1 / 13

เอกสารหมายเลข 1

เอกสารหมายเลข 1. ASEAN Charter. จุดมุ่งหมายหลักในกฎบัตรอาเซียน ได้แก่ การทำให้คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนดีขึ้น โดยเป็นความรับผิดชอบของอาเซียนในการสนับสนุนให้ ประชาชนในอาเซียนเข้าถึงโอกาสในการพัฒนามนุษย์ การได้รับสวัสดิการสังคม และความยุติธรรม.

rumor
Télécharger la présentation

เอกสารหมายเลข 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารหมายเลข 1

  2. ASEAN Charter จุดมุ่งหมายหลักในกฎบัตรอาเซียน ได้แก่ การทำให้คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนดีขึ้น โดยเป็นความรับผิดชอบของอาเซียนในการสนับสนุนให้ ประชาชนในอาเซียนเข้าถึงโอกาสในการพัฒนามนุษย์ การได้รับสวัสดิการสังคม และความยุติธรรม

  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) คุณลักษณะและองค์ประกอบของ ASCC • เป็นประชาคมที่คำนึงถึงผลประโยชน์และความผาสุกของประชาชนเป็นหลัก • เป็นประชาคมที่ยึดหลักความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนของประชาชนได้รับการคุ้มครอง • เป็นประชาคมที่คำนึงถึงส่วนรวม มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน • ประชาชนทั้งสิบประเทศมีความรักสามัคคี มีความรู้สึกร่วมว่าเป็นพลเมืองอาเซียน • ประชาชนมีคุณภาพชีวิต ได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่ดี • ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งประชาคม

  4. เป้าหมายหลัก A. การพัฒนามนุษย์ 7 เป้าหมาย 61 มาตรการ B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม 7 เป้าหมาย 94 มาตรการ C. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม 3 เป้าหมาย 28 มาตรการ D. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 11 เป้าหมาย 98 มาตรการ E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน 4 เป้าหมาย 50 มาตรการ F. การลดช่องว่างทางการพัฒนา

  5. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC A. การพัฒนามนุษย์ • การศึกษา: ทุกประเทศสมาชิกเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในปี 2015 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา การใช้ ICT ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา สนับสนุนให้พลเมืองอาเซียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง • การประกอบอาชีพ: ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม พัฒนาทักษะอาชีพ และความสามารถในการใช้ ICT สำหรับกลุ่มสตรี เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ • ข้าราชการ: พัฒนาสมรรถนะ ความซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้

  6. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC B. การคุ้มครองและสวัสดิการทางสังคม • การขจัดความยากจน: ส่งเสริมทุกประเทศสมาชิกบรรลุเป้าหมาย MDGs จัดตั้งเครือข่ายด้านการพัฒนาครอบครัว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตชนบท จัดตั้งกองทุนกู้ยืมขนาดเล็กฯลฯ • เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม: ประชาชนได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง • ส่งเสริมความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร: จัดตั้งคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของอาเซียน ส่งเสริมบทบาทของผู้บริโภค การใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรและปลอดภัยในการผลิตอาหาร • ด้านสุขภาพและสาธารณสุข: เน้นเรื่องการเข้าถึงการรักษาที่เพียงพอและราคาถูก ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ถูกสุขอนามัย อนามัยการเจริญพันธุ์ การควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้อ และโรคไม่ติดต่อ เอดส์ • การรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด • การรับมือกับภัยพิบัติ

  7. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC C. ความยุติธรรมและสิทธิ • ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรี เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ: จัดตั้ง ACWC จัดตั้งเครือข่ายอาเซียนด้านเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้พิการ ส่งเสริมการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุและยาสำหรับผู้สูงอายุ • คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ: ให้คณะกรรมการอาเซียนปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ • ส่งเสริม CSR: จัดทำตัวอย่างนโยบายของรัฐว่าด้วยเรื่อง CSR สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม

  8. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC D. การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม • การจัดการและป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมข้ามแดน: ได้แก่ มลพิษหมอกควัน มลพิษของเสีย โดยดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยมลพิษหมอกควันฯ การจัดตั้งกลไกอาเซียนเพื่อจัดการของเสียอันตรายข้ามแดน รวมทั้งการขนย้ายของเสียที่ผิดกฎหมาย • ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน: จัดทำแผนงานอาเซียนด้านการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการทำวิจัย โครงการโรงเรียนสีเขียว เมืองสีเขียว สัปดาห์สิ่งแวดล้อมอาเซียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น • ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรราชิตและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด • Climate change/การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

  9. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน • ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม: เพิ่มพูนความร่วมมือในการส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียนและการตระหนักรู้ของประชาชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน การแลกเปลี่ยนรายการโทรทัศน์ การจัดกิจกรรมในโรงเรียน การรณรงค์สู่ประชาชน • การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน • ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม • การให้ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน จัดประชุมภาคประชาสังคมประจำปี จัดตั้งอาสาสมัครอาเซียนเยาวชนและรุ่นเยาว์ การแบ่งปันข้อมูล

  10. 6 มาตรการที่นำไปสู่ ASCC F. การลดช่องว่างระหว่างการพัฒนา • ศึกษาผลกระทบที่มีต่อประเทศอาเซียนที่เกิดจากการเร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียนจากปี 2563 มาเป็นปี 2558 • สานต่อการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศ CLMV ในการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการพัฒนาและดำเนินนโยบายทางสังคม

  11. กลไกการทำงาน CPR การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council: ACC) คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC/SOM) คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC/SEOM) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC/SOCA) ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และระดับ จนท. อาวุโส 19สาขาการประชุม และ กลไกสิทธิมนุษยชน ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และ ระดับ จนท. อาวุโส และกลไกสิทธิมนุษยชน ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และ ระดับ จนท. อาวุโส โดยมีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นฝ่ายเลขาฯ (ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519)

  12. การประชุม รมต./จนท.อาวุโส (19 สาขา ) ภายใต้ ASCC

  13. ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นประเด็นการรับฟังความคิดเห็น • ร่าง ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองทางสังคม • หัวข้อการประชุมรัฐมนตรีด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ 8 เรื่อง การพัฒนาสังคมถ้วนหน้า • การดำเนินงานส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมในอาเซียน • การดำเนินงานภาคีความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงาน นักการศึกษาและสถาบันการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ในอาเซียน • การประชุมร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาอาเซียน • อื่น ๆ

More Related