2 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 2-10 ตัน / สามัญวิศวกร 2-10 ตัน ] ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือ พลวง ตั้งแต่วันละ 5 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 5-20 ตัน / สามัญวิศวกร 5-200 ตัน ] เหล็กหรือ เหล็กกล้าตั้งแต่วันละ 10 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 10-20 ตัน / สามัญวิศวกร 10-200 ตัน ] 7. งานให้คำปรึกษา : ข้อแนะนำและการตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขานี้

  19. วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมอุตสาหการปฏิบัติงานตามขอบเขต ๗ ลักษณะงานของวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการได้ทุกอย่างและทุกขนาด งานออกแบบแผนผังโรงงาน (plant lay-out design) อาทิเช่น การจัดทำเอกสารขั้นตอนการผลิต การจัดทำแบบแปลนรวมอาคารและบริเวณโรงงาน งานจัดทำแผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักรและการประเมินแรงม้าเครื่องจักรโรงงาน งานออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน งานออกแบบระบบบำบัดอากาศเสียโรงงาน งานออกแบบระบบขจัดมลพิษเสียงโรงงาน และงานจัดการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายโรงงาน เป็นขอบเขตลักษณะงานและความรับผิดชอบของวิศวกรสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

  20. วิศวกรรมอุตสาหการกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวิศวกรรมอุตสาหการกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

  21. โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • ก.ค. 2518 ทีมอาจารย์วิศวฯ ม.อ. ได้ไปเยี่ยมชมนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ สตูล และ ดร.สัณห์ชัยกับทีมงานจากภาค IE ได้ช่วยประกอบเครื่องหีบน้ำมันปาล์มแบบไฮโดรลิคส์ที่สั่งซื้อมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ • ก.ย.2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทอดพระเนตรสวนปาล์มน้ำมันที่นิคม ดร.สัณห์ชัยกับทีมงานจากภาค IE ได้ถวายการสาธิตเครื่องหีบน้ำมันปาล์ม พระองค์ทรงรับสั่งให้ทีม อาจารย์ลองออกแบบและสร้างเครื่องจักรสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กให้ครบกระบวนการโดยไม่ต้องจัดซื้อจากต่างป.

  22. โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • ก.ย.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ได้เสด็จมายังนิคมอีก ทีมดร.สัณห์ชัยได้ถวายการสาธิตเครื่องเครื่องจักรและอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ได้ออกแบบและสร้างไว้แล้ว • ต.ค.2526 ทรงมีพระราชดำริให้คณะวิศวฯ ม.อ. ทำการออกแบบและพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กสำหรับกลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อย • 2533 คณะวิศวฯ ม.อ. สร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส

  23. โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • 2540 สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบทอดสุญญากาศขนาด 1 ตันทะลายต่อชม.ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส • 2545 สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบทอดสุญญากาศขนาด 2 ตันทะลายต่อชม.ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ. กระบี่ • 2545 สร้างรง.ผลิตไบโอดีเซลขนาด 1000 ลิตร ขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และได้จำหน่ายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย รง.อสก.และบุคคลทั่วไป แล้วกว่า 800,000 ลิตร • 2546 สร้างรง.ผลิตไบโอดีเซลขนาด 400 ลิตร ขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส และ 2549 ขยายกำลังผลิตเป็น 1000 ลิตร

  24. โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • 2548-49 มูลนิธิชัยพัฒนามอบหมายให้ คณะวิศวฯ ม.อ. รับผิดชอบการออกแบบและสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและผลิตไบโอดีเซลระดับชุมชน (ขนาด 400 ลิตร/วัน ) ที่ ต. หนองพลับ หัวหิน ประจวบฯ • ม.ค.2549 สมเด็จพระเทพฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรรง.สกัดน้ำมันปาล์มและผลิตไบโอดีเซลที่คณะวิศวะฯ ม.อ. • จนถึงปัจจุบัน มูลนิธิชัยพัฒนาได้อนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไบโอดีเซลให้กับคณะวิศวะฯ ม.อ. อย่างต่อเนื่อง

  25. การออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็กการออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็ก ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมากกว่า 200,000 ไร่ เพื่อส่งเป็นวัตถุดิบให้รง แปรรูปเพื่อการส่งออก ทำรายได้ให้ประเทศปีละประมาณ 80,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็น กุ้งไว้หัว กุ้งเด็ดหัว กุ้งยืด ก้งชุบแป้งขนมปัง กุ้งต้มแช่แข็ง เป็นต้น • ที่มาของปัญหา ฟาร์มเลี้ยงกุ้งแห่งหนึ่ง ใน อ.เทพา สงขลาได้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ และกุ้งขาวแวนาไมด้วยระบบปิด ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คือกุ้งขาวแวนาไมรมควันทั้งชนิดเย็น และร้อน

  26. การออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็กการออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็ก • แนวทางการทำงาน ศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และกรรมวิธีการผลิต รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ทำการออกแบบเครื่องจักร-เครื่องอบรมควันกุ้ง ระบบเครื่องทำความเย็นสำหรับฟรีซกุ้งรมควันเย็น คำนวณ จน.คนงานที่ต้องใช้ แล้วทำการออกแบบวางผังรง. และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตามขนาดกำลังผลิตที่กำหนด คำนวณต้นทุนการแปรรูป งบประมาณการลงทุน วิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน • ผล โรงงานกุ้งรมควันต้องใช้งบประมาณลงทุนรวม 32.60 ล้านบาท ได้ผลตอบแทนการลงทุนภายใน (IRR) 59.11%มีระยะเวลาคืนทุน 3.2 ปี

  27. การประยุกต์ระบบควบคุมคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะแผ่นการประยุกต์ระบบควบคุมคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะแผ่น • ปัญหาคือ ด้านคุณภาพ(ของเสียในกระบวนการผลิตสูงมาก) ขาดระบบคุณภาพที่ดี ไม่มีการนำสถิติมาใช้ ไม่มีคู่มือวิธีการทำงาน ไม่มีแผนคุณภาพในการตรวจสอบ ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • การแก้ไข นำระบบคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานมาประยุกต์ใช้ จัดทำรายละเอียดข้อกำหนดหน้าที่งาน สร้างระบบคุณภาพเพื่อให้สามารถ วัด วิเคราะห์ ปรับปรุง และควบคุมคุณภาพในการผลิต • ผลคือ ลดของเสียในหน่วยพ่นสีจาก 31.5%เหลือเพียง 8.5%และลดการส่งคืนผลิตภัณฑ์จากลูกค้า จาก 2.6%เหลือ 0.8%

  28. การเพิ่มผลผลิตในโรงงานถักผ้าโดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันการเพิ่มผลผลิตในโรงงานถักผ้าโดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน • ปัญหา ผลผลิตและประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรต่ำ โดยสาเหตุมาจากขาดการดำเนินงานในด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี • แก้ไข โดยการจัดระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน preventive maintenance system • ผล คือ ลดต้นทุนการผลิต จาก การลดความสูญเสียเวลาเนื่องจากเครื่องจักรหยุดการผลิต และเนื่องจากของเสียจากกระบวนการทำให้โรงงานมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 6.7 %

  29. การปรับปรุงผังโรงงานให้เหมาะสมโดยการจำลองแบบทางคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ • ปัญหา การวางตน.เครื่องจักรไม่เหมาะสม ส่งผลให้พนง.ใช้ระยะทาง และเวลาในการขนถ่ายลำเลียงมากเกินความจำเป็น • แก้ไข ศึกษาและปรับปรุงผังรง.ในสายการผลิตชิ้นส่วนขึ้นรูปโดยใช้โปรแกรม ชื่อ promodelมาใช้ในการจำลองแบบปัญหา • ผลคือลดเวลาในการขนถ่ายลำเลียงเพราะลดระยะทางการเคลื่อนที่ลงได้ 64.9 %

  30. การเพิ่มประสิทธิภาพการต้มเยื่อสาโดยใช้หม้อต้มความดันการเพิ่มประสิทธิภาพการต้มเยื่อสาโดยใช้หม้อต้มความดัน • ปัญหา คือ มลพิษจากการผลิต เนื่องจากการผลิตกระดาษสาเป็นอสก. ที่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการผลิต และใช้น้ำในขั้นตอนการต้มเยื่อในปริมาณมาก • แก้ไข ปรับปรุงการผลิต โดยการใช้หม้อต้มความดันแทนวิธีการเดิม และศึกษาวิเคราะห์หาสภาวะการต้มที่เหมาะสม ปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม แต่คุณภาพไม่ด้อยกว่าเดิม • ผลที่ได้คือ การใช้หม้อต้ม ขนาด 0.54 ลบ.ม. ต้มได้ครั้งละ 50 กก. ต้มที่ความดัน 1.2 บาร์ อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 2.5 ชม. พบว่า การใช้น้ำลดลง 25% การใช้สารเคมีลดลง 50 %ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการต้มเยื่อ 100 กก.ลดลงจาก 498 บาท เหลือ 295 บาท

  31. การลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ กรณีศึกษา บริษัทสยามฟิตติ้งส์ จำกัด • ปัญหา คนงานมีอาการปวดหลัง และเมื่อยล้า จากการสำรวจสุขภาพ พนง. 12 คน พบว่า ปวดเอว 84 % ปวดหลัง และ ข้อมือ อย่างละ 8 %เท่ากัน • การแก้ไข ต้องการลดและป้องกันอาการปวดหลัง และเมื่อยล้า ของคนงานในแผนกทำแบบ จึงวิเคราะห์ท่าทางการทำงาน และลักษณะงานในปัจจุบัน พบว่า มีการยกวัตถุชิ้นงานที่มีนน.เกินค่า RWL มีการหมุนตัวแลบิดตัวมากเกินไป ความสูง ความลาดเอียง และระยะห่างไม่เหมาะสม • การปรับปรุง และผล คือ ปรับปรุงสถานีงานใหม่ พร้อมทั้งท่าทางการทำงาน ทำให้ค่า RWL สูงขึ้น ถึง 48.85% และพนักงานลดการบาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ

  32. การจัดตารางการผลิต โรงงานประกอบโคมไฟฟ้าสำเร็จรูป • ปัญหา มีการปรับแผนการผลิตบ่อยครั้งเพื่อสนองตอบต่อความต้องการลูกค้า เช่น เลื่อนแผนการผลิตเดิมให้เร็วขึ้น หรือช้าลง การเพิ่มขึ้นหรือยกเลิกจน.การผลิตอย่างกะทันหัน การแทรกงานใหม่เข้ามา การสลับลำดับการผลิตของสินค้าต่างรุ่น เนื่องจากความล่าช้าของชิ้นส่วนที่จะนำมาใช้ การเสียเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร ปัจจุบันผจก. ฝ่ายผลิต เป็นคนทำหน้าที่วางแผนการผลิต และปรับแผนให้เหมาะสม และเนื่องจากงานที่นำมาจัดมีจำนวนมาก ทำให้ตารางที่จัดขึ้นมีปสภ.ต่ำ • การแก้ไข และผล พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดตารางการผลิต ซึ่งโครงสร้างโปรแกรม ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน การจัดตาราง การเปลี่ยนแปลงตาราง และการแสดงผล ผลการทดสอบโปรแกรมพบว่า จน.งานที่ล่าช้า เวลาปิดของงาน เวลาเฉลี่ยของงานในระบบ ลดลงอย่างชัดเจน

  33. คำปฏิญญาวิศวกร ข้าฯ คือวิศวกร ข้าฯ มีความภูมิใจอย่างยิ่งกับอาชีพของข้าฯ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะความอหังการ ข้าฯ มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามโดยดุษฎี.................. ขอบคุณ

More Related