1 / 5

ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM

ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM. ความกังวลของสังคม ต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากพืช GM ต่อสิ่งแวดล้อม 1 ) พืช GM เอง กลายเป็น วัชพืช ( weed ) บุกรุกพืชอื่นตามธรรมชาติได้ 2 ) เกิด การถ่ายเทของยีน ( gene flow ) ข้ามระหว่างพืช GM และพืชธรรมชาติ

Télécharger la présentation

ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM • ความกังวลของสังคมต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากพืช GM ต่อสิ่งแวดล้อม 1) พืช GM เอง กลายเป็นวัชพืช (weed) บุกรุกพืชอื่นตามธรรมชาติได้ 2) เกิดการถ่ายเทของยีน (gene flow) ข้ามระหว่างพืช GM และพืชธรรมชาติ 3) ผลกระทบทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย (non-target organism) 4) เกิดการถ่ายทอดยีนในแนวราบหรือ HGT • การประเมินผลกระทบของพืช GMต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องอยู่บนหลักการความเทียบเท่า (substantial equavalence)โดยเปรียบเทียบกับพืช non-GM ตั้งต้นเสมอ

  2. 1. การประเมินผลกระทบที่เกิดจากความได้เปรียบของพืช GM ที่มีเหนือกว่าพืชปกติ (non-GM plant) • ข้อสงสัย - พืช GM อาจอยู่รอดได้ดีกว่าพืชปกติ / ยีนจากพืช GM อาจหลุดออกไปผสมข้ามกับพืชท้องถิ่น (native plant) ที่ใกล้เคียงกัน เกิดพืชลูกผสม (hybrid plant) เข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่นหายาก จนอาจสูญพันธุ์ได้ • แนวทางการประเมิน – หาระยะทางและความสามารถในการถ่ายละอองเรณู (pollenation) ข้ามพันธุ์ / หาความเข้ากันได้ทางพันธุกรรมระหว่างพืชทั้งสอง / ประเมินระบบนิเวศของประชากรพืชที่เป็นผู้รับ • ข้อมูลปัจจุบัน – ยังไม่พบว่าผลกระทบดังกล่าวมีค่าสูงกว่าผลจากพืชไร่ปกติที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้ / สามารถจัดการเพื่อป้องกันการผสมข้ามได้โดยปลูกพืชอื่นแทรกระหว่างพืช GM และพืชปกติ

  3. 2. ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่น (non-target organism) • ข้อสงสัย - พืช GM มีพิษจำเพาะสูงต่อแมลงศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมาย / แต่อาจส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงต่อระบบนิเวศ จากการลดลงของแมลงผู้ล่าหรือสัตว์อื่นที่กินแมลงเป้าหมายเป็นอาหาร • แนวทางการประเมิน – ดูผลกระทบต่อพัฒนาการ/การวางไข่/น้ำหนักและขนาดของสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย / ติดตามดูผลกระทบที่มีในภาคสนามตามธรรมชาติจริง บนพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นเวลานานเพียงพอ • ข้อมูลปัจจุบัน – การลดลงของผู้ล่า ไม่ได้เกิดจากพิษของพืช GMแต่เป็นผลทางอ้อมจากการลดลงของปริมาณแมลงที่เป็นเหยื่อ / ผลกระทบจากการลองทำใน lab ถูกโต้แย้งว่าไม่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ (เช่น สาร BT จากละอองเกสรข้าวโพด GMไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผีเสื้อโมนาร์กเลย โดยไม่พบความแตกต่างของจำนวนตัวอ่อนผีเสื้อระหว่างแปลงข้าวโพด BT และข้าวโพดปรกติ)

  4. ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM • ผลในแง่บวก ได้แก่ • กำจัดแมลงที่เป็นเป้าหมาย ได้โดยลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลงลง • จำนวนสัตว์ที่มีประโยชน์ตามธรรมชาติมีเพิ่มขึ้น ในไร่พืช GM เพราะใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง • สามารถเพิ่มผลผลิต โดยลดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคและเกษตรกรจะรับสารพิษเข้าร่างกาย • พืช GM สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งแง่บวกและแง่ลบ

  5. การลดปริมาณการใช้สารเคมี การปลูกพืช GM ต้านทานสารปราบวัชพืชและต้านทานแมลง ระหว่างปี พ.ศ. 2539–2550 ทำให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีทั้งโลกลงถึง 8.8% (359 ล้านกิโลกรัม) และทำให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงได้ถึง 17.2%

More Related