1 / 24

LIVING MUSEUM

LIVING MUSEUM. Being and time (Nostalgia) นาฬิกาทราย. Location History. ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

Télécharger la présentation

LIVING MUSEUM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. LIVING MUSEUM Being and time (Nostalgia) นาฬิกาทราย

  2. Location History

  3. ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน การมีอยู่ของชุมชมเล็กๆ บางชุมชนถูกมองข้าม แม้มันจะอยู่ในมหานครกรุงเทพฯ สภาพที่อยู่แออัด ตกแต่งบริเวณโดยรอบด้วยกองขยะนานาชนิด หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาแก้ปัญหาแต่ก็มักเป็นแบบขอไปที เด็กถูกปล่อยปะละเลย ยาเสพติดหาซื้อง่ายเหมือนยาพาราเซตามอล เด็กๆ สามารถรับรู้เรื่องเพศได้จากประสบการณ์ตรง ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ผู้ปกครองอยู่กันอย่างปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ ซึ่งเป็นแรงขับสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาการต่างคนต่างอยู่ของคนในชุมชน โดยที่ปกติแต่ละบ้านก็เป็นเหยื่อของเคราะห์กรรมอันเป็นผลจากการกระทำของตนเองอยู่แล้ว ยิ่งแยกกันคิด แยกกันทำ แยกกันอยู่อีก ปัญหายิ่งลุกลามจนแก้ไม่ตก ชีวิตชาวชุมชนนางเลิ้งย่ำอยู่ในวงจรอดสู หาทางออกไม่ได้เสียที ดังนั้นเมื่อชุมชนนี้มีปัญหารุมเร้ามากเช่นนี้ คนในชุมชนเองจึงเล็งเห็นถึงความเป็นได้ในการนำศิลปะเข้ามาเยียวยา และได้ที่จะนำศิลปะที่ว่ากันว่าเหมือนยาวิเศษแก้ได้สารพัดโรคเข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดวงจรที่ดีขึ้นแก่คนในชุมชน (ศิลปะชุมชน) เพื่อบอกถึงการมีอยู่ของชุมชน โดยที่คนในชุมชนเอง “ต้องการสร้างวัฒนธรรมเล็กๆแก่เด็กสลัมเพื่อให้พวกเขาได้เกิดวงจรชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น”

  4. ผลงาน “พิพิธภัณฑ์ชีวิต I (ระหว่าง)” LIVING MUSEUM [Between] VDO.DOCUMENTARY นางเลิ้งมีความน่าสนใจในเรื่องความสัมพันธ์ “ระหว่าง”Between สิ่งต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ Between หมายถึง ระหว่าง อยู่กลางสิ่งที่รวมกันหรือสิ่งที่สัมพันธ์กัน ซึ่งเชื่อมโยงกับชุมชนนางเลิ้งได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์คนกับอาชีพ ความสัมพันธ์คนกับประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์คนกับวัฒนธรรม ความสัมพันธ์คนกับชุมชนและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ผลงาน DOCUMENTARY ชิ้นนี้ พูดถึงสิ่งที่มันอยู่จริงในพื้นที่นางเลิ้ง เรื่องราวของแต่ละชีวิตในนางเลิ้งล้วนมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเต็มไปด้วยความน่าสนใจ ภาพความเป็นจริงที่ปรากฏนั้น สะท้อนให้เห็นถึงชีวิต ความเป็นอยู่และทัศนคติของผู้คนที่มีต่อชุมชนของตนแม้นว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปนานแค่ไหน แต่ความผูกพันเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งต่างๆในชุมชนนางเลิ้งนั้นจะยังคงอยู่ตลอดไป

  5. “พิพิธภัณฑ์ชีวิต II (นาฬิกาทราย)” คือการนำวิธีการทางศิลปะมาสะท้อนถึงปัญหาที่มีอยู่เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เข้ามามีบทบาท งานศิลปะเองนั้นไม่อาจแก้ไขปัญหาได้โดยตรง แต่งานศิลปะสามารถเป็นเครื่องมือต่อรองทางสังคมอีกแรงหนึ่งของชุมชน หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นเส้นทางในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึกของชุมชนต่อไปในอนาคต ในขณะเดียวกันผลงานชิ้นนี้ยังนำเสนอให้เห็นถึงการที่คนในชุมชนได้นำศิลปะเข้าไปแก้ปัญหาของเด็กในชุมชน ในลักษณะของศิลปะชุมชน (community art) อีกด้วย

  6. แนวความคิด • จากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในตอนที่ 1 “พิพิธภัณฑ์ชีวิต I (ระหว่าง)” ที่เน้นเรื่องราวระหว่าง ชุมชน, พื้นที่และวิถีชีวิต ชุมชนนางเลิ้งกับความอยู่รอดในพื้นที่เมืองอันหนาแน่นในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าคุณค่าของความเป็นคนนางเลิ้งของเขานัยหนึ่งคือ เก็บงำความหลัง.... อดีตที่เคยพุ่งขึ้นไปจนถึงสูงสุด และร่วงหล่นลงมาสงบราบเรียบราวท้องทะเลไร้คลื่นลม • ชุมชนนางเลิ้งที่มีเรื่องราวหลากหลายผ่านกาลเวลาอันยาวนาน บางครั้งในเรื่องเดียวกันแต่สามารถถ่ายทอดผ่านภาพเคลื่อนไหวในแง่มุมและความคิดเห็นที่หลากหลาย เรื่องราวในอดีตที่ถูกเล่าผ่านตกทอดกันมา ยังคงวนเวียนอยู่ในชุมชน งานชิ้นนี้จึงต้องการบันทึกเรื่องราวจากผู้คนในชุมชนที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในชุมชนนางเลิ้ง โดยเสนอให้เห็นทั้งเรื่องปรุงแต่ง เรื่องส่วนตัว เรื่องที่ฟังเขามาอีกทีหนึ่ง เรื่องที่เล่าตามๆกันมาคือร่องรอยจางๆ ที่สามารถนำไปสู่ความจริงได้เช่นเดียวกัน การบันทึกขึ้นใหม่นี้เปรียบเสมือนเป็นหลักฐานปัจจุบัน ที่ทำให้คนในชุมชนเองสามารถมองเห็นความคิดของบุคคลอื่นในมุมต่างๆ บันทึกนี้คือการรวบรวมภาพของนางเลิ้ง ในขณะที่ทุกอย่างยังดำเนินต่อไปเหมือนพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายแห่งชีวิตและเรื่องราวย้อนอดีต ในเวลาเดียวกันก็สะท้อนสิ่งสำคัญที่สุดของชุมชนนางเลิ้งที่พวกเขายังคงมีอยู่เสมอ คือความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และความภูมิใจ ที่ได้เป็น.. คนนางเลิ้ง

  7. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน • เก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชุมชน นำมาวิเคราะห์ ประมวลและสร้างสรรค์ผลงาน ตามขั้นตอนและแนวคิด ดังต่อไปนี้ • ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกในแง่มุมต่างๆ ของนางเลิ้ง อาทิ ประวัติความเป็นมา ผู้อาศัย อาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ความทรงจำ เรื่องเล่า ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้น • เข้าไปคลุกคลีและทำกิจกรรมร่วมกับคนชุมชนเพื่อศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม และสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลในแง่มุมต่างๆ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่เริ่มทำโครงการพิพิธภัณฑ์ชีวิต I (ระหว่าง) จนถึง พิพิธภัณฑ์ชีวิต II (นาฬิกาทราย) โดยใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้นเกือบ 3 ปี • ตั้งประเด็นการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับนางเลิ้ง โดยอาศัยแนวความคิด “ระหว่าง (Between)” ซึ่งก็หมายถึง สิ่งที่อยู่กลาง สิ่งที่สัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงชุมชนนางเลิ้งได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับอาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนและศิลปวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน • เก็บและรวบรวมข้อมูลโดยยึดแนวความคิด “ระหว่าง” เป็นหัวใจหลัก ในการสัมภาษณ์และบันทึกเทปบุคคลต่างๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในนางเลิ้ง • วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และทำการคัดเลือกข้อมูลที่ใกล้เคียงกับแนวความคิดหลักมากที่สุด

  8. ตัดสินใจที่จะนำเสนอผลงานศิลปะ (video art) ผ่านรูปแบบสารคดี (documentary) เพื่อสื่อว่าผลงานที่ผลิตออกมาเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยมีวิธีการนำเสนอผ่านเรื่องเล่าขนาดย่อม (small narrative) • วางแผนโครงสร้างผลงาน (video art) โดยไม่ใช้วิธีการเล่าเรื่องตามลำดับเวลาเหมือนสารคดีทั่วไป แต่จะทำให้เรื่องเล่าแต่ละเรื่องมีความเป็นเอกเทศ ไม่ว่าจะดูตอนไหนก็สามารถเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องดูตั้งแต่เริ่มต้น เพราะผลงงานชิ้นนี้ไม่มีการขึ้นต้นและลงท้าย และปฏิเสธวิธีการเล่าเรื่องแบบเรื่องเล่าขนาดใหญ่ (mega narrative) ในรูปแบบรื้อถอนโครงสร้าง “Deconstruction” • ผลิตผลงานชิ้นที่ 1 “พิพิธภัณฑ์ชีวิต I (ระหว่าง)” และทำการนำเสนอผลงานที่เสร็จสิ้นในชุมชน ณ บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ที่เลิกกิจการไปแล้ว แต่ยังคงเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำของคนในชุมชน • เมื่อโครงการที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลง ผู้ดำเนินโครงการได้เล็งเห็นว่ายังมีข้อมูลที่มีคุณค่าควรแก่การนำเสนออยู่อีกมากมาย จึงได้ริเริ่มทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้แนวความคิด “พิพิธภัณฑ์ชีวิต II (นาฬิกาทราย)” โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่เหมือนกันคือนำเสนอผ่านเรื่องเล่าขนาดย่อม (small narrative) แต่ที่แตกต่างไปจาก “พิพิธภัณฑ์ชีวิต I (ระหว่าง)” ก็คือการนำเสนอเรื่องเล่าผ่านตัวหนังสือ ภาพเคลื่อนไหว (stop motion)า และเสียง (soundtrack) เพื่อเปิดจินตนาการของผู้ชม • ผลงานไม่ได้เป็นภาพตัวแทนของสิ่งที่เกิดขึ้น (representation) แต่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง (fact) และสิ่งที่ปรากฏ (present)

  9. กระบวนการแนวทาง การสร้างสรรค์ และโครงสร้างทางความคิดต่อผลงาน หลังจากรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สู่การวางแผนการจัดการโดยเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของผลงานแบบ Hamburger • การกำหนดโครงสร้างในใจ และวิธีการเลือกแนวทางการดำเนินเรื่องโดยใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ SMALL NARRATIVE (เรื่องเล่าขนาดย่อม) แทนการเล่าเรื่องในลักษณะ (GRAND NARRATIVE) และจะทำอย่างไรเพื่อที่จะควบคุมโครงสร้างที่ไม่ปล่อยให้ไหล ขาดการควบคุม จากโครงที่มีหลากหลายจึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างที่ชัดเจน ในโครงสร้างทั้งหมด การเริ่มต้น ลงท้าย (หัว-ท้าย) ประกบกัน ซึ่งในแต่ละเรื่องและแต่ละเหตุการณ์มีความชัดเจน ของประเด็นที่ต่างกันโดยผูกร้อยเรียงให้กระชับ ในเรื่องเล่าดังกล่าวที่ไม่ใช่ ลักษณะที่เป็นเรื่องเล่าต่อกัน แต่ด้วยโครงสร้างทั้งหมดยังคงสื่อสาร หรือเล่าบางอย่างให้คนพูดเข้าใจ โดยกำหนดรูปแบบ Narrative จากความเป็นเรื่องเล่า เป็นเราเล่าเรื่องให้คนดู (ผู้ชม) อ่านเรื่องแล้วแต่ผู้ชมจะหยิบจับ โดยผู้ชมสามารถแยกแต่ละส่วนหรือหน่วยย่อยๆในแต่ละเรื่อง โดยไม่มีความจำเป็นที่จะมีการดำเนินเรื่องที่ต่อกัน ภายใต้โครงสร้างที่กำหนดชั้นแบบ Hamburger ผลงานสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ชมกลับมาทบทวนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมีข้อเท็จจริง มากน้อยเพียงใด อย่างน้อยที่สุดก็ยังเป็นร่องรอยที่สามารถสืบค้นต่อไป

  10. ผังโครงสร้างของเรื่องผังโครงสร้างของเรื่อง Structure Project Living Museum Plan หัว เล่าเรื่องด้วยภาพของชุมชน (Community Activity Image) • ไฟไหม้ บุคคลในอดีตที่เกี่ยวข้องสู่มิติด้านสังคมอื่นๆ • งิ้ว ศาลเจ้า กรมหลวงชุมพรฯ • คนจีน ประวัติและสิ่งที่เกิดขึ้นทางสังคม • และ การเมือง • บ้านเต้นรำ  บทเพลง • Community Art • โรงภาพยนตร์ อดีต หวนรำลึกวันวาน สู่วิถีแห่งความทรงจำ • เสวนาตำรวจพบประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมชุมชนในปัจจุบัน เรื่องในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น Small Narrative เรื่องเล่า ขนาดย่อม IMAGE กิจกรรมในชุมชน และคนในนางเลิ้ง เล่าเรื่องด้วยภาพกิจกรรมและคนในชุมชน ท้าย

  11. ผังโครงสร้างการสร้างสรรค์ และภาวะนามธรรมในโครงสร้างของผลงาน (Composition) ภาพเคลื่อนไหว VIDEO (Real Time) IMAGE ภาพสีซึ่งแสดงถึงปัจจุบัน (ไม่มีคำบรรยายหรือเรื่องเล่า) Sound (ลักษณะดนตรีไทย) • ไฟไหม้ จอมพลสฤษดิ์ 14 ต.ค., 6 ต.ค. • ให้ความรู้สึกเหมือนการฟังเนื้อหาทำให้เห็นถึงความแตกต่าง(Contrast) • งิ้ว ศาลเจ้า กรมหลวงชุมพร • ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังชม(Harmony) • คนจีน ประวัติและสิ่งที่เกิดขึ้นทางสังคม • และ การเมือง • ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังฟัง (Rhythm/Space) • บ้านเต้นรำ  บทเพลง • ให้ความรู้สึกเหมือนการฟัง และการชม(Harmony) • Community Art • ให้ความรู้สึกเหมือนการชม (Rhythm) • -Performent(Space) • -โรงภาพยนตร์ • ให้ความรู้สึกเหมือนการฟัง (Harmony) • ตำรวจพบประชาชน • ให้ความรู้สึกเหมือนผู้สังเกตการณ์ (Tension) Stop Motion +VIDEO +ภาพ +Text -เข้าสู่โครงเรื่องอย่างช้าๆ การวางภาพกับเสียงทำให้รู้สึกถูกดึงเข้าไป ให้เกิดระยะลึก (Perspective/Perception) -เร่งจังหวะ(Rhythm) ให้ความรู้สึกหยุดนิ่งและเคลื่อนไหว(Movement) และคล้อยตาม (Harmony) อีกทั้งความรู้สึกที่ขัดแย้งของแต่เรื่องเล่า(Contrast) -SPACE (จากภาพกิจกรรม Performance) โดยไม่มีคำบรรยาย นำเสนอภาพแต่ไม่มีเรื่องเล่า ทั้งหมดคือ Unity ของ Living Museum Project ภาพเคลื่อนไหว VIDEO (ปิดประเด็นด้วยภาพที่ใช้สรุป แต่อาจตั้งคำถามต่อความน่าเชื่อถือในใจผู้ชม) จบด้วย STOP MOTION (SPEED) ไม่มีคำบรรยายหรือเล่า Text

  12. ความสัมพันธ์ของ SOUND กับเนื้อหาและพื้นที่ (ชุมชน) • ที่มาและความคิดของการเลือกใช้เสียงประกอบใน Living Museum โดยอาศัยลักษณะของดนตรีไทย • ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของการฉายภาพยนตร์ ที่โรงหนังเฉลิมธานี และโรงหนังในอดีต • ก่อนภาพยนตร์จะฉาย บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์จะมีแตรวงโหมโรง และในสมัยก่อน การฉายภาพยนตร์จะใช้วงดนตรีไทยในการแสดงสดประกอบภาพยนตร์ อีกทั้งบางส่วนยังมีการแสดงขับเสภาและมีคนแสดงจริงเดินออกมา • ความสำคัญของดนตรีไทยกับชุมชนนางเลิ้ง รวมทั้งนาฏศิลป์โบราณ บ้านครูทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาละครชาตรี ยังคงอยู่ในพื้นที่นี้ • จากการอาศัยลักษณะดนตรีไทย ทำให้ความรู้สึกไม่เกิดความแปลกแยก จากชุมชนอีกทั้ง ยังก่อให้เกิดการหวนระลึกถึงอดีตได้เป็นอย่างดี

  13. วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานชิ้นนี้ พูดถึงสิ่งที่มันอยู่จริงในพื้นที่นางเลิ้ง เรื่องราวของแต่ละชีวิตในนางเลิ้งล้วนมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเต็มไปด้วยความน่าสนใจ ภาพความเป็นจริงที่ปรากฏนั้น สะท้อนให้เห็นถึงชีวิต ความเป็นอยู่และทัศนคติของผู้คนที่มีต่อชุมชนของตนแม้นว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปนานแค่ไหน แต่ความผูกพันเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งต่างๆในชุมชนนางเลิ้งนั้นจะยังคงอยู่ตลอดไป

  14. การดำเนินเรื่องจากเรื่องเล่าผ่านภาพของชุมชนนางเลิ้งชุดนี้ ถูกสร้างขึ้นจากการเรียบเรียงภาพถ่ายภาพเคลื่อนไหวอย่างตรงไปตรงมา ผ่านการเล่าเรื่องจากความทรงจำในแต่ละเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นที่นางเลิ้ง ภาพสถานที่ และภาพบุคคล ถูกนำเสนอเพื่อสื่อถึงอดีตและวันเวลาที่ผ่านมาที่สัมพันธ์กับสถานที่ และเรื่องราวต่างๆ ร้อยเรียงเพื่อให้เกิดเนื้อเรื่องของบทภาพยนตร์ (VIDEO ART) โดยโครงเรื่องที่ถูกนำมาใช้คือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต รวมถึงกิจกรรมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในปัจจุบัน ภาพต่างๆที่ถูกนำเสนอของผู้เล่าแม้ว่าจะเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เล่า แต่ความเรียงจากส่วนย่อยๆเหล่านี้ (Small Narrative) อาจเล่าหรือบอกกล่าวได้มากกว่า (Grand Narrative) ด้วยความเป็นส่วนตัว (Personal) สามารถ Relate สร้างความรู้สึกสนิทสัมพันธ์กับโครงสร้างประวัติศาสตร์ได้ชัดกว่า และรู้สึกได้ง่ายกว่า ใกล้กับตัวเราเหมือนฟังญาติผู้ใหญ่เล่าเรื่องในอดีตให้เราฟัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกับประสบการณ์การฟัง แต่ขณะเดียวกันภาพและเรื่องที่ปรากฏ ทั้งผู้ชมและศิลปิน (ผู้สร้าง) มีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นในประสบการณ์ร่วมในด้านการรับรู้ที่ได้รับแตกต่างกัน เรื่องที่ผ่านการเล่าทำให้ผู้ชมสามารถเปิดโอกาสได้ทบทวน ในเรื่องที่เกิดขึ้น หรือที่ฟังมานั้นจริงแท้เพียงใด เปิดการตีความ และมิติทางสุนทรียศาสตร์ ผ่านการสื่อสะท้อนความเป็นเรื่องเล่า เป็นเราเล่าเรื่อง คนดู(ผู้ชม) อ่านเรื่องและคิดตามโครงสร้าง ที่ว่างที่เกิดขึ้น ยังคงสื่อถึงอารมณ์ของสถานที่ไปพร้อมๆกัน

More Related